วันศุกร์, 13 ธันวาคม 2567

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร

วัดบุ่งขี้เหล็ก
อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก
หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เกิดเมื่อเดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๕๙ ที่บ้านนาเอือด อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (สมัยนั้นไม่มีการจดบันทึกวันเดือนเกิด ทางคณะศิษย์จึงขอให้วันที่ ๑ มีนาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันเกิดเพื่อมุทิตาจิตต่อองค์หลวงปู่) ซึ่งในอดีตประเทศลาวยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนไทยจึงเห็นว่าใน ประเทศลาวมีพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ครอบครัวของท่านพร้อมด้วย ญาติอีกสองครอบครัวจึงเดินทางไปตั้งถิ่นฐานและทําไร่นาอยู่ที่นั้น

หลวงปู่จันทร์หอม มีพี่น้องรวม ๔ คน ในขณะที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขา ประเทศลาว ก็ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางลงมาจากเขาเพื่อมาบิณฑบาตอยู่ไม่ขาด เพราะเป็นห่วงทั้งสามครอบครัวที่เพิ่งจะมาตั้งถิ่นฐาน พระรูปนี้เป็นญาติกับบิดาของหลวงปู่ ซึ่งมีนามว่า “สําเร็จตัน” ซึ่งท่านสําเร็จตันนี้ท่านเป็นศิษย์ของ หลวงปู่สําเร็จลุน แห่งนครจำปาสัก ประเทศลาว

หลวงปู่สมเด็จลุน นครจำปาสัก
หลวงปู่สมเด็จลุน นครจำปาสัก

เมื่อหลวงปู่จันทร์หอม อายุได้ ๑๒ ปี จึงขอเอาหลวงปู่จันทร์หอม มาเพื่อจะสอนหนังสือให้ สําเร็จตันได้พาท่านไปสอนหนังสืออยู่ที่หลังเขา แต่ท่านขี้เกียจเรียนหนังสือ จึงหลบหนีกลับมาหาพ่อและแม่

หลังจากนั้นไม่นาน สําเร็จตันก็ไปขออีก และท่านพาขึ้นไปอยู่เขาภูเขาควาย แล้วจึงบวชหลวงปู่เป็นผ้าขาว ให้ถือศีล ๘ และสอนหนังสือ สอนปฏิบัติธรรม
หลวงปู่จันทร์หอม ได้ติดตามสําเร็จตันอยู่ ๒ ปี ด้วยความประพฤติที่ดี ในที่สุด สําเร็จตันจึงบวชเณรให้ ครั้นบวชอยู่ที่เซาภูเขาควายไม่นาน สําเร็จตันจึง พามาอยู่ที่ภูเขามะโรง เพื่อกราบนมัสการ ฝากตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรม กับหลวงปู่สมเด็จลุน หรือ สําเร็จลุน ในเรื่องธรรมธาตุจนแตกฉานภายในระยะเวลา ๕ ปี ญาท่านสําเร็จตันจึงกราบนมัสการลา ออกเดินวิเวกตามป่าไปเรื่อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในสัจธรรมเป็นเวลา ๒ ปีกว่า ซึ่งในขณะเดียวกันหลวงปู่จันทร์หอมมีอายุ ๒๐ ปีเต็มพอดี สําเร็จตันจึงพาออกมาจากป่า

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก
หนังสือสุทธิ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก

หลังออกมาจากป่าแล้ว หลวงปู่จันทร์หอมคิดอยากเรียนปริยัติธรรม จึงขอแยกทางกับสําเร็จตัน โดยไปศึกษาปริยัติธรรมจนจบ ป.ธ. ๔ ในประเทศลาว ซึ่งใช้เวลาศึกษาอยู่ ๘ ปี

หลังจากที่เรียนปริยัติธรรมจบแล้ว แทนที่ท่านจะดํารงตําแหน่งทางคณะสงฆ์ แต่กลับมุ่งหน้าเข้าสู่ป่า โดยกลับไปที่ภูมะโรง เพื่อพํานัก บําเพ็ญธรรมตามลําพังผู้เดียว

ท่านเล่าว่า..บนภูมะโรงนั้นมีพระภิกษุอยู่หลายรูปแต่อยู่กันคนละถ้ำ ไม่เที่ยวไปมาหากัน ต่างรูปต่างอยู่ จะพบกันหรือมารวมกันก็ต่อเมื่อวันลงอุโบสถ โดยลงมารวมกันที่ภูมะโรง ณ ที่พํานักของสําเร็จลุน ซึ่งเป็น “ประธานสงฆ์และแสดงธรรมปาติโมกข์แจกพระธรรมวินัยและอบรมข้อวัตรปฏิบัติธรรมให้พวกบังบดหรือพวกลับแลฟัง เพราะในวันนั้นเขาจะมาจําศีลกัน

ทั้งนี้หลักในการปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่จันทร์หอม ที่ยึดถือและปฏิบัติ คือ ความขยันหมั่นเพียรและถือสัจจะเป็นใหญ่ เมื่อถามว่าทําไมต้องถือ สัจจะเป็นใหญ่ ท่านให้เหตุผลว่า..นี่คือตัวดัดนิสัยตนเอง เพราะในการปฏิบัติธรรม ในแต่ละครั้งนั้น ต้องตั้งสัจจะให้กับตนเอง สมมติ ว่าจะเข้ากรรมฐานในถ้ำเป็น เวลา ๗ วัน ไม่บิณฑบาต ไม่ฉันข้าวภายใน ๗ วันนี้ ก็ต้องทําให้ได้ ถ้าทําไม่ได้ บังบดก็ไม่ใส่บาตรให้ฉัน และอยู่กับเขาไม่ได้ด้วย

หลวงปู่จันทร์หอม อยู่ปฏิบัติธรรมบนภูมะโรง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงเดินทางลงจากเขาเพื่อบิณฑบาต และในขณะเดียวกันนั้นเป็นช่วงที่ประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี จึงเกิดการสู้รบกันภายในประเทศ

ขณะนั้นน้องชายของท่านเป็นทหารร้อยโทออกสนามรบ ได้หายไปจากกองร้อย พ่อแม่เป็นห่วงมาก จึงฝากให้หลวงปู่ช่วยตามหา เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ปกติประกอบกับท่านได้ข่าวของน้องชายอยู่ที่อําเภอเขมราฐ บ้านโบกม่วง จังหวัดอุบลราชธานี จึงเดินทางมาตามหาและได้พบกันอย่าง น่าอัศจรรย์

ในขณะที่ท่านมาตามหาน้องชายนั้น ได้พํานักอยู่ที่วัดร้างในหมู่บ้านโบกม่วง ซึ่งเป็นวัดที่ขาดพระสงฆ์มานานจัดเป็นวัดป่าที่มีสภาพ เป็นป่ารกทึบมีกุฏิเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง หลวงปู่อาศัยอยู่ในกุฏิหลังเล็กๆ นั้นอยู่หลายปี เพราะขาดปัจจัยในการบูรณะ สิ่งเดียวที่ทําได้ในขณะนั้นคือ การถากถางป่าให้เตียน และยกร่องถนนภายในวัดสําหรับให้รถแล่นและคนเดิน

ตลอดเวลาที่ท่านพํานักอยู่ที่วัดบ้านโบกม่วงนั้น ท่านปฏิบัติตน เรียบง่ายแต่เน้นตรงที่สอนคนให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์ และมักทําประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมเสมอ

ด้วยกิติคุณในการช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้กว้างไกล ใน
ส่วนของทางราชการและญาติโยมที่ศรัทธา ได้ขอให้ท่านมาช่วยพัฒนา “วัดบุ่งขี้เหล็ก” ตําบลแวง อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จากวัดที่ รกร้างให้กลับกลายพื้นคืนสู่ความเจริญที่งดงามอีกครั้ง

ขณะที่ท่านได้ดำรงขันธ์อยู่นั้น มักมีญาติโยมจากทั่วสารทิศแวะมาเยี่ยมเยียนไม่ขาดสาย โดยที่ท่านก็ยังคงยึดถือแนวปฏิบัติ ในการสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับสาธารณชนอยู่ตลอดไป

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก
หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก

หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เจ้าอาวาสวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๐.๓๓ น.
สิริอายุรวม ๑๐๔ ปี พรรษา ๘๔

◎ ด้านวัตถุงมงคล
หลวงปู่จันทร์หอม ท่านเป็นพระผู้สืบสานตำนานพระเวทย์แห่งราชอาณาจักรลาว ผู้ทรงอาคมอิทธิฤทธิ์สำเร็จด้วยกำลังแห่งธาตุ ๔ ท่านเป็นศิษย์ยุคสุดท้ายของสมเด็จลุน พระผู้ทรงอภิญญาแห่งประเทศลาวโดยมีโอกาสได้ศึกษาวิชากับสมเด็จลุนโดยตรง เนื่องจากท่านเป็นหลานของสมเด็จตัน สังฆราชเมืองลาวองค์ต่อจากสมเด็จลุน

วิชาของท่านถือได้ว่าอยู่ในลำดับต้นๆ ในสายของสำเร็จลุน ถึงขนาดเคยมีคำพูดกันว่า “ในอุบลราชธานีมีสิงห์เหนือเสือใต้อยู่” กล่าวคือ สิงห์เหนือ ได้แก่ “หลวงปู่คำบุ” ซึ่งมีชื่อเสียงในแถบ อ.พิบูลมังสาหาร อ.ตาลสุม ส่วนเสือใต้ ก็คือ “หลวงปู่จันทร์หอม” ที่มีชื่อเสียงในละแวก อ.เขมราฐ อ.วารินชำราบ

ท่านเก่งเรื่องธาตุและหนุนธาตุมาก เครื่องรางที่โด่งดังของท่านก็คือตะกรุดธาตุ ๔ โด่งดังมากทางมหาอุด พวกทหารอากาศนับถือท่านมาก นอกจากนี้หลวงปู่จันทร์หอมยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังประสบการณ์ของ “เหรียญปราบอริราชศัตรูพ่าย (เหรียญระเบิด ๘ ลูก)” อันลือลั่นคงกระพัน ปืน ระเบิด มีด ไม้ ไม่ได้กินเลือด

วัตถุมงคลของท่านล้วนมีประสบการณ์ทั้งด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ตะกรุดยุคแรกๆ ท่านจะจารมือให้รอรับได้เลยก่อนเอาไป ถ้าเป็นทหารตำรวจท่านให้ลองก่อน โดยเมื่อทำเสร็จ ท่านจะผูกคอแมวที่เลี้ยงไว้แล้วให้ยิงปรากฏว่า ไม่ออก จนกลายเป็นตะกรุดที่สร้างชื่อให้ท่านเป็นที่รู้จักมากขึ้นและได้รับสมญานาม “เจ้าตำรับตะกรุดคงกะพันมหาอุตม์แห่งแดนอีสาน”