วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

หลวงปู่หิน ปภังกโร อริยสงฆ์ ๕ แผ่น แห่งวัดวัดโพธาราม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่หิน ปภังกโร

วัดโพธาราม
อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

หลวงปู่หิน ปภังกโร วัดโพธาราม
หลวงปู่หิน ปภังกโร วัดโพธาราม

หลวงปู่หิน ปภังกโร พระสงฆ์ที่เปี่ยมด้วยบารมีธรรม ได้ละสังขารไปเมื่อกลางดึก ของคืนวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๓ ขณะอายุได้ ๑๓๕ ปี ซึ่งท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗

“สาธุ ให้ข้าพระพุทธเจ้าจงอยู่ดีมีสุข มีร่างกายแข็งแรง” นั้นเป็นคําอธิษฐานของ หลวงปู่หิน เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนิน ไปยังจังหวัดอุดรธานี ผ่านอําเภอน้ำพอง ที่หลวงปู่หินมีโอกาสคอยรับเสด็จ ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่หินมีอายุประมาณ ๑๒ ปี ครั้นขบวนรถ ม้าเสด็จผ่านสะพานไม้ลําน้ำพอง หลวงปู่จึงยกมือขึ้นเหนือศีรษะแล้วอธิษฐานดังกล่าวมา

เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หากใครที่ เคยไปกราบไหว้หลวงปู่แล้ว จะทราบซึ่งในธรรมเมตตา ของหลวงปู่อย่างยิ่ง เพราะแม้หลวงปู่หินอายุมากและต้องการพักผ่อนตามวัยที่ชราภาพ แต่หลวงปู่ก็เปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกระดับชั้นเข้าไปกราบไหว้ท่านได้ถึงกุฏิ หลวงปู่ บางครั้งหลวงปู่จะเป็นฝ่ายทักทาย ผู้ศรัทธาที่เข้าไปกราบไหว้ก่อนด้วยใบหน้าที่ ยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งบารมีธรรมดังกล่าวเป็น ที่ประจักษ์แก่เหล่าศิษย์ใกล้ชิดว่าตั้งแต่เคย อุปฎฐากหลวงปู่ ยังไม่เคยพบว่าหลวงปู่ แสดงอาการโกรธสักครั้ง หลวงปู่จะอารมณ์ ที่อยู่ตลอดเวลา ยิ้มแย้มและไมตตากับทุก คนโตยเสมอภาค

หลวงปู่หิน ปภังกโร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู พ.ศ.๒๔๐๗ ในสมัยรัชการที่ ๕ ที่บ้านกุดกว้าง ตําบลกุดน้ำใส อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีนามเดิมว่า หิน คำอ้อ เป็นบุตรคนเดียวของ นายสีลา-นางคํามี คำอ้อ ไม่มีพี่น้อง เมื่อศึกษาประวัติ ย้อนหลังของหลวงปู่แล้ว ในด้านการปฏิบัติธรรม ออกรุกขมูลตามป่าเขาแสวงหาวิมุตติ ธรรมแล้ว ค่อนข้างจะแตกต่างจากพระสงฆ์รูปอื่น กล่าวคือ หลวงปู่หิน ปภังกโร ได้บวช ๒ ครั้ง และ ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรเมื่อครั้งที่กลับมาบวชใหม่ที่อายุท่านถึง ๘๕ ปีแล้ว

การบวชครั้งแรกของหลวงปู่ในวัยเด็ก บวชเณรเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ที่บ้านโคกแสง ตําบลหนองกุง อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีเจ้าอาวาสวัดท่าน้ำ พอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงปู่ท่านเป็นคนชอบหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา การบวชที่วัดท่าน้ำพอง ท่านได้ศึกษาและบําเพ็ญตนตามหลักธรรมที่พระ พุทธเจ้าได้วางแนวทางไว้อย่างเคร่งครัด เสมอต้นเสมอปลายมาตลอด การบวชครั้งแรกหลวงปู่หิน ได้ลาสิกขาเข้าสู่วิถีชีวิตของฆราวาสเมื่ออายุได้ ๓๓ ปี มีครอบ ครัวตามสามัญชนทั่วไป

การครองตนอยู่ในเพศฆราวาส หลวงปู่หินไม่ได้หลงกับสรรพกิเลสตามวิถีโลก ยังครองตนตามหลักธรรมที่ได้เรียนมา มีชีวิตที่เรียบง่าย พร้อมกับ อบรมสั่งสอนบุตร-ธิดาให้เป็นคนดีตามแบบอย่างอริยชนพึงปฏิบัติ ซึ่งหลวงปู่มีบุตร-ธิดา รวมกัน ๑๒ คน

แม้จะอยู่ในวิถีชีวิตของฆราวาสเป็นระยะเวลานาน กระทั่งย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้วก็ตาม แต่ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ยังเต็มเปี่ยมไม่เสื่อมคลาย ไปจากใจของหลวงปู่ กอร์ปกับบุญบารมีที่ได้สั่งสมในอดีตชาติ เป็นเหตุปัจจัยให้ หลวงปู่หินกลับเข้ามาบวชอีกเป็นครั้งที่สอง เมื่ออายุได้ ๘๕ ปีแล้ว แม้จะชราภาพมากแล้ว แต่ก็ไม่ทอดทิ้งธุระในการแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ที่บรรพชิตพึงปฏิบัติซึ่งหลวงปู่หิน ได้ตั้งปณิธานเด็ดเดี่ยวที่จะ ออกรุกขมูลตามสถานที่วิเวก เพื่อปฏิบัติธรรมให้บังเกิดผล ถึงปฏิเวธธรรมที่ตั้งใจไว้

ประสบการณ์การออกรุกขมูลของหลวงปู่ ได้ออกเดินธุดงค์ไปในพื้นที่ภาคอีสานในเขตจังหวัดขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครพนม และเลยเข้าไปถึง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งการเดินธุดงค์เข้าไปสปป.ลาวนี้เองที่หลวงปู่ ได้พบพระอาจารย์ที่สอนแนวทางการปฏิบัติ ให้ คือพระมหาปาน อานันโท ที่วัดป่าบก นครเวียงจันทน์ โดยให้พิจารณาธรรมานุสติเป็น หลักอบรมจิต หลวงปู่เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ ชิตว่าหลังจากพิจารณาธรรมานุสติ จนจิตสงบแล้ว จะสามารถสัมผัสกับโลกอีกมิติได้ แม้ญาติพี่น้องที่ได้เสียชีวิตไปแล้วก็สามารถพบเห็นได้

การออกธุดงค์ตามป่าเขา ท่านไปคนเดียวเพราะมีนิสัยสันโดษ ระยะที่ปฏิบัติธรรมในสปป.ลาว ท่านเคยตั้งใจที่จะเข้าไปปฏิบัติธรรม ณ ภูเขาควาย ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ารกที่บมีสัตว์ป่าอาศัยจํานวนมาก แต่หลวงปู่หินไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติถึงบริเวณพื้นที่ชั้นในได้ เนื่องจากทหารที่รักษาการอยู่บริเวณนั้นไม่ให้เข้าไป จึงธุดงค์ตามป่าที่ไม่ห่างจากภูเขาควายมากนัก

การผจญภัยกับสัตว์ป่านั้น ครั้งหนึ่งท่านเคยพบโขลงช้างประมาณ ๑๐ เชือกที่มาหากินใกล้กับสถานที่ที่หลวงปู่กําลังปฏิบัติธรรม การพบกับสัตว์ใหญ่ขนาดนั้นในครั้งแรกท่านก็ตกใจเหมือนกัน แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง ท่านจึงกําหนดจิตแผ่เมตตาให้กับ ช้างเหล่านั้นและเป็นที่อัศจรรย์แม้ช้างเหล่านั้น จะเดินเข้ามาหาท่าน แต่หาได้ทําร้ายท่านไม่ รวมระยะเวลาที่ปฏิบัติธรรมในสปป.ลาว ประมาณ ๓ ปี ๒ เดือน จึงเดินทางกลับประเทศไทย ทางฝั่งอําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และได้นมัสการพระธาตุพนม

ท่านเคยเดินธุดงค์กับพระป่ากรรมฐานที่มีชื่อเสียงหลายรูป ที่หลวงปู่ได้เมตตาเล่าไว้ คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น และในระยะที่หลวงปู่ธุดงค์ในจังหวัดสกลนครนี่เอง หลวงปู่หินมีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ขอฝึกวิปัสสนากรรมฐานเป็น ระยะเวลา ๑๐ วัน โดยหลวงปู่มั่น ได้ขอให้หลวงปู่แปรญัตติ เป็นพระฝ่ายธรรมยุตินิกาย เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติตามแนวทางพระป่ากรรมฐาน แต่ หลวงปู่พึงพอใจในวัตรปฏิบัติของพระฝ่ายมหานิกาย จึงไม่ได้แปรญัตติและกราบลาพระอาจารย์มั่น ออกเดินธุดงค์ต่อไป

หลังจากทําความเพียร ออกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ เพียงพอต่อการขัดเกลากิเลส หลวงปู่ จึงได้เดินทางกลับมายังถิ่นเกิด ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อ สงเคราะห์ญาติพี่น้อง ตลอดจนพัฒนาศาสนสถานให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนส่วนรวม เมื่อท่านอายุได้ ๑๐๐ ปี รวมระยะเวลาที่ หลวงปู่ออก เดินธุดงค์ทั้งภาคอีสานและ สปป.ลาวเป็นระยะเวลา ๑๔ ปี

คําสอนที่หลวงปู่หินมักสั่งสอนลูกศิษย์ เสมอคือ “ให้ทุกคนหมั่นทําบุญ รักษาศีลภาวนา ให้มีธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็น เครื่องยึดไว้ในกายในจิตใจของทุกคนตลอด เวลาทําจิตใจให้ผ่องใส กินอาหารที่ถูกหลัก ไม่กินเหล้า บุหรีไม่เสพ จะทําให้มีอายุยืน ยาวได้และมีความสุขกันถ้วนหน้า

ที่ท่านหลวงปู่หินมีอายุยืนยาวถึง ๑๓๕ ปี หลวงปู่ เคยเล่าว่า เป็นผลมาจากกรรมที่ท่านสร้างไว้ ท่านได้ทํากรรมดี สร้างสมคุณงามความดี ไว้มาก นอกจากนี้ในการปฏิบัติของท่าน ท่านจะมีอารมณ์ดีตลอดเวลา การขบฉัน ท่านจะไม่นอาหารดิบ ไม่ฉันเนื้อหมู เนื้อวัว แต่ฉันเนื้อปลา อาหารหลักส่วนใหญ่จะ เป็นผักและผลไม้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง กล้วย เป็นต้น แม้ท่านจะมีอายุยืนเกิน ๑๐๐ ปี แต่ท่านไม่เคยหวั่นเกรงต่อความตาย ที่อาจเกิดกับท่านเมื่อใดก็ได้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านเคยนิมิตว่าจะละสังขาร จึงดําริให้มีการสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่านไว้ล่วงหน้า

งานด้านการพัฒนาศาสนา และสงเคราะห์ส่วนรวม
การกลับมาจําพรรษาที่วัดโพธาราม บ้านหนองอ้อน้อย ขณะที่อายุจะถึง ๑๐๐ ปี แล้ว ควรที่จะพักผ่อนตามอัตภาพ แต่ท่าน ก็หาได้นิ่งดูดายกับงานด้านทํานุบํารุงพระศาสนาไม่ วัดโพธาราม เมื่อครั้งที่หลวงปู่หิน มาจําพรรษาครั้งแรก มีสภาพที่รกร้าง ไม่ มีศาสนวัตถุเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หลวงปู่จึงได้ริเริ่มพัฒนาวัดโพธารามมาโดยตลอด อาศัยเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาและศิษย์ที่ใกล้ชิด งานด้านการ พัฒนาจึงก่อเกิดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การสร้างกําแพงรอบวัด สร้างกุฏิสงฆ์ กระทั่งการสร้างพระอุโบสถ

โดยเฉพาะการสร้างพระอุโบสถสําหรับใช้บวชลูกหลาน ที่วัดโพธารามยังไม่มี เป็นสิ่งจําเป็นยิ่งสําหรับงานสืบทอดพระศาสนา ให้บังเกิดขึ้นกับพุทธศาสนิกชนในแถบนั้น นับเป็นงานหนักที่ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในเบื้องต้นคาดว่าต้องใช้เงิน ๔.๕ ล้าน บาท การจะหาทุนขนาดนั้นจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก ซึ่งการสร้างพระอุโบสถนี้เอง เป็นงานที่หลวงปู่ห่วงมาก ถึงขนาดที่มีคนถามหลวงปู่ว่า “จะอยู่กับลูกหลานไป อีกนานไหม” หลวงปู่ตอบว่า “ขอให้สร้างพระอุโบสถเสร็จก่อนจึงจะละสังขาร”

สําหรับการก่อสร้างพระอุโบสถ ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ เกิดปัญหาวัสดุก่อสร้างปรับราคาสูงขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทําให้ค่า ก่อสร้างเพิ่มเป็นเท่าตัวถึง ๘ ล้านบาท แต่การก่อสร้างได้เสร็จเรียบร้อย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๒ สมดังเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งหลวงปู่ต้องการให้มีการจัดงานฉลองฝั่งลูกนิมิตประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔

นอกจากการพัฒนาทํานุบํารุงพระศาสนาแล้ว หลวงปู่ยังมีเมตตาให้มีการจัดตั้ง “กองทุนมูลนิธิหลวงปู่หิน” เพื่อช่วยเหลือจัดซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษา ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนยากจนในโรงเรียนประจําหมู่บ้าน และช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยในโรงพยาบาลน้ำพอง อีกส่วนหนึ่งด้วย

ในส่วนของวัตถุมงคลของหลวงปู่นั้น ทางวัดจัดสร้างเพียง ๓ รุ่นเท่านั้น เพื่อระดมทุนก่อสร้างศาสนสถานภายในวัดและสมทบกองทุนมูลนิธิหลวงปู่หิน วัตถุมงคล ของหลวงปู่หิน ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่ เนื่องจากวัตถุประสงค์การจัดสร้างดีและสร้างน้อยเพียงพอกับปัจจัยที่ต้องการเท่านั้น โดยเฉพาะวัตถุมงคลรุ่น ๑ สร้างปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อสร้างกําแพงวัด หมดไปอย่างรวด เร็วตั้งแต่ออกให้บูชา ส่วนรุ่น ๒ และ ๓ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อสร้างพระอุโบสถยัง พอมีเหลือให้บูชา

คำกล่าวของหลวงปู่ที่ว่า “ขอให้สร้างพระอุโบสถเสร็จก่อนจึงจะละสังขาร” เหมือนเป็นปริศนาถึงอายุขัยของท่าน เพราะเมื่อ หลวงปู่ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างพระอุโบสถที่ติดค้างงวดสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๓ แล้ว ในวันที่ ๗ มกราคม ท่านก็เริ่มอาพาธ จนกระทั่งละสังขารในอีก ๓ วันต่อมา

หลวงปู่กําชับลูกศิษย์ลูกหาก่อนละสังขารว่า เมื่อท่านละสังขารแล้วให้จัดการฌาปนกิจศพ พร้อมกับพิธีฉลองพระอุโบสถ ที่กําหนดจัดขึ้นประมาณกลาง เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ขณะนี้ บรร ดาลูกศิษย์ ได้ทําเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่หิน ปภังกโร กลางเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔

สําหรับศพของหลวงปู่หิน ได้บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดโพธาราม ห่างจากอําเภอน้ำพองเล็กน้อยหาก เดินทางไปตามถนนมิตรภาพ มาทางตัวเมืองขอนแก่น หลังจากลงสะพานข้ามน้ำพองเก่า แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามป้ายที่ บอกไว้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ถึงวัดหลวงปู่หิน

◎ เหตุการณ์ที่น่าเหลือเชื่อ เกิดขึ้นในช่วงงานฉลองโบสถ์ ผูกพัทธสีมา และงานฌาปณกิจถวายเพลิงศพ
ในคืน วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ ช่วงเวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. เกิดอุบัติเหตุ ไฟลุกไหม้ หน้าหีบแก้ว ใกล้กระถางธูปเทียน แล้วลุกลามไหม้แผ่นไม้โดยรอบ จนมีผู้มาพบเห็น สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือ ผ้าลูกไม้ลายดอกและไม้ที่กั้นวัตถุมงคลของหลวงปู่ ไม่โดนไฟไหม้เลยแม้แต่น้อย สร้างความศรัทธาอย่างแรงกล้าในวาระสุดท้ายของหลวงปู่ แต่การฉลองโบสถ์ ผูกพัทธสีมาและการฌาปณกิจถวายเพลิงศพก็เสร็จสมบูรณ์

แม้วันนี้หลวงปู่หิน ปภงฺกโร ได้ละสังขารไปนานแล้ว กาลเวลาอาจทำให้ความทรงจำลบเลือนไปบ้าง แต่คุณงามความดีที่หลวงปู่ได้สร้างไว้ ธรรมมะที่ท่านให้ไว้ แบบแผนการปฏิบัติ ธุดงค์วัตร ธรรมวินัย ที่ท่านทำเป็นแบบอย่าง จะยังคงอยู่ในใจลูกศิษย์ สาธุชน ที่ได้มาพบเห็นทีหลัง ที่มารู้จักทีหลัง ให้ได้ซาบซึ้งในพระคุณแห่งพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสของจริง คณะศิษย์ขอน้อมบูชาพระคุณด้วยความดีงามและกราบอนุโมทนาบุญของหลวงปู่หิน ปภงฺกโร ตั้งแต่อดีตชาติ จนบัดนี้

(จากที่ได้ยินมาว่า อัฐิธาตุของท่านที่ศิษย์เก็บไว้ ได้แปรเป็นพระธาตุ เป็นแก้วสวยงาม นั่นแสดงให้เห็นถึงคุณธรรม ภูมิจิต ภูมิธรรมของท่านผู้สิ้นอาสวะกิเลส แล้ว)

ส่วนเรื่องราวปาฏิหาริย์อื่นๆ ก็เกิดจาก วัตถุมงคล ที่ท่านอธิษฐานจิต หรือ ที่ท่านจัดสร้างก็อยู่ที่แต่ละคนจะอาราธนาและนึกถึงท่าน ย่อมเกิดอัศจรรย์และความผาสุก ความเจริญรุ่งเรืองตามสมควร ดังที่ท่าน เตือนไว้เสมอว่า “เรามีกรรมเป็นของของตน” เมื่อเราสร้างความดี สร้างเหตุที่ดี ขอบารมีพระคุ้มครอง ท่านสงเคราะห์คนดี แน่แท้ ไม่ต้องลังเลเลยครับ