วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

หลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อธรรม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่คำดี ปภาโส

วัดถ้ำผาปู่
อ.เมือง จ.เลย

หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย

ชาติกําเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่คําดี ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ตรงกับแรม ๑๔ ค่ํา ปีขาล ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของ นายพร-นางหมอก นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตําบลบ้านหว้า อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน คือ ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน รวม ๖ คน

หลวงปู่คําดี เมื่อเป็นเด็กท่านไม่ได้เข้าโรงเรียน เพราะสมัยนั้นตามชนบทบ้านนอกไม่มีโรงเรียน ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยเข้าเรียนโรงเรียนผู้ใหญ่จบชั้นประถม ปีที่ ๔ บริบูรณ์ ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา ท่านนึกอยากจะบวชมาตลอด เมื่ออายุพอบวชเป็นสามเณรได้ ท่านขออนุญาตโยมบิดา-มารดาบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาต กลับบอกว่าเอาไว้อายุครบบวชเป็นพระแล้วค่อยบวชที่เดียวเลย เพราะตอนนี้ทางบ้านกําลังต้องการให้อยู่ช่วยทํางานก่อน ท่านก็ได้ช่วยพ่อแม่ทํางาน ด้วยความขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทนมาตลอด จนกระทั่งอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ จึงได้ขออนุญาตบิดา-มารดาของท่านบวชอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จึงยินดีอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามต้องการ ท่านดีใจมากเพราะสมใจที่คิดไว้ ท่านพูดว่าสมัยท่านเป็นเด็กมองเห็นภูเขาเขียว ๆ ที่ใกล้บ้านท่าน เป็นสถานที่ที่เหมือนว่าเคยอาศัยอยู่มาแต่ก่อนแล้ว และคิดว่าบวชครั้งนี้แล้ว คงจะได้ไปอยู่อาศัยทําความเพียรแน่ เกิดความปิติ และเกิดความชื่นใจตลอดเวลา

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงปู่คําดี ปภาโส บวชเป็นพระมหานิกาย ที่วัดหนองแวง บ้านเมืองเก่า ตําบลพระลับ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พระอาจารย์ที่บวชให้คือวัด ที่เดียวกับพระธุดงค์ชุดก่อน ท่านมานึกถึงคําอธิษฐานได้ก็แสนจะดีใจ รีบหาน้ําฝนที่สะอาดไป ถวายซึ่งในครั้งนี้มากันหลายองค์กระจายกันพักเป็นจุดๆ ไป เมื่อหลวงปู่ถวายน้ําแล้วได้กราบเรียนถามตามที่ตนสงสัยนั้นว่า

“นี่พระคุณเจ้ามาจากไหนและจะเดินทางไปที่ใดครับกระผม”

พระธุดงค์ ตอบว่า “พวกผมพากันเดินธุดงค์จะขึ้นเขา แต่นี่ผ่านมาจึงเเวะพักเหนื่อย”

หลวงปู่คําดีถามว่า “การเดินธุดงค์นี้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์สิ่งใดครับกระผม”

พระธุดงค์ตอบว่า “เพื่อความวิเวก เพื่อหาความสงบและเพื่อโมกขธรรมคือ ความพ้นทุกข์”

หลวงปู่คําดี นิ่งคิด เพราะเรื่องนี้เคยได้ถามพระอาจารย์มาแล้ว ท่านว่าหาทางพ้นทุกข์เหมือนกัน ท่านยิ่งเกิดความปีติยินดีในปฏิปทาของท่านเหล่านั้นมาก ท่านมีความศรัทธาในอิริยาบถต่างๆ ที่พระธุดงค์แสดงออกมาให้เห็น ท่านจึงออกปากพูดไปว่า “กระผมมีความสนใจมานานพระคุณเจ้าจะรังเกียจหรือไม่ถ้ากระผมจะขอ ติดตามเดินธุดงค์ไปด้วย เพื่อพระคุณเจ้าจะได้อบรมสั่งสอนให้กระผมได้มีความรู้ความเข้าใจ ตามแนวทางปฏิบัติอย่างที่พระคุณเจ้ากระทําอยู่”

พระธุดงค์จึงถามว่า “ท่านเป็นพระมหานิกาย หรือธรรมยุต”

หลวงปู่คําดีตอบว่า “กระผมเป็นพระมหานิกายครับกระผม”

พระธุดงค์พูดว่า “ท่านเป็นพระมหานิกายไปกับพวกผมไม่ได้ เพราะบางสิ่งบางอย่างหลักธรรมวินัยเข้ากันไม่ได้ หมายถึงไม่เหมือนกัน อย่างเช่นพิธีการต่างๆ พวกผมไม่ได้รังเกียจท่านหรอก แต่ทางที่ดีถ้าท่านอยากไปกับพวกผมจริงๆ แล้วขอให้ท่านไปญัตติใหม่เป็นธรรมยุตเสียก่อน จึงจะไปกับพวกผมได้ เอาละพวกผมก็พักเป็นเวลาสมควรแล้วจะต้องรีบเดินธุดงค์ต่อไป”

หลังจากที่ พระธุดงค์ชุดดังกล่าวจากไปแล้ว หลวงปู่มีความอึดอัดใจ เพราะว่าพระธุดงค์บอกว่าถ้าจะร่วมไปกับท่านจริงต้องไปญัตติเป็นธรรมยุตก่อน ส่วนเราหรือก็ได้รับความเมตตาพระอาจารย์ ตลอดจนญาติโยมมากมายแต่ใจหลวงปู่ก็ไม่อยากทิ้งความพยายามที่จะออกธุดงค์ ท่านรุ่มร้อนจิตใจจนทนไม่ได้จึงอยากจะกราบพระอาจารย์ขออนุญาตลาไปญัตติใหม่ ถ้าท่านเมตตาเราแล้วท่านคงไม่ขัดขวาง ต้องยินดีกับการดําเนินชีวิตที่ดีที่ชอบของลูกศิษย์อย่างแน่นอน เพราะการเดินธุดงค์เป็น ไปเพื่อหาทางพ้นเสียจากทุกข์พระอาจารย์คงจะอนุโมทนากับเรา จึงได้หาโอกาสในวันหนึ่งเข้านมัสการพระอาจารย์เพื่อขอลาญัตติใหม่ เมื่อเข้ามาถึงตรงหน้าแล้วพระอาจารย์ถามว่า “มีธุระอะไรหรือ”

หลวงปู่ตอบไปว่า “กระผมมีปัญหาอยู่ว่า กระผมมีความประสงค์ที่จะออกธุดงค์ แต่ในการเดินธุดงค์นั้น กระผมได้รับคําแนะนําว่า ให้ไปแปรนิกายใหม่เป็นธรรมยุตกระผมจึงมีความอัดอั้นตันใจเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์จะเห็นเป็นการสมควรประการใดครับกระผม”

พระอาจารย์ตอบว่า “เป็นการคิดที่ชอบแล้ว เพราะการเดินธุดงค์นั้นเราจะต้องเข้าหมู่คณะ อีกอย่างหนึ่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ผู้เป็นพระคณาจารย์ใหญ่ในขณะนี้ท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เป็นพระอาจารย์ปฏิบัติ กรรมฐาน ที่มีความสามารถเป็นยอด ท่านได้อบรมสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติแนวทาง พ้นทุกข์จนสามารถมีดวงตาเห็นธรรมกันก็มากมี ถ้าแม้ว่าเป็นวาสนาของท่านคําดีแล้ว ควรจะรีบเร่ง ขวนขวายในขณะครูบาอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ จงไปดีนะและขอให้ตั้งใจค้นคว้าหาสัจธรรมอันล้ําเลิศ อันเป็นทางพ้นทุกข์ได้จริงแท้แน่นอน เป็นหนทางเอกของท่านคําดีแล้ว ขออนุโมทนาให้กุศลผลแห่งภาวนามัยนี้ด้วย ขอให้พบธรรม”

หลวงปู่คําดีแสนตื้นตันใจน้ําตาเอ่อนองด้วยความปีติ นี่แหละหนอครูบาอาจารย์ผู้ประเสริฐ พระอาจารย์ผู้อยากเห็นศิษย์ได้ดีมีวิชชา ต่อไปในอนาคต ท่านย่อมส่งเสริมเช่นนี้เสมอ…หลวงปู่คําดีได้ลาพระอาจารย์แล้ว ยังคิดถึงโยมอุปัฏฐาก ท่านจึงได้ บอกข่าวและมาประชุมกันเพื่อขอลาเดินธุดงค์และจะเรียนรู้ในการแปรญัตติเป็นธรรมยุตด้วย

หลังจากที่หลวงปู่ฯ ได้ยินคําอธิบายจากพระธุดงค์ผ่านไปไม่กี่วัน ท่านก็บอกญาติโยมให้ เตรียมบริขารที่จะไปทําการญัตติใหม่ ไม่กี่วันการเตรียมบริขารเสร็จเรียบร้อย จึงลาญาติโยมเพื่อไปญัตติเป็นพระธรรมยุต ญาติโยมต่างก็อนุโมทนาทุกคน ท่านจึงออกเดินทางจากวัดบ้านหนองคู ซึ่งเป็นบ้านเกิดไปเมืองขอนแก่น ขออนุญาตเข้าพบ พระครูพิศาลอรัญเขต เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตําบลพระลับ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และนมัสการกราบเรียนให้ท่านช่วยญัตติเป็นพระธรรมยุต ท่านก็รับไว้ด้วยความเมตตา และพักอยู่ที่วัดนี้ จนกระทั่งหลวงปู่คําดี ได้ฝึกหัดอ่านอักขระฐานกรณ์ จากอาจารย์ได้เรียบร้อยไม่ขาดตกบกพร่อง ท่านจึงได้อนุญาตให้ญัตติได้เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับปีมะโรง เวลา ๑๓.๓๐ น. เป็นอันเสร็จพิธี โดยมี พระครูพิศาลอรัญเขต เป็นพระอุปัชฌาย ์ พระปลัดสังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมชาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ท่านจําพรรษาที่วัดถ้ํากวาง บ้านหินร่อง ตําบลเมืองเก่า อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ครั้งแรกท่านอยู่องค์เดียว อาศัยญาติโยมชาวบ้านหาร้านที่พักให้ชั่วคราว ต่อมามีหมู่คณะไปด้วยมีพระ ๓ รูป ตาปะขาว ๑ คน ถ้ํากวางนี้เป็นสถานที่ที่มีป่าทึบ ห่างไกลจากหมู่บ้าน ประมาณ ๒ กม. ก่อนที่ท่านจะมาถ้ํากวางนี้ ท่านมุ่งมั่นทําความเพียรอย่างเดียว ยอมสละชีพเพื่อพรหมจรรย์ เพื่อมรรคผลนิพพาน ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานอยู่จําพรรษาที่ถ้ํากวางนี้ ๕ พรรษา ถ้าหากจะมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้น ท่านก็จะไม่ยอมหนีให้เสียสัจจะโดยเด็ดขาด การจําพรรษาที่นี่ท่าน ได้ปฏิบัติภาวนาอย่างเอาเป็นเอาตาย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ ท่านได้เป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก แม้แต่หมู่คณะของท่านทุกรูปก็เป็นไม่มีใครดูแลกันได้เลย ได้อาศัยชาวบ้านหินร่องมาช่วยอุปัฏฐากดูแล

ต่อมาพระ ๒ รูป มรณภาพ และตาปะขาว ๑ คน ได้ตายจากไป ส่วนพระที่ยังไม่มรณภาพต่าง ก็หนีไปที่ต่างๆ ไม่มีใครกล้าอยู่เพราะกลัวไข้มาลาเรียกัน สําหรับหลวงปู่ได้มีญาติโยมมาอ้อนวอนให้หนี แต่หลวงปู่อธิษฐานไว้แล้ว ท่านอยู่ของท่านรูปเดียวตลอดฤดูแล้ง พอจวนจะเข้าพรรษามีพระ ไปร่วมจําพรรษาอีก ๔ รูป ตาปะขาว ๑ คนคือ พระอ่อน หลวงตาสีดา หลวงตาช่วง ตาปะขาวบัว (หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี) ได้ร่วมกับเพื่อนพระด้วยกันปฏิบัติภาวนา จนกระทั่งออกพรรษา

ในขณะอยู่ถ้ํากวาง บ้านหินร่อง กลางฤดูแล้ง ปี พ.ศ.๒๔๘๔ คิดอยากจะไปวิเวกที่ “ภูเก้า” ขณะนั้นไข้ยังไม่หายดี ก่อนไปคิดเสียสละตัดสินใจไป หากจะเป็นอย่างไรก็ยอมเป็น จะหายก็หายจะตายก็ตาย ตัดสินใจอย่างนั้นก็เล่าให้ลูกศิษย์ซึ่งเป็นไข้เหมือนกันฟัง

“ผมจะไปภูเก้า ท่านจะไปด้วยไหม ถ้าผมไปผมยอมสละชีพได้นะ จะหายก็หายจะ ตายก็ตาย หากถึงภูเขาและถ้ําแล้ว ถ้าลงบิณฑบาตไม่ได้ผมก็ไม่ลง หากชาวบ้านเขาไม่เอา อาหารมาส่งผมก็ไม่ฉัน” โสสุด (ตั้งใจแน่นอน) อย่างนี้ก็ตกลงไปด้วยกัน หลวงปู่เป็นนักต่อสู้ผู้ล้ําเลิศจริงจังต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นยอด ถึงแม้ว่าสังขารร่างกายจะเป็นอย่างไร หลวงปู่ไม่เคยคิดเดือดร้อน ท่านถือว่า ถ้าไม่ได้ธรรมแล้วขอยอมตาย สัจจะวาจาที่ตั้งไว้บังเกิดผลได้อรรถธรรมชั้นสูง ลงมาสอนอย่างน่าเคารพกราบไหว้บูชายิ่ง ใน

หลวงปู่คําดีไปอยู่ในถ้ํากวางแต่ละครั้ง ก็ล้มป่วยถูกชาวบ้านหามลงมาทุกครั้ง ท่านอธิษฐานอยู่ ๕ ปี ก็ต้องถูกหามลงมาทุกปีเหมือนกัน แต่อาศัยความเพียรเป็นเลิศมุ่งตรงทางเอกปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างไม่มีอะไรจะเปลี่ยนจิตใจท่านได้ แม้สุขภาพไม่สมบูรณ์นักก็ตาม ความขยันในการประพฤติปฏิบัติภาวนา หลวงปู่ไม่เคยทอดทิ้งละเลย แม้ยามเจ็บป่วยหลวงปู่ยังมีสติพร้อมมูล มุ่งหวังธรรมะด้วยการเอาชีวิตเข้าแลก

ปฏิปทาในการปฏิบัติของท่าน ๆ เอาความตายเข้าสู้ บางวันเดินจงกรมตลอดคืนก็มี บางครั้ง นั่งสมาธิตลอดคืน บางวันเดินจงกรมตลอดวันอีก การปฏิบัติของท่านปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่ห่วงแม้แต่เรื่องการอาบน้ํา แม้เหงื่อจะไหลชุ่มโชกก็ตาม ท่านบอกว่าเหงื่อไหลตามตัวไม่เป็นไร แต่ใจมันเย็นชุ่มฉ่ตลอดเวลา จึงไม่เกิดความรําคาญ ลูกศิษย์ที่ศึกษาปฏิบัติภาวนากับท่าน กราบเรียนถามท่านอีกว่า

“ท่านอาจารย์ กระผมเห็นท่านปฏิบัติภาวนาตลอดวันตลอดคืน ไม่ทราบว่าท่านเอา เวลาไหนนอน”

ท่านตอบว่า “จิตมันพักอยู่ในตัวนอนอยู่ในตัว มีความยินดีและเพลิดเพลิน ในการปฏิบัติภาวนา จึงไม่รู้สึกเหนื่อยและไม่ง่วงนอน”

ในระหว่างที่ท่านวิเวกภาวนาอยู่ที่เขาตะกุดรังนั้น ท่านได้ถือสัจจะอันหนึ่งคือ ท่านถือสัจจะฉันผลไม้ แทนข้าวและอาหารสับเปลี่ยนกันไปคือ ฉันกล้วย มะพร้าว มัน เผือก น้ําอ้อย น้ําตาล ๕ วัน แล้วจึงกลับไปฉันอาหารคาว-หวาน ๓ วัน สลับกันเช่นนี้ตลอด เวลาขณะที่ท่านออกธุดงค์ประมาณ ๓-๔ เดือน ในระหว่างที่เร่งความเพียรอยู่นั้นท่านพูดแต่น้อย ไม่มีเรื่องจําเป็นท่านไม่พูดคือ ท่านพยายามฝึกสติไม่ให้เผลอออกจากกายและใจไปทุกๆ อิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ท่านมีความเพียรพยายามจนจิตของท่านได้สมาธิใหม่สมความประสงค์ของท่าน จิตของท่านรวมอยู่เป็น วันเป็นคืนก็ได้ ขณะที่จิตของท่านได้กําลังเช่นนี้ ท่านได้พิจารณาธาตุ ๔ คือ ดิน น้ํา ลม ไฟ ตลอด ทั้งอาการ ๓๒ ก็เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านได้เพียรพยายามพิจารณาทะลุเข้าไปถึงเวทนา ทั้ง ๓ ตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ก็เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านได้พิจารณาไปจนกระทั่ง จิตแสดง ความบริสุทธิ์ของจิตให้เห็นอย่างชัดเจน ขณะนี้แสดงว่า จิตของท่านได้ผ่านไตรลักษณ์ไปแล้ว

ครั้งหนึ่งเป็นฤดูแล้ง ตรงกับเดือน ๓ แรม ๓ ค่ํา ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้ยินเสียงใบพลวงหล่น ดังตั้งติ้ง ๆ ขณะที่หลวงปู่คําดีเดินจงกรมอยู่นั้น ประมาณ ๓ ทุ่ม สมัยนั้นใช้เทียนไขตั้งไว้ตรงกลาง โคมผ้าที่ทําเป็นรูปทรงกลม เจาะรูมันก็สว่างดี ลมพัดไฟก็ไม่ดับ มองไกล ๆ เห็นแดงร่า ทางจงกรม สูงขึ้นไปจากพื้นประมาณ ๒ เมตร เงียบสงัดดี ได้ยินแต่เสียงใบพลวงตกดังตั้งติ้ง ๆ ทันใดนั้นได้ยินเสียงสัตว์ ได้ยินเสียงขู่ครั้งแรก สงสัยเสียงอะไรแปลกๆ ใจมันบอกว่า “เสือ” แต่ก็ยังไม่แน่ใจ จึงเดินกําหนดจิตกลับไปกลับมาที่ทางจงกรมอยู่อย่างนั้น มันขู่ครั้งที่สองนี่ชัดเสียแล้ว มันดังชัด “อา..อา..อา..อา!” เสียงหายใจดังโครกคราก โครกคราก ไกลออกไปประมาณ ๑๐ เมตร ไม่นานนัก ได้ยินเสียงขู่คํารามอีก มาอยู่ใกล้ ๆ ทางจงกรมแหงนหน้าขึ้นดู แล้วขู่ อา.อา.อาอากลัวแสนกลัว ยืนอยู่กับที่เผลอไปพักหนึ่ง จิตมันจึงบอกว่า “กรรม” พอจิตมันแสดงความผุดขึ้นในใจว่า “กรรม” ก็มีสติดีขึ้น ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ พอระลึกได้แล้ว มีสติปกติ จึงได้พูดกับมันว่า ถ้าเราเคยทํากรรมทําเวรต่อกัน ถ้าจะขึ้นมากินข้าพเจ้า จงขึ้นมากินเถิด ถ้าเราไม่เคยทําเวรทํากรรมต่อกัน ก็จงหนีเสีย เรามาอยู่ที่นี่ก็ไม่เคยรบกวนใคร ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ว่าสัตว์ตัวเล็กและสัตว์ตัวใหญ่ เรามาที่นี่เพื่อมาปฏิบัติสมณธรรมเท่านั้น

พอระลึกได้จิตตั้งมั่นแล้ว หายกลัว ความกลัวหายหมดเลย ไม่มีความกลัว เกิดความ เมตตารักมัน ฉวยโคมได้ออกตามหามันทันที ถ้าพบแล้วจะไม่มีความกลัว ไม่ว่าจะเป็นเสือเล็กหรือ เสือใหญ่ สามารถจะเข้าลูบหลังและขี่หลังมันได้

อีกครั้งหนึ่งหน้าแล้งปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านได้เดินทางไปวัดบ้านเหล่านาดี (วัดป่าอรัญวาสี) จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านเพื่อเป็นประธานสร้างกุฏิที่ญาติโยมเขามีศรัทธาที่จะสร้าง เป็นอนุสรณ์ในด้านวัตถุถาวรไว้ แต่ท่านไม่รู้สึกยินดี เพราะท่านชอบสันโดษ ไม่มีนิสัยชอบก่อสร้าง ส่วนที่เห็นว่าทางวัดมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ ส่วนมากเป็นศรัทธามาสร้างถวายท่านก็ไม่ขัดศรัทธาการ ก่อสร้างกุฏิที่วัดนี้ก็เช่นเดียวกัน มีศรัทธา ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการก่อสร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้อง การสร้างไม่เป็นที่ตกลงกันฝ่ายที่ต้องการสร้างไม่ฟังเสียงคัดค้านได้ดําเนินการก่อสร้างไปเลย เมื่อรีบเตรียมหาวัสดุก่อสร้าง พวกที่คัดค้านก็หาเรื่องคัดค้านฟ้องร้องกัน หาว่าทําผิดกฎหมายบ้านเมือง ให้เจ้าหน้าที่มาจับ

พอออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านกลับไปวัดบ้านเหล่านาดีอีก พอดีกับการก่อสร้างเสร็จทางญาติโยมที่มีจิตศรัทธาก็ได้ทําบุญถวายกุฏิเป็นที่เรียบร้อย

ในปีนั้น พวกโยมที่คัดค้านการก่อสร้างกุฏิและกลั่นแกล้ง พูดจาก้าวร้าวท่านต่าง ๆ นานับประการนั้น คนที่เป็นหัวหน้าเกิดอาเจียนเป็นเลือดตายส่วนอีกคนหนึ่งนอนหลับตาย พวกญาติๆของฝ่ายคัดค้านเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นก็กลัวกันมากเกรงว่า บาปกรรมที่พวกตนทําไว้กับพระสงฆ์จะตกสนองเช่นเดียวกับสองคนแรก จึงพากันไปกราบนมัสการขอขมาโทษจากท่าน ๆ จึงเทศน์ให้ฟังว่า

“เรื่องเป็นเรื่องตายไม่ใช่เรื่องของอาตมาเป็นเรื่องของพวกเขาต่างหากเป็นเพราะใคร ทํากรรมอย่างใดก็ได้รับผลของกรรมอย่างนั้น ส่วนพวกเจ้าทํากันเองพวกเจ้าคงจะรู้ว่าเป็นเพราะอะไร”

แล้วท่านก็ให้พากันทําคารวะสงฆ์ หลวงปู่พร้อมด้วยสงฆ์ก็ให้ศีลให้พร และท่านได้เทศน์ให้ สติเตือนใจอีกว่า

“นี่แหละ การเบียดเบียนท่านผู้มีศีลย่อมได้รับกรรมทันตาเห็นจะหาว่าไม่มีบาปมีบุญที่ไหนได้ ศาสนามีทั้งคุณและโทษ ถ้าผู้ปฏิบัติดีก็นําพาจิตใจคนเหล่านี้ขึ้นสวรรค์นิพพาน ถ้าคนเหล่านี้ปฏิบัติไม่ดี ก็พาคนเหล่านั้นตกนรกอเวจีก็มีมาก เรื่องบาปกรรมย่อมไม่ยกเว้นให้ กับใครทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นพระเณร หรือเจ้านายชั้นไหนๆ ก็ตาม ถ้าทําบาปลงไปเป็นบาปทั้งนั้น ไม่มีการยกเว้น ลําเอียง”

บริเวณวัดถ้ำผาปู่

พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นต้นมา หลวงปู่คําดี ปภาโส หลังจากล้มป่วยลงมาจากป่าเขาพงไพรแล้ว อาการต่างๆในร่างกายของท่านอ่อนแอมาตลอด หลวงปู่เป็นผู้มีจรรยาวัตรการธุดงค์และการ ประพฤติดีปฏิบัติชอบมาตลอด หลวงปู่มีลูกศิษย์มากมายทั้งเป็นสงฆ์และฆราวาสโดยทั่วไป บุคคลผู้ที่ไม่เคยพบหลวงปู่คําดี เลยเพียงได้ยินชื่อหรือภาพที่เผยแพร่ออกไปยังหมู่ชนเท่านั้นก็บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า สละบ้านการงานมาศึกษา

ทางเข้าถ้ำผาปู่

ต่อมา หลวงปู่คําดี ได้ไปพบถ้ําผาปู่ ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นสภาพป่า แต่เป็นสถานที่เก่าแก่ของวัดโบราณ และได้รกร้างมานาน หลวงปู่คําดี เข้าไปปักกลดบําเพ็ญภาวนาเห็นว่ามีความสงบ วิเวกดี เหมาะแก่การปฏิบัติ ต่อไปภายหน้าจะมีผู้ที่สนใจใคร่ประพฤติธรรมมาใช้สถานที่แห่งนี้กันมาก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างกุฏิหลังหนึ่งเพื่อถวายหลวงปู่อยู่จําพรรษา ต่อมาชื่อเสียงของ หลวงปู่คําดี พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้ขจรไปยังชาวจังหวัดเลยมากขึ้น

หลวงพ่อพระเศียร วัดถ้ำผาปู่

จนมีผู้ศรัทธาทั้งหลายในจังหวัดพากันสละเงิน เสริมสร้างเสนาสนะมากขึ้นหลายหลังอีกทั้ง ศาลาหลังใหญ่ขึ้นอีกหลังหนึ่ง ชาวบ้านทั้งหลายจึงนิมนต์หลวงปู่อยู่จําพรรษาที่วัดถ้ําผาปู่จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต เป็นที่น่ายินดีที่ชาวจังหวัดเลย ได้เพชรน้ํางามที่เจียระไนแล้วมาเป็นมิ่งขวัญ ประดับจิต ประดับใจ แห่งชีวิตด้วยร่างกายของท่านไม่ดี ท่านมักเตือนลูกศิษย์ของท่านเสมอว่า

“ร่างกายสังขารของผมแย่พอสมควรแล้ว ถ้าเป็นรถยนต์ก็ทิ้งได้แล้ว ถ้าหากผมล้มป่วยคราวนี้ คงไม่ไหวแน่ ถ้าหมู่คณะจะรักษาร่างกายผมก็รีบจัดการรักษาเสีย”

พวกสานุศิษย์ทั้งหลายเห็นท่านพอเดินได้ พูดได้ ฉันได้ เทศน์ได้ ก็พากันใจเย็นและจัดหาให้ฉันตามปกติ แต่ไม่ได้พาหลวงปู่เข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ต่อมาวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๖ ตอนเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เรียกญาติโยมทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว ท่านก็พูดว่า

“มาฟังเทศน์กัน อาตมาจะเทศน์ครั้งสุดท้าย ต่อไปจะไม่ได้เทศน์อีกแล้ว จะไม่ได้ ประพรมน้ําพระพุทธมนต์อีกแล้ว และจะไม่ได้พูดกันอีกต่อไป”

พระลูกศิษย์และโยมทั้งหลาย เมื่อได้ฟังคําพูดของหลวงปู่อย่างนั้นก็พากันแปลกใจ แต่ไม่มีผู้ใดเฉลียวใจว่า คําพูดของท่านนั้นเป็น การพูดครั้งสุดท้ายจริงๆ หลวงปู่เริ่มเทศน์เรื่อง “ความไม่ประมาท”

เมื่อท่านเทศน์จบ ลูกศิษย์ลากลับแล้ว ท่านเข้าพักผ่อนตามอัธยาศัยของท่าน จนกระทั่ง เวลา ๑๕.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๖ ท่านเดินเข้าห้องน้ําล้างหน้าเรียบร้อยแล้ว ท่านก็พูดขึ้นว่า “ผมเป็นลม”

ขณะนั้นมีพระอุปัฏฐากท่าน ๔ รูป ได้ประคองท่านนอนลงที่อาสนะ เมื่อนอนลงแล้วท่านไม่พูดไม่คุยกับใครทั้งนั้น มีแต่นอนเฉยๆ ไม่มีการขยับตัว ลูกศิษย์ต่างก็พากัน ตกใจ ต่างก็หายามาให้ท่านฉัน แต่ไม่หาย จนถึงเวลา ๑๘.๐๐ น. ก็ให้โยมไปเชิญหมอจากโรงพยาบาล มาตรวจดูอาการของหลวงปู่ มีการฉีดยาให้น้ําเกลือ ท่านก็ยังไม่ฟื้น

รุ่งขึ้นวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๖ คุณหมอก็สวนปัสสวะให้ท่าน สายยางที่สวนเข้าไป ทําให้เกิดเป็นแผลภายใน เลือดไหลไม่หยุด ลูกศิษย์จึงปรึกษาว่าควรพาไปรักษาตัวในกรุงเทพฯ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๖ คณะศิษยานุศิษย์นําหลวงปู่ถึงโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา ตรวจสอบอาการของหลวงปู่ แล้วให้การบําบัดรักษา ประมาณ ๙ เดือน อาการหลวงปู่ดีขึ้นเป็นลําดับ ศิษยานุศิษย์ จึงเห็นสมควรให้ท่านกลับ วัดถ้ําผาปู่

หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร
หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ อาการไข้ได้กําเริบขึ้นอีก นายแพทย์ปัญญา ส่งสัมพันธ์ จึงส่งรถพยาบาลมารับท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญาที่กรุงเทพฯ อีก คราวนี้ มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด พอถึงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๑๓.๑๓ น. หลวงปู่ท่าน ก็สิ้นลมจากไปด้วยอาการสงบ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดรับเป็นเจ้าภาพบําเพ็ญพระราชกุศล ตลอด ๗ วัน และบําเพ็ญพระราชกุศล ๕๐ วันและ ๑๐๐ วันตามลําดับ

สําหรับอาพาธของหลวงปู่รวมสองครั้งดังนี้ ครั้งแรก เป็นเวลา ๙ เดือนครั้งที่สอง เป็นเวลา ๙ เดือน

สิริรวมอายุจนถึงวันมรณภาพได้ ๘๓ ปี รวมพรรษาธรรมยุตได้ ๕๗ พรรษา ๓ เดือน ๒๓ วัน

ปี พ.ศ.๒๔๗๑ จําพรรษาที่ วัดบ้านยาง ตําบลโคกสี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๗๒ จําพรรษาที่ วัดป่าสาลวัน อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ปี พ.ศ.๒๔๗๓-๒๔๗๕ จําพรรษาที่ วัดป่าหนองกุ บ้านหนองคู ตําบลบ้านหว้า อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๐ จําพรรษาที่ วัดป่าช้าดงขวาง ตําบลหัวทะเล บ้านโนนฝรั่ง จังหวัดนครราชสีมา

ปี พ.ศ.๒๔๘๑ จําพรรษาที่ วัดป่าอภัยวัน บ้านทุ่ม ตําบลบ้านทุ่ม อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๖ จําพรรษาที่ วัดถ้ํากวาง บ้านหินร่อง ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๒๔๘๗-๒๔๙๓ จําพรรษาที่ วัดป่าชัยวัน ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๙๔ จําพรรษาที่ วัดป่าอรัญญวาสี บ้านเหล่านาดี ตําบลบ้านหว้า อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จําพรรษาที่ วัดป่าชัยวัน ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๔๙๖-๒๔๙๗ จําพรรษาที่ วัดป่าคีรีวัน คําหวายยาง ภูพานคํา ตําบลบ้านกง อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๐๘ จําพรรษาที่ วัดถ้ําผาปู่เขานิมิตร ตําบลนาอ้อ อําเภอเมือง จังหวัดเลย

ปี พ.ศ.๒๕๐๙ จําพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง ตําบลหมากหญ้า อําเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ปี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๒๕ จําพรรษาที่ วัดถ้ําผาปู่เขานิมิตร ตําบลนาอ้อ อําเภอเมือง จังหวัดเลย

ปี พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗ จําพรรษาที่ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา คลองตัน หัวหมาก กรุงเทพฯ (เพื่อรักษาโรค)

ปี พ.ศ.๒๔๙๙ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูญาณทัสสี พระครูชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ปี พ.ศ.๒๕๒๑ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครู ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ธรรมโอวาท และเจ้า

ท่านมักจะอบรมลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆว่า “เรามีตาเท่ากับว่าไม่มีตา มีหูเท่ากับว่าไม่มีหู มีท้องก็ฉันอยู่ได้ไปวัน ๆ เท่านั้น ไม่ต้องแสดงความโลภและตะกละ” ให้พากันสําเหนียก ไว้เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง จะต้องมีด้วยกันทุกคนถ้าพูดถึงความโลภ เมื่อมันมี เจตนาบันดาลเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมืด ไม่รู้จักบาปบุญ ไม่กลัวคุกกลัวตะราง อันนี้เรียกว่าฤทธิ์ ของมัน ท่านจงให้ระวังดี ๆ ในเรื่องของสามประการนี้ท่านสอนว่า อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ให้มีสติ รู้เท่าทันมัน เมื่อเราปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง เหล่านี้ก็จะเสื่อมอํานาจไป ตัวอย่างเช่น เมื่อเราประสงค์จะเอาสิ่งใด เราจะต้องพิจารณาเหตุเสียก่อน เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามัน ไม่ผิดศีลธรรม เราก็สามารถเอาได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันผิดศีลผิดธรรม เราก็ละเสียไม่เอา นี่แสดงว่าเราไม่ปรุงแต่งตามมัน ในความอยากได้หรือความโลภ และเราก็มีสติรู้เท่ามัน คือมีการ พิจารณาในเหตุในผลเสียก่อน ถ้าเราประพฤติได้ในลักษณะนี้ เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนดี กระทําแต่ในสิ่งที่ดี มีแต่บุญกุศล ถ้าพูดสั้นๆ ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีผลเท่านั้น คือถ้าเราทําเหตุดี ก็จะได้รับผลดี แต่ถ้าเราทําเหตุชั่ว เราก็จะได้รับผลชั่ว

“แต่การที่จะทําเหตุที่ดีนั้น มนุษย์เราทํากันยากนักยากหนา ที่ว่าทํายากเพราะอะไร ? คือมนุษย์บางเหล่าไม่รู้จักเหตุและผล จึงไม่รู้จักเลือกเฟ้นทําเหตุที่ดีกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือ พวกเรานี้ไม่ค่อยชอบกระทําเหตุที่ดีกัน แต่ผลดีของมันนั้นชอบกันทุกคน”

ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คําว่าตาย ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราตาย หมายถึงจิตใจคนเราตาย คือตายจากมรรคผลนิพพานต่างหาก ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือไม่ประมาทต่อการทําความดี ได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา มีโอกาสจะได้ไปสวรรค์ พรหมโลก หรือมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง ตลอดถึงพระนิพพานข้างหน้าแน่นอน ช้าหรือเร็วแล้วแต่บุญบารมีหรือ ความพากเพียรของตนเอง

“ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถทั้ง ๔ คือยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีการเผลอสติจากอิริยาบถทั้ง ๔ จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเข้าใจไหม (ท่าน ถามลูกศิษย์)” นี่คือเทศน์ครั้งสุดท้ายของท่านก่อนที่จะล้มป่วยลง

คําว่าฟังเทศน์หมายความว่า เอาใจฟังอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวอย่าให้ ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวให้รู้อยู่กับภาวนาหรือให้รู้อยู่เฉพาะใจ อย่าให้ร่างกายนั่งอยู่ ที่นี่แต่ใจมันคิดไปที่อื่น ก็ชื่อว่าใจไม่ฟัง คําว่าใจฟังคือใจจดจ่อ สอนให้ละความชั่วประพฤติความดี ความชั่วก็ได้แก่บาปนั่นแหละ ความดีก็ได้แก่บุญกุศลนั่นแหละ แต่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจของเรา ถ้าพูดให้สั้น ๆ เอาเฉพาะใจความโอวาทของพระพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ย่อลงมาเป็น ๓ ข้อด้วยกัน คือ

๑. พระพุทธเจ้าสอนให้ละ กายทุจริตและประพฤติกายให้สุจริตนี้เป็นข้อที่หนึ่ง

๒. ให้ละ วาจาทุจริตและ ให้ประพฤติวาจาให้สุจริต

๓. ให้ละ มโนทุจริตและ ให้ประพฤติใจให้สุจริต

จะพูดถึงบาป อกุศลกรรมบทหมายความว่า การทําบาปทั้งหลายก็รวมมาอยู่ที่อกุศลกรรมบท ๑๐ ประการนั่นแหละ คําว่าบุญกุศลก็รวมอยู่ที่กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ นั่นแหละชื่อว่ากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ถ้าพูดให้สั้นให้น้อยลงไปอีก กายกรรม ๓ และวจีกรรม ๔ เป็นกิริยา การทําบาป ย่นลงมาทางใจคือ ใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง มี ๓ อย่างเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านั้น หมายใจดวงเดียวคือใจ ก็หมายอันเดียวเรียกว่า เอกังจิตตัง ที่เรียกว่า จิต หัวใจ ก็เรียกว่าเป็นใจดวงเดียว เอกมโนเรียกว่า ใจอันเดียว ตกลงผู้ที่เบื่อความทุกข์ เบื่อความโง่ เบื่อความเป็นบาป ก็มาปฏิบัติแก้ กายทุจริตให้เป็นกายสุจริต แก้วจีทุจริต ให้เป็นวจีสุจริต แก้มโนทุจริต เป็นมโนสุจริต นี้เป็นวิธีปฏิบัติ ถ้าเราจะเทียบในทางโลกเหมือนกับพวกชาวไร่ชาวนาที่มีไร่มีนา แต่ก่อนมันก็เป็นป่าเป็นดงนั่นแหละ เมื่อถือสิทธิ์แล้วก็จึงสร้างจึงถากถาง ทําให้เป็นไร่เป็นสวนทําให้บริสุทธิ์ ทํานาก็ให้เป็นนา จริงๆ ทําสวนก็ให้เป็นสวนจริง ๆ

คนทุกข์คนจนในโลกนี้ไม่ใช่ทุกข์เพราะเสือกิน ไม่ใช่ทุกข์เพราะงูร้ายกัด ไม่ใช่ทุกข์เพราะ ช้างฆ่า แต่ทุกข์เพราะความโลภ ความโกรธความหลงของตน จะทุกข์เพราะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ตัว ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละเป็นผู้ฆ่า

ความโลภ

ความโกรธ

ความหลง

สามสิ่งนี้ร้ายกาจกว่าสิ่งอะไรทั้งหมดร้ายกว่าผีร้าย ร้ายกว่าเสือร้าย ร้ายกว่างูร้าย ไม่มีสิ่งไหน จะร้ายกว่าตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะฉะนั้นให้ระวังที่สุดเรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง สามประการนี้ มันสามารถทําให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้ ฤทธิ์ของมันน่ะ มันอยู่เหนือทุกคนในโลกที่ได้เกิดมาในโลกนี้ ยกเว้นเสียแต่พระอรหันต์

ปัจฉิมบท

ด้วยความขยัน อดทน พากเพียร และจริงใจในการปฏิบัติบูชา เพื่อมุ่งหวังในพระธรรม เป็นผลให้หลวงปู่ได้พบทางแห่งการดับทุกข์และพ้นทุกข์ และเป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่คําดี ปภาโส แห่งวัดถ้ําผาปู่ จังหวัดเลย เป็นพระสุปฏิปันโน

เจดีย์ธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส  
รูปหล่อหลวงปู่คำดี ปภาโส ภายในเจดีย์

ธรรมโอวาท และการปฏิบัติของหลวงปู่ที่ปรากฏในข้อความข้างต้นนี้คงจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้สนใจใฝ่ธรรมทุกท่าน

เครื่องอัฐบริขาร หลวงปู่คำดี ปภาโส ภายในเจดีย์
อัฐิธาตุหลวงปู่คำดี ปภาโส