วันอังคาร, 8 ตุลาคม 2567

พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)

วัดศรีอุบลรัตนาราม
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระศาสนดิลก
พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน)

นิสัยสมบัติแห่งสมณะรูปนี้ ท่านเป็นพระพูดพอประมาณ มีความมักน้อยสันโดษ ชอบที่สงบวิเวก

มีความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย มีจิตใจเป็นปกติเห็นภัยแม้ประมาณน้อย มีความสงบเสงี่ยม ในฐานะเป็นพระผู้น้อย

เป็นพระผู้อดทนต่อโอวาท และอนุศาสน์ ทนได้ทั้งร้อน คือ เดช และทนได้ทั้งเย็นคือ คุณ

เมื่ออยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ท่านก็วางตนได้เหมาะแก่ภาวะ มีพระเดชก็ไม่มากจนเสียพระคุณ มั่นคงในพรหมวิหารธรรม เอาภาระในผู้เจ็บป่วย เป็นพระภิกษุ ผู้อบรมศิษย์ไม่ให้ก่อเวร

ปฏิปทาของท่าน พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) จึงเป็นที่พึงพอใจแก่พระเถระผู้ใหญ่ในยุค นั้นมากที่สุด

นามเดิมของท่านชื่อ เสน สิริบูรณ์ เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๒ ค่ํา เดือนยี่ ปีมะโรง

ตรงกับวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๓ ณ บ้านหนองบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

โยมบิดาชื่อ เพียคํามุงคุล (คําพา)

โยมมารดาชื่อ นางใน สิริบูรณ์

รูปลักษณะของท่านสมบูรณ์ สง่า ผิวดําแดง สูง ร่างใหญ่ เมื่อ อายุได้ ๑๕ ปี ก็ได้ติดตาม พระภิกษุเป็นขุน ผู้พี่ชายเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ณ วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลฯ

หลายปีต่อมา ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ท่าน จึงพาเข้ามาด้วย และได้ฝากไว้ใน สํานักเจ้าคุณพระศาสนโสภณ (อหึสโก อ่อน) วัดพิชัยญาติการาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗

ภายหลังท่านได้บรรพชา อุปสมบท ณ วัดพิชัยญาติการาม

โดยมี ท่านเจ้าคุณพระศาสนาโสภณ (อหึสโก อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ท่านเจ้าคุณพระราชเมธี (กัณณวโร ท้วม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายา “ชิตเสโน

พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)
พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)

การศึกษาพระปริยัติธรรม ของท่านนั้น ได้สอบเปรียญธรรม ๔ ประโยค

ต่อมาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก (ครั้งที่ดํารงตําแหน่ง สมณศักดิ์ที่พระสาสนดิลก เจ้า คณะมณฑลอีสาน) ได้ขอออกไปเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน ท่านจึงได้เลื่อนตําแหน่งขึ้นไปโดยลําดับ พระมหาเสนจึงได้รับตําแหน่งเป็นที่พระสาสนดิลกแทน

ในประวัติของท่านได้ระบุไว้ว่า “ตามธรรมดาพระเปรียญถ้า ได้ ๕ ประโยคขึ้นไป ทรงโปรดให้ เป็นพระราชาคณะเลยทีเดียว

ถ้า ๓-๔ ประโยค ต้องเป็นพระครูเสียก่อน จึงจะเป็นพระราชาคณะได้

สําหรับท่านชิตเสโน เสน หรือพระมหาเสนนี้ ท่านเป็นพระสหชาติในพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงราชย์จึงทรงโปรดให้เป็นพระราชาคณะทีเดียว จัดว่าเป็นส่วนพิเศษด้วย วาสนาบารมี

ตําแหน่งและหน้าที่ของท่านเจ้าคุณพระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) มีดังนี้

๑. ท่านเป็นพระครูสอน พระปริยัติธรรม

๒. เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน

๓. ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลร้อยเอ็ด

๔. ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี

๔. ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง เมืองอุบลฯ

๕. ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชกุลบุตร

ซึ่งกิจอันหนักทั้ง ๖ ประการ นี้ท่านได้กระทําจนสําเร็จผล อย่างสิ้นเชิง

ผลงานของท่านเจ้าคุณพระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) มิเคยตกหล่นให้เป็นที่ลําบากใจแก่พระอาจารย์

นอกจากกิจการงานอันควรนี้แล้ว ท่านยังเป็นพระเถระผู้มีความกตัญญูต่อสถานที่ที่มีพระคุณเช่น วัดสุปัฏนาราม และ วัดศรีทอง

ท่านได้บํารุงปฏิสังขรณ์วัด ศาลาที่ทรุดโทรมให้กลับมีสภาพดีขึ้น เช่น ศาลาการเปรียญ โรงเรียน กุฏิหลายหลัง

นอกจากนี้ท่านยังได้ชักชวน ญาติโยม ได้ร่วมใจกันสร้างศาลาการเปรียญอันเป็นศาสนวัตถุที่ จําเป็นที่วัดบูรพาพิสัย วัดสร้างบัว (บ้านหนองบ่อ) วัดบ้านสลาก และได้ชวนราษฎรมาทําการก่อ (สร้างวัดบ้านนาเมือง ขึ้นอีกวัดหนึ่งด้วย

ในฐานะแห่งพระสหชาติในพระเจ้าอยู่หัว (ร.๖) ท่านได้กระทําจิตอันเป็นกุศล นั่งสมาธิภาวนา ทําจิตใจอันสะอาดสงบระงับ แผ่ไปยังผู้ทรงคุณให้สถาพร ทรงพระเจริญยิ่ง

เมื่อนับชาติแล้ว ชาวอุบลราชธานี ต่างก็มีความภาคภูมิใจ ในพระเถระผู้เป็นพระสหชาติ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยิ่งนัก

ท่านเจ้าคุณพระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) แม้ท่านจะมีวาสนาบารมีทั้งในทางโลกและในทาง ธรรมก็จริงอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านไม่สามารถจะเลี่ยงหลบได้นั้นคือ “วิบากกรรม” ดังที่ท่านมีโรคหืด ประจําตัว

ดังนั้นท่านจึงลาออก จากตําแหน่งหน้าที่ทั้งหมด รับเอาแต่ภาระพระอุปัชฌาย์และครูสอนธรรมเป็นกําลังแก่พระพุทธศาสนา

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ โรคหืด ที่เรื้อรังมานานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เริ่มก่อกิริยาหนักขึ้น

สุดท้ายท่านถึงแก่มรณภาพ ลง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๐๖.๐๐ น.

รวมสิริอายุได้ ๖๑ ปี พรรษา ๔๐

พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลราชธานี

คติประจําใจ ของ ท่านเจ้าคุณพระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) ที่ท่านสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่ เสมอทุกค่ำ – เช้า คือ “จงอย่าก่อเวร และให้ระงับเวร ด้วยความไม่มีเวร”