วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว

ประวัติ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา
บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว

เจ้ามหาอุปราชเพ็ชร์ราช รัตนวงศา หรือ (เจ้าเพชรราช รัตนวงศา) บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว
เจ้ามหาอุปราชเพ็ชร์ราช รัตนวงศา หรือ (เจ้าเพชรราช รัตนวงศา) บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว

เจ้ามหาอุปราชเพ็ชร์ราช รัตนวงศา (เจ้าเพชรราช รัตนวงศา) เป็นเจ้าวังหน้าของพระราชอาณาจักรลาว มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับฝรั่งเพื่อกอบกู้เอกราช ทรงมีความห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว ได้สมญานามว่า “บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว” ปรีชาสามารถทั้งบู๊และบุ๋น นับเป็นพหูสูตท่านหนึ่งแห่งยุคสมัย ทรงมีวิทยาคมแก่กล้า คงกระพันชาตรี พระองค์ผู้ถูกนำมา สร้าง เป็นตัวเอกของเรื่อง เพชรพระอุมา ในบท “รพิน ไพรวัลย์

สำหรับพี่น้องประชาชนจาก สปป.ลาว น่าจะคุ้นเคยกับชื่อ “เจ้าเพชรราช” หรือ “เจ้ามหาอุปราชเพชรราช” ที่ทรงได้รับสมญานาม “บุรุษเหล็ก” กันเป็นอย่างดี นอกจากพระองค์จะเป็นนักปกครอง เข้าถึงประชาชน และเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพแล้ว ยังเป็นผู้นิยมไพร ปราบเสือ ล่าจระเข้ มีการคบหาผู้คนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง จนวีรกรรมของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ

เจ้ามหาอุปราชเพชรราช ถือเป็นบุคคลสำคัญของลาวในศตวรรษที่ 20 พระองค์เป็นที่รักและเคารพนับถือของคนลาวทั่วไป สืบเนื่องมาจากบทบาทในการกู้อิสรภาพ ซึ่งมีผู้บันทึกไว้หลายแหล่งแล้ว ในที่นี้ขอหยิบยกเกร็ดข้อมูลในด้านชีวิตส่วนตัว ที่ท่านคบหากับประชาชนทุกแห่ง เรียกได้ว่าเป็นนักปกครองที่เข้าถึงประชาชน

การคบหาและเข้าถึงประชาชนทุกแห่งหนนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากอุปนิสัยส่วนพระองค์ที่ “นิยมไพร” พระองค์รู้จักภูมิประเทศในอาณาเขตลาวอย่างช่ำชอง จนได้รับสมญานามว่า “บุรุษเหล็ก” แห่งราชอาณาจักรลาวในยุคปรมาณู

มหาสิลา วีระวงส์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ นักอักษรศาสตร์-วรรณคดี บันทึกไว้ในหนังสือ “เจ้าเพชรราช บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว” เล่าถึงพระประวัติของ เจ้าเพชรราช ว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากวงศ์กษัตริย์แห่งนครล้านช้างหลวงพระบาง มีศักดิ์ทางเจ้าชั้นเจ้าราชภาคิไนย เป็นชั้นลำดับที่ 4 ตามลำดับศักดิ์ชั้นเจ้าในวงศ์กษัตริย์ที่มีอยู่ 5 ชั้น โดยชั้นที่ 4 เทียบเท่า “หม่อมราชวงศ์” ของไทย พระองค์ได้รับสถาปนาเป็นเจ้ามหาอุปราชแห่งนครหลวงพระบาง เพราะราชวงศ์ของพระองค์เคยได้รับตำแหน่งนี้มาแต่โบราณหลายชั่วคน

◉ ประสูติ
เจ้ามหาอุปราชเพชรราช เป็นโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้ามหาอุปราชบุญคง พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ.1889 ครั้งวัยรุ่น พระองค์ไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1905 ซึ่งทุกครั้งที่โรงเรียนปิดเทอม พระองค์จะข้ามไปท่องเที่ยวและพักที่ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ เจ้าเพชรราช ยังเคยอาศัยที่บ้านพักของมิสเตอร์เลนน อาจารย์สอนวิชาดาราศาสตร์ จุดนี้เองที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้พระองค์สนใจเรื่องดาราศาสตร์ รวมทั้งเรื่องโหราศาสตร์ พระองค์จึงเป็นนักค้นคว้าหลักทางโหราศาสตร์โบราณเป็นคนแรกๆ และแต่งหลักคำนวณปฏิทินลาวไว้

พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคำแว่น พระพี่นางเธอของเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งตกพุ่มหม้ายและมีอายุมากกว่าหลายปี ทั้งนี้ว่ากันว่าเป็นการประสานรอยร้าวระหว่างราชวงศ์หลวงพระบางสายเจ้ามันธาตุราชกับสายเจ้าอุ่นแก้ว (ตระกูลวังหน้ากับตระกูลวังหลัง) มีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์ คือ เจ้าหญิงคำผิว (เสียชีวิต) เจ้าหญิงคำจันทร์ (สามีเป็นชาวฝรั่งเศส) และเจ้าชายสุริยะราช

ขณะรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการหัวเมืองลาวที่นครเวียงจันทน์ ได้อนุชายา ชื่อนางศรี (ชาวเวียงจันทน์) บุตรธิดา 2 คน ได้แก่ เจ้าหญิงอรุณา (เจ้านา) เพชรราช และเจ้าชายอุ่นแก้ว (เจ้าแก้ว) เพชรราช (ภายหลังเมื่อสิ้นเจ้าเพชรราชแล้ว ทั้งสองท่านนี้ได้ตามหม่อมอภิณพร รัตนวงศามาอยู่ในเมืองไทย เจ้านาเรียนพยาบาล และเจ้าแก้วรับราชการทหาร)

เล่ากันว่า เจ้าเพชรราช รัตนวงศา ทรงมีวิทยาคมแก่กล้า คงกระพันชาตรีปืนยิงไม่ระคาย สามารถแปลงร่างเป็นสรรพสิ่งต่างๆ เช่นครั้งหนึ่งทรงแปลงเป็นแมลงหนีพวกเวียดนามที่ลอบเข้ามาปองร้ายพระองค์ ทรงเคยว่ายน้ำทวนแม่น้ำโขงไปโผล่ยังจุดหนึ่งที่ห่างไกลมาก จนคนลือกันว่าพระองค์สามารถแปลงกายเป็นปลาแล้วว่ายน้ำอย่างสะดวกไปตามลำน้ำเชี่ยวกราก และยังลือกันว่า พวกฝรั่งไม่เชื่อในเรื่องเหล่านี้ จึงทรงแปลงเป็นแมลงต่อหน้าพวกนั้น จนเกิดความเกรงกลัวไปตามๆ กัน เรื่องนี้บันทึกไว้โดย โจล เอม. เฮพเพิร์น (Joel M. Halpern) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกิจการในลาวในยุคพระราชอาณาจักร

โจล เอม. เฮพเพิร์น เล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งระหว่างติดตามเจ้าเพ็ชร์ราชเสด็จเยี่ยมราษฎรในแถบหลวงพระบางเมื่อปี 1959 ไว้ว่า ชาวบ้านคนหนึ่งมาขอให้พระองค์ช่วยไล่ผีที่เข้าสิงลูกสาว เจ้าเพ็ชร์ราช ทรงขึ้นไปบนเรือนโดยไม่ถอดรองพระบาทนัยว่าเพื่อแสดงพระองค์ในฐานะเจ้าผู้ปกครอง เมื่อทอดพระเนตรเห็นเด็กสาวแล้ววินิจฉัยว่าป่วยเป็นไข้ป่า จึงทรงมอบยาควินินให้ แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเจรจากับผีผ่านคนทรง ซึ่งเป็นข้าราชการเก่าผู้หนึ่ง ครั้นแล้วก็ทรงไล่ผีจากครัวเรือนนั้น

เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และคณะ
เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และคณะ

คราวนี้วันต่อมา ผู้หลักผู้ใหญ่หมู่บ้านนั้นถึงกับขอให้พระองค์ช่วยไล่ผีจากหมู่บ้าน เพราะกลัวผีจะทำร้าย หลังจากได้รับคำสั่งจากพระองค์ให้ถางป่ารอบๆ เพื่อทำลายแหล่งเพาะยุงป้องกันไข้ป่า แต่ชาวบ้านเกรงว่าผีจะโกรธ เจ้าเพ็ชร์ราชจึงทรงประกอบพิธีอีก อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอำนาจเจ้าบ้านเจ้าเมืองของพระองค์ขับไล่ผีไป พวกทหารติดตามยิงปืนไล่เข้าไปในป่า แล้วทำการเผาหอผี หรือศาลปู่ตาจนวอดวาย จากนั้นถึงจะถางป่ากันได้

มหาสิลา วีระวงส์ ปราชญ์ชาวลาวที่เคยติดตาม เจ้าเพ็ชร์ราช ก็เล่าว่า “ถ้ามีที่ใดราษฎรว่าเข็ดขวาง หนองใด ห้วยใด แม่น้ำใด ที่เขาว่ามีผีร้าย ประชาชนลงหากินไม่ได้ พระองค์ก็ไปเที่ยวปราบให้เสมอ

นอกจากผีแล้วพระองค์ยังปราบสัตว์ร้ายในป่าที่คอยทำร้ายผู้คนทั้งเสือ จระเข้ และช้างร้าย

มหาสิลา ซึ่งเคยติดตามพระองค์ไปล่าสัตว์ โดยเฉพาะช่วง ค.ศ. 1931-1939 อธิบายอุปนิสัยของพระองค์ว่า เป็นคนมีสติ พูดน้อย พูดติดอ่าง ไม่ลื่นไหล แต่มั่นคง น้ำพระทัยอดทน กล้าหาญ หนักแน่น ตรงต่อเวลา และมักผจญภัย มีมานะ

ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ยังทำตัวเป็นเจ้าอยู่เสมอ รักเกียรติความเป็นเจ้า หากชาวฝรั่งเศสเข้ามาหาพระองค์ที่ห้องทำงาน ถ้าไม่ใช่เชื้อเจ้า ไม่ว่าจะตำแหน่งสูงปานใด พระองค์ไม่เคยลุกจากเก้าอี้ไปจับมือ เว้นแต่ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว

เรื่องที่พระองค์ชื่นชอบที่สุด คือ เมื่อมีราษฎรถือว่าที่ใด หนองใด ห้วยใด แม่น้ำใด เฮี้ยนนัก มีผีร้าย ประชาชนลงหาปลาไม่ได้ พระองค์จะเที่ยวปราบให้เสมอ หรือมีสัตว์ร้ายรบกวนพืชผักที่ปลูกไว้ พระองค์จะจัดการทันที เรียกได้ว่าเป็น “ที่พึ่ง” ของเหล่าราษฎรโดยแท้

วีรกรรมอันลือลั่นของพระองค์มีอยู่หลายครั้ง อย่างเมื่อ ค.ศ. 1932 ราษฎรแชนดินมารายงานว่า มีเสือโคร่ง 2 ตัวอยู่ใต้บ้าน ดักกินควายหมดไป 21 ตัว ชาวบ้านเดือดร้อน ขอให้พระองค์ไป “ปราบเสือเจ้าเพชรราช พาหมู่ข้าราชการ 6-7 ราย รวมถึงมหาสิลา ไปยิงเสือที่บ้านแชนดิน แถบน้ำงึม แขวงเวียงจันทร์ แต่ละรายถือปืนคนละกระบอก พระองค์ขับรถเอง

เจ้าเพชรราช เกณฑ์ชาวบ้านโห่ร้อง ตีฆ้อง ตีกลอง ให้ดังสนั่น ส่วนพระองค์กับหมู่ข้าราชการและมหาสิลา ดักอยู่ทางที่เสือจะออกไป พระองค์เล่าเหตุการณ์ให้มหาสิลาฟังว่า พระองค์นั่งบังต้นยาง พอโห่ไล่มาสักพัก เริ่มได้ยินเสียงครางหืดหาด จึงส่องไปตามป่าห่างๆ ต้นไม้ที่พระองค์นั่งอยู่ห่างจากต้นไม้ที่เสือผ่านประมาณ 15-16 เมตร พระองค์ตั้งใจให้เสือผ่านไปก่อน แล้วยิงตัวที่เดินตามหลังนัดหนึ่ง เชื่อว่าตัวหน้าจะต้องกระโดดไปข้างหน้า น่าจะยิงได้ทันอีกตัว

เมื่อถึงเวลาสมควร แต่ยังไม่เห็นเสือผ่านต้นไม้ไป จึงวกคืนมาดูทางฟากต้นไม้อีกด้าน ก็เห็นหัวเสือโผล่พ้นต้นไม้ ห่างพระองค์เพียง 2 เมตร พระองค์ยิงใส่ก้านคอจนเสือหมอบคาที่ แต่เสือยังเงยหัวผงกอยู่ พระองค์ซ้ำอีกนัด ส่วนตัวที่สองกระโดดบังต้นไม้หายไป ยิงทันแค่ตัวเดียวเท่านั้น

นอกจากปราบเสือ ยังมีเรื่องเล่าการ “ปราบจระเข้” ที่หนองเม็ก หนองยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้าง 200-300 เมตร อยู่ในป่าลุ่ม ใกล้น้ำงึมทางเหนือ หนองมีจระเข้ชุกชุม ชาวบ้านไม่กล้าหากินในหนอง และยังเชื่อกันว่ามีผีร้าย ต่อมาเจ้าเพชรราชพาข้าราชการไปหาโห่เนื้อตามแถวบ้านหาดเกลี้ยงทุกวันเสาร์ การโห่เนื้อก็แบ่งปันให้ชาวบ้านที่ไปโห่ทุกคน วันที่ไม่ได้เนื้อ พระองค์จะซื้อวัวหรือหมูของชาวบ้านมาฆ่า และแบ่งปันให้ชาวบ้านกินทั่วกัน

ช่วงแรกที่ไปถึงบริเวณริมหนอง มหาสิลา เล่าว่า กลุ่มผู้เดินทางนั่งดูจระเข้นับร้อยอยู่ในหนอง จระเข้ลอยอยู่แบบไม่กลัวใคร เนื่องจากไม่เคยถูกรบกวน วันแรกพระองค์ใช้ปืนเมาเซอร์ยิงจระเข้ที่ลอยอยู่ 12 นัด ตัวที่ถูกยิงตายก็จมในหนองน้ำ แต่ไม่มีคนกล้าลงไปดู ส่วนตัวที่ไม่ถูกยิงก็ดำน้ำ และว่ายห่างออกไป

สองอาทิตย์ต่อมา พระองค์สั่งให้เจ้าเมืองทุกระดับป่าวประกาศให้ชาวบ้านตาลเปลี่ยว หาดเกลี้ยง แชนดิน นากุง เป็นต้น ลงหาปลาหนองแม็ก โดยให้เจ้าเมืองเอาเรือไปที่หนองหลายลำ และจัดทำแพไว้ พระองค์ไปนั่งเรือหายิงจระเข้ วันเดียวยิงได้ 13 ตัว วันต่อมาก็ฆ่าลงต่อเนื่อง จนจระเข้หนองเม็กนับร้อยหนีไปหมด หลังจากนั้นชาวบ้านก็ลงหากินในหนองน้ำได้สบายจนทุกวันนี้

ลายเซ็นต์ หนังสือ อาวุธปืนและกีฬาล่าสัตว์ โดย เจ้าเพชรราช รัตนวงศา สปป.ลาว
ลายเซ็นต์ หนังสือ อาวุธปืนและกีฬาล่าสัตว์ โดย เจ้าเพชรราช รัตนวงศา สปป.ลาว

เจ้าเพชรราช เล่าถึงเรื่องการล่าสัตว์ของพระองค์ในหนังสือ “อาวุธปืนและกีฬาล่าเนื้อ” ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า กีฬาล่าเนื้อ เป็นกีฬากลางแจ้งที่ผู้ไม่เคยเห็นมาก่อนจะรู้สึกไม่ชอบ และเกลียดเป็นที่สุด เพราะเห็นแง่ร้ายด้านเดียว อาทิ ทำลายชีวิตสัตว์ แต่ถ้ารับรู้รสชาติแล้ว จะรู้สึกอยากเข้าป่า การเข้าป่าไม่ได้มีจุดประสงค์ล่าสัตว์อย่างเดียว แต่ยังได้ความรู้แง่พฤกษชาติ สัตว์ใหญ่ ตลอดจนธรรมเนียมชาวป่าชาวดอย

ถึงจะเป็นนักนิยมไพรที่มีประสบการณ์ กระนั้น มหาสิลาก็เล่าว่า เจ้าเพชรราช ก็ยังเคยถูกสัตว์อาทิ ช้าง วัวกระทิง ไล่อยู่หลายครั้ง

เจ้าเพชรราช รัตนวงศา บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว
เจ้าเพชรราช รัตนวงศา บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว
เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และคณะ
เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และคณะ

◉ ลี้ภัยสู่เมืองไทย
ในช่วงที่ฝรั่งเศสกลับมามีอิทธิพลในลาวอีกครั้ง เจ้าเพ็ชร์ราช ได้ลี้ภัยมาอยู่ในไทย นอกจากจะให้ความช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติสายต่างๆ แล้ว พระองค์ยังทรงร่วมกลุ่มนักนิยมไพรในไทย ที่นำโดย นพ.บุญส่ง เลขะกุล เจ้าเพ็ชร์ราชทรงเดินทางไปทั่วพงไพรในไทยเพื่อล่าสัตว์ นัยหนึ่งก็เพื่อทรงปลีกตัวจากความวุ่นวายทางการเมืองในบ้านเกิดเมืองนอน

โดยในปี พ.ศ.2489 เมื่อต้องทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาอยูในประเทศไทย พร้อมรัฐบาลลาวอิสระและประชาชนเมืองลาวผู้รักอิสรภาพหลายพันคนเป็นเวลานานถึง 11 ปี ขณะพำนักลี้ภัยในประเทศไทย มีคุณอภิณพร ยงใจยุทธเป็นแม่บ้าน ต่อมาได้สมรสกับคุณอภิณพรเปลี่ยนเป็นหม่อมอภิณพร รัตนวงศา (นามสกุล “รัตนวงศา” ทรงตั้งขึ้นเองเมื่ออยู่ในเมืองไทย สืบเนื่องจากพระมหาอุปราชอุ่นแก้วพระปัยกา)

เจ้าเพชรราช รัตนวงศา กับชายา หม่อมอภิณพร
เจ้าเพชรราช รัตนวงศา กับชายา หม่อมอภิณพร

ในปี พ.ศ. 2499 เสด็จเจ้าสุวรรณภูมา​ ได้ทูลเชิญ เจ้าเพชรราช กลับเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากในประเทศ และได้เสด็จกลับในวันที่ 22 มีนาคม 2500 โดยทางรถไฟจากกรุงเทพถึงหนองคาย มีประชาชนลาวไปต้อนรับอย่างล้นหลาม เมื่อเสด็จกลับสู่ราชอาณาจักรลาวอีกครั้ง เป็นความปลี้มปิติและความหวังใหม่ที่ชาติลาวจะได้สงบร่มเย็น เจริญรุ่งเรืองไร้การครอบครองของชาติอื่น ท่านกลายเป็นเทพเจ้าของคนลาว แต่ก็เป็นชนวนให้เกิดความไม่พอใจ รวมทั้งอุปสรรคขวากหนามต่างๆ ที่ทำให้พระองค์ตระหนักถึงความล้มเหลว ในการรวมตัวกันสร้างชาติใหม่ และทรงทราบถึงอันตรายบางประการ

เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และครอบครัว ถ่ายที่วังเชียงแก้ว
เจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา และครอบครัว ถ่ายที่วังเชียงแก้ว

◉ สิ้นพระชนม์
ประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2502 ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระสหายนักนิยมไพรในกรุงเทพฯ บรรยายถึงความผิดหวังและล้มเหลว รับสั่งว่าถึงคราวที่ต้องเสด็จนิราศจากแผ่นดินเกิด เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทยอีกครั้ง ประมาณว่าจะเสด็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2502 แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดคาดฝัน อุบัติขึ้นเช้าวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2502 พระสหายในกรุงเทพฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าคำปาน เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักร​ลาว​ประจำประเทศ​ไทย ณ กรุงเทพมหานคร ว่า เจ้าเพชรราชสิ้นพระชนม์แล้วเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2502 ณ วังเชียงแก้ว สาเหตุเส้นโลหิตในพระสมองแตก

พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
พิธีแห่ขบวนพระศพและถวายพระเพลิง สมเด็จเจ้ามหาอุปราช เพชรราช รัตนวงศา
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา ในปัจจุบัน
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา ในปัจจุบัน
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา
วังเชียงแก้ว ในเจ้าเพ็ชรราช รัตนวงศา ในปัจจุบัน

◉ ด้านวัตถุมงคล
พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จเจ้าเพชรราช ได้รับการยอมรับเป็นวัตถุมงคลสักการะบูชาของชาวลาว ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย เหรียญที่ระลึกต่าง ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ โดยเฉพาะ เหรียญเจ้าเพชรราช รัตนวงศา

รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อเงิน สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อเงิน สปป.ลาว โทร 086-7890968
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา หลังเข็มกลัด กะไหล่ทอง สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา หลังเข็มกลัด กะไหล่ทอง สปป.ลาว โทร 086-7890968
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา หลังเข็มกลัด กะไหล่เงิน สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา หลังเข็มกลัด กะไหล่เงิน สปป.ลาว โทร 086-7890968
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อทองแดง สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อทองแดง สปป.ลาว โทร 086-7890968
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อทองแดง สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เนื้อทองแดง สปป.ลาว โทร 086-7890968
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา กะไหล่เงิน สปป.ลาว
รับเช่า เหรียญ เจ้าเพชรราช รัตนวงศา กะไหล่เงิน สปป.ลาว โทร 086-7890968

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
มหาสิลา วีระวงส์. เจ้าเพชรราช บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2542
https://www.silpa-mag.com/culture/article_25326