วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพฯ

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อโอภาสี

อาศรมบางมด
เขตบางมด กรุงเทพฯ

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพฯ

หลวงพ่อโอภาสี ท่านเป็นพระภิกษุอีกองค์หนึ่ง ที่มีพฤติการณ์แนวทางปฏิบัติออกจะพิสดารไปสักหน่อย คือ ท่านได้รับสิ่งของที่บรรดาลูกศิษย์หรือญาติโยมนํามาถวาย ท่านจะโยนเข้ากองไฟจนหมด

บุคคลส่วนมากเข้าใจว่า หลวงพ่อโอภาสี ท่านถือลัทธิบูชาเพลิง และท่านเป็นพระสงฆ์ที่คงฌานโลกีย์มากกว่าจะมีฌานโลกุตตระ

นั่นเป็นความเข้าใจโดยอาการภายนอก เมื่อได้เห็นได้รู้จากปากต่อปากคําต่อคํา ซึ่งภาย ในจิตใจของท่านส่วนลึกก้นบึ้งนั้น ไม่มีใครรู้ได้เลย

การกระทําของท่านหลวงพ่อโอภาสีนั้น เป็นลักษณะที่ไม่ติดไม่ยึดถืออะไรเลย เป็นสิ่งที่น่าจะพิจารณาให้ถ่องแท้

เช่น เดียวกันกับ หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านก็มีอุบายในการปฏิบัติอีกรูปแบบหนึ่ง และทุกคนก็คงจะทราบชีวประวัติ ของท่านได้ดี

หลวงพ่อโอภาสี ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งที่มีความอัศจรรย์ในอํานาจจิตคือ มีฤทธิ์ทางใจ เรียกว่ามโนมยิทธิ และ เจโตปริยญาณ อันยอดเยี่ยม

แม้เราจะพิจารณาให้เป็นธรรมแล้ว การที่ท่านหลวงพ่อโอภาสี ปฏิบัติสมาธินั่งอยู่อย่างสงบ โดยข้างหน้ามีกองเพลิงลุกโชนอยู่นั้น ถ้าท่านได้รับสิ่งใดที่นํามาถวายท่านก็จะหยิบใส่กองไฟนั้น คนที่นํามาถวายแทบเสียกําลัง ใจเพราะความไม่รู้การณ์

ความจริงแล้ว ท่านกําลังพิจารณาประกอบด้วยเหตุผลในธรรมะอยู่ก็ไม่มีใครรู้

ปกติ ไฟ นั้น ก็เหมือน กิเลส ไม่ว่าอะไรที่เข้าไปสุมอยู่กับไฟ จะมีอะไรมาต้านทานความร้อนนั้นได้ นอกเสียจากต้องไหม้ไฟ เป็นเถ้าถ่านไปจนหมดสิ้น

กิเลสมารเช่นเดียวกัน มันจะเผาผลาญบุคคลที่มีกิเลสหนาแน่น ทั้งภายในและภายนอกให้ เร่าร้อนวุ่นวายอย่างไม่มีความสงบจบสิ้น มันจะเผาให้มอดไหม้ไปจนกว่าจะตายหรือเป็นเถ้าถ่าน นั้นแหละ มันจึงจะหยุด !..

แต่เมื่อเกิดใหม่มันก็มาเผาเราอีก เพราะไม่รู้จักความดับเสีย ซึ่งไฟอันเร่าร้อนนั้น

สําหรับมนุษย์ จิตใจถูกเผาผลาญด้วยไฟให้เร่าร้อนดวง จิตดวงใจไม่วายเว้นจะหนักหนา กว่าไฟ ๓ กองนี้ ก็เห็นจะไม่มี คือ ไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ อวิชชา ความโง่ที่ปิดบังปัญญา และนี้เป็นไฟกิเลสอันร้ายแรง ที่สุดเป็นอุปสรรคขวางกั้นคุณงาม ความดี ทําให้จิตมืดมน

หลวงพ่อโอภาสี หรือ ท่านมหาชวน ท่านก็มีเจตนาแสดงความหมายให้ทุกคนพิจารณาด้วยปัญญาดังที่ว่านี้ ใน พระพุทธเจ้าของเรา ทรงตรัสสอนมนุษย์ให้ มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาพิจารณาสภาวธรรม เมื่อจิตใจเรามีกําลัง คือ สมาธิ แล้ว ความรู้แจ้งแทงตลอด ด้วยปัญญา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างสิ้นสงสัย

พระพุทธเจ้าทรงตรัสอีกว่า “ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงนํามาสั่งสอนนั้น อุปมาเหมือนใบไม้ในป่าเพียงกํามือเดียว”

หมายความว่า ความจริงแล้วธรรมะคําสั่งสอน ยังมีอีกมากนัก ถ้าเราจะพิจารณากัน ปฏิบัติด้วยสติปัญญาก็ย่อมเกิดผลนิพพาน เช่นเดียวกัน เพราะเราเข้าเดินคลองธรรมอันเดียวกัน คือ ความพ้นทุกข์

พระมหาชวน หรือ หลวงพ่อโอภาสี ท่านเกิดที่บ้านตรอกไฟฟ้า อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นามเดิมของท่านชื่อ ชวน มลิพันธ์ ท่านเป็นบุตรของ นาย มิตร และ นางล้วน มลิพันธ์

ภายหลังจากเกิดมาได้ ๕ ขวบ เท่านั้น บิดาก็นํามาฝากไว้ที่วัดใต้ อยู่ได้ไม่นาน ท่านก็ย้ายมาอยู่วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

พอเติบโตขึ้นมาตามกําลังข้าวก้นบาตร และพอรู้ความได้แล้ว ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ อันเป็นวัดเดิมที่ท่าน อาศัยเติบโตขึ้นมา

เมื่อบวชเณรไปได้ไม่นาน ชีวิตอันมีบุญบารมีหนุนนํามาให้อยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม

ความมานะอดทน กําลังจิต กําลังใจบากบั่นฟันฝ่ากับชีวิต พยายามอย่างยิ่งยวด อุทิศตน ถวายไว้แก่พระพุทธศาสนา มีความสนใจศรัทธายิ่ง

ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน ตลอดจนถึงภาษาบาลี สันสกฤต, มคธ, ภาษา อังกฤษ, ภาษาฮินดู จนมีความชํานาญจัดเจนทุกภาษา นับว่าเป็นยอดของนักปราชญ์เลยทีเดียว

การศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมของท่านหลวงพ่อโอภาสีนั้น ท่านสามารถยืนอยู่ขั้ มหาบัณฑิตอย่างสง่าผ่าเผย คือ ท่านสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ได้อย่างง่ายดาย

แต่ท่านก็เคยพูดอยู่เสมอว่า

“ความตั้งใจของท่านมิใช่จะจํากัดอยู่แค่ศึกษาพระอภิธรรมเท่านั้น ความจริงแล้วท่านปรารถนาสิ่งที่สูงสุด คือ พระอรหันต์ภูมิ ความ หมดสิ้นในอาสวะทั้งหลายด้วย”

การเดินธุดงค์ ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปในสถานที่ต่างๆ มากมายหลายแห่ง พักปักกลดไปเรื่อย เพราะสมัยก่อนโน้น เมืองไทยเป็นป่าเสียส่วนมาก ท่านเดินธุดงคกรรมฐานไปแห่งใดบ้างมิได้ระบุไว้เป็นที่แน่ชัด

ท่านตั้งใจว่า “ขอกําจัดพญามารและเสนามารน้อยใหญ่ ที่คอยมารบเร้าจิตใจให้ราบคาบสิ้นไปเท่านั้น”

การดําเนินชีวิต ท่านอาศัยหลักธุดงควัตร ฉันน้อยทําความเพียรมาก ขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจให้หมดสิ้นจากจิตใจ ไม่คํานึงถึงลาภสักการะ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านลอกคราบทิ้งไปจนหมดสิ้น

ท่านเคยพูดว่า “มหาชวน เปรียญ ๘ ได้ตายไปแล้ว ท่านมิใช่มหาชวนดอก”

ต่อมา หลวงพ่อโอภาสี ท่านได้เดินธุดงคกรรมฐาน และได้ปักกลดบําเพ็ญภาวนาธรรมที่บางมด เป็นเรือกสวนของชาว บ้านชื่อ นายเนียม

เมื่อรู้ว่าพระธุดงค์มาปักกลดในสวนของตนก็ดีใจปลื้มปีติ เพราะไม่เคยปรากฏมีพระธุดงค์มาเยือนในแถบถิ่นนี้ จึงยกบริเวณที่ดินให้เป็นที่พํานักสร้างกุฏิพอ หลบฝน ต่อมากลายเป็นสํานักปฏิบัติธรรมบางมด

ก่อนมรณภาพท่านหลวงพ่อโอภาสีได้รับนิมนต์ไปประชุมสงฆ์ทั่วโลก โดยมีหมายกําหนดเดินทางไปประชุม ณ ประเทศอินเดีย ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

แต่ท่านก็รู้ด้วยวาระว่า จะต้องมรณภาพ ท่านจึงไม่ทําใบเดินทาง และท่านได้เลื่อนกําหนดเป็นวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

อันเป็นวันมรณภาพของท่าน เพียงแต่ไม่ให้ศิษย์เสียเงินแล้วยังไม่ให้เสียกําลังใจอีกด้วย