วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่ออยู่

วัดบางปรงธรรมโชติการาม
อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม พระคณาจารย์ยุคเก่าอาคมเข้มขลังถือสัจจะเป็นที่ตั้งเมืองแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ และเป็นเจ้าอาวาสที่ยาวนาน บรรดาชาวบ้านในย่านนั้นกล่าวว่า หลวงพ่ออยู่ เป็นพระที่มีจริยวัตรงดงาม ปฏิบัติเคร่งในพระธรรมวินัย สร้างความเจริญให้กับวัดอย่างมากมาย จนต่อมาได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์อยู่ บางครอบครัวท่านบวชให้พ่อแล้วยังบวชรุ่นลูกก็มี

พระอุปัชฌาย์อยู่ ท่านเป็นผู้ที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม อันสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ครั้นเมื่อเห็นครูบาอาจารย์ ทําวัตถุมงคลให้กับศิษย์ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดก็จัดสร้างขอขลังทําแจกศิษย์บ้าง ครั้งหนึ่งหลวงพ่ออยู่ ได้ทำตะกรุดโทนแจกศิษย์ ๑ ดอก ปรากฏภายหลังว่า “ศิษย์ของท่านเป็นโจรปล้นชาวบ้าน ตำรวจตามล่าโจร แต่ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ตาย เป็นโจรหนังเหนียว เจ้าเมืองฉะเชิงเทราจึงมาวัดบางปรงฯ เพื่อขอร้องให้ท่านงดการทาตะกรุดโทนให้ใครอีก” หลวงพ่ออุปัชฌาย์อยู่ ท่านจึงบอกแก่เจ้าเมืองฉะเชิงเทราว่า “ท่านตั้งสัจจะไม่ทําตะกรุดโทนให้กับใครอีก จึงทราบกันตั้งแต่นั้นมาว่า พระอุปัชฌาย์อยู่มีวิชาขลังทําตะกรุดได้เหนียวจริง

แม้ว่าในความเป็นจริง เหรียญพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงฯ ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ หลวงพ่ออยู่ไม่ได้ปลุกเสกเหรียญของท่าน เนื่องจากท่านได้มรณภาพไปเสียก่อน ด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ปี พ.ศ.๒๔๖๖ สิริอายมากถึง ๘๓ ปพรรษา ๖๒

เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรง ฉะเชิงเทรา ๒๔๖๗
เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรง ฉะเชิงเทรา ๒๔๖๗

จึงไม่ได้ปลุกเสกเหรียญ แต่ชาวบ้านในย่านนั้นเขาเคารพเลื่อมใสพระอุปัชฌาย์อยู่ ด้วยเหตุผลสําคัญก็คือ พระอุปชฌาย์อยู่ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์มานานโข และเป็นเจ้าอาวาสวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๐-๒๔๖๖ ระยะเวลานับ ๔๐ ปี อีกทั้งความเข้มขลังในด้านวาจาศักดิ์สิทธิ์ ขนาดเจ้าเมืองฉะเชิงเทรายังไปขอของดี เช่น ตะกรุดโทน แต่ท่านก็ทำให้ไม่ได้ เพราะท่านตั้งสัจจะเอาไว้แล้วว่าเลิกทำตะกรุด

ในวันที่ พระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงฯ ท่านละสังขาร (มรณภาพ) ฝนฟ้ามีดครึ้ม อากาศวิปริต ฝนตกเพียงครู่เดียวแล้วก็หยุด ท่านพระครูปลัดมงคลวัตร ซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เล่าว่า เหรียญพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงฯ แม้ว่าหลวงพ่ออุปัชฌาย์อยู่ไม่ได้ปลุกเสก ถือเป็นเหรียญตาย แต่ศิษย์เอกของท่าน คือ พระอุปัชฌาย์ วัดเกาะ กับ พระครวิจารณ์ธรรม (เที่ยง) วัดโพธาราม ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกทําให้เกิดความขลังเป็นพิเศษ

พระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงฯ องค์นี้ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพแล้ว แต่ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่ออยู่ ก็ยังคงมีอยู่ ชาวบ้านรุ่นโบราณผู้สูงอายุในพื้นที่ทุกคน ก็เคยพบความมหัศจรรย์มาแล้ว เช่น งานจัดสร้างรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง ต้องใช้ปัจจัยในการทําสูงมาก แต่เงินของวัดไม่มี จึงบอกกล่าวกับหลวงพ่ออปัชฌาย์อยว่า “ทางวัดต้องการจะจัดสร้างรูปหล่อพระอุปัชฌาย์อยู่ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เคารพบูชาในจริยวัตรคุณความดีของหลวงพ่อ จึงขอให้ วิญญาณหลวงพ่อช่วยดลจิตดลใจให้มีผู้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ในการสร้าง” ปรากฏว่าเมื่อศิษยานุศิษย์ทราบข่าวว่าวัดบางปรงฯ จะสร้างรูปหล่อฯ ได้มีผู้หลั่งไหลกันมาทําบุญเป็นจํานวนมาก ในยุคนั้นเงินทองหายากแต่มีผู้ศรัทธามาบริจาคถึง ๓,๘๐๐ บาท ทางวัดจึงจัดทําพิธีหล่อรูปเททองในวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เริ่มพิธี ๒๔.๐๐ น. ก่อนเริ่มพิธีฝนก็ตกตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ํา เรื่อยมากระทั่งถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำฝนก็ตกแต่พอจะได้เวลา ๒๔.๐๐ น. ฝนหยุดตกแบบเป็นนิมิตหมายที่ดี พิธีจึงได้เริ่มขึ้นและไม่เป็นอุปสรรคใดๆ อีกแล้ว สายลมอ่อนๆ พัดผ่านเข้ามาชุ่มฉ่ำ ท่านพระครูวิจารณ์ธรรมานุวัตร เป็นประธานเททอง พอทําพิธีเททองไปได้ครู่เดียว ฝนก็เทมาจากฟ้าอีกจึงนับว่าแปลกมากๆ

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงธรรมโชติการาม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

เนื่องจาก เหรียญหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อยู่ วัดบางปรงฯ เป็น เหรียญยอดนิยมของเมืองแปดริวที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน เป็นเหรียญหลัก ที่ติด ๑ ใน ๕ อันดับแรก เหรียญหลักยอดนิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา กับ เป็นเหรียญที่ติด ๑ ใน ๕ เหรียญเก่าสุดเมืองแปดริ้ว (เฉพาะกระบวนการเก่า ด้วยกันแล้วเหรียญพระอุปัชฌาย์อยู่ มีความเก่าเป็นรองเพียงเหรียญหลวงพ่อ โสธร เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น) ในอดีตเป็นเหรียญที่มีผู้อยากได้จนมีผู้เอาที่นา เอาวัว ควาย มาขอแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญไป ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้พกพาเหรียญของท่านไปในสมรภูมิรบเพื่อชาติ แม้จะมีไม่กี่ท่าน แต่ก็รอดกลับมาเล่าเรื่องสําคัญให้ชาวบ้านได้รับทราบทุกคนไป จนมีผู้กล่าวขานถึงอยู่เสมอ