วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อวิชิต (หลวงพ่อน้อย) ปภัสสโร

วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน)
ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร หรือ ท่านพระครูวิศิษฎ์ธรรมคุณ แห่งวัดบูรพาวัน อําเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ท่านเป็นพระภิกษุ รูปหนึ่งที่ตั้งมั่นปฏิบัติธรรม และศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัด

หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร (หลวงพ่อน้อย) ท่านกล่าวว่า.. “สัทธา (เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา) คือความเชื่อถือ เชื่อ มั่นในสิ่งที่ดีงาม ในทางธรรมหมายถึงเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อ ที่ประกอบด้วยเหตุผล ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงาม และ การทําความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ซึ่งใน หลักพุทธศาสนาท่านแสดงไว้ ๔ อย่าง คือ
๑. กัมมสัทธา – เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา – เชื่อผลของกรรม
ต. กัมมัสสกตาสัทธา – เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทําดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา – เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต

อาตมามีความเชื่อมั่นในคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งยวด เมื่อได้เข้ามาบวชเรียนในพระบวรพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธ ศาสนาแล้ว ก็ยิ่งมีความเคารพศรัทธาในคําสอนของพระพุทธองค์หนักแน่นขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ศึกษาตํารา จากพุทธประวัติในหนังสือนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก แล้วรู้สึกได้อย่างกระจ่างชัด ไม่ติดใจสงสัยอะไรเลยในคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า”

พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) หรือ หลวงพ่อน้อย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ณ บ้านดงบัง ตําบลโคกสี อําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ นายเถ้า มิ่งสิงห์ โยมมารดาชื่อ นางนาง มิ่งสิงห์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง

◎ การศึกษา
หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร ท่านเรียนจบเพียงชั้นประถม ๔

◎ ปฐมวัย
ก่อนบวช หลวงพ่อวิชิต เป็นเด็กวัดปรนนิบัติรับใช้ คอยเฝ้าติดตามครูบาอาจารย์ออกเดินธุดงค์เป็นประจํา เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี จึงได้บวชตามประเพณี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ที่วัดดงบัง ซึ่งเป็นวัดป่า โดยมี พระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกาโร ป.ธ. ๕, น.ธ.เอก) วัดกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านอยู่อําเภอสว่างแดนดิน ส่วนพระอุปัชฌาย์อยู่อําเภอวานรนิวาส สกลนคร

พระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ
พระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ

หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร ท่านเล่าว่า.. “วัดป่าดงบังสมัยนั้นมีหลวงตาหงษ์เป็นพระผู้เฒ่าอยู่ประจําวัด และมี พระอาจารย์อ่อน ญาโณทโย เป็นพระอาจารย์ที่อยู่ประจําคอยสั่ง สอน เมื่อบวชแล้วจึงได้ประจําอยู่ที่วัดดงบัง ช่วงพรรษาแรกไม่ได้เรียนเพราะมุ่งที่จะปฏิบัติอย่างเดียว พอออกพรรษาจึงติดตามหลวง ตาหงส์ธุดงค์ไปอยู่ภูวัวในเขตอําเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบัีนคือ จังหวัดบึงกาฬ) ซึ่งหลวงปู่หงส์นี้ท่านทันหลวงปู่มั่นนะ แต่อาตมาไม่ทันเพราะยังเด็กอยู่ หลวงปู่มันมรณภาพปี ๒๔๙๒ ส่วนอาตมาเกิดปี ๒๔๗๕”

หลวงพ่อวิชิต เปิดเผยถึงเรื่องประสบการณ์ออกธุดงค์ครั้งแรกว่า สมัยนั้นตามป่าเขามีต้นไม้ใหญ่หนาทึบเสือสางคางลายก็มีมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะคนมากขึ้น ส่วนเสือก็หมดลง ในระหว่างลุยป่าหาประสบการณ์อยู่นั้น ท่านพานพบเรื่องมหัศจรรย์มา ทุกรูปแบบ ทั้งภูตผีวิญญาณ รุกขเทวดา ที่มาปรากฏกายให้ท่านได้เห็นทั้งตาเนื้อและตาใน

“อาตมาเคยพบเหมือนกันนะ ตอนไปอยู่ถ้ำฝุ่น ถ้ำแกลบภูวัวนี่แหละ สองถ้ำนี้อยู่ห่างกันประมาณ ๖ เส้นไม่ไกลกันนัก หลังจากเดินจงกรมเสร็จ อาตมาเอนตัวลงพักผ่อน ในขณะนั้นคล้ายๆ เคลิ้มไปนั่นแหละ เกิดภาพพระรูปร่างใหญ่กว่าคนธรรมดามาปรากฏให้เห็นอยู่ตรงหน้า ท่านเดินจงกรมไปมาและมีรัศมีล้อมรอบตัวท่านอยู่ ตลอดเวลา ในความรู้สึกอาตมาตอนนั้นก็นึกแปลกใจว่า ท่านเป็นพระมาจากไหน พระอะไรนะทําไมรูปร่างใหญ่โตขนาดนี้ และมีรัศมีเปล่งประกายรอบตัว ท่านมีอานุภาพมากถึงขนาดนี้ สงสัยจะเป็นองค์พระศาสดาหรือไม่นะ อาตมาก็เลยเข้าไปถามท่านโดยเดินไปทางหัวทาง เดินจงกรมแล้วนั่งยองๆ ลงพร้อมกับประนมมือขึ้นและเอ่ยถามท่านว่า..

“ขอโอกาสท่านเป็นองค์พระศาสดาหรือไม่ครับผม”

“ใช่แล้วเราตถาคต” ท่านตอบอาตมาจึงเอ่ยถามขึ้นอีกว่า..

“ไหนว่าพระองค์เสด็จปรินิพพาน แล้วมาเสด็จเดินจงกรมที่นี่ได้ยังไง”

ท่านตอบว่า.. “ใช่เราปรินิพพานแล้วก็จริง เรายังสงสารเธอ.. เธอเป็นคนมีอุปนิสัยบารมี แต่เธอยังประมาท”

ท่านกล่าวแล้วเดินจงกรมออกไป พอท่านเดินกลับมาอีก หลวงพ่อวิชิตก็เอ่ยถามต่อ ซึ่งลักษณะท่านเดินมีรัศมีเปล่งประกาย ดูแล้วมีอานุภาพมาก และมีไก่ฟ้า ๒ ตัว เดินเคียงข้างท่านทุกระยะก้าวด้วย

“เอ ไก่สองตัวนี้เวลาพระองค์ปรินิพพานแล้วมันจะไปอยู่ที่ ไหนขอรับ”

“ไปอยู่ป่าหิมพานต์” ท่านตอบ

หลวงพ่อวิชิตจึงกราบเรียน ถามพระองค์ต่อไปว่า.. “สถานที่ท่านเดินจงกรมนี้เป็นที่ไหน”

ท่านตรัสตอบว่า.. “เป็นบริเวณภูเขาคิชกูฏ”

“เขาคิชกูฏอยู่ที่เมืองราชคฤห์ เธอพอจําได้ใช่ไหม”

“ครับ…ผมพอรู้ประวัติว่าเมืองราชคฤห์ห่างจากวัดเวฬุวันไม่ ไกลนัก”

“ทีนี้เธอมีอะไรถามอีก หมดหรือยัง”

ลวงพ่อวิชิต ไม่ตอบได้แต่นึ่งในภาพที่ได้พบเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้แต่ประนมมืออย่างนอบน้อม จนภาพของ พระพุทธองค์เลือนหายไปในที่สุด ซึ่งหลวงพ่อวิชิตเล่าว่า ในนิมิตที่ท่านพบภาพเหตุการณ์ในขณะนั้นมีความเป็นอยู่ที่มีสภาพอากาศ เยือกเย็นสบายอย่างหาที่เปรียบมิได้ คล้ายๆ กับว่าโลกนี้มีตัวท่านกับพระพุทธองค์เพียงสองรูปเท่านั้น คือท้องฟ้าเป็นสีครามครอบคลุม อยู่ทั่วบริเวณนั้น มองดูจึงเย็นสบายตาและเย็นทั้งกายเป็นที่สุด

“พอนึกถึงภาพเหตุการณ์ในวันนั้นแล้ว แม้จะนานมาแล้วก็ตามก็ยังมีความรู้สึกที่สบายใจเมื่อนั้น เพราะเป็นภาพที่ติดตาจนลืมไม่ลง ยิ่งพระองค์ท่านตรัสบอกว่าเธอพยายามนะเธอมีอุปนิสัยบารมี แต่ยังประมาท อันหมายถึงท่านให้เร่งสร้างบารมีให้มากขึ้นกว่านี้ อาตมาจึงตั้งใจอย่างที่สุด คิดว่าไม่อยากจะได้อะไรอีกเลย เรียนก็ไม่อยากเรียนมากกลัวมันจะสึก เพราะมีภูมิปัญญาและอีก อย่างเงินทองไม่สะสมไม่เก็บ มีเท่าไหร่ ทําบุญไปใช้ไปให้หมู่ให้คณะไป ถ้าเกิดว่ามีเงินทองขึ้นมาแล้วมันอาจอยากสึก หรืออะไรทํานองนี้ จึงปิดกั้นเอาไว้ พยายามที่จะทําความเพียรภาวนา อย่างเดียว ครูบาอาจารย์ท่านขอร้อง เรียกว่าเกือบจะทุกรูปที่อาตมาเคยได้ไปปรนนิบัติท่านมา ไปนวดแข้ง นวดขาให้ท่าน เช่น หลวงปู่ขาว, หลวงปู่มั่น, หลวงปู่ชอบ และหลวงปู่ท่านอื่นๆ อีกหลายรูป สมัยอาตมาเป็นพระหนุ่มท่านรักเราเหมือนลูกเหมือนหลาน”

นอกจากสิ่งประทับใจดังกล่าวแล้ว หลวงพ่อวิชิตยังได้พบเห็นสิ่งมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งที่ท่านไม่อาจลืมได้ คือเรื่องของพวก “บังบด” หรือเหล่าเทพยดาอารักษ์ที่ปกปักรักษาอยู่ตามถ้ําตามเขาที่สูงชัน อย่างเช่นที่ “ภูวัว” ในเขตอําเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันคือ จังหวัดบึงกาฬ) มาขอให้ท่านสวดธรรมจักรให้ฟัง

“อาตมาธุดงค์ไปที่ถ้ำฝุ่นแล้วไปที่ถ้ำแกลบเป็นแห่งที่สอง ถ้ำแกลบนี้อยู่ใกล้ถ้ำฝุ่นอยู่บนเขาภูวัวเช่นกัน เขาภูวัวเป็นเขาที่สูงชันมาก ภูทอกที่พระอาจารย์จวนอยู่ว่าสูงแล้วยังแพ้ภูวัว เพราะภูวัวสูงกว่า สิ่งมหัศจรรย์ของถ้ำแกลบคือ จะมีขี้แกลบไหลอยู่ตลอดเวลา มันไหลเหมือนน้ำ เวลาเราไปกวาดจนเกลี้ยงในเวลากลางคืน พอตื่น เช้าขึ้นมาก็จะเห็นแกลบกองอยู่เหมือนเดิม ที่นี้มีพวกบังบดอาศัยอยู่มาก ทําไมอาตมาจึงกล้าพูดเช่นนั้น ก็เพราะเวลาอาตมานั่งสมาธิเจริญภาวนาอยู่พวกเขามักจะมานั่งเฝ้า ขอฟังพระธรรมจักรอยู่เสมอ ส่วนมากจะเป็นผู้หญิงแต่งตัวด้วยผ้า แพรหลากสีสวยงาม โดยเฉพาะผ้าค่อนข้างจะแดง แต่ไม่แดงจัด พวกเขาจะขึ้นมาจากถ้ำประมาณ ๗-๘ คน มาขอฟังสวดพระธรรมจักรอย่างเดียว อาตมาบอกในนิมิตว่า สวดคนเดียวมันลืมแล้วธรรมจักรนะ เอาแต่หลักก็พอ กับอริยสัจ ๔ อยากฟังก็จะสวดให้ อาตมาจึงสวดให้ฟังแค่หัวข้อๆ พวกเขาก็ตั้งใจฟังกันอย่างสงบ ก่อนฟังเขาจะพร้อมใจกันรับศีล ๕ นะ เมื่อฟังจบแล้วพวกเขาได้หายไปกับความมีดทันที”

หลวงพ่อวิชิต เล่าถึงพวกบังบดต่อไปว่า ท่านได้เอ่ยถามพวกบังบดว่า เป็นมาอย่างไรจึงได้มาอยู่ที่นี่ เขาตอบว่า พวกเขาอยู่ที่ถ้่ำ บนเขาภูวัวแห่งนี้มานานหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว พวกเขาก็เหมือนกับคนเราธรรมดานี่แหละ ซึ่งภาพที่ปรากฏขึ้นมาในนิมิต ของท่านนั้นเป็นภาพเหมือนเทวดามาปรากฏให้เห็น พวกเขาเหมือนกับชาวบ้านที่ชอบไปวัดไปวาไปทําบุญกัน คือ แต่ละคนแต่งตัวเรียบร้อย

“อาตมาเทศน์สอนพวกเขาไปว่า ให้ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นหลักเป็นที่พึ่ง ขอให้บูชาสิ่งนี้เป็นชีวิตจิตใจ เขาเหล่านั้นก็มีความเชื่อฟัง มีความเคารพดี เขาจึงอยากฟังสวดธรรมจักรกัน อาตมาพบเห็นพวกบังบดสองครั้ง คือเห็นพวกเขามาฟังธรรมและขณะเดินจงกรม เสร็จแล้วพวกเขาก็หนีเข้าไปในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่แล้วหายลับตาไป ในตอนแรกอาตมานึกไม่พอใจเช่นกัน ที่พวกเขามารบกวนเวลานั่งสมาธิ จึงพูดไปว่าพวกเธอไม่รู้จักเวล่ำเวลา ไม่รู้จักกาละเทศะ เวลานี้เป็นเวลาที่พระนอนนะ ให้ไปพบอาตมาเดินจงกรมซิ เพราะอาตมาจะเดินจงกรมในเวลาตอนหัวค่ำแล้วจึงแผ่เมตตาไปให้พวกเขาด้วย แต่นี่พวกเจ้าไม่รู้จักเวลาพบพระ อาตมาจึงบอกปัดในตอน แรกว่ามีอะไรก็ให้ไปหาพระองค์อื่น อาตมาแนะนําให้ไปหาพระลูกศิษย์ ซึ่งพระลูกศิษย์มาบอกอาตมาตอนหลังว่า พวกบังบดได้ไปหาเหมือนกัน เขาอยากให้สวดธรรมจักรให้ฟัง แต่พระลูกศิษย์บอกสวดไม่เป็น พวกบังบดจึงกลับมาหาอาตมาอีก เขาอยากฟังแต่การสวดธรรมจักร สวดอย่างอื่นเขาก็ไม่อยากฟังเสียด้วย สวดมนต์อย่างอื่น เขาไม่สนใจฟังกันเลย อาตมาเอ่ยถามเขาถึง ๔ ครั้ง เพื่อความแน่ใจ เขาก็ตอบทุกครั้ง แสดงว่าเขาอยากฟังสวดธรรมจักรจริงๆ พระสูตรอื่นเขาไม่สน มนต์ธรรมดาก็ไม่เอาเขาไม่ฟัง อาตมาจึงบอกให้ไปพบอาตมาในขณะนั่งเทศน์ให้ญาติ โยมฟังในวันพระที่วัดเถอะ เพราะเทศน์ในนิมิตนั้นมันไม่ได้หรอก ต้องสวดกันสดๆ เลย เขาก็เชื่อฟังอย่างดี ท่านกล่าวอย่างเรียบๆ

ผู้เขียนได้กราบเรียนถามในการปฏิบัติของหลวงพ่อวิชิตว่า ท่านยึดอะไรเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรคเกิดผล ได้รับคําตอบจากท่านว่า ท่านเจริญภาวนา “พุทโธ” เป็นหลัก และเพ่ง “อสุภกรรมฐาน” เป็นสําคัญ

“จิตอาตมากล้าแข็งมาตั้งแต่เด็กๆ มันเป็นมาแต่เด็ก คือไม่กลัวอะไร เมื่อมาบวชแล้วมีคนตายเขาเอามาฝังที่โนนนิเวศน์ เป็นป่าช้าของหมู่บ้าน มีหลุมฝังศพเรียงกันเป็นสองแถว อาตมาเอาเสื่อไปปูนั่งภาวนาอยู่ตรงกลาง ยังบอกอีกว่าถ้าผีสางหรือวิญญาณมีจริง ก็ขอให้มาปรากฏให้เห็น อาตมานั่งกําหนดจิตอยู่อย่างนั้น แต่ก็ไม่มีอะไร มีแต่ความเงียบสงบ เพราะฉะนั้นอาตมาจึงไม่ค่อยกลัว แต่วิญญาณมันมีนะ ไม่ใช่ไม่มี มันมีของมัน ถ้าเราไม่มีกรรมมีเวรเกี่ยวข้องกัน เขาก็ไม่มายุ่งกับเรา ที่เขามายุ่งเกี่ยวกับเรานั้นส่วนมากจะมีมาแต่คําขอร้อง ให้อาตมาช่วยเหลือทั้งนั้น”

“หลวงพ่อมีคาถาดีอย่างไรจึงไม่กลัวสิ่งใดๆ”

“ถ้าเราอยู่ในสภาวะที่จําเป็นอยู่นั้น เราก็พยายามตั้งใจเอาไว้ให้ดี เราจะแก้ไขยังงั้น เราจะทํายังงี้ เราจะบอกเตรียมไว้อย่างนี้ ถ้า สิ่งไหนมาลวนลามจิตของเรา เราก็จะหาวิธีป้องกันรักษาตัวเราเอาไว้ได้อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้น เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น คอยจ้องจะเข้ามาทําลายจิตใจที่เข้มแข็งของเรา เราป้องกันได้มันก็ไม่เกิดเหตุอะไรขึ้น เพราะเราไม่คิดว่าเป็นบุคคลจริง เป็นเพียงสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือถ้าจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นในนิมิตเป็นผู้หญิงมายั่วยวนเราขึ้นมา มีความสวยงามมาหลอก ล่อเราอย่าถือว่าเป็นผู้หญิงจริง อาจจะเป็นเหล่าเทพยดาอารักษ์มาทด สอบใจเราดูก็ได้ ถ้าเราไปหลงไปติดมันเข้าเราก็แพ้กิเลส จิตใจก็เศร้าหมอง เราจะไม่เสียท่าภาพของคนเหล่านี้เด็ดขาดนี้ในความรู้สึกของอาตมานะ จึงไม่เหมือนใครคนอื่นเขา เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจึงอยู่ใน สภาพที่ไม่ค่อยกลัวอะไร”

ส่วนในด้านการปกครองคณะสงฆ์นั้น ท่านพระครูวิศิษฎ์หรือ หลวงพ่อวิชิต เปิดเผยให้ผู้เขียนฟังว่า ท่านต้องรับผิดชอบพระภิกษุ สามเณรในความดูแลของท่านถึง ๓ อําเภอด้วยกัน คืออําเภอบ้างดุง อําเภอเพ็ญ และอําเภอสร้างคอม ซึ่งท่านรับผิดชอบเฉพาะวัดธรรมยุต หรือวัดป่าเท่านั้น

“การปกครองอาตมายึดหลักแห่งความเมตตาธรรมเป็นหลัก อาตมาคิดอยู่เสมอว่า หลักการต่างๆ ซึ่งเราเคยเป็นผู้น้อยมาก่อนจึง มาเป็นผู้ใหญ่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นใหญ่กันเลยเราต้องมีประสบการณ์ ก่อนเราจึงจะปกครองคนอื่นได้ เราต้องดูครูบาอาจารย์เป็นหลัก ครูบาอาจารย์บางท่านเคร่งบางท่านหย่อนยาน เราจะเอาทาง ไหนต้องไปศึกษาท่านดูไปสอบถามพระลูกศิษย์ผู้เป็นบริวาร ผู้เป็นหมู่คณะที่อยู่ด้วยกันกับท่านว่า เขาชอบท่านทางไหนและไม่ชอบท่านทางไหน แล้วเราก็ดูองค์นั้นว่า ท่านย่อหย่อนทางไหน เราต้องสืบดูจากลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือท่านองค์นั้น”

เพราะอะไรหรือที่ต้องสอบถามพระลูกศิษย์ ก็เพราะเขาเหล่านั้นอยู่ใกล้ชิดกว่าเรา เขาต้องรู้ดีกว่าเรา เราต้องพยายามเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นเครื่องวัด และที่สําคัญตัวเราอยู่ในลักษณะไหน ทําอย่างไร จึงจะทําให้เป็นหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือเดินทางสายกลางมาเป็นหลัก ในการปกครองไว้บ้าง หรือว่าแข็งไป หย่อนไป หรืออะไรไป เราพยายามทําให้เป็น กลางให้มากที่สุด ไม่เคร่งเกินไป ไม่หย่อนเกินไป เพราะบางทีในการบริหารวัดนี้เหมือนกับเราได้ทําอะไรไว้ดีแล้ว แต่ถ้าสิ้นเราไปแล้วพระ ลูกศิษย์ผู้อยู่เบื้องหลังจะปฏิบัติเหมือนเราก็ยากจะทําให้ญาติโยมนับถือยาก หรือนับถือน้อยลงจะไม่เหมือนที่เรายังอยู่ ส่วนอาตมาพอเป็นนิมิตหมายให้ลูกศิษย์ลูกหาปฏิบัติตามได้ คือเราทําอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรเขาก็ทําได้ หรือเขาอาจจะทําได้ดีกว่า เราเสียอีก ถ้าเขาทําดีเกินเราได้ สภาพวัดก็ยังอยู่เหมือนเดิม ญาติโยมเขาก็ยังนับถือเราอยู่จึงไม่อยากเคร่งเกินความพอดี เพราะว่าพื้น ฐานนิสัยอย่างจริงใจของอาตมานี้ไม่ต้องการให้ใครยกยอปอปั้น ไม่ต้องการให้คนยกย่อง ไม่อยากดัง การมีชีวิตครองสมณเพศนี้เป็นเรื่องยาก ใครไม่รู้จะไม่เข้าใจ การทําดีก็ดี พูดดีก็ดี คิดดีก็ดี เราได้ทําดีแล้ว ส่วนการบริหารอันเป็น หน้าที่ที่ต้องทําต้องรับผิดชอบถึงต้องอยู่กับที่ แต่ถ้าอยู่คนเดียวการ เป็นอยู่สะดวกยิ่งกว่า เพราะในแต่ละวันเราก็ฉันแค่มื้อเดียวเท่านั้น ไปอยู่ที่ไหนไปหาใครก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอะไร ใครจะนับถือ อย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้เราดีก็แล้วกัน นี่เป็นความรู้สึกของอาตมานะ ชอบอยู่คนเดียวมากกว่า

ช่วงหนึ่งครูบาอาจารย์ท่านเห็นผลงานที่ หลวงพ่อวิชิต นําหมู่คณะปฏิบัติธรรม และพัฒนาวัดไปด้วย จึงได้ถูกขอร้องจากพระผู้ใหญ่ ให้หลวงพ่อวิชิตไปเป็นเลขาฯ เจ้าคณะอําเภอเมืองอุดรธานี จึงไปอยู่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี นานถึง ๔ ปี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนี้อีก ๕ ปี ต่อมา พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดํารงธรรม อําเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ท่านขอร้อง ให้หลวงพ่อวิชิตไปอยู่วัดที่ท่านจะสร้างขึ้นใหม่ที่อําเภอบ้านดุง นั่นก็คือวัดบูรพาวัน ในปัจจุบันนี้เอง

ท่านบอกว่าโยมที่เป็นอาจารย์ของท่าน ถวายที่ดินให้ท่านสร้างวัด พร้อมทั้งได้ฝากฝังไว้ว่า ถ้าท่านอาจารย์วันไม่ไปอยู่ก็ให้หาพระที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถเข้ามา อยู่แทน ในขณะเดียวกันนั้นท่านเจ้าคุณจูม พันธุโล หรือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ก็เคยปรารภให้ หลวงพ่อวิชิต ฟังว่า เขาอยากได้พระธรรมยุตมาตั้งวัดอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเขาชอบทําบุญและปฏิบัติธรรมนั่นเอง เพราะเขาเคยปฏิบัติครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาตลอด

พระอาจารย์วัน อุตตโม
พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม

พระอาจารย์วัน ท่านขอร้อง อาตมาว่า ขอสักครั้งเถอะ เพราะไม่อยากขัดศรัทธาโยมผู้เป็นอาจารย์ของท่าน ซึ่งที่ดินผืนนั้นเขาได้จับจองไว้นานแล้ว เขาอยากถวายให้พระอาจารย์วันสร้างวัด แล้วนิมนต์พระอาจารย์ไปอยู่ แต่ท่านมาไม่ได้ เพราะเวลานั้นท่านกําลังพัฒนาวัดถ้ำอภัยดํารงธรรมอยู่ เนื่องจากในหลวงท่านเสด็จมาบ่อย ท่านจึงให้อาตมามาอยู่แทน อาตมาปลีกตัวไม่ได้เลย จึงรับปากท่านว่า อย่างนั้นผมจะไปอยู่ให้ ๓ เดือน อาจารย์วันบอก ๓ เดือนก็เอา ขอให้ไปอยู่ผ่านช่วงนี้ไปก่อน ผมจะหาทางแก้ไข แต่ถ้าพระครูจะอยู่อย่างไรหรือจะทําอะไร ก็ขอให้ทําไปเลย ผมจะเป็นภาระให้ทั้งหมด ซึ่งวัดนี้ท่านยังไม่ได้ทําอะไรเลย เพราะเขาเพิ่งถวายให้ท่าน”

และในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นั่นเอง คือจุดเริ่มต้นของการมาจําพรรษาที่วัดบูรพาวัน พร้อมทั้งการมาเยือนของวิญญาณเจ้าที่ มาบอกลาและฝากวัดไว้กับหลวงพ่อวิชิต ซึ่งท่านเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ ฟังว่า..

“อยู่วันแรกในที่นี้ไม่ได้พบอะไร แต่พออยู่ต่อมาประมาณหนึ่งอาทิตย์ ระหว่างอาตมาลงเดินจงกรมภาวนาสํารวมจิต เมื่อจิตสงบ ประหนึ่งว่าอาตมาเดินออกไปนั่งอยู่นอกวัด ทางด้านหน้าวัดแล้วนั่ง พิจารณากําหนดจิตอยู่ได้ไม่นาน ก็เห็นโยมแก่ๆ คนหนึ่งคล้ายๆ ข้าราชการบํานาญ ลักษณะผมขาว นุ่งผ้าโจงกระเบนแบบคนโบราณ และมีผ้าแพรพาดไหล่เป็นคนอยู่ในวัยกลางคน เข้าเดินมาใกล้หลวง พ่อแล้วนั่งลง พร้อมกับยกมือไหว้ และพูดขึ้นว่า หลวงพ่อๆ บัดนี้หมดภาระของผมแล้วนะ ผมอยู่ครอบครอง ดูแลสถานที่นี้ตั้งนาน ท่านมาแล้วอยากจะทําอะไรก็ทําไปเถอะ ท่านบอกว่าสร้างอะไรในบริเวณนี้สร้างไปเลย เพราะเป็นสมบัติของท่านแล้ว ตรงนี้ไม่มีปัญหาอะไรหรอก ผมดูแลรักษาให้ หลวงพ่อมาแล้ว ผมก็จะขอลาไปเสียที พูดจบโยมคนนั้นก็ได้อันตรธานหายไปอย่างน่าอัศจรรย์ นี่คือ ปรากฏการณ์อภินิหารของวิญญาณของเจ้าของที่ในบริเวณวัดแห่งนี้

หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร เป็นพระที่ปฏิบัติมากกว่าพูด ท่านทําสิ่งใดสําเร็จสิ่งนั้น ท่านได้ฝากคติธรรมสั้นๆ เพื่อให้สาธุชนนําไป พิจารณาตามเหตุตามผลดังนี้

“ปกติอาตมาเป็นคนว่านอนสอนง่าย และไม่ถือตัวมาตั้งแต่เด็กๆ แต่บางครั้งต้องฟังเหตุฟังผลจึงยอมรับว่า ครูบาอาจารย์ท่าน มีความอดทนเป็นเลิศจริงๆ ท่านต่อสู้มาอะไรๆ หลายอย่างกว่าจะสําเร็จได้ ใครจะไปหาท่านเวลาไหนก็ได้ ท่านนั่งรับญาติโยมวันหนึ่งๆ เป็นเวลานาน ส่วนอาตมาทําอย่างท่านคงไม่ได้แน่ แต่ถ้ามาฟังเทศน์ฟังธรรมธรรมดาๆ ในวันพระ จะเอาแบบไหนก็ได้ทั้งนั้น อาตมาทําได้
แต่คงมีบารมีจึงทําให้ญาติโยมหลั่งไหลมาไม่ขาด เพราะเขาศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของเรา เพราะเราปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ ท่านอบรมสั่งสอนมาดี ต้องยอมรับว่าครูบาอาจารย์ท่านมีความเพียรดี ท่านกล่าวสอนอยู่เสมอว่า ความอดทนมีความเพียรจึงจะกระทํา อะไรได้สําเร็จ อีกอย่างหนึ่งอาตมาใคร่ขอฝากญาติโยม คือพยายามรักษาตัวให้ดี อย่าประมาท ให้ตั้งสติให้ดี ก่อนที่จะทําอะไรลงไป แล้วสิ่งที่ทําจะได้ดีตามมา อาตมาเป็นผู้ไม่มีอุปถัมภ์มาก อยู่อย่างไรก็อยู่ได้ ฉันอะไรก็ฉันได้ เป็นคนแบบเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ทําใจให้ได้ว่า วันหนึ่งๆ ควรนึกถึงสิ่งใดก่อนที่เป็นสิ่งดีงาม และจงเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด จงวางและอย่ายึด ในสมบัติไร้ประโยชน์ สิ่งที่เราทําแล้วเกิดเป็นสมาธิ สติ พิจารณาให้เกิดพลังอํานาจ ความคิดของคนมันเกิดขึ้นได้ จะต้องอาศัยความอดทน คือความเพียรนั่นแหละ คือของน่าทํา”

ท่านกล่าว สอนสุภาษิตที่ว่า.. “สี่คนหาม สามคนแบก สองคนนําทาง” นั้น ท่านกล่าวว่า ให้นํามาพิจารณากันให้ดี ความหมายก็คือ สี่คนหาม ได้แก่ ร่างกายของคนเราประกอบขึ้นมา ด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วน ๓ คนแบกนั้นได้แก่ ความ โลภ ความโกรธ ความหลง อย่าให้เข้ามาครอบงําจิตใจเราได้กระทําเอาไว้ ขอให้สาธุชนทุกคนจงใช้สติปัญญาพิจารณาเลือกเอาว่า จะเลือกเอาอะไร

“ขอความสุขความเจริญจงมีแด่ญาติโยมทุกท่าน และ บริวารลูกหลานของท่าน คิดหวังสิ่งใดจงให้สมหวังดังใจ ปรารถนาทุกประการเทอญ…สาธุๆๆ”

พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

◎ มรณภาพ
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) หรือ หลวงพ่อน้อย หลวงพ่อแดง อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านดุง – เพ็ญ (ธ) และอดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาวัน อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี มรณภาพลงเมื่อ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สิริอายุรวม ๗๒ ปี

พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ พระครูวิศิษฏ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อวิชิต ปภัสสโร) วัดป่าหนองหิน (บูรพาวัน) ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี