วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล

วัดเขาไม้แดง
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง อาคมที่แก่กล้า มักน้อยถือสันโดษ แห่งเมืองชลบุรี

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง นามเดิมชื่อ “จำปี แก้วไพรำ” เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับ วันเสาร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะในเรือนแพจอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เขตอ.ไชโย จ.อ่างทอง บิดาชื่อ “นายเชียง” และมารดาชื่อ “นางถุงเงิน แก้วไพรำ” มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ ฅน

เมื่อช่วงวัยเด็ก พ่อกับแม่ได้ไปฝาก กับพระครูโกวิทนวการ หรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนาราม เพื่อให้ได้ศึกษาเล่าเรียน กระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ หลังจากนั้นก็ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนปัทมโรจน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ต่อมาท่านเปลี่ยนชื่อเป็น “ยงยุทธ” หลังจากนั้นได้เดินทางมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวุฒิศึกษา แถวฝั่งธนบุรี จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ก่อนที่จะทำงานที่วิทยุการบินแห่งประเทศไทย

◉ อุปสมบท
เมื่ออายุ ๒๓ ปี ลางานพักผ่อน ๑๕ วัน และท่านตัดสินใจบวช เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ที่วัดบ้านป่า อ.ไชโย จ.อ่างทอง โดยมี พระครูโกวิทนวการ หรือ หลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิบูลสังฆกิจ เจ้าคณะอำเภอไชโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และ พระอธิการตี๋ เจ้าอาวาสวัดประสาทเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโกสโล

ครั้นใกล้ครบกำหนดลางาน ๑๕ วัน ปรากฏว่าพระยงยุทธไม่ยอมลาสิกขา ตัดสินใจบวชต่อเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย อีกทั้ง มุ่งมั่นฝึกฝนกัมมัฏฐาน จนเกิดความสุขสงบทางใจมีโอกาสศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากหลวงปู่ลิ้ม วัดไทรใต้ จ.นคร สวรรค์ และครูจาบ สุวรรณ เป็นฆราวาส เชี่ยวชาญด้านกสิณมาก

ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ออกเดินธุดงค์ผ่านมา จ.ชลบุรี พบว่าบริเวณเขาไม้แดงนั้นมีความร่มรื่นอาณาบริเวณเงียบสงบตัดสินใจจะสร้างวัดที่เขาไม้แดง เริ่มจากพัฒนาสร้างศาสนสถานชั่วคราว เป็นกุฏิที่พักสงฆ์ หรือศาลาโรงธรรมอื่นๆ ทำด้วยไม้และมุงด้วยจาก

เรื่องราวที่พระอาจารย์ยงยุทธได้ทราบไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ความสนับสนุนส่งเสริม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่งไปตรวจสอบสถานที่และทำรายงานมาเสนอทางราชการ

แต่ผ่านไปเพียง ๓ เดือน จอมพลสฤษดิ์ได้ถึงแก่อสัญกรรม ทำให้แผนพัฒนาวัดเขาไม้แดงหยุดชะงักไป

อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อยงยุทธไม่ย่อท้อ ยังคงเดินหน้าพัฒนาศาสนสถานสิ่งก่อสร้างต่อไป ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพเรือในเขตภาคตะวันออก ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ทำให้วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เจริญรุ่งเรืองสืบมา

ในปี พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๐๙ สร้างบันไดขึ้นยอดเขารวม ๑๔๒ ขั้น
ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ สร้างอ่างเก็บน้ำ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ก่อสร้างพระอุโบสถจัตุรมุขบนยอดเขา
และในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีไฟฟ้าเข้าใช้ภายในวัดจนสำเร็จลุล่วง

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูธรรมกิจโกวิท

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

◉ มรณภาพ
เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ท่านมีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบและโรคหัวใจ

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล วัดเขาไม้แดง มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ เวลา ๐๕.๔๕ น. สิริอายุ ๗๕ ปี ๒ เดือน พรรษา ๕๒

ตามปกติ หากเกจิอาจารย์ มรณภาพ ลูกศิษย์ และ ทางวัด มักจะนำร่าง หรือ สรีระสังขารบรรจุโลงแก้ว เป็นหลัก แต่ในกรณี หลวงพ่อยงยุทธ นั้น ท่านสั่งเสีย ไว้ตั้งแต่ก่อนมรณภาพ ว่า ให้ทำการสร้างรูปหล่อของท่าน ขนาดใหญ่กว่าตัวจริง ในลักษณะ การเดินธุดงค์ เมื่อท่านมรณภาพลง มีการเก็บร่างท่านไว้ จนมีสภาพแห้งลง ทางวัดเขาไม้แดง จึงประกอบพิธี บรรจุสรีระสังขารท่านลงในรูปหล่อ ซึ่งมีหลักฐาน การบันทึกเหตุการณ์เป้นวิดีโอ ซึ่งยังคงมีการเผยแพร่ในยูทูป โดยพิธีการครั้งนั้น มีการตั้งเครื่องบวงสรวง พลีกรรม บอกกล่าว หลวงพ่อยงยุทธ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น จึงเชิญร่าง หลวงวพ่อยงยุทธ มาเปลี่ยนจีวรใหม่ ก่อนจะเชิญลงในรูปหล่อ ที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ในลักษณะยืน เหมือน การบรรจุโกศ ห่อร่าง หลวงพ่อยงยุทธ ด้วยจีวรอย่างแน่นหนา ยึดกับเสาแกนกลาง จากนั้น นำรูปหล่อส่วนบนประกอบ เข้าด้วยกัน ก่อนที่จะเชื่อมโลหะ ปิดผนึกรูปหล่อ และประดิษฐาน ให้ศิษย์ได้มากราบไหว้บูชา

รูปหล่อธุดงค์ หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​
รูปหล่อธุดงค์ หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​

หลวงพ่อยงยุทธ เคยกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดไว้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพว่า ถ้าไม่ทำการเก็บร่างท่านไว้ในลักษณะนี้ วัดเขาไม้แดง แห่งนี้ ก็จะกลายเป็นวัดร้าง ดังนั้นท่านจึงทำการสั่งทำรูปหล่อ และการเก็บร่างท่านไว้ เพื่อที่ให้ผู้คนมาสักการะ และท่านจะอยู่ช่วยเหลือผู้คน

◉ ด้านวัตถุมงคล
ในห้วงที่ หลวงพ่อยงยุทธ ยังมีชีวิต สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายรุ่น ทั้งเหรียญพระ รูปหล่อ ฯลฯ ได้รับความเลื่อมใสนำไปคล้องคอติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อยงยุทธ
เหรียญรุ่นนี้ วัดเขาไม้แดง จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหู จัดสร้างทั้งหมด ๔ สี คือ สีกะไหล่เงิน ทอง นาก และรมดำ จำนวนการสร้างสีละ ๒,๐๐๐ เหรียญ

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อยงยุทธนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ขอบเหรียญเป็นรูปจุดไข่ปลา ด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนเลข “” เป็นเลขไทย และใต้ตัวเลขเขียนคำว่า “ธมฺมโกสโล” ซึ่งเป็นนามฉายา

ส่วนด้านหลังเหรียญ มี ๒ แบบ เป็นยันต์นะพรชัยและยันต์ประจุธาตุ และใต้ยันต์มีคำว่า “วัดเขาไม้แดง อ.ศรีราชา
หลวงพ่อยงยุทธปลุกเสกเดี่ยวเหรียญวัตถุมงคลรุ่นแรก ตามพิธีกรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ ก่อนนำไปให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชา นำปัจจัยสมทบทุนพัฒนาวัด

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง​

กล่าวกันว่า เหรียญดังกล่าวเป็นที่ปรารถนา ของบรรดานักสะสมพระเครื่องและชาวเมืองชลบุรีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทหารนาวิกโยธินฐานทัพเรือสัตหีบและทหารบกจากค่ายมณฑลทหารบกที่ ๑๔ ชลบุรี ต่างเสาะแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาเก็บไว้ในครอบครองเป็นที่ระลึกกันอย่างมาก จนกลายเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีกเหรียญหนึ่ง

สมเด็จกริ่งเกศา หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี ปี พ.ศ.๒๕๑๙
สมเด็จกริ่งเกศา หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี ปีพ.ศ. ๒๕๑๙
พระสมเด็จ หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี
พระสมเด็จหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี