วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ

วัดกก
บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ) วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ พระเกจิฝั่งธนที่เชี่ยวชาญทางด้านพระเวทย์ทุกแขนง

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ นามเดิมชื่อ “เล่ง” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อ มิ่ง เมื่อคราวที่เข้ารับราชการตำรวจ เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี วันที่ ๓ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๑ (นับตามจันทรคติ ๒๔๔๐) ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ที่หมู่บ้านเชิงตะแพ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี(แถวย่าน วัดลูกวัว ปัจจุบัน) บิดาชื่อ “นายจร” และมารดาชื่อ “นางวัน โพธิ์จันทร์” ท่านเป็นบุตรคนหัวปี มีพี่น้องทั้งหมด ๘คน ด้วยกัน คือ
๑. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง วัดกก)
๒. นายหลอม
๓. นางทองหล่อ
๔. นายลอย
๕. นางเกลี้ยง
๖. นางพวง
๗. นางวิง
๘. นางเวียน

◉ ปฐมวัย
เมื่อท่านยังเยาว์วัยได้เคยมาอยู่กับ หลวงพ่ออุปัชฌาย์พ่วง มาเล่าเรียนตำราหนังสือ และได้กลับไปบ้านเชิงตะแพ เมื่ออายุประมาณ ๑๕- ๑๖ ปี เพื่อช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ครั้นพออายุครบ ๑๘ ปี ได้สมัครเข้ารับราชการ ตำรวจ

◉ อุปสมบท
จวบจน อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ครบบวช เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๑ จึงได้มาอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดกก ตำบลบางมด อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๑ โดยมี หลวงพ่อพ่วง ธัมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อพัน วัดสิงห์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธัมมสุวัณโณ

ครั้นเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ได้อยู่ปรณนิบัติพระอุปัชฌายะ และปฏิบัติธรรม จวบจนพระอุปัชฌายะท่าน มรณภาพแล้ว ทานก็ได้รับตราตั้งเป็น เจ้าอธิการ วัดกกสืบต่อมา

◉ การศึกษา
ท่านพระครูวิเศษมงคลกิจ ในวัยเยาว์ ได้เรียนหนังสืออยู่ที่วัดกก จนเชี่ยวชาญอ่านออกเขียนได้ดีทั้งพยัขนะ ไทย และอักษรขอม บาลี ซึ่งท่านเป็นผู้ใคร่ใฝ่ความรู้ในด้านปกครอง และทางพระพุทธศาสนา มีความรู้ธรรมวินัยพอที่จะปกครองตัวเอง และสามารถแนะนำภิกษุสามเณรในวัดของท่าน ให้รู้จักข้อที่ควรบำเพ็ญหรือ ข้องดเว้น ตามพระธรรมวินัยครบถ้วน กับทั้งท่านยังเป็นผู้ใฝ่ความรู้เรื่องวิชา อาคม วิทยาคม ต่างๆ ศึกษาจากหลวงพ่อพ่วง จนจบครบถ้วนกระบวนความ แล้วยังได้เดินทางไปเรียนวิทยาคม กับ หลวงพ่อเชย วัดกระเจ็ด (วัดเจษฎาราม) และหลวงพ่อเชย วัดแสมดำ ทั้งต่อวิชา ร่วมศึกษากับหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง และเกจิคณาจารย์ ในยุคนั้นอีกหลายท่าน จนสามารถใช้วิทยาคมที่ได้ศึกษามาให้เป็นประโยขน์แก่ตนเอง และผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งเจ้านาย ข้าราชการชั้นสูง ตลอดจนชาวบ้าน จนเป็นที่เลื่องลือนาม ไปทั่ว

◉ ด้านบำรุงพระศาสนา
ตั้งแต่ที่ท่านได้ อุปสมบท และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการ ท่านได้อบรมสั่งสอน พระนวกะ พระภิกษุในปกครองของท่าน ให้มีความรู้ อยู่ในระเบียบวินัย เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จาก การบำเพ็ญและปฎิบัติของท่านตัวท่านเอง ในเรื่องการเสียสละอย่างใหญ่หลวง ท่านได้ปฏิบัติตามรอย พระอุปัชฌายะของท่านอย่างเคร่งครัด ในเรื่องการจับต้องเงิน ไม่ยินดีในทรัพย์สิน ท่านได้บริจาคที่ดิน ที่สวน นา ไร่ มรดกในส่วนของท่าน สร้างวัดวาอาราม จนเป็นที่รู้ทราบถึงคณะปกครองสงฆ์ ในเรื่องการเสียสละ อันหาภิกษุใดจะเสมือนได้ จนได้เสนอชื่อขึ้นรับประทานสัญญาบัตร พระครู ชั้นโท (ซึ่งเจ้าอธิการวัดอื่นๆ หรือเจ้าคณะตำบล ยังได้แค่ ชั้นตรี) ทั้งยังมีการจัดให้ ชาวบ้านประชาชนทั่วไป มาร่วมกัน บำรุงพระศาสนา โดยการบูรณะวัดวาอาราม ให้เป็นที่สวยงาม สมบูณ์ มั่นคงสถาวร สืบทอดพระศาสนา โดยการสร้างเสนาสนะ บูรณะโบสถ์ ศาลา สร้างโรงเรียนสอนปริยัติธรรม แก่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจน ดูแลความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี อยู่เป็นนิจ รวมทั้งท่านยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการ สร้างพระอุโบสถ ให้กับทางวัดลูกวัว ซึ่งเป็นวัดในถิ่นฐานบ้านเกิด ของท่าน อีกด้วย

หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ ท่านได้อบรมสั่งสอนพระภิกษุในปกครองของท่าน ให้มีความรู้ อยู่ในระเบียบวินัย ท่านได้ปฏิบัติตามรอย พระอุปัชฌายะของท่านอย่างเคร่งครัด ทั้งยังมีการจัดให้ ชาวบ้านประชาชนทั่วไป มาร่วมกัน บำรุงพระศาสนา โดยการบูรณะวัดวาอาราม ให้เป็นที่สวยงาม สมบูณ์ มั่นคงสถาวร สืบทอดพระศาสนา โดยการสร้างเสนาสนะ บูรณะโบสถ์ ศาลา สร้างโรงเรียนสอนปริยัติธรรม แก่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจน ดูแลความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ ท่านเชี่ยวชาญทางด้านพระเวทย์ทุกแขนง เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาลาภ เพราะท่านได้ศึกษาวิทยาคม จากพระอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้นหลายท่านด้วยกัน

หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

◉ มรณภาพ
หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ ได้ถึงแก้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๘

◉ ด้านวัตถุมงคล
พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ) เชี่ยวชาญทางด้านพระเวทย์ ทุกแขนง เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาลาภ เพราะท่านได้ศึกษาได้วิชา มาหลายแขนงจากครูอาจารย์หลายท่าน
ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น จึงพอจะรวบรวมจากคนเก่าแก่ในยุคนั้น ได้รับจากมือท่านบ้าง เช่น

เหรียญเสมา หลวงพ่อมิ่ง วัดกก บางขุนเทียน ปี ๒๕๐๙
เหรียญเสมา หลวงพ่อมิ่ง วัดกก บางขุนเทียน ปี ๒๕๐๙


๑. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมิ่ง วัดกก รูปไข่นั่งบัว หลังยันต์ห้า ที่ระลึก ครบ ๔ รอบ ปี ๒๔๘๙
๒. พระเนื้อดิน-ทราย-เกสร -ผงใบลาน ตะกรุด ลูกอม รูปแบบพิมพ์ คล้ายของอาจารย์ที่ท่านได้ศึกษามา ยุคแรกสร้างแจกเฉพาะศิษย์ผู้ใกล้ชิด และญาติสนิท เอาไว้เป็นสิริมงคล
๓. รูปหล่อเท่าองค์จริง ในวิหารบูชา และรูปหล่อโบราณ ขนาดเล็ก
๔. เหรียญรุ่น ๒ เสมานั่งเต็มองค์ หลังยันต์ห้า ฉลองสมณศักดิ์ ที่ระลึก ๕ ธ.ค.๐๙ ใหญ่-เล็ก
๕. แหวนอัลปาก้า ลงยา /ผ้ายันต์ /ยันต์ชายธง ประมาณ ๒๕๐๙ -๒๕๑๒
๖. กริ่งเชียงแสน/ รูปหล่อ เนื้อนวะโลหะ ปี๒๕๑๓ พระผงนั่งบัว ใบลานข้าวสารดำ / สมเด็จใบลาน
๗. เหรียญรุ่น ๓ เสมานั่งเต็มองค์ หลังยันต์ห้า มี ก.ที่ระลึกฉลองอายุครบ ๖ รอบ ปี ๒๕๑๓ ใหญ่-เล็ก
๘. พระพุทธรูปบูชา ขนาด ๙/๘/๖ นิ้วสามสมัย รูปบูชาพ่อมิ่ง ๔ นิ้ว ปี๒๕๑๓ ร่วมสร้าง รร.พระปริยัติ
๙. แหนบอัลปาก้า ชนิดก้านยาว – ก้านสั้น งานฉลอง รร.พระปริยัติธรรม ปี ๒๕๑๔
สมเด็จปรกโพธิ์ เกสร /รูปโปสการ์ด ที่มีผู้นำมามอบให้ หลวงพ่อปลุกเสก เพื่อร่วมสมทบทุน ทำบุญ