วันเสาร์, 4 พฤษภาคม 2567

พระเสริม ตำนานพระพุทธรูป ๓ พี่น้องอาณาจักรล้านช้างในอดีต

ตำนานประวัติ
หลวงพ่อพระเสริม

วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

หลวงพ่อพระเสริม วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร (วัดสระปทุม)


พระเสริม เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยล้านช้าง ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดปทุมวนาราม พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างพระองค์นี้ สร้างขึ้นพร้อมกันกับพระสุกและพระใส โดยพระธิดาสามพี่ น้องของกษัตริย์ล้านช้าง เมืองเวียงจันทน์

พระเสริม เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก และ พระใส โดยพระราชธิดาของกษัตริย์ล้านช้าง (บางแห่งระบุว่าคือพระไชยเชษฐาธิราช) ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๓ พระองค์ ทรงพระนามว่า สุก เสริม และใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ ระหว่างพิธีการหล่อพระพุทธรูปอยู่นั้น ๗ วันแรกมีคนมาสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอด พอถึงวันที่ ๘ มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฏมีชีปะขาวมาอาสาสูบเตาแทนพระและ เณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมากเมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง ๓ จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์สำเร็จลงด้วย ดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระธิดาสุก เสริม และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระสุก เป็นพระพุทธรูปประจำพระ ธิดาองค์พี่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น ๒ ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวัน ออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว

พระสุก พระเสริม พระใส เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ ชาวเมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ หลบหนีภัยสงครามเมื่อสงครามสงบจึงอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ ทัพไปปราบ และในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ เช่น พระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระสุก พระเสริม พระใส พระแก่นจันทน์ พระสรงน้ำ ฯลฯ และอัญเชิญพระบาง พระแทรกคำ และพระฉันสมอไปกรุงเทพฯ พระเสริม และพระ ใสให้ประดิษฐานไว้ที่หนองคาย ส่วนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ นั้น ให้ก่อพระเจดีย์ที่ค่ายหลวงเมืองพันพร้าว เป็นที่ประดิษฐาน เรียก เจดีย์ปราบเวียง

เฉพาะการอัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปที่ภูเขาควาย จึงนำ ขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุพัดแท่นที่ประดิษฐานพระสุกจมน้ำ สถานที่นั้นต่อมาเรียกว่า “เวินแท่น” และในที่ใกล้ๆ กันองค์ พระ สุกก็จมหายไปในแม่น้ำโขงด้วยและสถานที่ตรงนั้นต่อมาจึงเรียกว่า “เวินพระสุก” หรือ “เวินสุก” ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมา ถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ) ต่อมาเมื่ออัญเชิญพระเสริมและพระใสไปกรุงเทพฯ นั้นเกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้า วัดโพธิ์ชัยชาวบ้านจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไปกรุงเทพฯ

จากหลักฐานในชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคาย ไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส พุทธศักราช ๒๔๐๑ เมื่อสร้างวัดปทุมวนารามเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในพุทธศิลปะล้านช้าง จึงได้อัญเชิญพระเสริมจากรพะบรมราชวัง ประดิษฐานในพระวิหารวัดปทุม วนารามสืบมา

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร (วัดสระปทุม)
วิหาร หลวงพ่อพระเสริม พระสายน์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร (วัดสระปทุม)

และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายเหม็น บุตรเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ไปอัญเชิญพระใสจากเมืองหนองคาย มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามที่ทรงสร้าง ในครั้งนั้นนายเหม็นได้อัญเชิญพระแสนจากเมืองมหาไชยลงมาด้วย เพราะเป็นพระศักดิ์ สิทธิ์บูชาขอฝนได้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานที่พระวิหารวัดปทุมวนารามคู่กับพระใส ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ

ประเพณี ในเดือน ๖ ของทุกปี บรรดาผู้มีเชื้อสายชาวล้านช้างซึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหลังองค์การโทรศัพท์จะจัดปราสาทผึ้ง และดอก ไม้ไฟมาสักการบูชาพระเสริมเพื่อความเป็นสิริมงคล

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ danpranipparn.com