ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อทองพูน กาญจโน
วัดป่าภูกระเเต
ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
◎ ชาติภูมิ
พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (หลวงพ่อทองพูน กาญฺจโน) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ตรงกับแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ ที่บ้านหนองวัวซอ ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
◎ บรรพชา อุปสมบท
หลวงพ่อทองพูน กาญฺจโน ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๘ ปี ที่วัดเชตวัน จ.ลำปาง และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เวลา ๑๒.๕๕ น. ที่วัดถ้ำกลองเพล (ปัจจุบันคือ ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) โดยมี พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงปู่คำพอง ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบัณฑิตสาลภาณ (หลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต) พระกรรมวาจาจารย์ พระประสิทธิ์ ติสฺสวํโส พระอนุสาวนาจารย์ ตั้งแต่อุปสมบทมาได้ไปจำพรรษาตามวัด และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อภาวนาอบรมจิตใจ ตามแบบพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพาประพฤติปฏิบัติมา
◎ สถานที่ที่ได้รับอบรมจากครูบาอาจารย์ มีดังนี้
๑. พระเดชพระคุณพระราชนิโรธรังสีฯ (หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี) จ.หนองคาย
๒. พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน อ.วังสะพุง จ.เลย
๓. พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) จ.อุดรธานี
๔. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
๕. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
๖. พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
◎ สถานที่จำพรรษามีดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ จำพรรษาที่วัดป่าสมพรปณิธาน กับพระอาจารย์ลี กันตสาโร จ.กำแพงเพชร
๒. พ.ศ. ๒๕๒๗ จำพรรษาที่วัดเขามหาวัน จ.เชียงราย
๓. พ.ศ. ๒๕๒๘ จำพรรษาที่วัดป่าสมพรปณิธานกับพระอาจารย์ลี กันตสาโร อีกครั้ง
๔. พ.ศ. ๒๕๒๙ จำพรรษาที่วัดป่าบ้านห้วยบง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
๕. พ.ศ. ๒๕๓๐ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์คูหาผาสุก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
๖. พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๔ จำพรรษาที่วัดป่าบ้านใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน
๗. พ.ศ. ๒๕๓๕ จำพรรษาที่วัดป่าสมพรปณิธาน
๘. พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าเขาน้ำทิพย์ จ.กำแพงเพชร
๙. พ.ศ. ๒๕๓๙ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑ จำพรรษาที่วัดป่ามหามงคล จ.เชียงราย
๑๑. พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าภูกระแต จ.หนองบัวลำภู
๑๒. พ.ศ. ๒๕๔๖ จำพรรษาที่วัดบุญญานุสรณ์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการเจ้าอาวาส แทนพระเดชพระคุณ พระครูสันติวรคุณ (หลวงปู่คำแพง อตฺตสนฺโต) ซึ่งเป็นพระพี่ชายและได้อยู่จำพรรษามาจนถึงปัจจุบัน
◎ รายนามเจ้าอาวาสวัดบุญญานุสรณ์ มีดังนี้
๑. หลวงปู่เพชร กิตติวัณโณ พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๔
๒. พระวินัยธรวันดี พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๙๕
๓. พระครูประสาทสมณการ พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๐๓
๔. พระครูโสภณคณานุรักษ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๒๖
๕. พระครูประสิทธิ์คณานุการ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗
๖. พระครูสันติวรคุณ พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๔๕
๗. พระอาจารย์ทองพูน กาญฺจโน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (หลวงพ่อทองพูน กาญฺจโน) ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าภูกระเเต และจำพรรษา ณ วัดป่าภูกระแต ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ท่านมีอายุ ๕๙ ปี พรรษา ๓๙ (พ.ศ.๒๕๖๔)
◎ โอวาท หลวงพ่อทองพูน กาญฺจโน
“..สิ่งที่ไม่ดีก็ให้ไปกับอดีต
สิ่งที่ดีที่ควรก็ให้อยู่ในใจ
สิ่งที่ไม่ดีก็ให้ลอยไปกับอดีตที่ผ่านมา
ลอยไปกับปีเก่า ลอยไปกับแม่น้ำสูญ
คือความเป็นอดีตที่ผ่านมา ลอยไปกับอดีตสิ่งไม่ดี
สิ่งที่ดีๆ ก็เก็บไว้ในใจ การทำความดีพระพุทธเจ้า
บอกว่าเป็นสิ่งดีเป็นมงคล เอตัมมัง คะละมุตตะมัง
อันใดเป็นมงคลให้รักษาให้ปฏิบัติ
อันใดไม่เป็นมงคลก็ให้ละเว้น
ให้ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น
ถ้าทำเรื่องยากให้มันยากขึ้น
ทำเรื่องง่ายให้มันยากมันก็จะยากไปอีก
เพราะฉะนั้นให้ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องเบาไป คือการคิดดี พูดดี ทำดี
สร้างสิ่งดีให้กับชีวิต สร้างมงคลให้กับชีวิตให้กับจิตใจเรา
คือส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เหมือนการสวดมนต์
ข้ามปีนี่แหละ ให้คิดในทางที่ดีไว้ ..”
“..วันหนึ่งๆ ให้เราสำรวจตัวเอง
ว่าเราได้ทำความดีอะไรแล้วหรือยัง
อย่าปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดยเปล่า
อย่าคิดว่าพรุ่งนี้ค่อยทำ มะรืนนี้ค่อยทำ
ทำความดีทำวันไหนก็ดีวันนั้นหละ
ถ้ามัวแต่เลือกวันนั้นวันนี้
คือยังเป็นผู้ประมาทอยู่
คนประมาทก็เหมือนคนตาย
คือตายจากคุณงามความดี
ถ้าวันไหนความตายมาถึงเรา
ถึงจะอยากทำดีมันก็ไม่ทันแล้ว..”
“..วันหนึ่งๆ ให้เราสำรวจตัวเอง
ว่าเราได้ทำความดีอะไรแล้วหรือยัง
อย่าปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดยเปล่า
อย่าคิดว่าพรุ่งนี้ค่อยทำ มะรืนนี้ค่อยทำ
ทำความดีทำวันไหนก็ดีวันนั้นหละ
ถ้ามัวแต่เลือกวันนั้นวันนี้
คือยังเป็นผู้ประมาทอยู่
คนประมาทก็เหมือนคนตาย
คือตายจากคุณงามความดี
ถ้าวันไหนความตายมาถึงเรา
ถึงจะอยากทำดีมันก็ไม่ทันแล้ว..”
“..สมมุติ บังวิมุตติ
สมมุติปิดบังความจริง
ของธรรมชาติ
คนเราจึงหลง
สมมุติของโลก
เลยไม่เข้าใจ
ความเป็นจริง
ของธรรมชาต..”
“..เมื่อไหร่ที่เราเข้าใจว่า
ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ
สักแต่ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
เมื่อเข้าใจ “สักแต่ว่า” จริงๆ แล้ว
จิตเราก็จะหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น
เมื่อนั้นแหละจิตเราจะถึงความสบาย..”
“..เมื่อจิตเราถึงความเป็นกลางแล้ว
ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายกับอะไรต่างๆ
ไม่สุข ไม่ทุกข์ ตรงนั้นหละมันเป็นธรรม
เวลาเทศน์ธรรมให้คนฟังก็เอามาจากตรงนี้แหละ
เอามาจากการปฏิบัติของเรานี้แหละ ไม่ได้อ่านมานะ..”
“..ให้เอาความดีไว้รองรับความดี
เพราะความดีถึงจะรองรับความดีได้
ความไม่ดีหรือความชั่วไม่สามารถ
ที่จะรองรับเอาความดีไว้ได้..”
“..ธรรมชาติของจิตเป็นนักเดินทาง
คิดนั่น คิดนี้ คิดไม่จบไม่สิ้น
อย่างที่เราฝันอะไรต่างๆ คือการเดินทางของจิต
ถ้าเราจะหยุดการเดินทางของจิต
เราต้องมาบริกรรม พุธโธ..”
“..เป็นพระใหม่ถ้ามันอยากลาสึกขามากๆ
ให้ไปหาชีวะประวัติครูบาอาจารย์มาอ่าน
ถ้ายังอยากสึกอีกให้ไปหาธุดงค์ทางอื่น..”
“..มาว่ามื้อนั่นดี มื้อนี่บ่ดี
มันบ่เกี่ยวกับมื้อดอก
ถ้ารู้ว่ามื้อนั่น มื้อนี่บ่ดี
กะบ่ต้องมาเกิด สิบ่ดีกว่าติ
เกิดมากะสิมีมื้อนั่น มื้อนี่..อยู่คือเก่า..”