วันอาทิตย์, 13 ตุลาคม 2567

หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่โทน กันตสีโล

วัดบูรพา
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่โทน กันตสีโล
พระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี

พระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) แห่งวัดบูรพา ท่านเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีความ สันโดษ มักน้อย อยู่ในที่ ๆ จํากัด ไม่ยินดียินร้ายอะไรนัก มุ่งหน้าประพฤติปฏิบัติธรรมไปอย่างเงียบ ๆ

หลักธรรมอันใดที่พระอุปัชฌาย์สอนมาเป็นเบื้องต้น ก็ดําเนินไปตามนั้น พิจารณาให้เกิดตัววิปัสสนาก็ย่อมได้พบความสุขความจริงอย่างแน่นอน

ส่วนทางด้านวิชาอภิญญาทั้งหลายถือเป็นแนวทางแห่งโลกียวิชา หลวงปู่โทน ได้ไปศึกษาหาความรู้มาจากประเทศลาว พระอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่สําเร็จลุน แห่งบ้านเวินไซ นครจําปาศักดิ์

หลวงปู่สมเด็จลุน ท่านนี้ ท่านเป็นพระผู้แก่กล้าสามารถในหลาย ๆ สิ่งและเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ทั้งสิ้น

ผู้เขียนเคยเดินทางกันเป็นคณะไปกราบนมัสการท่าน ครั้งนั้นท่านได้บอกอุบายให้พิจารณาตน เองอย่างลึกซึ้งคมคายว่า

“วัดบูรพาอยู่ห่างไกลสายตาของบุคคลธรรมดา ๆ แต่ก็ไม่ห่างไกลกระแสใจของผู้ปฏิบัติ

หลวงปู่นั้นชรามากแล้ว เดินไปไหนครั้งหนึ่งก็ต้องมีสามขา หรือไม่ก็ต้องมีคนคอยช่วยจับยึด ไม่ให้โงนเงน รอสลายอย่างเดียว

โยมทั้งหลายดูหลวงปู่นี้เถิด ว่าอะไรเที่ยงบ้าง มันยืนหยัดอยู่ได้จริงก็ไม่ต้องอาศัยขาที่สามละซี”

ดังนั้น หลวงปู่จึงมักสอนทุก คนอยู่เสมอ ๆ ว่า ข้อใด “เกิดเป็นคนนั้นต้องคนให้ทั่ว ๆ” (พิจารณาด้วยสติปัญญา ตามสภาวะความเป็นจริง) “ปากไม่ล้น ก้นก็อย่ารั่ว” (ไม่ให้ดีแตก ไม่ให้ทําชั่วจนทราม เอากลาง ๆ พอดี…พอดี…ไม่ร้อนไม่ หนาวทางสายกลาง)

ชั่วไม่เอา” (ความเลวอันเป็นบาปกรรมไม่กระทําเลยดีกว่า)

เมาไม่มี นี่คือคน” (ไม่ถลําจิตใจให้ลุ่มหลงลื่นไถไปกับกระแสแห่งตัณหา พิจารณาธรรมเป็นผล จึงจะได้หมดคําว่า คอหยัก ๆ สักว่าเป็นคน…นั่น…)

หลวงปู่โทน กันตสีโล มีนามเดิมว่า โทน นามสกุล หิมคุณ

เกิดเมื่อเดือนอ้าย ปีระกา พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นวันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ณ บ้านสะพือ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

อายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ท่องจําเอาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ต้อง อาศัยสายตาเป็นหลักด้วยเมื่อจะเขียนหรืออ่านว่า ตัวอักขระงอไปงอมา หรือวกไปโน้นวนมานี่เขา อ่านอย่างไร เสียงสําเนียงเป็นอย่างไร

ชีวิตนักศึกษาสมัยหลวงปู่โทนเป็นอย่างนี้ด้วยการขาดเครื่องมือต่าง ๆ ไม่มีแม้จะเรียกชื่อว่า “สมุด และ ดินสอ”

สมัยนั้นถ้ามีใครเอามาวาง ไว้ตรงหน้าก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกชื่ออะไร เลยทําให้คิดถึงสมัยพุทธกาล

พระพุทธเจ้าของเราก็ดี พระอริยเจ้าทั้งหลายของเราก็ดี สมแล้วกับคําที่ว่า “บัวพ้นน้ำ

พ.ศ.๒๔๖๑ ได้อุปสมบท ณ วัดบูรพา โดยได้รับเมตตาจาก ท่านพระครูพุทธธรรมวงศา (หลวงปู่สีดา) เป็นพระอุปัชฌาย์

บวชแล้วหลวงปู่ได้เดินธุดงคกรรมฐานไปยังสถานที่ต่างๆ หลายแห่งและสุดท้ายได้ไปศึกษาวิชาเร้นลับกับ ท่านสําเร็จลุน เมืองนครจําปาศักดิ์ ประเทศลาว

“เคยอาศัยวิชาย่นระยะทาง หลายหน แต่เมื่อปลีกตัวไปที่สงบ ๆ ก็ต้องเดินจงกรมชดใช้ถวายธรรม”

“ลูกพระพุทธเจ้าเอาแต่สบาย ไม่ได้ติดสุขก็เป็นกิเลสนะลูกนะ” (นักเล่นฤทธิ์ต้องพิจารณาตรงนี้ด้วย)

ส่วนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่โทนเคยได้พบกัน ท่านเล่าว่า…

“เคยพบพระอาจารย์มั่น ตอน นั้นอายุของท่านคงจะราว ๆ ๕๐ ปี ขึ้น ส่วนอายุของหลวงปู่ก็ราวๆ ๓๐ หย่อน เกิดเลื่อมใสปฏิปทาของท่านมาก เพราะท่านเคร่งครัดตรงพระธรรมวินัยมาก จนมองดูตัวเองว่า หย่อนยานไป ก็รับเอาปฏิปทาท่านมาประพฤติดูได้ผลทีเดียว”

หลวงปู่โทน ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอาจารย์เจ้าอาวาสองค์เดิม ซึ่งขณะนั้นขาด พระภิกษุจะบริหารวัดเก่าแก่ เช่น วัดบูรพา ทําท่าว่าจะร้างเอาในช่วงนั้น

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ท่านมาตรวจพบ ก็จับเอาเป็นเจ้าอาวาส เลยประทับตราตั้ง ให้อยู่บูรณปฏิสังขรณ์ของเก่าที่ทรุดโทรม จนเกิดความเจริญขึ้นตั้งแต่บัดนั้น ก็มีคนอยู่ค่อยทําไปมันก็ดีเอง”

หลักธรรมของหลวงปู่โทน ท่านสอนชาวกรุงเทพฯ ในครั้งนั้น ราวๆ ๒๐๐ คนว่า

“การปฏิบัติบูชานั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเลย ใครจะทําอย่างไรก็ได้ไม่ว่า… ”

แต่ถ้าจะให้ดี ก็ต้องอย่าให้ผิดไปกว่าคําสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถจะนําตนเองเข้าหมู่คณะได้นั้นสําคัญกว่า….

เออ…ใครจะชอบปฏิบัติอย่างไรก็ดี จะอยู่วัดก็ได้ จะอยู่ป่าดงก็เยี่ยม

ขอเพียงให้ปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ภาวนา พุท-โธ หรืออะไรก็ได้ใจแน่วแน่ มีสติรู้ พร้อม ใช้ได้หมดเลย…”

หลวงปู่โทน กันตสีโล ท่าน เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ควรค่าแก่กราบกราบไหว้ ได้อย่างสนิทใจ