วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่แพงตา เขมิโย
วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม

พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่แพงตา เขมิโย) วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่แพงตา เขมิโย) วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม

หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม พระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพร วัดประดู่วีรธรรม ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม

◎ ชาติภูมิ
พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่แพงตา เขมิโย) มีนามเดิมว่า “แพงตา นุนนท์” เกิดเมื่อวันพุธ ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๗ ตรงกับแรม ๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ บิดาชื่อ “นายพอง” และมารดาชื่อ “นางตาดำ นุนนท์” บ้านดอนดู่ ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม มีพีน้องร่วมอุทรเดียวกัน ๑๔ คน เป็นชาย ๖ คน เป็นหญิง ๘ คน ดังนี้
๑. นางคำ สุแสง (ถึงแก่กรรม)
๒. นายเฮือง นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๓. หลวงพ่อเขือง โชติโก (มรณภาพ)
๔. ด.ญ.จันทร์แดง นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๕. พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่แพงตา เขมิโย)
๖. ด.ญ.บัพพา นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๗. แม่ชีตุ่น นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๘. นางสูน ราชวงค์ (ถึงแก่กรรม)
๙. ด.ญ.เสน นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๑๐. นายเสริม นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๑๑. นายพรหมา นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๑๒. หลวงพ่อพิมพา สุมโน (ปัจจุบันอยู่ วัดบุพพาราม บ้านนาดอกไม้ ต.กุตาไก้)
๑๓. ด.ญ.นา นุนนท์ (ถึงแก่กรรม)
๑๔. นางสิมมา จันเคน (ถึงแก่กรรม)

◎ บรรพชา
พ.ศ.๒๔๖๖ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่ ๓ ปี มีเหตุจําเป็นที่บ้าน จึงได้ลาสิกขาเกี่ยวด้วยเรื่องบิดามารดา

◎ อุปสมบท
พ.ศ. ๒๔๗๙ บรรพชา-อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบวรศรัทธา ราม ต.กุตาไก้ อ.เมือง จ.นครพนม โดย พระวงษ์ เป็นอุปัชฌาย์

พระเดชพระคุณพระสุนธรธรรมากร (หลวงปู่คําพันธ์ โฆสปญฺโญ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าคณะอําเภอปลาปากองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีอายุรุ่น ราวคราวเดียวกัน ได้เล่าว่า ก่อนบวช พระครูภาวนาภิรัต ได้ชักชวนว่า บวชกันเถอะ ผมต้องการจะบวชเพื่อแสวงหาคุณธรรมอันนําไปเพื่อความหลุดพ้น แล้วหลวงปู่คําพันธ์ก็ได้อุปสมบทในปีถัดๆ มา

◎ การศึกษาพิเศษ
ในพรรษาแรก หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ศึกษาเล่า เรียนมนต์น้อย มนต์กลาง มนต์หลวง เรียนอักษรธรรม จบแล้วได้ศึกษา แนวทางการปฏิบัติธรรมจากอุปัชฌาย์อาจารย์จนเป็นที่พอใจแล้ว ใครที่จะปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริง จึงได้แสวงหาสํานักอาจารย์อื่นๆ ต่อไป

○ พ.ศ.๒๔๘๐
ได้ไปจําพรรษาที่ภูค้อกับพระอาจารย์ลับ ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดพรรษาด้วยการอดข้าว ดื่มแต่น้ำอย่างเดียว ออกพรรษาแล้วกลับมาเข้ากรรมที่คํา(ป่าดงดิบ) สวนกล้วย ต.คําเตย ออกกรรมแล้ว เคยไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำกวนพลอย และถ้ำยางโดนในประเทศลาว และ ศึกษาการปฏิบัติธรรมในหลายๆ แบบกับพระอาจารย์ในถิ่นนั้น แล้วกลับ มานมัสการพระอาจารย์ศรีทัตต์ ที่วัดพระธาตุ อ.ท่าอุเทน แต่ท่าน อาจารย์ศรีทัตต์ ก็ได้ให้ล่วงหน้าไปก่อนที่พระบาทโพนสัน ประเทศลาว (ตรงข้ามบ้านโพนแพง จ.หนองคาย) หลังจากที่ท่านอาจารย์ศรีทัตต์ สร้างยอดพระธาตุทที่ท่าอุเทนเสร็จแล้ว จึงกลับไปที่พระบาทโพนสัน (โพนสัน=คํานี้เพี้ยนมาจากคําว่า “โพนฉัน” เป็นสถานที่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดาของเราเสด็จมาจากนครเวียงจันทน์ และแวะฉันภัตตาหารเพลที่บังพวน แล้วประทับรอยพระบาทไว้ตามค่าที่พญานาค “สุขหัตถี” ได้เนรมิตเป็นช้างพลายถือดอกไม้เข้ามาขอให้ประทับไว้) อีกเห็นท่านอาจารย์แพงตาปฏิบัติธรรมที่เข้าขั้น จึงแนะนําให้ไปปฏิบัติธรรมภาวนาที่ถ้ำภูเขาควาย

○ พ.ศ.๒๔๔๓
ได้ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำภูเขาควายตามคําแนะนําของท่านอาจารย์ศรีทัตต์ ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน พอออกพรรษาแล้วก็เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย เนื่องจากนั่งมากจึงเดินไปมาไม่ค่อยสะดวก

○ พ.ศ.๒๔๘๒
พอถึงเดือน ๖ เดือน ๗ อาการทางร่างกายกลับเป็นปกติ จึงได้ลาญาติโยมไปเมืองกาสี เขตเมืองหลวงพระบาง และเข้าจําพรรษาที่นั่น ทําหน้าที่สอนมนต์น้อย มนต์กลางให้พระเณรที่วัด ครบ ๗ วัน ก็ไปบําเพ็ญภาวนาที่วัดป่าต่อ ด้วยการอดอาหารครบ ๗ วัน ก็กลับมาสอนพระเณรที่วัดบ้านอีก ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ด้วยการสลับเปลี่ยนกัน กับพระอาจารย์ลับ คือ คนหนึ่งสอนหนังสืออีกคนหนึ่งก็จะภาวนาพร้อม ทั้งอดอาหาร พอสิ้นกาลพรรษาปวารณาแล้วก็เดินทางไปยังเขาศาลา ห้องค้า เข้าถ้ำภูผาเจริญ แล้วกลับมายังเมืองหลวงพระบาง น้ำนิ่ง น้ำปอน นั่งภาวนาตามป่าช้า และสถานที่ซึ่งเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ ท่านเล่าว่า เคยมีกลลวงของผีสางเจ้าที่ หากใครมีเจตนาไม่ดี เพื่อต้องการของมีค่า ก็จะถูกบันดาลให้ว่ายน้ำอยู่บนบก อย่างนี้เป็นต้น

○ พ.ศ.๒๔๘๓
ขึ้นไปถ้ำภูผาเจ้าเมืองเชียงขวาง เกิดเหตุร้อนใจจึงกลับมายังเมืองกาสีอีก ใกล้เวลาพรรษาแล้วญาติโยมนิมนต์ให้จําพรรษาที่นั่น ปีนั้น ตรงกับปีมะโรงได้เกิดนิมิตไม่ดี มีตัวต่อตัวแดนเกิดต่อยกันกลางถนน จนคนเดินทางไป-มาไม่สะดวก ซึ่งคล้ายจะบอกเหตุว่าจะเกิดเหตุร้ายกับบ้านเมืองขึ้น ชาวบ้านจึงทิ้งบ้านเรือนสัตว์เลี้ยงวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ พากันเข้าวัดฟังธรรม จําศีลตลอดกลางวัน กลางคืน เพราะกลัวภัยจะมาถึงตัว พอตกเดือน ๑๒ ก็ได้ยินเสียงปืนดังกึกก้องแสดงว่ามีการรบกันเกิด
ขึ้นจริงๆ ซึ่งปีนั้นได้เกิดศึกอินโดจีนขึ้นนั่นเอง

○ พ.ศ.๒๔๘๔
ต่อจากนั้นหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดความเดือดร้อน เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง จึงนิมนต์ให้ท่านไปแสดงธรรมโปรด และญาติโยมให้ปฏิญญาว่าจะยอมเรียนธรรมด้วย จึงได้ไปสอนธรรมโปรดญาติโยมให้อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า เมื่อสําเร็จตามเป้าหมายแล้ว จึงเดินธุดงค์ต่อไปยัง ถ้ำจําปาภูเขาควาย พอถึงฤดูกาลพรรษาก็เข้าจําพรรษา ณ ที่นั่น สมาธิภาวนาตลอด ๓ เดือน ท่านเล่าว่า มีหลายครั้งที่สัตว์ร้ายเข้ามาหา แต่ด้วยเหตุที่ท่านอุทิศชีวิตเพื่อพระศาสนาแล้วนั่งสมาธิภาวนาแผ่เมตตาตลอด สัตว์ร้ายก็ไม่กล้าทําอะไร เช่น ครั้งหนึ่งท่านได้นั่งสมาธิปิดรูถ้ำ ซึ่งเป็นที่เข้าออกของงูใหญ่ ประมาณว่าตัวหนาได้ ๑ ศอก แต่ไม่ทราบว่ายาวเท่าไหร่ พอถึงเวลาที่งูใหญ่จะเข้าสู่ถ้ำ มันได้ผงกหัวแผ่พังพาน ปรากฏเสียงอื้ออึง อยู่ตรงหน้าพอดี แต่ไม่สนใจว่ามันจะทําอย่างไร ได้แต่ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าหากมันจะกลืนกินทั้งร่างก็ยอมมอบให้แล้ว จึงได้นั่งสมาธิภาวนาแผ่เมตตาเรื่อยไป เจ้างูใหญ่ทนดูอยู่นานเพื่ออยากจะให้ท่านหลีกทางให้ แต่ท่านก็มิได้หลบหลีกแต่อย่างใด มันจึงได้หลบโดยเบียดสีข้างท่านเข้าไป ท่านก็นั่งภาวนาอยู่นั่นเองจวนสว่าง จึงคิดอยากจะพักผ่อน แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า หากงูใหญ่ยังไม่ออกมา ก็จะไม่พักผ่อน งูใหญ่คล้ายจะรู้ความในใจของท่าน จึงได้เลื่อยคลานออกมาทางช่องเดิมโดยเบียดตัวท่านไปท่านจึงได้พักผ่อนเปลี่ยนอริยาบถ

○ พ.ศ.๒๔๘๕
พอออกพรรษาปวารณาแล้ว จึงได้ล่องแพลงมาตามลําน้ำโขง จนถึงพระบาทโพนสันอีก แล้วจึงเดินทางกลับมายังวัดประดู่วีรธรรม เข้าจําพรรษา ๗ พรรษา ในขณะที่จําพรรษาที่วัดบ้านเกิด ได้สร้างสิมน้ำ (อุทกเขปสีมา) สร้างตู้หนังสือ สร้างกุฏิหลังใหญ่ นอกจากนี้ยังได้จารึก หนังสือธรรม ขอม ลงบนใบลานอีกเป็นจํานวนมาก ได้อบรมสั่งสอน ญาติโยมและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามให้เจริญขึ้นตามลําดับ จนถึง พ.ศ.๒๔๙๑

○ พ.ศ.๒๔๙๒
หลังจากเสร็จภาระกิจที่บ้านแล้ว ก็เดินทางไปภูค้อ จ.สกลนคร เข้าจำพรรษาที่นั่น

○ พ.ศ.๒๔๙๓
ออกพรรษาแล้วเดินทางไปยังพระบาทโพนสันอีก ได้ช่วยอาจารย์ก่อสร้างกุฎีวิหาร เข้าจําพรรษาที่นั่นตลอดระยะเวลา ๓ เดือนได้ เรียนสนธ์ (ซึ่งมีความยาวกว่าปาฏิโมกข์) จบบริบูรณ์ ออกพรรษา ปวารณาแล้วเรียนปาฏิโมกข์จนจบอีก และได้สร้างกุฏิถวายอาจารย์อีกหลัง ที่พระบาทโพนสัน แล้วเดินธุดงค์ต่อไปยังเวียงจันทน์ ข้ามไปยัง หล่มสัก เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงดาว

○ พ.ศ.๒๔๙๔
แล้วกลับมาจำพรรษาที่พะเยา สิ้นกาลพรรษาแล้ว เดินธุดงค์ ต่อไปยังเชียงตุง พม่า ผ่านไปทางเมืองเบ็น เมืองยอง ฟ้าหยาด ดอยแหลม ฝางหลง เวียงปัง ตองกี ไฮโห้ กะละออ อองบา ตาชี มิถิลา ลงไปยังยองซิว เวียงปิว มองซุย จนถึงเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า พอถึงที่หมายแล้ว นั่งสมาธิภาวนาในบริเวณพระธาตุย่างกุ้งตลอด ๗ วัน โดยที่ไม่คํานึงถึงข้าวปลาอาหาร หากไม่มีใครนิมนต์แล้ว ก็จะนั่งสมธิภาวนาเรื่อยไป

หลังจากที่นมัสการปูชนียสถานจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็เดินทางกลับมิถิลาด้วยพาหนะบ้าง ด้วยเท้าบ้างสลับกันไป จนถึงเมืองฝาง เขตแดนประเทศไทย จ.เชียงใหม่ พักแรมที่วัดศรีโสดา แล้วเดินต่อไปยัง จ.พะเยา สถานที่เคยจําพรรษา เพื่อร่วมทําบุญฉลองโบสถ์ที่ได้ร่วมสร้างเอาไว้ เป็นเวลากลางเดือน ๓ รวมเวลาในการเดินทางไป และกลับถึงจังหวัดพะเยา เป็นเวลา ๓ เดือนพอดี เสร็จภารกิจแล้วมุ่งหน้าไป นมัสการพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และพระพุทธบาท จ.สระบุรี

○ พ.ศ.๒๔๙๕
กลับมาจําพรรษาที่วัดประดู่วีรธรรม ได้ช่วยพัฒนาศาสนสถานเรื่อยมา ทั้งวัดที่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง

○ พ.ศ.๒๔๙๖
ได้เดินทางไปแสวงหาธรรมที่จังหวัดเลย และไปจําพรรษาที่ จังหวัดเพชรบูรณ์

○ พ.ศ.๒๔๙๗
ได้เดินทางไปประเทศพม่าอีก เพื่อนมัสการปูชนียสถานเป็นการทบทวบความจําอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้จําพรรษาที่ประเทศพม่า เมื่อเสร็จธุระตามเป้าหมายแล้วก็เดินทางกลับประเทศไทย และไป
นมัสการปูชนียสถานตามหัวเมืองต่างๆ แล้วกลับวัดประดู่วีรธรรม

○ พ.ศ.๒๔๙๘
ได้ไปแสวงหาธรรมต่อไปแต่ไม่เป็นที่พอใจจึงเดินทางไปอีกด้านหนึ่งของประเทศพม่า แล้วกลับมาจําพรรษาที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์

○ พ.ศ.๒๔๙๙
พอออกพรรษาแล้ว ท่านได้มุ่งหน้าไปที่นครเวียงจันทน์ เพื่อเรียนวิปัสสนากรรมฐาน กับพระอาจารย์มหาปาล ที่ วัดโสกป่าหลวง ใช้เวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ๑ พรรษา ได้ผลดีมาก จึงได้ลาอาจารย์กลับมายังสํานักเดิม จัดตั้งสํานักวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อสอนแก่ญาติโยมที่สนใจ จนมีผู้ปฏิบัติได้เข้ามาขอสมัครตัวเป็นศิษย์แล้วปฏิบัติได้ รับผลของการปฏิบัติเป็นจํานวนมาก พระอาจารย์ก็ได้สอนเรื่อยมา ทั้งได้ช่วยแก้ปัญหาชีวิตแก่ผู้ประสบความทุกข์ใจด้วยวิธีสอนให้รู้หลักวิปัสสนา หรืออารมณ์ของวิปัสสนา และให้เข้าใจเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน จนถึงวาระสุดท้ายของท่าน

(หมายเหตุ) ตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมา ได้จากการบันทึกเสียง ซึ่งท่านหลวงลุงได้เล่าให้ฟังด้วยตัวเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ พระมหาวินิตย์ ทนฺตจิตโต ได้เรียบเรียงอีกทีหนึ่ง โดยได้ ตัดทอนส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารออกไป

◎ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ.๒๔๘๖ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม
พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม

◎ ผลงานด้านการศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๙ จัดตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน
พ.ศ.๒๕๐๐ ให้มีการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประดู่วีรธรรม
พ.ศ.๒๕๑๕ ให้มีการสอนพระอภิธรรม วัดประดู่ วีรธรรม
พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นกรรมการอุปถัมภ์การสอนนักธรรม อ.ปลาปาก

◎ งานด้านสาธารณูปการ
พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดกุดตาไก้เหนือ
พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นผู้อำนวยการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ภูกระแต
พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดบ้านชะโนด ต.คำเตย
พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นผู้อำนวยการสร้างอุโบสถวัดบวรศรัทธาราม ต.กุดตาไก้
พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นผู้อำนวยการสร้างพระธาตุอินทร์แขวนจำลอง นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว และเป็นผู้อำนวยการสร้างศาลาการเปรียญวัดกุดตาไก้เหนือ
พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดตาลกุด ต.โพนแพง

นอกจากนี้ ยังสร้างเสนาสนะในวัดประดู่วีรธรรม เช่น กุฏิ ๖ หลัง ศาลาการเปรียญ ๒ หลัง อุโบสถ หอระฆัง กำแพงวัด ซุ้มประตู สิมน้ำ เป็นต้น

เดินธุดงค์ไปตามป่าเขานาน ๑๙ ปี ท่ามกลางสัตว์ร้ายและภยันตราย ก่อนจะกลับมาทำนุบำรุงวัดบ้านเกิดดังกล่าว นอกเหนือจากเป็นพระวิปัสสนาจารย์เป็นประธานในงานบุญต่างๆ ท่านยังมีพรสวรรค์พิเศษช่วยบรรเทาและรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ญาติโยม อย่างไม่ถือชนชั้นวรรณะกระทั่งถึงวาระสุดท้าย

ด้านวัตถุมงคลท่านเมตตาให้ลูกศิษย์สร้างหลายรุ่น โดยเฉพาะรุ่น พ.ศ.๒๕๑๖ ซึ่งเป็นเหรียญอาร์มรุ่นแรก เนื้อกะไหล่ทอง ที่มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดคงกระพัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของ นักอนุรักษ์ที่แสวงหาวัตถุมงคลชุดนี้

หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม

◎ มรณภาพ
ช่วงระยะ ๘ ปีให้หลัง พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่แพงตา เขมิโย) ท่านป่วยด้วยโรคเบาหวาน กระทั่งในวันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ หลวงปู่ได้เกิดปวดท้องรุนแรงกะทันหัน ลูกศิษย์จึงนำไปหาหมอที่คลินิก ก่อนส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพนม แต่กว่าจะรู้ว่าไส้ติ่งอักเสบอาการของท่านได้อ่อนระโหยโรยแรง

จนกระทั่งเวลา ๑๓.๐๐ น. วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ หลวงปู่แพงตา เขมิโย ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ โดยมี พระเทพมงคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมขณะนั้น เฝ้าดูอาการตลอด

สิริอายุรวมได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๗

◎ ด้านวัตถุมงคล
หลวงปู่แพงตา เขมิโย” อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิชื่อดัง จัดสร้างวัตถุมงคลเอาไว้มากหมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ รูปถ่ายหลังตะกรุด สีผึ้ง พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระสีสะแลงแงง และหนึ่งในนั้นซึ่งเป็นที่นิยมคือ เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม ปี พ.ศ.๒๕๑๖ พระมหาวินิตย์ ทันตจิตโต หลานชาย ที่จำพรรษาที่วัดไทยในนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา จัดสร้างขึ้นเพื่อนำเงิน รายได้สร้างศาลาการเปรียญวัดประดู่วีรธรรม

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีระธรรม ปี ๒๕๑๖ บล็อกแรก หน้าหนุ่ม (นิยม เลข๖ ใหญ่)
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีระธรรม ปี ๒๕๑๖ บล็อกแรก หน้าหนุ่ม (นิยม เลข๖ ใหญ่)

ลักษณะเป็นเหรียญอาร์ม มีหูห่วง ด้านหน้า มีรูปเหมือนหลวงปู่แพงตาครึ่งองค์ สันขอบเส้นนูนสองชั้น ด้านล่างสลักชื่อ “หลวงพ่อแพงตา เขมิโย” ด้านหลัง ตีเส้นขอบล้อมเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ป้องกันภยันตราย ด้านล่างระบุ “วัดประดู่วีระธรรม ๑ ธ.ค. ๒๕๑๖” ปัจจุบันบรรดา นักนิยมสะสมพระเครื่องต่างนิยมเก็บไว้ ในครอบครอง