วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่แผ้ว ปวโร

วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)
อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) พระเถราจารย์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงแสน ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน องค์หลวงปู่เป็นพระเถระผู้ถือครองเพศบรรพชิตแบบเรียบง่าย สมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่มีตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ ด้วยท่านไม่มีความปรารถนาในลาภยศตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น

◉ ชาติภูมิ
หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) นามเดิมชื่อ “แผ้ว บุญวัฒน์” ท่านมีชื่อเล่นว่า “แกละ” เกิดเมื่อวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน ตรงกับวันพุธที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ หมู่บ้านหลักเมตร ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม บิดาชื่อ “นายพาน” และมารดาชื่อ “นางจุ้ย บุญวัฒน์

ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ฐานะพอเลี้ยงตัวได้สบายโดยไม่เดือดร้อน

เมื่ออายุได้ ๒ ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จากนั้นท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรี

ในช่วงวัยเยาว์ ท่านเป็นเด็กค่อนข้างเงียบขรึม ใจเย็น ไม่เที่ยวเตร่ เกเร ชีวิตส่วนใหญ่จะผูกพันอยู่กับวัด ด้วยโยมพ่อโยมแม่เป็นคนใจบุญสุนทาน ทุกวันพระจะพาลูกไปทำบุญที่วัด สมาทานศีลฟังเทศน์ฟังธรรมและสนทนาธรรมมิได้ขาด

กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อมีอายุประมาณ ๘ ขวบ โยมพ่อได้ฝากไปเป็นศิษย์วัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรี เพื่อเรียนหนังสือ และศึกษาพระธรรมวินัย โรงเรียนสมัยนั้นจะอยู่ในวัดและพระเป็นครูสอน เด็กชายแกละจึงอยู่ในความดูแลจากหลวงพ่อหงส์ เจ้าอาวาสวัดหนองม่วง แต่ก็ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะต้องออกมาช่วยงานทางบ้าน

◉ อุปสมบท
ครั้นอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เกิดความศรัทธาประสงค์จะบวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เพื่อแทนคุณของโยมบิดา-มารดา ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองปลาไหล ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยมี พระครูสุกิจธรรมสร (หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร) วัดกำแพงแสน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปาน อารักโข วัดหนองปลาไหล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์สนั่น วัดหนองปลาไหล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ปวโร

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

หลังครองเพศบรรพชิต ท่านตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง หมั่นพิจารณาคำสอนของครูบาอาจารย์อย่างถ่องแท้ ได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะอุทิศกายถวายชีวิตอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาตลอดไป

ช่วงแรกบวช ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดหนองปลาไหล เป็นเวลา ๑ เดือน จากนั้นได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดหนองม่วง ๘ พรรษา ท่านมีหน้าที่สอนนักธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรภายในวัด

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ท่านได้ย้ายมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จำพรรษาอยู่ที่วัดปลักลายไม้ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่แผ้ว ได้ย้ายไปสอนพระปริยัติธรรม และจำพรรษาที่วัดสว่างชาติประชาบำรุง ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีอาจารย์สุนทร ชิตะมาโร เป็นเจ้าอาวาส

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวัดเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง พระภิกษุสามเณรและชาวบ้านต่างต้องการให้หลวงปู่ดำรงตำแหน่งแทน แต่ท่านไม่ประสงค์ที่จะรับตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์แต่อย่างใด

พ.ศ.๒๕๐๒ หลวงปู่แผ้ว เริ่มสนใจที่จะศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง ท่านจึงย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดกำแพงแสน ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับหลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร อย่างมุ่งมั่นจริงจังจนแตกฉาน

(ซ้าย) หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม (ขวา) หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร วัดกำแพงแสน
(ซ้าย) หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม (ขวา) หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร วัดกำแพงแสน

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ พระกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ได้เดินทางมาพักอยู่จำพรรษา ณ วัดกำแพงแสน ทำให้หลวงปู่แผ้ว ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับหลวงปู่ดุลย์ และได้รับความเมตตาถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐานให้ด้วย

ตลอดเวลา หลวงปู่แผ้ว ได้สร้างคุณูปการสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างรอบด้าน อาทิ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอกำแพงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง ท่านจะอุดหนุนด้วยการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้สมทบทุนปัจจัยนำไปใช้เพื่อการสาธารณ ประโยชน์

ด้วยความเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา สุขุมตามวิถีของท่านไปเป็นแบบสมถะเรียบง่าย ไม่สะสมเงินทอง ไม่ยึดติดกับวัตถุหรือลาภยศใดๆ แม้แต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดก็ได้ให้ลูกศิษย์ เป็นผู้รับตำแหน่งแทน เป็นการละในเรื่องของความอยากออกไป ทำให้ หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นพระผู้ใหญ่ ที่มีลูกศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก

หลวงปู่แผ้ว อาจไม่ได้เป็นพระนักเทศน์ ไม่ใช่พระธรรมกถึก ที่เรืองนาม แต่คำพูดตรงๆ ง่ายๆ ของท่าน ก็ได้แทรกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเสมอ เป็นการเตือนสติในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อพัฒนาจิตใจของพุทธศาสนิกชนให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ขณะเดียวกัน ท่านก็เป็นพระนักปฏิบัติ คำสอนหลักธรรมที่ให้กับศิษย์ทั้งหลาย จึงมักจะเป็นข้อคิดหรือคติสอนใจ ธรรมะที่สอนอยู่ในรูปของบทความ บทกลอน หรือสักวาต่างๆ ตามแต่ละสถานการณ์ในขณะนั้น หรือตามภาวะของความทุกข์ของศิษย์แต่ละคน ที่พออ่านก็เกิดปัญญา สามารถที่จะนำมาวิเคราะห์พิจารณาในการปฏิบัติ

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

หลวงปู่แผ้ว ได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างมุ่งมั่น จนสอบได้ถึงนักธรรมเอก หน้าที่รับผิดชอบยังคงเป็นครูสอนพระนักธรรมแก่พระภิกษุและสามเณร ต่อมาเจ้าอาวาสวัดได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ๑-๒ ปี ชาวบ้านรวมทั้งพระภิกษุและสามเณรต้องการให้ หลวงปู่แผ้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส แม้หลวงปู่จะไม่ยินดีเท่าใดนัก หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน ซึ่งหลวงปู่แผ้วได้จำพรรษาที่วัดกำแพงแสน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑

ต่อมาในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลวงปู่แผ้ว ได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) ตำบลรางพิกุล อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน หลวงปู่แผ้ว แม้วัยที่ล่วงเลยกว่า ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ ท่านยังคงรับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ เป็นมิ่งขวัญชาวกำแพงแสน และ ผู้ศรัทธา โดยทั่วไป

สำหรับวิทยาคมอันเข้มขลังที่ หลวงปู่แผ้ว ใช้นั่งบริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคล ล้วนแต่เป็นวิทยาคมของ หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก อีกทอดหนึ่ง ในช่วงที่ หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่องยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณ

◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังเป็นที่นิยม ทั้งนี้ หลวงปู่แผ้ว ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อหว่างจนกระทั่งท่านได้มรณภาพ เมื่อได้รับกิจนิมนต์นั่งปรก จึงนำวิชาของหลวงพ่อหว่างใช้รวมกับวิชาวิปัสสนากรรมฐานที่ได้เรียนมาที่วัดมหาธาตุฯ สนามหลวง มาใช้บริกรรมคาถา เพื่อให้เกิดความเข้มขลัง

เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี
เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี
เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี
เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี
เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี
เหรียญ หลวงปู่แผ้ว ปวโร รุ่น คงกระพัน ๑๐๐ ปี

สำหรับคาถาเสกวัตถุมงคลเข้มขลัง หลวงปู่แผ้ว บอกว่า มีบทเดียว แต่สร้อยของคาถามีหลายแบบ เช่น อาจจะบริกรรมว่า “พุทธังหลีก ธัมมังหลีก สังฆังหลีก” บ้างก็บริกรรมว่า “พุทธังแหวก ธัมมังแหวก สังฆังแหวก” หรืออาจจะบริกรรมว่า “พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด

หลวงปู่แผ้วกล่าวว่า “ตำราคาถาของวัดและสำนักต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นของเดิมที่สืบทอดจากครูบาอาจารย์ในอดีต หลายคนท่องคาถาถูกต้องตามอักขระชัดเจน แต่เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิ คาถาจึงมีความเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส ถ้าจิตนิ่งเป็นสมาธิ บริกรรมคาถาบทใดก็เข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องตั้งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก komchadluek.net