ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส อุทุมมาลา ป.ธ.๖) ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในจังหวัดนครพนม ท่านมักจะแนะนําชักชวนให้พระสังฆาธิการ เข้าอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานเสมอ เพราะท่านเห็นว่าผู้ผ่านการอบ รมแล้ว จะทําให้สุขุมเยือกเย็นหนักแน่นในพระศาสนา เป็นประโยชน์แก่การปกครอง นอกจากได้รับเกียรติคุณทางเทศน์ ทางบรรยายธรรมแล้ว ท่านยังเป็นผู้ปลูกความนิยม ในการส่งเสริมและเผยแพร่ ความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ของพระรัตนตรัยและพระบรมธาตุ ประชาชนจึงได้ถวายนามท่านใหม่ว่า “ท่านพ่อ”
◎ ชาติภูมิ
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) นามเดิมชื่อ แก้ว อุทุมมาลา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๖๔ ณ บ้านหนองหอยท่า ตําบลธาตุพนม อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของ นายแพง และ นางทองจันทร์ อุทุมมาลา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
◎ บรรพชา อุปสมบท
เมื่ออายุ ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดราชกิจศิลาเหล็ก บ้านหัวบึงท่า ตําบลธาตุพนม อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมี พระอธิการเคน วัดราชกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระธาตุพนม โดยมี พระครูสิลาภิรัต (หมี) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมสมัย นั้นเป็นพระอุปัชฌาย์
◎ การศึกษา
การศึกษาเล่าเรียนครั้งแรก ได้เรียนที่สํานักวัดราชกิจศิลาเหล็ก ได้เรียนอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทย อักษรไทยน้อยเก่า (ลาว) ควบคู่ กันไปด้วย เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้ไปศึกษาต่อที่อุบลราชธานี พำนักอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ได้เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๑-๒ และ ฝึกหัดการเขียนลวดลายควบคู่กันไปด้วย ต่อมาได้กลับพระธาตุพนมและได้เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๓-๔ ต่อที่โรงเรียนพนม วิทยาคาร
เมื่ออุปสมบทแล้ว ในปีแรกก็สอบได้ นักธรรมชั้นตรี
• พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท
• พ.ศ. ๒๔๗๔ เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ และสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในปีนี้
• พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
• พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบได้เปรียญ ธรรม ๔ ประโยค
ต่อมาพระธรรมโกศาจารย์ (สมเด็จพระสังฆราช) วัดเบญจมบพิตร ได้เรียกให้ย้ายไปอยู่วัดเบญจมบพิตร เพื่อจะให้ศึกษาอบรมระเบียบการต่าง ๆ จะส่งไปเป็นครูที่จังหวัดแพร่
• พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค
• พ.ศ. ๒๕๔๒ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ขณะที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม
◎ ความรู้พิเศษ
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ท่านสามารถอ่านเขียนอักษรลาว อักษรขอม และ อักษรธรรมได้ อ่านหนังสือพม่าและไทยลานนาได้ดี และเขียนอักษรเหล่านี้ได้สวย เพราะเป็นอักษรตระกูลเดียวกัน ท่านมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ทั้งสากล และท้องถิ่น กว้างขวาง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์และวรรณคดีทั้งลาวและไทย แต่งเขียนทางกาพย์กลอนภาษาท้องถิ่น (ล้านช้าง) ได้เพราะคมคาย
◎ หน้าที่การงาน
• พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธาตุพนม
• พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๙๔ เป็นเจ้าคณะแขวงอําเภอธาตุพนม
• พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๔๙๔ เป็นศึกษาจังหวัดนครพนม
• พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครพนมจนมรณภาพ
• พ.ศ. ๒๔๙๗ – ๒๕๐๔ เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ รูปที่ ๑
◎ งานด้านเผยแพร่
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ท่านได้ดําเนินการมาตั้งแต่เป็นเจ้าคณะแขวงใหม่ๆ แม้จะได้ตำแหน่งในทางปกครอง แต่ในเรื่องงานเผยแพร่ ท่านก็ไม่ได้เว้น การเทศน์การบรรยาย ได้ดําเนินควบคู่กันมาตลอด
◎ งานด้านการศึกษา
ท่านได้ทุ่มเทกําลังกายกําลังความ คิดเพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้ เริ่มตั้งแต่สมัยเป็นพระหนุ่ม ท่านได้เป็นผู้วางรากฐาน การศึกษาทางบาลี ที่วัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ ๓ ปี จนสามารถผลิตพระเปรียญรุ่นแรก ในจังหวัดนี้ได้ ๑๐ กว่ารูป
◎ งานด้านสาธารณูปการ
ตั้งแต่ได้รับตํา แหน่งเจ้าอาวาสมาแล้ว พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ท่านได้ทําการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนม ให้เจริญรุ่งเรื่องขึ้นมาตามลําดับ ตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนที่วัดอื่นๆ ท่านก็ได้ไปช่วยเหลือเป็นอย่างดี เพราะท่านเข้าใจในทางช่างและลวดลายตั้งแต่เป็นสามเณร
◎ สมณศักดิ์
• พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมเจติยานุรักษ์
• พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูผู้จัดการ พระปริยัติธรรม เทียบรองเจ้าคณะจังหวัด
• พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพนมเจติยานุรักษ์
• พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในนามเดิม
• พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพรัตนโมลี
• พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมราชานุวัตร ธรรมปฏิบัติโกศล โสภณกิจจานุกิจจาทร บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ท่านพ่อมีบุคลิกลักษณะ เป็นนักปกกรอง พูดเสียงดัง ร่างกายแข็งแรง ตาคม จมูกแหลมโค้ง ดูเผินๆ เป็นลักษณะที่น่าเกรงกลัว เพราะไม่แสดงออกซึ่งอาการอ่อนแอให้เห็น แม้บางครงจะบอกว่าไม่สบายแต่ไม่ยอมนอนอยู่กับที่ง่ายๆ ท่านเป็นคนไม่ถือตัว ไม่ชอบพิธีรีตองถ้าไม่จําเป็น เข้ากับคนได้ทุกชั้น วางตัวให้เข้ากับสังคมทุกโอกาส ท่านชอบอยู่ง่ายๆ ฉันง่าย ๆ แม้บนลานหญ้าก็เคยนอนให้ลูกศิษย์นวดขณะควบคุมศิษย์ทํางาน ท่านมีใจร้อนในเรื่องทํางาน อยากทําให้เสร็จเร็วถึงแม้จะเลยเวลา ไม่ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นคนชอบนั่งชอบศึกษา เป็นนักสังเกต
เกี่ยวกับความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ขององค์พระบรมธาตุ ถ้าใครทํามิดีมิร้าย แสงอาการขาดคารวะ มักจะพบกับความวิบัต เจ็บป่วย เสียสติ แต่ถ้าขอขมาบนบานแล้วก็หายเรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์ สมัยก่อนไม่มีใครสนใจมากนัก ต่อมาเมื่อ ท่านพ่อให้สามเณรลูกศิษย์ฝึกสมาธิจิต ซึ่งปกติท่านสนใจฝึกเองบ้าง ชักชวนให้ศิษย์และคนอื่นทําบ้าง ปรากฏการณ์พิเศษก็เกิดขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีพญาสัตตนาคาทั้ง ๗ จากสระอโนดาด ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของเทพารักษ์ที่อยู่รักษาพระบรมธาตุ ได้ปรากฏผ่านสามเณรขณะกํานั่งสมาธิ (นั่งทางใน) และแจ้งผ่านสามเณรว่า ที่มาปรากฏเพราะขณะนั้น มีคนคนองมือคนอง วาจา แสดงอาการไม่เคารพยําเกรงต่อพระบรมธาตุอยู่มาก จึงอยากแสดงให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุโดย ขอร้องให้ท่านพ่อตั้งหม้อน้ำมนต์ไว้ที่ ลานพระธาตุ และแยกมาไว้ที่กุฏิของท่านเองอีกแห่งหนึ่ง เมื่อสาธุชน เชื่อถือจะได้ใช้ปัดเป่ารักษาโรคภัย มีติดตัวเป็นศิริมงคลคลาดแคล้วจากภัยอันตรายรวมทั้งดินสะทาน ที่หลุดหล่นจากองค์พระธาตุ น้ำตาเทียน ธูปเทียนหลาน พระเจดีย์ล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน
ต่อมาท่านพอก็ได้ตั้งหม้อน้ำมนต์ไว้ ลานพระธาตุ และนําดินสะทาน น้ำตา เทียน ในบริเวณพระธาตุมาสร้างเป็นรูป พระสมเด็จบ้าง รูปพระนาคปรกบ้างแล้ว นําเข้าให้พระบรมธาตุปลุกเสก กลายเป็น พระศักดิ์สิทธิ์ น้ํามนต์ก็ใช้รักษาโรคภัย เป็นที่รู้กันทั่วไปในหลายจังหวัด มีคนมา รักษาโรคเป็นหมื่น ๆ คนที่มามีสารพัดโรค มีคนป่วยมาทําการรักษาเป็นเรือนแสนแม้ ปัจจุบันก็มีมาเรื่อยๆ บางรายเพียงท่านเอาไม้ระกําเกาะบ้าง เสกเป่าด้วยด้ายเวียนรอบหัวบ้าง คนป่วยก็หายเป็นประจักษ์ บางรายมาขอน้ำหมากน้ำลายท่าน ไปทำกรากขี้เกลื่อน แล้วกลับมาเรียนท่านว่าหายก็มี บางรายมาขอชานหมากแห้งไปคุ้มครองตัว เขาบอกว่าดี อบอุ่นใจ ท่านก็ไม่ ขัดมีอยู่บ่อยมีผู้มาขอเส้นผมท่าน ไปยัดตะกรุด ท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา ท่านพ่อผู้ จัดทําแทนองค์พระบรมธาตุ ก็เลยได้รับเกียรติคุณทางขลังกลายเป็น “ท่านพ่อ” เป็นนามที่พุทธศาสนิกชนตั้งให้ในขณะนั้นกระทั่งถึงปัจจุบัน
◎ วัตถุมงคล
พระเครื่องรางของขลังที่ท่านพระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) สร้างแล้วให้องค์พระบรมธาตุปลุกเสก
๑. เหรียญพระธาตุหน้าเดียว จําลองในเนื้อแก้ว
๒. เหรียญพระธาตุด้านหลังเป็นพระประจำวันจําลองในเนื้อแก้วพิมพ์ใหญ่ – เล็ก
๓. พระผงพระธาตุนาคปรกพิมพ์ ใหญ่ – เล็ก
๔. เหรียญพระธาตุกรอบพิเศษ พิมพ์ใหญ่ – เล็ก
๕. เข็มกลัดพระธาตุ
๖. แหนบพระธาตุ
๗. เหรียญพระเถระชุบขาวและรมดํา
๘. เหรียญพระเถระเจ้า ราชครูหลวงโพนสะเม็ก ชุบขาว และรมดํา
๙. เหรียญพระเทพรัตนโมลี (ท่านพ่อ)
๑๐. กริ่งนาคปรกพระธาตุพนม
๑๑. เหรียญพระธาตุพนม
๑๒. กริ่งพระธาตุพนม
๑๓. กริ่งนาคปรกธาตุพนมเนื้อชินและอื่นๆ
ปัจจุบันพระเครื่องของวัดพระธาตุพนม เป็นที่สนใจของนักเลงพระทุกวงการ ทั้งนี้เพราะได้ทราบกิตติศัพท์และบางคนก็ ได้ประสบด้วยตัวเองมาแล้วเมื่อมีงานประ จําปีของวัดซึ่งจะมีขึ้นทุกๆ ปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ รวมงาน ๗ วัน ๗ คืน จะมีประชาชนทั้งฝั่งลาวไปนมัสการพระธาตนับแสนทุกๆ ปีที่ผ่านมา พระธาตุพนม และ ท่านพ่อจึงเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนจังหวัดนี้ และ จังหวัดใกล้เคียง นับเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ปัจจุบันก็ยิ่งเพิ่มจํานวนมากขึ้นตามลำดับ
◎ มรณภาพ
ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลาประมาณ ๐๖.๓๐ น. พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ได้มรณภาพลงอย่างสงบ อย่างกระทันหันด้วยอาการสงบ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ณ กฏิที่พักของท่าน สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ๔๑ ปีเศษ และเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ๓๘ ปี
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงปู่แก้ว กนฺโตภาโส) ท่านเป็นพระเถระซึ่งมีคนเคารพนับถือมากองค์หนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมตตาธรรมสูงเป็นพระนักพัฒนาเสียสละ มีประสบการณ์มาก มีความรู้และความชํานาญหลายด้าน จนได้สมัญญานามว่า “นักปราชญ์แห่งลุ่มน้ำโขง”