วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่เพชร ปทีโป

วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ (วัดภูพระพาน)
อ.สังคม จ.หนองคาย

หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ (วัดภูพระพาน) อ.สังคม จ.หนองคาย

ทางดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงเหนือ (ดินแดนล้านนา) มีพระสงฆ์อยู่หลาย ท่านที่สามารถเหยียบศิลารอย (ประทับรอยเท้าไว้บนก้อนหินศิลา) ได้ เช่น ครูบาศรีวิชัยที่ประทับรอยฝ่ามือฝ่าเท้าไว้ที่วัดพระพุทธบาทแก่งสร้อยฯ จ.ตาก ครูบาชัยวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) ที่ประทับรอยฝ่าเท้าไว้ที่วัดบ้านปาง จ.ลําพูน เป็นต้น สําหรับในดินแดนลุ่มน้ำโขงอีสานก็มีพระสงฆ์อยู่รูปหนึ่งที่สามารถ “เหยียบศิลารอย” ได้เช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัยและครูบาวงศ์ แถมท่านยังเป็น ศิษย์สายสําเร็จลุนอีกด้วย นั่นคือ “หลวงปู่เพชร ปทีโป” ผู้วิเศษแห่ง ภูพระพาน (“วัดผาใหญ่วชิรวงศ์” บ้างก็เรียกว่า “วัดพระธาตุผาใหญ่”) ซึ่งประวัติของท่าน มีดังนี้

ภูมิหลังชีวิตและครอบครัว

หลวงปู่เพชร ปทีโป เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ บ้านคอนสาร อําเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ มีนามเดิมว่า “เพชร พุทธวงศ์” เป็นบุตรคนที่ ๒ ของ “คุณพ่อด้วง พุทธวงศ์” และ “คุณแม่ปาน พุทธวงศ์” โดยมีพี่สาวร่วมอุทรเดียวกันอีก ๑ คน คือ นางบุศ พุทธวงศ์ เมื่อครั้งเยาว์วัยเด็ก ชายเพชรได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในตําบลคอนสารจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ คุณพ่อด้วงได้พาครอบครัว ไปอยู่ที่อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งขณะนั้นญาครูสีทัตถ์ กําลังจําพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (พระบาทโคกซวก) ตําบลพุทธบาท อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ด้วยความศรัทธาต่อญาครูสีทัตต์ คุณพ่อด้วงจึงได้เอาลูกชาย (เด็กชาย เพชร) ติดเป็นกัณฑ์เทศน์แล้วแต่ญาครูสีทัตต์ จะรับไว้ใช้ตามประสงค์ ท่านญาครูสีทัตต์ จึงนําเอาเด็กชายเพชรให้เป็นโยมอุปัฏฐาก ติดตามท่านไปในทุกที่ และคอยสอนสั่งเด็กชายเพชรให้มีความรู้ควบคู่ความดี เด็กชายเพชรอุปัฏฐากญาครูสีทัตต์ ได้ประมาณ ๑ ปี ญาครูฯ จึงได้ขออนุญาตต่อพ่อด้วงและแม่ปาน เพื่อให้เด็กชายเพชรได้ บรรพชาเป็นสามเณร โดยท่านจะเป็นผู้ที่บรรพชาให้ ซึ่งพ่อและแม่ของเด็กชาย เพชรก็มิได้ขัดข้องประการใด แต่กลับยินดีที่จะได้บวชเพื่อรับใช้พระศาสนาโดยมีญาครูสีทัตถ์ที่ตนนับถือเป็นผู้บรรพชาให้

หลวงปู่ศรีทัตต์ สุวรรณมาโจ

สําหรับญาครูสีทัตถ์นั้น ท่านเป็นพระสายอรัญวาสี มีชื่อเสียงด้าน วิปัสสนากรรมฐานและทรงไว้ด้วยไสยเวทย์พุทธาคม ตามประวัติกล่าวว่าท่านได้ ไปศึกษาไสยเวทย์วิทยาคมด้านต่างๆ จากสําเร็จลุนแห่งนครจําปาศักดิ์ ประเทศลาว ซึ่งสําเร็จลุน หรือสมเด็จลุนนั้นเป็นพระเกจิอาจารย์ แห่งลุ่มน้ำโขง ที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายเหลือคณานับ เช่น สามารถเดินข้ามแม่น้ําโขง ด้วยเท้าเปล่า บางครั้งท่านก็มักจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง และญาครูสีทัตถ์ถือเป็น ศิษย์เอกของสําเร็จลุนที่ได้รับการถ่ายทอดไสยเวทย์วิทยาคมจนหมดสิ้นจาก สําเร็จลุน ตอนที่ญาครูสีทัตถ์มรณะภาพสังขารของท่านกลับมีกลิ่นหอมออกมา ซ้ำยังไม่เน่าเปื่อย (โดยไม่ได้ฉีดยา) เหมือนคนนอนหลับไปเฉย ๆ

บรรพชาเป็นสามเณร

ตอนที่บรรพชาเป็นสามเณรนั้นนายเพชรอายุได้ประมาณ ๑๖ ปี โดยนายเพชรได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (โคกซวก) ตําบลพระพุทธบาท อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หลังการบรรพชา ญาครูสีทัตถ์ได้สอนพระธรรมต่างๆ แก่สามเณรเพชรแบบวิธีดั้งเดิมคือ “มุขปาฐะ” หรือ “การสอนแบบปากเปล่าโดยมิได้จดเป็นลายลักษณ์อักษร” พร้อมทั้งให้สามเณรเพชรฝึกการปั้นและแกะสลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทร์หอม หรือศิลา อันเป็นอุบายธรรมในการประคองจิตให้เกิดสมาธิในการเรียนพระธรรม หัวข้อต่างๆ (อุบายธรรมการแกะสลักพระพุทธรูปศิลานี้ ทําให้สามเณรเพชร กระทําติดตัวจนเป็นนิสัย กล่าวกันว่าตอนอายุราว ๗๐-๘๐ ปี ท่านก็ยังกระทําอยู่ ดังมีหลักปรากฏ (เช่น พระพุทธรูปศิลาที่วัดพระพุทธบาทโพนค้อง และถ้ำ คอกม้า สปป.ลาว) กล่าวกันว่าท่านแกะสลักพระพุทธรูปศิลาเป็นจํานวนที่นับไม่ถ้วน มากถึงกับต้องทําพิธีบรรจุไว้ตามเชิงผาหน้าถ้ำเลยทีเดียว ส่วนที่เหลือจาก การบรรจุตามสถานที่ต่างๆ ท่านก็จะนํามามอบให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาเพื่อนำไปสักการะบูชาเป็นสิริมงคล) นอกจากนี้ญาครูสีทัตต์ ยังสอนสมถกรรมฐานให้แก่ สามเณรเพชรอีกด้วย

ขณะบวชเป็นสามเณรอยู่ได้พักอยู่จําพรรษาตามวัดต่างๆ คือ ใน ๒ พรรษาแรก (ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๔๔๒) จําพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (โคกซวก) ในพรรษาที่ ๓ (ปี พ.ศ. ๒๔๔๓) จําพรรษาอยู่ที่ วัดพระพุทธบาทบัวบก (พระบาทหอนาง) บ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และในพรรษาที่ ๔ ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ ได้ข้ามฟากแม่น้ำโขง ไปจําพรรษาพรรษาอยู่ที่วัดธาตุขาว เมืองศรีสัตตนาคนหุต แขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว

ลาสิกขาบทเพื่อไปเกณฑ์ทหาร

ถึงคราวออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ สามเณรเพชรได้เดินทางกลับมายังฝั่งไทย คราวนั้นสามเณรเพชรได้รับหมายเรียกให้ไปเกณฑ์ทหาร จึงได้ไปกราบลาสิกขาบทต่อญาครูสีทัตถ์ที่วัดพระพุทธบาทโพนแน เพื่อไปเกณฑ์ทหารที่อําเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ บ้านเกิดของตน (ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่านายเพชรได้ รับการคัดเลือกให้เป็นทหารเกณฑ์หรือไม่) นายเพชรในชีวิตฆราวาสได้ยึดอาชีพทํานาและเป็นหมอยาโบราณ (ยาสมุนไพร) เช่นเดียวกับบิดา จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ นายเพชรและครอบครัวได้ย้ายที่อยู่จากอําเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ไปอยู่กับญาติที่หมู่บ้านปากโสม อําเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

อุปสมบทเป็นภิกษุ

กระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ (ตรงกับปีขาล ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) นายเพชร ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดพระธาตุท่าอุเทน อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยญาครูสีทัตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ว่า “ปทีโป” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หลังการอุปสมบท พระภิกษุเพชรก็ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ชอบปลีกวิเวก ไม่ชอบพูดคุยมากนัก เน้นการปฏิบัติ ให้มาก และ “ทํากรรมฐานทุกๆ อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทํา พูด คิด ให้เป็นสมถะวิปัสสนา”

พระภิกษุเพชรได้ช่วยพระอาจารย์สีทัตต์สร้างพระธาตุท่าอุเทนจนสําเร็จ จากนั้นจึงออกเดิน ธุดงค์ไปอยู่ที่ฝั่งลาว (วัดถ้ำผาน้ำย้อย ภูเขาควาย) เป็นระยะเวลากว่า ๗ ปี ก็ กลับมาอยู่ที่วัดธาตุสามหมื่น (ภูเขียว) และร่วมก่อสร้างพระธาตุและ พระพุทธบาทบัวบก อําเภอบ้านผือ กับญาครูสีทัตถ์อีก ๑๒ ปี จนสําเร็จและร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธบาทบัวบก

กระทั่งเสร็จงานนมัสการรอยพระพุทธบาทแล้ว หลวงปู่เพชรจึงเดินทางมายังถ้ำผาดัก พระพุทธบาทผาจ่องที่อยู่บนสันภูพาน ตําบลผาตั้ง อําเภอสังคม ตามที่ได้นิมิตเห็น “สุวัณณะนาคมาขอร้องให้อยู่ร่วมสร้างมณฑปครอบ รอยพระพุทธบาทผาจ่อง บ้านปากโสม” ซึ่งตามนิมิตนั้น ท่านได้ตกปากรับคํา จากสุวัณณะนาค และได้จําพรรษาและอยู่ก่อสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทผาจ่อง ตลอดจนเสนาสนะต่างๆ เป็นเวลาหลายสิบปี จากนั้นจึงย้ายมาพํานักที่ พระธาตุผาใหญ่ บ้านห้วยไซยงัว ตําบลผาตั้ง อําเภอสังคม จังหวัดหนองคาย บนหลังภูพระพาน (ชาวบ้านเรียกถ้ำห้วยม่วง) โดยมีอาม่าเก้า เอกพันธ์ พร้อมด้วย คณะศรัทธาจากที่ต่างๆ ร่วมกันสร้างเสนาสนะภายในวัดให้มีความเจริญรุ่งเรือง จวบจนถึงปัจจุบัน

หลวงปู่เพชรเหยียบศิลารอย

เหยียบศิลารอยหรือ “การประทับรอยเท้าไว้บนก้อนหินศิลาได้” เรื่อง นี้เป็นเรื่องเล่าจากหลวงปู่คําตัน วรราช วัดดงป่าลาน (พระที่ปรึกษาของพระ สังฆราชในประเทศลาว) ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เพชรและได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เพชร นาน ๒๐ พรรษา ท่านเล่าว่า “เมื่อครั้งที่ยังหนุ่ม ได้ปวารณาเป็นลูกศิษย์และอยู่ปรนนิบัติหลวงปู่เพชรในถ้ำที่ ประเทศลาว เช้าวันหนึ่งได้เข้าไปหาหลวงปู่เพชรตามปกติ แต่ที่แปลกคือ มีรอยเท้าประทับอยู่ บนหิน ท่านก็เลยงง เกิดความสงสัยว่ารอยอะไร ของใคร ใช่รอยเท้าของ หลวงปู่เพชรหรือเปล่า ก็เลยเข้าไปถามหลวงปู่เพชรว่ารอยเท้าใคร ใช่รอย เท้าของปู่หรือเปล่าหรือรอยเท้าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านอื่น แต่หลวงปู่เพชร ก็ไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มให้เฉย ๆ หลวงปู่คําตันก็เลยไม่กล้าถามต่อ แต่ก็อดสงสัย ไม่ได้ว่ารอยเท้าของใครกัน กระทั่งวันต่อมาก็เข้าไปหาหลวงปู่เพชรอีกครั้ง ตามปกติ และที่แปลกอีกก็คือ วันนี้ก็มีอีกรอยหนึ่งประทับอยู่ข้างๆ กันภายใน หินศิลาก้อนเดิม ทําให้หลวงปู่คําตันสงสัยเข้าไปอีกว่ารอยเท้าใครกัน จึงเรียน ถามหลวงปู่เพชรอีกว่ารอยเท้าใคร หลวงปู่เพชรก็ไม่ตอบเช่นเคยได้แต่ยิ้มให้เฉยๆ โดยหลวงปู่คําตันอยู่กับหลวงปู่เพชรเพียงแค่สองรูปเท่านั้น” ซึ่งที่วัดผาใหญ่ฯ ก็มีคนเคยเห็นว่า “หลวงปู่เพชรเหยียบศิลาเป็นรอย” เช่นกัน โดยอยู่ที่ แถวๆ ศาลาหลังเก่า แต่ปัจจุบันได้จางหายลงไปแล้ว

ไปเอาเหล็กไหลที่ฝั่งลาว

สมัยที่หลวงปู่ศรีจันทร์ออกเดินธุดงค์ไปกับหลวงปู่เพชรที่ฝั่งลาว หลวงปู่เพชรท่านได้พาหลวงปู่ศรีจันทร์ไปเอาเหล็กไหลที่อยู่ภายในถ้ำแห่งหนึ่ง แต่ถ้ำแห่งนี้มีลักษณะที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ “ถ้าลืมตาจะมองไม่เห็นทางเข้าถ้ำ แต่ถ้าหลับตาจะเห็นเป็นทางเข้าไปอย่างชัดเจน” หลวงปู่เพชรจึงบอกกับหลวงปู่ศรีจันทร์ว่า “ให้รออยู่ที่หน้าถ้ำ ท่านจะเข้าไปเอาเหล็กไหลเอง” และหลวงปู่เพชรก็สั่งกําชับอีกว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ห้ามลุกจากที่นี่ไป จากนั้นท่านจึง เข้าไปในถ้ำเพื่อเอาเหล็กไหล หลวงปู่ศรีจันทร์ก็ได้แต่นั่งสมาธิรอที่หน้าถ้ำ สักพักเหมือนมีงูใหญ่ (ขนาดลําตัวใหญ่น่าจะประมาณเท่าต้นมะพร้าว) ได้เลื่อยผ่านตักท่านไป หลวงปู่ศรีจันทร์เล่าว่า “ตัวมันใหญ่และหนักมาก กว่าจะเลื้อย พ้นจากขาไป เจ็บปวดจนแทบจะขยับขาไม่ได้เลย” หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่เพชรก็ออกมาจากถ้ำ พอออกมาหลวงปู่เพชรก็ถามท่านว่า “เป็นอย่างไรบ้าง” หลวงปู่ศรีจันทร์จึงตอบกลับว่า “ปวดขามากครับ จนแทบจะขยับขาไม่ ได้เลย” หลวงปู่เพชรบอกว่า เป็นพญานาคที่เขารักษาถ้ำและเหล็กไหลแห่งนี้ เขาหวงมากแต่ก็ไม่มีอะไรเขาแค่มาเยี่ยมเฉยๆ เท่านั้น” และท่านก็บอกว่า “ถ้ำแห่งนี้แบ่งผู้ดูแลรักษาเป็นสามฤดู มียักษ์ พญานาค และบังบด (ชาวลับแล) แบ่งเวลากันเฝ้า เผ่าพันธ์ละฤดู”

อธิษฐานจิตผ้ายันต์และตะกรุดโดยไม่ต้องจาร

ครั้งหนึ่งที่พระพุทธบาทโพนค้อง มีญาติโยมไปขอตะกรุดกันอาวุธปืน และขอผ้ายันต์เพื่อให้ลูกหลานไปออกรบที่ประเทศลาว พ่อยกขันดอกไม้ให้พร้อม ด้วยผ้าขาว แผ่นทอง หลวงปู่เพชรก็บอกให้วางขันไว้ก่อน แล้วท่านก็ชวนคุยเรื่อง สมาธิภาวนาและเรื่องทั่วๆไปอยู่นานหลายชั่วโมง จนวลาพลบค่ำญาติโยมก็จะลากลับที่พัก ก็เลยทวงถามถึงตะกรุดและผ้ายันต์จากหลวงปู่หลวงปู่เพชรเลย ให้นั่งรอท่านว่าท่านจะทําให้ ปรากฏว่าโยมนั่งไม่ถึง ๓ นาที หลวงปู่บอกว่า “เสร็จแล้ว” พร้อมทั้งผ้ายันต์และตะกรุดก็เขียนจารเป็นที่เรียบร้อยอย่างน่า อัศจรรย์ยิ่ง เพราะหลวงปู่แค่เป่าผ้ายันต์และตะกรุดก็มีตัวยันต์ขึ้นเรียบร้อย เหมือนท่านจารให้เองเลย แสดงให้เห็นถึงอํานาจจิตที่ปฏิบัติมาดีของหลวงปู่เพชร

บั้นปลายชีวิตของหลวงปู่เพชร

หลวงปู่เพชรเคยปรารภว่า “คนตายแล้วไม่น่าจะให้คนอื่นที่ยังมีชีวิต อยู่ได้ลําบากด้วยเลย โดยประการทั้งปวง เช่น สร้างที่เก็บกระดูก ก็บอกว่า เอากระดูกเข้าธาตุเจดีย์ ซึ่งเอาคําของพระอรหันต์มาใช้ เพราะพระธาตุพระเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิของพระอรหันต์ คนเราธรรมดาจะไปเลียนแบบ มันไม่งาม มันเป็นการยกตนเทียมท่าน” ดังนั้นเมื่อตายแล้วท่านจึงสั่งว่า “มิให้เก็บศพไว้นาน เพราะท่านสงสารสัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่จะตายด้วย เนื่องจากงานศพของท่าน” แต่ก็มีลูกศิษย์แย้งว่า “ถ้าเก็บศพไว้บําเพ็ญกุศล ลูกศิษย์จะได้มาร่วมบุญมากๆ อุทิศบุญให้หลวงปู่มากๆ ปัจจัยบํารุงวัดก็จะได้มากตามไปด้วย” หลวงปู่ท่านจึงตอบว่า “ดีมีเหตุผล แต่ของหลวงปู่ไม่อยากให้ทํา กลัวจะลําบากหมู่พวก ถ้าพูดถึงบุญกุศลเป็นของดี แต่หลวงปู่ทําด้วยตนเองมามากแล้ว แต่หมู่โยมนั้นแหละ ควรสงสารตัวเองเถอะ อย่าได้สงสารหลวงปู่เลย” เมื่อเป็น เช่นนั้นคณะศิษย์ต่างๆ ก็ทําตามคําปรารภของหลวงปู่

ในวันหนึ่งของปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีโยมอุปัฏฐากท่านหนึ่งมาขออนุญาต ท่านสร้างอุโบสถ เมื่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ท่านจึง “กล่าวอําลาลูกศิษย์ทุกคน เหมือนเป็นนัยว่า ท่านจะละสังขารในระยะเวลาอันใกล้นี้” กระทั่งในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๙.๑๐ น. (ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปี ชวด) ท่านก็มรณะภาพด้วยอาการอันสงบ สิริรวม อายุได้ ๑๐๑ ปี ๖๙ พรรษา

วัตถุมงคลของหลวงปู่เพชร

หลวงปู่เพชรได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้มากมายหลายรุ่น มีทั้งที่ท่านสร้างเอง (โดยมากจะเป็นเครื่องรางแบบต่าง ๆ) เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เป็นต้น และที่ลูกศิษย์ขออนุญาตท่านในการจัดสร้าง ซึ่งแต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์ที่สูงมาก จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ดังนี้

๑) เหรียญหลวงปู่เพชร วัดภูพระพาน รุ่นแรก พ.ศ. ๒๕๑๗ สร้างเพียง เนื้อเดียวคือ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จํานวน ๑,๕๐๐ เหรียญ

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เพชร ปทีโป
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เพชร ปทีโป
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เพชร ปทีโป

๒) เหรียญหลวงปู่เพชร วัดภูพระพาน รุ่นสอง พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างโดย ท่านพระครูสังคมคณารักษ์ และคณะศิษย์

เหรียญรุ่น ๒ หลวงปู่เพชร ปทีโป
เหรียญรุ่น ๒ หลวงปู่เพชร ปทีโป

๓) เหรียญหลวงปู่เพชร วัดภูพระพาน รุ่นสาม (ไพรีพินาศ) พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างโดยวัดช้างเผือก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งเหรียญรุ่นนี้สร้างพร้อมกับ รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง (ในหอสวดมนต์) พระกริ่งวัชระ (ก้นอุด) กริ่งหลวงปู่เพชร รูปหล่อเหมือนขนาดบูชา ๕ นิ้ว พระผงสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระผง พิมพ์เล็ก พระผงนางกวัก

๔) เหรียญหลวงปู่เพชร วัดภูพระพาน รุ่นสุดท้าย (รุ่น ๔) พ.ศ. ๒๕๒๗ ขอบเกลียวเชือก

๕) พระหล่อโบราณหัวหลิม หลวงปู่เพชร (ก้นอุด) สร้างโดยกํานันพรหม อดีตกํานันตําบลผาตั้ง

5) รูปหล่อเหมือนหลวงปู่เพชร ใส่แว่น ฐานตันและฐานอุดผง ๗) ล็อกเก็ตหลวงปู่เพชร วัดภูพระพาน รุ่นแรก

๔) เหรียญพระพุทธวัดลุ่ม รุ่นแรก เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่เพชร ปทีโป และ หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร ร่วมกันอธิษฐานจิต เป็นต้น

๕) พระผงนางกวัก เนื้อดำ และเนื้อขาว

พระผงนางกวัก หลวงปู่เพชร ปทีโป เนื้อดำ
พระผงนางกวัก หลวงปู่เพชร ปทีโป เนื้อดำ

ปาฏิหาริย์แห่งวัตถุมงคล หลวงปู่เพชร ปทีโป

ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนต้นว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่เพชรมีประสบการณ์ที่สูงมาก ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องเล่าประสบการณ์ของวัตถุมงคล หลวงปู่เพชรมานําเสนอ ดังนี้

๑) ประสบการณ์เหรียญหลวงปู่เพชร รุ่นแรก เป็นเรื่องราวของคุณลุงท่านหนึ่งที่มีภูมิลําเนาอยู่ใกล้ๆ วัดผาใหญ่ฯ ได้เล่าให้ฟังว่า “เคยได้ยินเรื่องราวของหลวงปู่เพชรมามาก ก็เลยพากันไปขอเหรียญกับหลวงปู่ หลวงปู่ก็เมตตาให้ เหรียญไปตามที่ขอ พอได้เหรียญก็ลากลับ ในระหว่างทางใกล้ถึงปากทางน้ำตกธารทอง มีเพื่อนในกลุ่มคิดอยากลองว่าใช้กันปืนได้หรือไม่ ลุงก็เลยเอาเหรียญที่ได้มาจากหลวงปู่วางไว้ที่โคนต้นกระบกใหญ่ (หมากบก) แล้วให้เพื่อนใช้ปืนสั้น .๓๘ ยิง ปรากฏว่ายิงนัดแรกก็ไม่แตก นัดสองก็ไม่แตก นัดที่สามก็ไม่แตก แต่พอ ไปดูที่เหรียญ เหรียญนั้นกลับหายไปแล้ว จากนั้นวันหลังลุงจึงรีบไปขอเหรียญ จากหลวงปู่อีก แต่ก็ต้องผิดหวังกลับมา เพราะหลวงปู่กล่าวว่า “รักษาดีๆ ถ้ามีแล้ว”

๒) ปาฏิหาริย์แห่งพระสมเด็จหลังหลวงปู่เพชรรุ่นแรก กล่าวกันว่าวัตถุมงคลรุ่นนี้มีประสบการณ์มากที่สุด และเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ลูกศิษย์ของหลวงปู่เพชรทั้งชาวไทยและชาวลาว โดยประสบการณ์ที่พบ เช่น ชาวลาวแขวน ไปทํานาข้าว โดนฟ้าผ่าจนสร้อยและกรอบสแตนเลสที่หุ้มพระรุ่นนี้อยู่ละลาย แต่ คนที่ถูกฟ้าผ่ากลับไม่เป็นอะไรเลย คนไทยขับมอเตอร์ไซด์ไม่ใส่หมวกกันน็อค ขับชนประสานงากับรถสองแถว จนรถมอเตอร์ไซด์พังยับเยิน แต่คนขับมีแค่รอยถลอกและฟกช้ำนิดเดียว

คติธรรมประจําใจจากหลวงปู่เพชร

ผู้เขียนขอจบท้ายเรื่องเล่าของหลวงปู่เพชร ผู้วิเศษแห่งภูพระพาน ด้วยคติธรรมดีๆ จากท่าน คือ “คนหลัก เป็นคนใบ้ เจียมใจหายาก นักปราชญ์เป็นซาเพ้อ ไผซิสู้ฮอมเห็น” หมายความว่า “คนที่ฉลาดแหลมคมทําตัวเป็นคนโง่ คนฉลาดแต่ถ่อมตัวเก็บไว้ภายในเหมือนคมในฝัก การเป็นนักปราชญ์ แต่แกล้ง ทําตัวเป็นคนบ้า แกล้งเป็นคนเขลาเบาปัญญา ใครจะหยั่งรู้จิตใจกันได้บ้าง” ไม่มีใครสามารถล่วงรู้จิตใจของผู้อื่นได้ นอกจากจะรู้แต่จิตใจของตัวเองเท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลโดย คุณจันทร์ พุทธาวาส