วันอาทิตย์, 13 ตุลาคม 2567

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ประวัติ และปฏิปทา พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง จ.นครพนม

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก มีนามเดิมว่า “เกิ่ง ทันธรรม

เป็นของบุตร นายทัน และ นางหนูมั่น ทันธรรม มีพี่น้อง ๕ คน

ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เกิด วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก วัดโพธิ์ชัย

ปี ๒๔๕๐ อายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ วัด โพธิ์ชัย ต.สามผง มีพระอาจารย์คําดี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สาย เป็น พระกรรมวาจารย์ หลังบวชแล้วก็เพียรประพฤติปฏิบัติธรรมจนเป็นพระเถราจารย์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ําสงคราม จนกระทั่งได้รับตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย ในเวลาต่อมา ไม่นานได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าสํานักเรียนนักธรรม-บาลี และยังเป็นครูใหญ่ท่านแรก ของโรงเรียนประถมของบ้านสามผง ถิ่นเกิด ที่ตั้งอยู่ในวัดแห่งนี้ด้วย

เป็นพระกรรมวาจาจารย์บวช พระอาจารย์ทองรัตน์

พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านได้ร่วมในพิธีอุปสมบทพระภิกษุรูปหนึ่ง ในฐานะ “พระกร รมวาจาจารย์” ขณะนั้นอาจารย์เกิ่งมีอายุ ๒๗ ปี ๗ พรรษา พระภิกษุรูปนั้นคือ “พระอาจารย์ทองรัตน์ กนตสีโล” ซึ่งประวัติที่เล่าไว้ในหนังสือ “มณีรัตน์” ว่า พระอาจารย์ทองรัตน์ในตอนนั้นอายุ ๒๖ ปี สาเหตุที่ออกบวชเนื่องจากท่านได้ ไปจีบสาวต่างบ้าน สาวนั้นได้เกิดความชอบพอใจขึ้นมา และหลายครั้งได้ คะยั้นคะยอให้ท่านนําญาติผู้ใหญ่ไปสู่ขอตามประเพณี ถ้าไม่ไปสู่ขอสาวเจ้าได้ ยื่นคําขาดว่าจะขอหนีตาม

หนุ่มทองรัตน์คิดอยู่หลายวัน ถ้าจะปล่อยให้สาวหนีตามก็ไม่อยู่ในวิสัยของ ลูกผู้ชายเขาทํากัน ถ้าบอกปฏิเสธก็กลัวว่าสาวเจ้าจะเสียใจ และได้ตัดสินใจว่าจะยังไม่ขอแต่งงาน ถ้าขืนอยู่ต่อไปก็คงจะไม่พ้นอยู่ดี จึงบอกกับพ่อว่า ให้พาไปฝากกับพระอุปัชฌาย์เพื่อลาบวช พ่อก็ไม่อยากให้บวช เพราะท่านเป็นกําลังสําคัญในบ้าน จึงอยากให้มีครอบครัวมากกว่าออกบวช แต่ก็ต้องยอมตามคําอ้อนวอน และเหตุผลที่ได้อ้างต่อพ่อว่า “ยังไม่อยากมีเมีย” บิดาท่านจึงได้นําท่านไปบวชกับ “พระอุปัชฌาย์คาร คันธิโย” วัดโพธิ์ชัย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม (ชื่อเหมือนกับ วัดโพธิ์ชัย ต.สามผง) โดยพระอาจารย์เกิ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้พระอาจารย์ ทองรัตน์ ต่อมาทั้งสองท่านก็ได้เป็นศิษย์รูปสําคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

พบปรมาจารย์สายพระป่า

พระอาจารย์เกิ่งท่านมีสหธรรมมิกอยู่รูปหนึ่งคือ “พระอาจารย์สีลา อิสสโร” แห่งวัดโพธิ์ชัย ต.วาใหญ่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๑ ปี แต่อายุพรรษาน้อยกว่า ๒ พรรษา

พ.ศ.๒๔๖๙ แม้อาจารย์เกิ่งจะเป็นพระที่มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาก มีอายุพรรษาถึง ๑๙ พรรษาแล้ว แต่ก็ยังสนใจที่จะเสาะแสวงหาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ด้วยยังมีข้อข้องใจในการปฏิบัติธรรมที่ค้างคาใจอยู่ ระยะหลังท่านก็เริ่มได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียงของ “หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล” และ “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษในทางธรรมก็เกิดความสนใจ ต่อมาทราบว่าหลวงปู่มั่นมาพักที่บ้านหนองลาด อ.วาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่งจึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรลูกวัดไปฟังเทศน์ และ สนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและ จริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส พระอาจารย์เกิ่งจึงได้กราบนิมนต์หลวงปู่มั่นให้ไปโปรดญาติโยม และพักจําพรรษาที่บ้านสามผงถิ่นพํานักของตน พร้อมขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผล ประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน

จดหมายของพระอาจารย์เกิ่ง เขียนกล่าวฝากสามเณรกงมา
และสามเณรทองทิพย์ ไว้กับพระมหารัชชมังคลาจารย์
(เทศ นิทฺเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์

เปลี่ยนนิกายเป็นธรรมยุต

ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่งได้ตัดสินใจสละตําแหน่ง และลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต พร้อมกับพระอาจารย์สีลา รวมทั้งลูกศิษย์ พระเณรของท่านทั้งสองก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด

ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสสโร ได้ทําญัตติกรรมพร้อมกับพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้ง สองอีกประมาณ ๒๐ รูป ในจํานวนพระสงฆ์ที่ทําการญัตติมี “พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร” ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง โดยได้กระทําพิธีที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ํา) หนองสามผง โดยโบสถ์น้ําที่ท่านจัดสร้างขึ้นนี้ใช้เรือ ๒ ลําลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ําทําสังฆกรรมคราวนี้ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทําญัตติกรรมครั้งนี้ได้อาราธนา “ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)” เมื่อครั้งเป็น “พระครูชิโนวาทธํารง” มาเป็นพระอุปัชฌาย์ “พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม” เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล” เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีหลวงปู่มั่นนั่งหัตถบาสร่วมอยู่ด้วย

หลังจากนั้นอีก ๗ วันก็มีพระเถระเดินทางมาขอญัตติอีกรูปหนึ่ง ณ ที่เดียวกัน นับเป็นพระเถระรูปที่สาม ที่มาขอญัตติเป็นพระธรรมยุตในช่วงนั้นด้วยคือ “พระอาจารย์ดี ฉันโน” ภิกษุทั้งจากบ้านกุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ. ยโสธร) ท่านอาญาครูดีนี้เป็นอาจารย์ของ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” มาก่อน ชาวบ้านตั้งฉายาท่านว่าอาจารย์ดีผีย่าน เพราะท่านมีอิทธิฤทธิ์ เก่งกล้า และคาถาอาคมในการปราบผี-คุณไสยต่างๆ

พระอาจารย์ดี ได้ดั้นด้นบุกป่าดง ออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ “วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก” ที่โด่งดังในสมัยนั้น ขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ออกติดตามคณะกองทัพธรรม และเป็นศิษย์อุปัฏฐาก หลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ท่าน

ในพรรษานั้นจึงเป็นการประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้าน สามผง ณ วัดโพธิ์ชัย ทําให้ชื่อเสียงของ “หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” พร้อมกิตติศัพท์ของกองทัพธรรม พระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ําลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับกล่าวว่าหลวงปู่ทั้งสองรูปเป็นพระผู้วิเศษที่ทําให้ พระดังถึงสามองค์ ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้ หลังจากที่ท่านได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้วก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพธรรมพระกรรมฐาน โดยมี “พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม” เป็นหัวหน้ามรณภาพ

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก วัดโพธิ์ชัย ต.สามผง นครพนม

พระอาจารย์เดินทางติดตามหลวงปู่ทั้งสามเป็นเวลาหลายปี ก็กลับมาจําพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยบ้านเกิด ทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านกลับมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย เพื่อปรับปรุงการศึกษานักธรรมบาลี และเป็นผู้ริเริ่มโครงการตู้ยาประจำบ้าน สร้างสุขศาลาและสถานีอนามัย รวมทั้งแต่งหนังสือเผยแพร่เป็นคำกลอนภาษาไทยอีสาน เช่น คำกลอนพุทธประวัติ คำกลอนปลุกชาติ

ส่วนงานด้านสาธารณประโยชน์ ได้สร้างทำนบอ่างเก็บน้ำหนองข่า สร้างถนนในหมู่บ้าน และบ่อน้ำ ด้านถาวรวัตถุได้สร้างกุฏิในวัดโพธิ์ชัยขึ้นใหม่ ๑๗หลัง สร้างอุโบสถ ศาลาโรงธรรม ศาลาการเปรียญ และอาคารโรงเรียนประถม บ้านสามผง

กระทั่งร่างกายชราภาพลงเรื่อยๆ สุขภาพเริ่มทรุดโทรม ตามกาลเวลา ท่านมีโรคประจําคือ “โรคกระเพาะและลําไส้อักเสบ เรื้อรัง” แม้จะมีหมอรักษาอย่างไร อาการของโรคก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดลงตามลําดับ หมดความสามารถของแพทย์แผนปัจจุบัน

ในที่สุด ท่านก็มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดโพธิ์ชัย ต.สามผง รวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๖

หลวงตามหาบัวกล่าวถึงพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก

“ท่านอาจารย์เกิ่ง นี่ก็เป็นคนสามผง ลูกศิษย์องค์สําคัญองค์ หนึ่งของหลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ท่านอาจารย์เกิ่ง เราก็คุ้นเคยกับท่านอยู่แล้ว อันนี้เราไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง ได้ทราบว่าอัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุ เราเชื่อไว้ก่อนแล้วแหละ เรายังไม่ไปเห็นแต่เราก็เชื่อไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะเชื่อปฏิปทาการดําเนินความสัตย์ ความจริงของท่าน เคร่งครัดในธรรมวินัยมาก เพราะเชื่อปฏิปทาของท่านเป็นความเด็ดเดี่ยวจริงจังมากทุกอย่าง คล้ายคลึงกับนิสัยพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเรา นิสัยเด็ด เดี่ยวจริงๆ ว่าอะไรเป็นอันนั้นเลยเที่ยว นี่แหละหลวงปู่มั่นเราเป็น อย่างนั้น เด็ดเดี่ยว ว่าอะไรเป็นอันนั้น ท่านอาจารย์เกิ่งก็เหมือนกัน นิสัยแบบเดียวกัน