วันจันทร์, 9 กันยายน 2567

หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ วัดพระงามศรีมงคล อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ

วัดพระงามศรีมงคล
อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ
หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ วัดพระงามศรีมงคล

หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ แห่งวัดพระงามศรีมงคล อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บิดาพระกรรมฐานแห่งยุค และยังเป็นพระสหธรรมิกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แห่งวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย อีกด้วย

ท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ออกติดตามหลวงปู่มั่น ไปทางภาคเหนืออย่างชนิดเสี่ยงตาย แม้ไม่พบกับหลวงปู่มั่น ก็ตั้งใจว่าขอไปตายเอาข้างหน้า

หลวงปู่อ่อนสีและคณะได้ไปพบกับหลวงปู่มั่นสมใจปรารถนา เมื่อไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่าน หลวงปู่มั่นนั้นท่านเร่งความเพียรอย่างแรงกล้า สามารถกําชัยชนะ ที่เป็นจุดหมายปลายทางได้อย่าง สิ้นเชิง

ธรรมะที่หลวงปู่อ่อนสีได้รับการถ่ายทอดมาในครั้งนั้น ท่านมีเจตนาดี มีเมตตาออกเผยแพร่ สู่ประชาชนอย่างกว้างขวางในกาลต่อมา

หลวงปู่อ่อนสี (พระครูสีล ขันธ์สังวร) ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่รักความสงบ สันโดษ ไม่ตื่นเต้นกับเหตุการณ์อันใดที่จะเกิดขึ้น ท่านเคยปรารภไว้เมื่อสมัยเดินทางไปนมัสการท่านดังนี้

“หลวงปู่มีความเห็น และจะเตือนลูกหลานว่า เหตุของโลก มันมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอและบ่อย ๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ มีสมาธิให้แนบแน่นกับจิตใจตนเองเสมอ อย่าไปตื่นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานั้น โลกนี้นั้นหนาแน่นไปด้วย กิเลสความร้อนรน

ฉะนั้นถ้าโลกธรรมมันมีมาปรากฏ ก็จงพิจารณาด้วยสติปัญญาว่านั้น คือกิเลสตัณหา มันจะพาทุกข์มาให้เรานะ

อะไรก็ตามมันมากระทบ ก็ จงพิจารณาความไม่เที่ยง อย่าว่าแต่อาการภายนอก หรือเหตุการณ์ภายนอกเลยที่มันไม่เที่ยงนั้น แม้แต่ตัวเราที่กําลังพูดอยู่นี้ ยังจะนั่งพูดกันอีกกี่นาน มันก็จะแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนเสียแล้ว คือ “ตาย”

ดังนั้นพวกเราทุกคนที่นั่งอยู่นี้ จงเจริญภาวนาให้จิตใจสงบ ทําจิตให้วิเวก ในความสงบของ จิตนั้นแหละลูกหลานเอ๋ย…จะได้พบกับความเป็นจริงอย่างชัดเจน ในธรรมะของพระพุทธเจ้า

บุคคลที่ไม่เห็น ก็เพราะจิตใจมันมีคลื่น กระแทกกระทั้นจิตใจไม่อยู่คงที่ จิตมันขุ่นมัวเลย เสียผล

คนตาบอดตาใสมันจะเห็นอะไรชัดละ เขาลืมตาก็ลืมตาบ้าง เขาหลับตาก็หลับตาบ้าง มันไม่เกิด ผลหรอกนะ จงจําไว้ให้ดีอย่าประมาทนะลูกหลานทุกคน…”

ธรรมะบทนี้ หลวงปู่อ่อนสี ได้แสดงไว้อย่างลึกซึ้งถึงใจ ท่านสอนหลักปฏิบัติได้อย่างเด่นชัดใน ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะการเจริญสมาธิภาวนา ถ้าจิตไม่สงบไปติดอยู่กับสัญญาอาการต่าง ๆ แล้ว ยากนักหนาที่จะพิจารณาอะไรให้แจ่มแจ้งได้ จะเป็นการนั่งเมื่อย เดินปวดไปเปล่า ๆ ไม่ได้การ

สมัยหนึ่ง หลวงปู่อ่อนสี ได้ รับการชักชวนจากหลวง ปู่เทสก์ เทสรังสี ออกเดินธุดงคกรรมฐาน เพื่อติดตามหลวงปู่มัน ผู้เป็นพระอาจารย์

ดังนั้นเมื่อตกลงกันแล้ว หลวงปู่อ่อนสี จัดเตรียมบริขารเรียบร้อย แล้วก็ออกเดินทาง โดยมีตาผ้าขาวอีกคนหนึ่งติดตามธุดงค์ไปด้วย มุ่งสู่ภาคเหนือของประเทศไทย

การเดินทางหรือการเดินธุดงคกรรมฐานนั้น เริ่มขึ้นที่ทางฝั่งไทยอำเภอท่าบ่อ ไปเวียงจันทน์ลงเรือล่องน้ำไป ๔ วัน ไปถึงนครหลวงพระบาง แล้วกลับมาฝั่งไทย ขึ้นที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินธุดงค์ต่อไป อำเภอแม่จัน พะเยา ลําพูน เชียงใหม่ แม่ริม แม่แตง เป็นระยะ ๆ เพื่อสืบหาถามข่าว หลวงปู่มั่น

ความพยายาม ความไม่ย่อท้อของท่านทั้งสอง เดินธุดงค์ติดตามต่อไป ท่านเดินปืนภูเขาขึ้นไปสูงสุด ซึ่งท่านเล่าว่า… “ภูเขาลูกนี้สูงมาก มันสูงขึ้นเรื่อย ๆ และลูกที่สูงที่สุดนั้นไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย เพราะทานกระแสลมไม่ไหว จึงได้พักปฏิบัติธรรม มีความวิเวกดีมาก เขาลูกนี้อยู่เขตอาณาจักร พม่าโน้น แล้วได้ไปอยู่กับพวกชาวเขา เช่น ปะหร่อง กะเหรี่ยง ยาง มูเซอ เป็นต้น

นอกนั้นก็พบสัตว์ป่า เช่น เสือ ช้าง หมี งูจงอาง แต่ก็อยู่กันได้ เดินผ่านกันไปผ่านกันมาเขา ไม่ทําอะไรเรา หลวงปู่ดีใจมาก ก็ตอนเดินธุดงค์มาถึงหมู่บ้าน มะลุลา เขตอําเภอพร้าว ทราบว่า พระอาจารย์มั่น ท่านอยู่ที่ป่าเมี่ยงแม่ปั๋ง

เช้านั้นเมื่อฉันเสร็จแล้วพระอาจารย์เทสก์ (ท่านเจ้าคุณ ฯ) พาแน่วไปถ้ำดอกคําที่ท่านอยู่ปฏิบัติธรรม..พอ ๕ โมงเย็น ก็พบท่านกําลังนั่งรออยู่พอดี ยังไม่ทันได้วางบริขารท่านเอ่ยทักออกชื่อเรียงลําดับไปเลยทีเดียว

โอ…ท่านวิเศษแท้ ๆ ท่าน ๆ เมตตาเหลือหลาย

ต่อมาพระอาจารย์มั่น ได้พาพระอาจารย์เทสก์ และหลวงปู่นี่แหละเดินไปพักที่ดอยพระเจ้า ได้ผลทางใจมากมายเกินความเหน็ดเหนื่อยเลยทีเดียว”

หลวงปู่อ่อนสี ได้อยู่ประพฤติ ปฏิบัติธรรมอยู่กับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นเวลานาน ข้ออรรถข้อธรรมที่ได้รับแจ่มแจ้งหายความเคลือบแคลงสงสัย ทําให้เกิดความ อบอุ่นใจอย่างน่าอัศจรรย์ นับเป็นประวัติการณ์ในชีวิตของท่าน และผลแห่งการปฏิบัติ เพราะท่านได้รับความอัศจรรย์ ที่ถึงพร้อมหมดทุกอย่าง คือ…

๑. มีพระอาจารย์ที่ดีเลิศ

๒. มีสถานที่วิเวกที่ดีเลิศ

๓. มีกัลยาณมิตรที่ดีเลิศ

ความถึงพร้อมทุกอย่างนี้เอง ทําให้หลวงปู่อ่อนสี และ หลวงปู่เทสก์ ได้อยู่ประพฤติ ปฏิบัติธรรมจําพรรษาบนเขามูเซอ ต่างก็ได้พากันสละชีวิต อุทิศไว้เพื่อความพากเพียรอย่างหนัก ขณะนั้นหลวงปู่มั่นมีอายุย่างเข้า ๗๐ ปี สุขภาพของท่านไม่ค่อยจะปกติ แต่กําลังใจของท่านกล้าหาญ

หลวงปู่อ่อนสีเล่าให้ฟังว่า…

“พระอาจารย์มั่น ท่านเป็นนักต่อสู้ไม่เคยหวาดหวั่นต่อเหตุการณ์ใด ๆ เลย แม้ท่านจะเป็นพระ แก่ถึงขนาดนั้น พวกเราเป็นพระหนุ่ม เห็นท่านเดินขึ้นภูเขาที่สูง ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี้แหละจึงเป็นกาลังใจเพราะเห็นท่านเป็น เยี่ยงอย่าง”

หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ (พระครูสีลขันธ์สังวร) แม้ว่าบัดนี้ท่านจะมรณภาพแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดี ของท่านยังปรากฏอยู่ให้พวก เราระลึกเสมอว่า ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งที่ควรบูชาอย่างยิ่ง”