ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน
วัดสุจิณต์ประชาราม
ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน องค์ท่านได้เคยอยู่ศึกษาอบรมธรรมเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมธโร ตั้งแต่เป็นสามเณร และติดตามหลวงปู่เพียร วิริโย ไปปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ ท่านถือเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ที่กราบไหว้ได้อย้างสนิทใจหลวงปู่เพียร วิริโย ไปปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ ท่านถือเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ที่กราบไหว้ได้อย้างสนิทใจ ไปปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ ท่านถือเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ที่กราบไหว้ได้อย้างสนิทใจ
○ ชาติภูมิ
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน เกิดในสกุล “พันธุ์วงศา” บิดาชื่อ นายพิมพ์ มารดาชื่อ นางเหม็น ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร การศึกษาท่านเรียนจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ มีอาชีพช่วยพ่อแม่ทำนา ท่านได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร ที่วัดป่าแก้วชุมพล โดยมี หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงในขณะนั้นช่วยสอนนาคให้ทุกอย่าง
○ อุปสมบท
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสังกัดธรรมยุติกนิกาย ในวันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เมื่อเวลา ๑๕.๑๕ น. ณ พัทธสีมาวัดประชานิยม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมี พระครูพุฒิวราคม (หลวงปู่พุฒิ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้อยู่ศึกษาธรรม ณ วัดป่าแก้วชุมพล โดยมี ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร คอยเอาใจใส่อบรมสอนธรรมะและข้อวัตรปฏิบัติให้เรียนรู้พระวินัย และศีลจารวัตร หลังจากนั่นพระอรุณ ได้ติดตามท่านพระอาจารย์เพียร วิริโย ไปศึกษาธรรมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่บัว สิริปุณโณ เป็นต้น
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน ท่านออกวิเวกไปปฏิบัติธรรมยังสถานที่ต่างๆ ทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ท่านมักไปในที่ที่กันดาร อาหารการขบฉันอยู่อย่างอัตคัต ท่านเป็นพระไม่ติดถิ่น ไม่สะสมข้าวของ จะไปอยู่จำพรรษาที่ไหน ท่านจะคิดล่วงหน้าเพียงแค่ วันถึงสองวันก่อนเข้าพรรษาเท่านั้น ท่านไม่ชอบรับภาระทางการปกครอง ไม่ชอบการก่อสร้าง จึงไม่ได้อยู่ที่ไหนนานๆ
“..บุคคลใดมีธรรมะ การฝึกจิต อบรมจิตให้มันช่ำชองละเอียดลออ มันจะรู้ พระนี่ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองสักอย่าง สมมุติเอาไว้ ..พระนี่ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองสักอย่างเลย ครูบาอาจารย์ท่านพูดไว้สมัยก่อน ถูก” ท่านพูดไว้อย่างไร “นอน” เหมือนกับนอนอยู่กองไฟ นอนก็นอนอยู่กับก้อนไฟ ท่านว่า มันร้อนอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของบุคคลใดไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรม ปัญญามันจะไม่เกิด เพียงแต่มาสร้างโลก เพียงแต่ว่ามันนอนเอ๊ย สบาย สนุก นอนหลับดี แท้ที่ไหนได้ โทษมหันต์เลย ท่านพูดนะ คนอยู่ก็ต้องเป็นคนมีธรรมะ
แม้กระทั้งข้าวนี่ ข้าวกินอยู่ทุกวันๆ อาหารแต่ละคำๆ เหมือนกับก้อนไฟแหละ ปล่อยเข้าไปนี่ กลืนก้อนไฟไปทุกๆ ก้อน ไม่ใช่ของเรา ของศรัทธาญาติโยมเขามาบูชาธรรมต่างหาก
ผ้าก็เหมือนกัน ทำไมเวลาครองผ้าท่านให้พิจารณาเสียก่อน มันเป็นอย่างนั้น ถ้าครองแบบลักษณะ สวยงาม อย่างนั้น อย่างนี้ อบอุ่นดี อย่างนั้นผิด ไม่มีสิ่งไหนเลยโยมเอ๊ย เป็นของๆ ตัวเอง พระนี่ แม้กระทั้งทุกสิ่งทุกอย่างนี่แหละ เป็นเสื่อ เป็นผ้าอะไร อาหารการกิน การฉัน การนอนก็เหมือนกันแหละ เป็นของศรัทธาญาติโยมเขาหมดเลย
นอนก็นอนกวากนอนหนาม ผู้ฝึกมีจิตอันละเอียดอ่อน ท่านจะรู้ถึงโทษสิ่งเหล่านี้ ถ้าพระองค์ไหน คิดว่า เอ๊ย กุฏิหลังไหนมันสวยๆ งามๆ มันน่าอยู่นะ อันนั้นมันผิด ต้องพิจารณาในส่วนที่ถูก มันไม่มีอะไรหรอก
มันต้องตื่นอยู่ตลอดเวลานะ เรื่องของจิต ถ้าบุคคลใดฝึกจิตดีแล้วเนี่ย จิตมันดีดอยู่ตลอดเวลาเลย มันไม่อยากจะหลับ ไม่อยากจะนอน ติดความเพียรมั้ย ไม่ใช่ จะนั่งการปฏิบัติธรรมเนี่ยแหละ เมื่อจิตมันเห็นจิต จิตมันถึงจิต จิตมันถึงธรรมแล้วเนี่ย มันจะปล่อยจะวาง
สุขเกิดมันก็ไม่ได้ยินดี ทุกข์เกิดมันก็ไม่ได้ยินดียินร้ายกับสิ่งนี้ ทั้งสองอย่างนี้ มันไม่ได้เป็นผลต่อจิตเลย สิ่งที่จะเป็นผลกับจิตก็คือความว่างเปล่าของจิต
จิตของเรานี่ก็เหมือนกัน มันสกปรก ก็พยายามชำระสะสางมันออกไป อย่าให้มันมีมลทินของจิต คือความว่างเปล่าของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ภายในจิต ถ้าเกิดจิตของเรายังมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็แปลว่า มันไม่ได้ว่าง เอาไปเอามาคนเราก็เลยทะเลาะกับมันอยู่ตลอดเวลา ทะเลาะเรื่องอยู่ เรื่องกิน เรื่องหลับ เรื่องนอน ทะเลาะกับโรคภัยไข้เจ็บ ปวดหัวสักหน่อยก็ไปหาหมอ มันว่านะ มันกลัวตาย ๕๕๕ มันกลัวตายไปหาหมอ เรื่องจิตนี่มันแก้ปัญหาได้นะ เวลาเป็นไข้ไม่สบายขึ้นมา นั่งภาวนาจนจิตมันสงบ จิตมันสงบขึ้นมาแล้วมันก็หายไป อำนาจของจิตมันเป็นอย่างนั้น
ที่นี้จึงว่า …พระเราไม่ต้องอยู่อย่างหรูหราอะไรมากหรอก อย่างน้อยพระพุทธเจ้าก็เคยตรัสไว้ว่า เธอบวชแล้ว อย่าไปสร้างวัดวาอารามนะ อย่าไปติดต่อศรัทธาญาติโยมนะ อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร อยู่กลางแจ้งเป็นวัตรนะ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่านะ ท่านไม่ให้สะสมปัจจัย สิ่งของ ยิ่งมีเงินยิ่งเป็นทุกข์ ยิ่งจนยิ่งมีความสุข จะมีเงินทองข้าวของมากมายก่ายกองเท่าไหร่ ก็ช่าง เมื่อจิตมันหลุดพ้นแล้วมันไม่ยินดีกับสิ่งเหล่านี้เลย เงินเป็นร้อยเป็นหมื่น เป็นพันเป็นแสนเป็นล้าน ก็ไม่เท่ากับจิตมันรู้เห็นธรรมะ ฉะนั้น ยิ่งจนยิ่งมีความสุข ยิ่งมั่งมีเงินข้าวของยิ่งมีความทุกข์ ลองพิจารณาดูแล้วกัน ..”
○ โอวาทธรรมหลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน
“..อย่าให้แต่อาหารทางกาย ให้อาหารทางใจมันบ้าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา..”
“..อย่าให้แต่อาหารทางกายให้อาหารทางใจมันบ้าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มนุษย์ต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่ามนุษย์ตายได้ ป่วยได้ เป็นโรคได้ เพราะมันคือธรรมชาติ..”
○ มรณภาพ
หลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน ละสังขารอย่างสงบ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๖.๒๘ น. ณ วัดสุจินต์ประชาราม บ้านขาม ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๔ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน พรรษา ๕๕
กำหนดการถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่อรุณ อาจารสัมปันโน ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ (แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑) เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ เมรุชั่วคราว วัดป่าสีห์พนมประชาราม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
ขอบขอบคุณข้อมูลจากเพจ : ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน