วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดบรรพตคีรี พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอาจารย์มั่น

ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

หลวงปูหล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ)

“พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอาจารย์มั่น”

พระเดชพระคุณหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยบากบั่น อุตสาหะ พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อหาทางพ้นทุกข์ บารมีธรรมคําสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจและหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน ท่านได้อบรมสั่งสอนบรรดาสานุศิษย์ ด้วยเมตตาธรรมดุจดังพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

นับได้ว่าท่านเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่นที่ สําคัญยิ่งรูปหนึ่ง หลังจากท่านละสังขารไม่นาน อัฐิได้กลายเปลี่ยนเป็นพระธาตุ ได้รับคําชมและยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่า

“เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจใส่ในอาจริยวัตรเสมอ แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคําสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ําสอน และ เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านพระอาจารย์มั่น”

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

ท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายอุปัฏฐากแด่ท่าน พระอาจารย์มั่นอย่างใกล้ชิด มีภาระปฏิบัติหลายหน้าที่ อาทิ การสรงน้ํา การซักย้อมสบงจีวร การตามไฟถวายเมื่อองค์ท่าน จงกรมในยามค่ําคืน การดูแลไฟให้ความอบอุ่นในยามหนาวเย็น การชําระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่

พระประธานประดิษฐานบนศาลาการเปรียญวัดบรรพตคีรี ภูจ้อก้อ

ได้สังเกตศึกษาปฏิปทาและจริยาวัตรของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา ๔ ปีสุดท้ายแห่งชนม์ชีพของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับ วันขึ้น ๓ ค่ํา ปีกุน ณ บ้านกุดสระ ตําบลกุดสระ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายคูณ และนางแพง เสวตร์วงศ์

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

อายุได้ ๑๘ ปี บวชเณร ณ วัดบัวบาน บ้านกุดสระ ตําบลกุดสระ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระอาจารย์หนู ติสสเถโร เป็นพระปัพพชาจารย์

อุปสมบทครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ โดยมี พระอาจารย์หนู ติสสเถโร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชได้ไม่นานก็ได้ลาสิกขา ภายหลังท่านได้แต่งงาน ๒ ครั้ง มีบุตร ๑ คนกับ ภรรยาคนแรก และมีบุตร ๓ คน กับภรรยาคนต่อมา

อายุได้ ๓๒ ปี ได้กลับคืนสู่เพศพรหมจรรย์อีกครั้งใน เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ วัดบ้านยาง โดยมีพระครคูณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เสาร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

บวชอยู่ได้ ๓ พรรษา โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม ภายหลังฌาปนกิจศพมารดาก็ได้กราบลาอุปัชฌาย์จารย์ ไปศึกษาธรรมกับ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ณ วัดโพธิสมภรณ์ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมธร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๕ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน พระอาจารย์มั่น และตั้งสัจวาจาว่า

“ขอมอบกายถวายชีวิตต่อ ท่านพระอาจารย์มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ใน ที่นี้ทุกๆ องค์ด้วย”

รูปหล่อโลหะและอัฐิธาตุพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ภายในพระธุตั้งคเจดีย์

ท่านพระอาจารย์มั่น ได้กล่าวสอนสั้นๆว่า

“กรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย”

ต่อจากนั้นหลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะในสมัยนั้นได้กล่าวเตือนว่า

“เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวา ตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเช่นหนักนะ”

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ จําพรรษาที่วัดโคกกลอย ตําบลนากลาง อําเภอโคกกลอย จังหวัดพังงา กับหลวงปู่เทสก์ เทสรงสี

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔-๙๕ จําพรรษาที่วัดป่าตะโหนด อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา กับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖-๒๔๙๙ จําพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อําเภอคําชะอี จังหวัดมุกดาหาร กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ท่านได้อยู่จําพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ ต่อเนื่องมาจนถึงกาลเป็นที่สุดแห่งชนม์ชีพของท่าน

วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งคณะแพทย์ก็ได้กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ หลวงตามหาบัวได้ เมตตาให้คําแนะนําว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้วก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน ซึ่งหลวงปู่หล้าก็ได้ละสังขารไปเมื่อเวลา ๑๓.๕๙ น. ในวันนั้นเอง

เขมปัตตเจดีย์ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
เขมปัตตเจดีย์ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ทําการถวายเพลิงศพ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต โดยมี หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นประธาน พระเถรานุเถระและศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และ คฤหัสถ์จากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาร่วมในงานนี้อย่างเนืองแน่น สิริอายุ ๘๔ ปี ๑๑ เดือน พรรษา ๕๒

พระธาตุหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ณ เขมปัตตเจดีย์
เกศาธาตุ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต