วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงปู่สอน พุภะละมะ วัดเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่สอน พุภะละมะ

วัดเสิงสาง
อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

หลวงปู่สอน พุภะละมะ วัดเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่สอน พุภะละมะ วัดเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

พระครูภูมิวุฒาจารย์ (หลวงปู่สอน พุภะละมะ) พระภิกษุ ๖ แผ่นดิน แห่งวัดเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

◉ ชาติภูมิ
พระครูภูมิวุฒาจารย์ (หลวงปู่สอน พุภะละมะ) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๐๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่บ้านหนองบัวแสนเมือง (บ้านหนองบัว) ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา บิดาของท่านชื่อ “นายเกิด” (พระราชสีมาจารย์ ข้าราชการในเมืองนครราชสีมา) มารดาของท่านชื่อ “นางมา

เนื่องจากครอบครัวของท่านมีฐานะดี จึงมีบริวารมากและท่านได้เรียนหนังสือที่วัดหนองบัว จนกระทั่งท่านอายุได้ประมาณ ๑๖ – ๑๗ ปี ท่านมีความสนใจในเรื่องคาถาอาคม ท่านได้ออกจากบ้าน เพื่อเสาะหาครูบาอาจารย์ที่มีวิชาอาคม หลังจากที่ท่านได้ออกท่องเที่ยวไปหลายที่แล้วท่านได้มุ่งหน้าไปที่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา (เมื่อก่อน อำเภอครบุรี ขึ้นกับอำเภอโชคชัย) เพราะได้ทราบว่ามีพระอาจารย์ที่เก่งกล่าวคือ หลวงปู่น้อย วัดบ้านไผ่ ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี โดยหลวงปู่น้อย บอกว่าถ้าจะเรียนคาถาอาคมนั้นจะต้องบวชเสียก่อน

หลังจากนั้น ท่านจึงได้ทำการอุปสมบท ขณะอายุได้ ๒๒ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ที่วัดบ้านไผ่ โดยมี หลวงปู่น้อย วัดบ้านไผ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเปีย วัดจระเข้หิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อยัง วัดศรีเฉลียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า “พุภะละมะ

หลวงปู่น้อย วัดบ้านไผ่
หลวงปู่น้อย วัดบ้านไผ่

เมื่อท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ หลวงปู่สอน พุภะละมะ ท่านได้ฝึกหัดท่องสวดมนต์ สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนคล่องชำนาญแล้ว หลวงปู่น้อยจึงได้สอนวิชาอาคมให้ และได้สอนการปรุงยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคให้ ตลอดจนหลวงปู่น้อยได้สอนการเจริญสมาธิวิปัสสนาภาวนาให้ ท่านอยู่ที่วัดหนองไผ่เป็นเวลา ๒ ปี จึงได้ออกเดินธุดงค์เพื่อเจริญสมาธิวิปัสสนาภาวนาฝึกฝนจิต ท่านได้เที่ยวจำศีลอยู่ตามป่าตามถ้ำ เมื่อพบกับพระอาจารย์ที่มีวิชาท่านก็ได้ขอเรียนกับท่าน และยังได้ไปเรียนวิชาคาถาอาคมที่ประเทศกัมพูชา (เขมรต่ำ) จนท่านสามารถโน้มน้าวแรงศรัทธาจากชาวบ้านมาสร้างวัดได้ก็เพราะท่านมีวิชาอาคมขลัง ได้ทำ สีผึ้ง แจกชาวบ้าน สีผึ้ง นี้ เด่นทั้งเมตตามหานิยม คงกระพัน และ มหาอุตม์ ครบเครื่อง จึงมีชื่อเสียงร่ำลือไปไกล

หลวงปู่สอน พุภะละมะ วัดเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่สอน พุภะละมะ วัดเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดสระตะเคียน ต.สระตะเคียน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ท่านได้ออกธุดงค์เป็นเวลา ๙ ปี ท่านอายุได้ ๓๓ ปี

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ขณะมีอายุได้ ๓๕ ปี พรรษาที่ ๑๓ ท่านได้ก่อสร้างวัดใหม่ขึ้นจนสำเร็จและให้ชื่อว่า วัดทุ่งสว่างศรีเสิงสาง

หลวงปู่สอน พุภะละมะ ท่านได้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชน ตลอดจนพระเณร เนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุผู้มีฌานหยั่งรู้ มีวิชาคาถาอาคม และมีวิชาในการรักษาโรคด้วยสมุนไพรให้หายได้

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง ท่านได้มาจำพรรษาที่ วัดทุ่งสว่าง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อมาปลุกเสกวัตถุมงคลที่ วัดสุทธจินดา และกลับไปจำพรรษาที่วัดเสิงสาง และในปีเดียวกันท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ในราชทินนาม “พระครูภูมิวุฒาจารย์

ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้รับนิมนต์เพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลที่ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.๒๕๑๐

หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง ท่านเป็นที่นับถือของชาวโคราชมานาน ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ให้สานุศิษย์ป้องกันตัวจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน มีลูกศิษย์คนหนึ่งถูกวัดกระทิงขวิดจนตัวลอย แต่ไม่ได้รับอันตรายใดๆ มีเพียง สีผึ้ง ของท่านตลับเดียวที่แขวนอยู่ในคอเท่านั้น

วาระสุดท้าย หลวงปู่สอน ท่านได้รับนิมนต์เพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลที่ วัดช่องอู่ ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา และท่านได้มรณภาพ ที่วัดช่องอู่ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๐ สิริอายุรวมได้ ๑๐๕ ปี พรรษา ๘๓ คณะศิษย์ได้นำศพท่านไปทำการฌาปนกิจที่ วัดเสิงสาง ถือเป็นพระอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวมากองค์หนึ่ง

◉ ด้านวัตถุมงคล
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง สร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์สมาธิ มีอักขระขอมข้างใบหู ข้างละสองตัวอ่านว่า “นะมะพะทะ” ข้างแขน ตัวอักขระขอมอ่านว่า “พระพุทโธ” และ “อะระหัง” ตามขอบเหรียญเขียนว่า หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จ.นครราชสีมา

เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง ต.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง ต.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์สี่มุมเมือง เหรียญของท่านมีสองเนื้อคือ เนื้ออัลปาก้า เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมาก ต่อมาเหรียญเนื้ออัลปาก้าใกล้หมด จึงให้ปั้มขึ้นมาใหม่ เป็นเหรียญ เนื้อทองแดงรมดํา คือสร้างต้นปีกับปลายปีนั่นเอง เหรียญเนื้ออัลปาก้า สร้างจํานวน ๒,๐๐๐ เหรียญ เหรียญเนื้อทองแดงรมดํา สร้างจํานวน ๓,๐๐๐ เหรียญ