วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงปู่ลี อุตตโร วัดเอี่ยมวนาราม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ลี อุตตโร

วัดเอี่ยมวนาราม
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม
พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม

◎ ชาติภูมิ
พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) นามเดิมชื่อ ลี นามสกุล จุใจล้ำ เกิดวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๙ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๒ ปี มะเมีย ณ บ้านเลขที่ ๘๒ หมู่ที่ ๙ ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายทา มารดาชื่อ นางอบ นามสกุล จุใจล้ํา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๘ คน คือ
๑. นายเถื่อน จุใจล้ำ ถึงแก่กรรมแล้ว
๒. นางบับ รูปจําลอง ถึงแก่กรรมแล้ว
๓. นางปุย แท่นคํา ถึงแก่กรรมแล้ว
๔. นายเหลี่ยม จุใจล้ำ ถึงแก่กรรมแล้ว
๕. นายเนียม จุใจล้ำ ถึงแก่กรรมแล้ว
๖. นายเปี่ยง จุใจล้ำ ถึงแก่กรรมแล้ว
๗. นางเปี่ยม จุใจล้ำ ถึงแก่กรรมแล้ว
๘. พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร)

◎ บรรพชา
เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปี ฉลู ณ วัดศรีบุญเรือง (บ้านฮี) ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอธิการพันธ์ วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ตําบลกระเดียน อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

◎ อุปสมบท
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ตรง กับวันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ณ วัด ศรีบุญเรือง (บ้านฮี) ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอธิการพันธ์ วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ตําบลกระเดียน อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

◎ วิทยฐานะ
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ สําเร็จวิสามัญชั้นประถมปี ๔ โรงเรียนบ้านอนันต์ ตําบลยาง อําเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบได้นักธรรมชั้น ตรี สํานักเรียนวัดศรีโพธิ์ชัย ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

◎ ปฏิปทา
นับตั้งแต่หลวงปได้เข้ามาบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ก็ได้ทํากิจ ในทางพระพุทธศาสนามากพอสมควร เคยได้มาดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโพธิ์ชัย และเป็นพระอุปัชฌาย์มาหลายปี หลังจากนั้นได้ลาออกจากตําแหน่งอุปัชฌาย์ ด้วยเป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ เมตตาสูง ใคร่ในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นพระนักปฏิบัติ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คบง่าย ไม่ถือตัว มีอารมณ์ขัน อารมณ์เย็น เป็นทั้งพระนักพัฒนาคือได้เป็น ประธานสร้างอุโบสถ วัดบ้านเวียง วัดบ้านฮี และ วัดเอี่ยมวนาราม พร้อมศาลาการเปรียญ และ บริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณะประโยชน์ ก็มีมาก ไม่ สามารถจะนํามาลงในประวัติให้หมดได้

วัดเอี่ยมวนาราม เป็นสํานักวิปัสสนากัมมัฏฐาน จัดเข้าปริวาสกรรมอบรมธรรมทุกปี มีป่าไม้ร่มรื่น มีน้ำล้อมรอบ คือ น้ำเขื่อนห้วยถ้ำแข้ ขนาดกลาง สะดวก สบายทุกอย่าง เหมาะสําหรับพระนักปฏิบัติ และแสวงหาความสงบ ไม่ไกลกับตัวอําเภอ อุปถัมภ์สําคัญคือ นายง้วนเอี่ยม พ่อค้าชาวไทย เชื้อสายจีน

◎ งานการปกครอง
พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ทั้งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตําบล ตามระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ คือ เจ้าอาวาสวัดศรีโพธิ์ชัย เจ้าคณะตําบลกระเดียน เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง และเป็นเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมวนาราม ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

◎ งานการศึกษา
ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม เป็นกรรมการการศึกษาโรงเรียนบ้านขุหลุ เป็นประธานหน่วยสอบนักธรรม และธรรมศึกษาชั้นตรี – โท หน่วยสอบ โรงเรียนตระการพืชผล จนถึงปัจจุบัน

◎ ด้านการเผยแผ่
ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบลขุหลุ เป็นประธานและเจ้าสํานักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดเอี่ยมวนาราม ตําบลขหล สนับสนุนส่งเสริม ทั้งภาคปริยัติ และภาคปฏิบัติ ให้เจริญเท่าเทียมกันไป สมกับคําว่า เป็นพระนักปฏิบัติ และพัฒนา

◎ งานสาธารณูปการ
หลวงปู่พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) เป็นพระนักพัฒนา คือ พัฒนาศาสนวัตถุ พัฒนาศาสนบุคคล พัฒนาศาสนธรรม พัฒนาศาสนวัตถุ ได้เป็นประธานก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์วัตถุถาวรใน วัดวา ศาสนามามาก คือ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฏิ สงฆ์ ห้องน้ำ ห้องส้วม วัดศรีบุญเรือง บ้านฮี ตําบลขุหลุ เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดสุขาวาส บ้านเวียง ตําบลกระเดียน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฏิ ปฏิบัติธรรม จํานวน ๖ หลัง กุฏิเจ้าอาวาส โรงฉัน โรงครัว หอระฆัง ห้องน้ำ ห้องส้วม ปลูกต้นไม้ดอก ต้นไม้ผล ต้นไม้ยืนต้น (ไม้สัก) หลายร้อยต้นบริเวณวัดป่าไม้ร่มรื่น สวยงาม วัดเอี่ยมวนาราม บ้านม่วงเดียด ตําบลขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่อยู่พักจำพรรษาของ (หลวงปู่ลี อุตตโร) จนกระทั่งละสังขาร

◎ พัฒนาศาสนบุคคล
หลวงปู่ลี อุตตโร ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม สละทรัพย์ส่วนตัวตั้งทุนมูลนิธิวิทยาลัยเขตอุบลราชธานี วัดมหาวนาราม และได้ให้ทุนมูลนิธิส่งเสริมปริยัติธรรม แผนก ธรรม – บาลี สํานักเรียนวัดบ่อชะเนง อําเภอหัวตะพาน วัดศรีโพธิ์ชัย อําเภอตระการพืชผล และอื่นๆ อีก เป็นจํานวนมาก ไม่สามารถจะนํามาลงให้หมดได้

◎ พัฒนาศาสนธรรม
พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) เป็นเจ้าสํานักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดเอี่ยมวนาราม มีการเปิดอบรมเข้าปริวาส กรรมศูนย์ปฏิบัติธรรมประจําอําเภอตระการพืชผล บวชสามเณรภาคฤดูร้อน ประจําทุกปี เป็นหน่วยอบรมแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ประจําอําเภอ เป็นสถานที่ให้ธรรม เป็นทาน เป็นเบ้าหล่อหลอมจิตใจของประชาชน เป็นที่พึ่งทั้งทางการและทางใจ

◎ สมณศักดิ์
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นตรี
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท

◎ พระสายวิปัสสนากรรมฐาน
เพราะความที่เป็นพระซึ่งรักความสงบ สมถะ ชอบป่า จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูพนาภินันท์” อันมีความหมายว่า “มีความรักความผูกพันกับป่า” ท่านเคยธุดงค์ไปตามป่าเขาทั้งในประเทศทั่วทุกภาค และข้ามไปถึงประเทศลาว แถบแขวงจําปาสัก แขวงสะหวันนะเขต รวมทั้งเดินเลยทะลุเข้าไปในประเทศกัมพูชาด้วย ด้วยความตั้งใจจะเอาจริงและเอาดีทางเจริญวิปัสสนาให้ได้ จึงเข้าฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น รับการฝึกวิชาวิปัสสนากรรมฐาน ที่น่าทึ่งก็คือ สามารถนั่งวิปัสสนานานถึง ๔๘ ชั่วโมง หรือ ๒ วัน ๒ คืนติดต่อกัน!

◎ อาพาธ
ย้อนไปเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หลวงปู่ลี ท่านมีอาการอาพาธ ศิษยานุศิษย์และญาติโยมจะพาท่านไปรักษาที่ โรงพยาบาลตระการพืชผล แต่ท่านไม่ยอมไป พร้อมกล่าวเป็นนัยว่า “แก่มากแล้ว รักษาก็ไม่หาย” แต่แล้ววันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ศิษย์ทั้งหลายก็นําท่านเข้าโรงพยาบาลจนได้ เมื่ออาการอาพาธทรุดหนักจนน่าเป็นห่วง ถัดมาอีก ๒ วัน แม้อาการไม่ดีขึ้น แต่สติของท่านมั่นคง และขอให้ศิษย์นําท่านกลับวัด โดยบอกว่าจะไปตาย ที่วัด คําสุดท้ายที่ท่านกล่าวก็คือ “นิพพาน นิพพาน

พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม ท่านได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริอายุ ๙๖ ปี พรรษา ๗๖

พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม
สังขาร พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม ก่อนพระราชทานเพลิงศพ
พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ลี อุตตโร วัดเอี่ยมวนาราม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

คุณงามความดีของหลวงปู่ลีนั้นมีเกินบรรยายแม้ท่านจะดํารงตนในสถานะพระป่า สมณศักดิ์แค่พระครู แต่เปี่ยมด้วยความเป็นผู้รู้เท่าทันโลก ท่านจึงมีอารมณ์ขันอยู่เสมอหากใครได้พูดคุยจะเกิดความปีติสุขอย่างน่าอัศจรรย์ คําพูดของท่านง่ายๆ ซื่อๆ ไม่ต้องแปลความหมาย อย่างใดที่ลึกซึ้งกินใจยามได้ฟัง

หลวงปู่ลี อุตตโร ท่านเป็นพระสายปฏิบัติที่เคร่งครัดพระวินัยรูปหนึ่งของภาคอีสาน การมรณภาพของท่าน จึงเป็นการสูญเสียที่สําคัญ ศพหลวงปู่ลี ตั้งบําเพ็ญกุศลที่ศาลาการเปรียญวัดเอี่ยมวนาราม อ.ตระการพืชผล โดยมีพระครูสิริธรรมากร เจ้าคณะอําเภอตระการพืชผล วัดศรีโพธิ์ชัย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายประพจน์ สิงห์พันธ์ นายอําเภอตระการพืชผล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส กําหนดสวดพระอภิธรรมไปตลอดทุกคืนประมาณ ๑๒๐ วัน และจะจัดงานพระราชทานเพลิงศพช่วงต้นเดือน ม.ค. ปี ๒๕๔๖

◎ วัตถุมงคล คาถาอาคมของหลวงปู่ลี อุตตโร
พระเครื่องของท่านมีความขลังในหมู่ศิษย์ แต่ที่เชื่อกันว่าขลังยิ่งกว่าก็คือ “พระคาถาโบราณ” ที่มีผู้คนไปพึ่งพาให้ท่านช่วยเหลือ ไม่ว่าจะคาถาออกลูกง่าย, เลี้ยงลูกง่าย, ปราบพิษไฟ, สมานแผล กันฝี, เป่าฝีให้ศูน, ขับไล่ผีออกจากร่าง คน ฯลฯ

เหรียญรุ่นแรก พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม
เหรียญรุ่นแรก พระครูพนาภินันท์ (หลวงปู่ลี อุตตโร) วัดเอี่ยมวนาราม

หลวงปู่ลี อุตตโร แม้ท่านจะละสังขารลงแล้ว แต่ร่างรอยธรรม ที่ท่านแผ้วถางไว้ให้ศิษยานุศิษย์ ยังคงเรืองรองอยู่เสมอมิวาย ส่วนเวทมนตร์คาถาที่หลวงปู่ใช้บรรเทาทุกข์แก่ญาติโยม ที่เคยมาอาศัยบารมีหลวงปู่ บัดนี้ได้ นํามาเผยแพร่สู่ผู้สนใจในมนตร์ คาถา ซึ่งถอดความมาจากหนังสือ คำเชิญพระเวสสันดรเข้าสู่เมือง (บุญเดือนสี่) ตีพิมพ์เผยแพร่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑

◎ คาถาออกลูกง่าย
อะระหัง อะระหัง รังระอะ ดุวิ ดุวิ วิรุโต วิรุจะ ขะมะถะ
วิธีใช้ เสกใส่น้ำ ๓ – ๗ บท ให้กินเวลาปวดท้องจะคลอด หรือ จารเป็นอักษรขอม – ธรรม ใส่แผ่นทองเหลืองทำเป็นตะกรุด แขวนคอหญิง ใช้ได้ทั้งก้างติดคอ ข้าวติดคอ เสกใส่น้ำกิน

◎ คาถาเสกใส่เหล็กจารก่อนลงอักขระ
คะยังริราคัง อะมะตัง ปะณีตัง

◎ คาถาปลุกเสกที่ม้วนแผ่นทอง เป็นหลอดแล้ว
อม ปุก ปุก ดุละพะคาถา พุทธะโลกา เอหิ สวาหม
วิธีใช้ เสก ๓ – ๗ หนใช้ได้ทุกอย่าง

◎ คาถาเลี้ยงลูกง่าย
นะอะอัด มะอะอุด ทะ อะอะอุด อุดทะอะปิด นะโม พุทธายะ นะมะนะอะ นะกอ นะกะ กอออ นออะ นะอะ
กะอัง อิกะวิติ จะภะกะสะ อิสะวาสุ เตชะสุเน มะภูจะนา วิเว ทีมะสังอังคุ
วิธีใช้ เขียนใส่แผ่นทอง เหลืองด้วยอักขระขอมหรือธรรม ทําเป็นตะกรุด แขวนคอทั้งหญิง และชาย หรือสอดไว้ใต้หมอน หนุนหัวก็ได้ ถ้าเด็กไม่กินนม เบื้องขวาให้เอาตะกรุดผูกแขนขวา ถ้าไม่กินนมเบื้องซ้าย ให้เอามาผูกแขนซ้าย

◎ คาถาปราบพิษไฟ
อุณณะ หัสสะ ปะติฆาตายะ ยาวะ เทวะ
วิธีใช้ เสกใส่น้ำธรรมดา เป้า พ่น ๓ – ๗ ครั้ง ดีแล

◎ คาถาจอดแล่น (ประสานแผล)
อมพระสุริยะ พระอาทิตย์ สวาหม
วิธีใช้ เสกน้ำ หรือน้ำลาย ในปากตนเอง เป่า พ่น ลงที่แผลดีแล

◎ คาถาเป่ากำเนิดเด็กน้อยร้องไห้
นะโมพุทธายะ มะอะอุชีวัง มะอะอุ มุงคะลานิ สะมัตถะ คะละ คะละคัพพะเวสันโต
วิธีใช้ เสก ๓ – ๗ บท เป่า – พ่น เด็กน้อยที่ร้องให้หายแล

ที่มา :ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.ubonpra.com