วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2567

หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ท่านเป็นพระผู้อาวุโสและมีความสามารถแตกฉานในพระธรรมวินัยมากที่สุดองค์หนึ่ง

แต่เดิมนั้นท่านไม่เคยศึกษา ทางด้านพระธรรมวินัยมาก่อนเลย

ครั้นเมื่อได้ออกบําเพ็ญเพียรจิตภาวนาในป่าและภูเขา สติปัญญาที่ได้ถูกกลั่นกรองอบรมมาดีแล้วนี้ เป็นเครื่องชี้บอกอัน ที่เกิดจากปัญญาภายในอย่างน่าอัศจรรย์

หลวงปู่บุดดา ถาวโร เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ํา เดือนยี่ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๗ ที่ตําบลภูคา อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี

บิดาชื่อ นายน้อย มงคลทอง มารดาชื่อ นางยิ่ง มงคลทอง

ในสมัยเป็นเด็กเล็กๆ นั้นท่านสามารถระลึกชาติได้ อันเป็นทุนเดิมที่ท่านเคยสั่งสมไว้นั่นเอง

ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงปู่บุดดา ถาวโร ได้เคยรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร ในปีพ.ศ.๒๔๕๘

ภายหลังจากพ้นทหารแล้ว หลวงปู่บุดดา ได้เข้าอุปสมบท เป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ณ พัทธสีมา วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมีท่านพระครูธรรมขันธสุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์

ในพรรษาที่สอง ท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปฝั่งลาว ไปถึงนครเวียงจันทน์

เมื่อกลับมาอยู่ฝั่งไทยแล้ว ท่านได้ออกเที่ยววิเวกไปหลายแห่ง ในที่สุดก็มาพักบําเพ็ญภาวนา ที่ถ้ําภายในเขาภูคา โดยมีหลวงพ่อสงฆ์ พรหมสโร ซึ่งท่านว่า “เคย เป็นบิดาของท่านในอดีตชาติ” อยู่ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ท่านเร่งเพียรภาวนา เดินจงกรม กําหนดสติรู้สึกในธรรมที่เกิดขึ้นยิ่งนานวัน ก็ยิ่งก้าวขึ้นโดยลําดับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีอัธยาศัย ท่านเคยได้พบปะสนทนา ธรรมกับครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่เสมอๆ

อย่างเช่น หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่บุดดาเคยออกปากชมหลวงปู่สิมต่อหน้าคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลายว่า

“เรื่องธุดงค์เข้าป่าลึก และนานกันแล้ว ท่านสู้อาจารย์สิมองค์นี้ไม่ได้”

นี้เป็นข้อคิดแก่เราบรรดาศิษย์ทั้งหลายว่า “อันครูบาอาจารย์ไม่ว่าสายใด ๆ ก็ตาม ถ้าเป็นพระฝ่ายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เจริญด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา อันบริบูรณ์ตาม หลักพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส บัญญัติได้ดีครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระฝ่ายมหานิกาย หรือ ฝ่ายธรรมยุตฯ ก็ตามย่อมถือได้ ว่า เป็นบุตรพระตถาคตเจ้าองค์ เดียวกันทั้งสิ้น”

สมัยที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร ออกบําเพ็ญเพียรในป่า เมื่อใกล้เข้าพรรษาท่านจะเข้ากรุงพัก อยู่ที่วัดบรมนิวาสบ้าง วัดเทพศิรินทร์บ้างในต่างจังหวัดบ้าง

ทุกวัดทุกสํานัก ไม่เคยรังเกียจ ในองค์ท่านเลย ยกตัวอย่าง เช่น ท่านพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านเจ้าคุณนรฯ (พระยานรรัตนราชมานิต) ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติแบบเงียบ ๆ นอกจากจะมีความศรัทธา เลื่อมใสแล้ว ท่านยังสนับสนุนโดยไม่เลือกนิกายอีกด้วย

การปฏิบัติธรรมของท่านสมัยนั้น นับว่าเป็นการปฏิบัติ อย่างชนิดเอาเป็นเอาตายกับกิเลสมารเลยทีเดียว

สมัยที่หลวงปู่สงฆ์ พรหมสโร หรือ “คุณพ่อสงฆ์หลวงปู่บุดดา ท่านเรียก เมื่อเกิดมีภัยมาถึงตัว ไม่ว่าสัตว์ร้าย หรือไข้ป่ารุมเร้า กายใจอย่างรุนแรง ท่านก็จะต้อง ให้คุณพ่อสงฆ์ช่วยปัดเป่าทุกครั้ง นี่แสดงได้ว่า

“ท่านเคยมีความ ผูกพันกันมาแต่อดีตชาติ เมื่อกลับมาชาตินี้ ท่านก็ยังสงเคราะห์กัน อยู่เช่นเดิม”

ปัจจุบันนี้ หลวงปู่บุดดา ถาวโร ท่านชราภาพมากแล้ว ถ้าจะอุปมา ก็เหมือนไม้ที่ใกล้จะผุพังไปตามกาล เราผู้เป็นศิษย์ นับได้ว่าลูกหลานของหลวงปู่ ถ้าแม้ยังความดีงามของท่านสู่จิตใจแล้ว คงจะได้พบกับสุข ความเจริญแก่ตัวท่านเอง

หลวงปู่บุดดา ถาวโร ท่าน เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่แตกฉานใน ทางธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์กล่าว คือ

“ท่านจะตอบปัญหาธรรมะ จากบุคคลที่เข้ากราบเรียนถามอย่างจะแจ้งชัดเจน และได้อ้างอิง ถึงข้อพุทธบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกหน้านั้น บทนั้นเลยทีเดียวทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็ไม่เคยศึกษาหา ความรู้ในการนี้มาก่อน

และการตอบปัญหาธรรม ก็จัดอยู่ในขั้นสูงทั้งสิ้น

แม้ว่า มีท่านผู้ปฏิบัติธรรม จะเรียนถามหลวงปู่ท่าน ท่านจะพูดหลักปฏิบัติที่เกิดจากธรรมะภายในใจอย่างชัดแจ้ง

“ภูมิธรรมปัญญาได้บังเกิดกับท่านนี้ เป็นที่บ่งชัดว่า ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในขั้นสูงองค์หนึ่งในประเทศไทย

ความเมตตาสงเคราะห์แก่บุคคลทุกเพศทุกวัยนั้นเสมอเหมือนกันทุกคน ไม่มีการแบ่งชั้นหรือยกเว้นแก่ผู้ใด

หลวงปู่บุดดา มีพร้อมทุกอย่างทางด้านคุณธรรมเหล่านี้ ท่านไม่เคยแสดงความอิดโรยต่อ การสั่งสอน

สิ่งที่เราท่านจะประจักษ์แจ้ง ก็ด้วยการเดินทางไปนมัสการ ท่าน ปฏิภาณอันแหลมคมฉับไว ท่านจะแสดงธรรมคําสอนตักเตือนให้ทุกคน มุ่งมั่นแต่สิ่งดีงาม

คือ ให้รักษาศีล อันเป็นพื้นฐานของชีวิต ที่ทุกคนเกิดมาแล้วจึงทําให้แจ้ง ปฏิบัติให้จริง

สมาธิ นําภูมิจิตภูมิใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย ทํากิจน้อยใหญ่ให้อยู่กับสมาธิ อย่าหวั่นไหวเอนเอียง

ปัญญา… นําภูมิธรรมทั้งปวง ที่มองเห็นด้วยตาสัมผัสได้ด้วยใจ มาตีความหมายในธรรมนั้นให้แตก รอบคอบ หมั่นพิจารณาอยู่ เสมอ ๆ

จิตใจที่อบรมมาดีแล้ว ปัญญาอันแหลมคมนั้น จะเป็นผู้พิพากษาตรึกตรองด้วยความเที่ยงธรรมและ เป็นปัญญาที่แน่นอนเชื่อผลได้

ฉะนั้น เราควรที่จะเดินทางไปกราบนมัสการท่านเสียแต่บัดนี้ จะเป็นคุณประโยชน์มากกว่า ก่อน ที่ท่านจะละสังขารจากพวกเราไป

ท่านสอนไว้ตอนหนึ่งว่า

“พระพุทธเจ้าท่านไปถึงที่สุดแล้ว เราเป็นผู้ดําเนินตาม ก็ควรรีบเร่ง…ท่านเข้าพระนิพพาน ก็ไม่ได้มีค่าผ่านประตูพระอรหันต์ ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าไปถึงแล้ว ได้เปล่า ไม่ต้องเสียค่าภาษีอากรอะไร ไม่มีค่าผ่านประตู พอไปถึงท่านก็ไม่ได้แบ่งภาคเป็นสาวกผู้หญิง สาวกผู้ชาย หมดสมมติ เป็นผู้ประเสริฐหมด!…”

ช่วงบั้นปลายชีวิต หลวงปู่บุดดาอาพาธหนัก คณะศิษย์นิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ประกอบพิธีนั่งกัมมัฏฐานช่วยต่ออายุให้หายจากอาการอาพาธ แต่ท่านมิอาจฝืนสังขาร

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันพุธที่ ๑๒ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๓๕ สิริอายุ ๑๐๐ ปี พรรษา ๗๒