วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร พระอรหันต์ผู้ประเสริฐดั่งพระจันทร์วันเพ็ญ

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร

วัดถ้ำผาผึ้ง
ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ 

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร เป็นพระป่าวิปัสสนากรรมฐานในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, ท่านพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

หลวงปู่บุญจันทร์ ท่านมีปฏิปทาน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก ท่านเป็นผู้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวเด็ดขาดผาดโผนมาโดยตลอด ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ท่านมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างหนักแน่น จึงได้กล่าวกับโยมพ่อว่า ทรัพย์สินที่ไร่ที่นาทั้งหลายให้ขายให้หมด หากท่านอยู่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ สึกออกมาท่านจะหาเอาเอง หากหาไม่ได้ก็จะกินดินแทนข้าว และยังได้บอกกับโยมพ่อด้วยว่า ทรัพย์สินของโยมพ่อก็ขายให้หมดด้วย แล้วเอาเงินไปทำบุญ โยมพ่อเองก็ให้ออกบวชเสีย หลวงปู่บุญจันทร์ เป็นพระผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว อาจหาญตามแบบครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ปฏิบัติมา ท่านเป็นอภิชาตบุตรโดยแท้ เพราะได้ชักนำให้โยมพ่อบวชพระและโยมแม่บวชชี เพื่อปฏิบัติธรรมจวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของโยมทั้งสอง

“มาหาเฮาทำไมตั้งไกล อยู่ใกล้ๆ ทำไมไม่ไปหาอาจารย์บุญจันทร์ กันท่านเป็นพระดีแท้เน้อ”

คำพูดนี้เป็นของ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ที่มักจะพูดกับชาวบ้าน อ.ฝาง หรือ อ.ไชยปราการ เมื่อไปกราบหลวงปู่แหวน ซึ่ง “อาจารย์บุญจันทร์” ที่ท่านพูดถึงก็คือ หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร นามเดิมท่านชื่อ นายบุญจันทร์ พงศ์สวัสดิ์ เกิดวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอังคาร เกิด ณ เมืองพล อำเภอพล ตำบลเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น

บิดาชื่อ นายเพียร พงศ์สวัสดิ์ มารดาชื่อ นางสงบ พงศ์สวัสดิ์ มารดาและบิดาเป็นชาวนา อาชีพทำนาทำสวน เมื่อเกิดมาแล้วมารดาและบิดาก็ได้เลี้ยงดูเจริญขึ้นตามลำดับ จนมีอายุได้ ๘ ปี ก็ได้ฝากให้เรียนหนังสือ ที่โรงเรียนประชาบาลเมืองพล จนเรียนจบประถมสี่ ก็ได้ออกจากโรงเรียนมาอยู่ที่บ้าน ช่วยบิดามารดาทำนาทำสวน

ครั้นอายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ชีวิตความเป็นหนุ่มก็กำลังเจริญขึ้น กิเลส ความโลภอยากได้ยินดี มันก็เจริญขึ้น จึงต้องทำงานต่างๆ ทำนาบ้าง ทำสวนบ้าง ค้าขายบ้าง หาปู หาปลา ทั้งวันทั้งคืน เพื่อเอามากิน เอามาเลี้ยงพ่อแม่ เอามาขาย เอาเงินเก็บหอมรอบ ริบ เพื่อจะมีครอบครัวในอนาคต จนอายุเจริญขึ้น ย่างเข้า ๒๑ ปี พ่อแม่ก็ปรารภเรื่องจะให้มีครอบครัว เจ้าตัวเองก็เลยคิดว่า ถ้าไปมีครอบครัว แล้วกลัวจะไม่ได้บวช ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตกลงใจว่า จะต้องบวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่เสียก่อน ถ้าอยู่ในศาสนาไม่ได้ สึกออกมา ก็ค่อยมีครอบครัวทีหลัง จึงบอกความประสงค์ให้พ่อแม่ทราบ ท่านก็ยินดีอนุโมทนาด้วย

ต่อมาท่านจึงนำไปฝาก ท่านอาจารย์ทองสุข ที่วัดป่ามัชฌิมวาส บ้านคึมชาติ เมืองพล เพื่อฝึกหัดครองนาคและฝึกขัอวัตรปฏิบัติในเบื้องต้น เช่น หัดกราบไหว้ หัดปฏิบัติครูบาอาจารย์ หัดกินข้าวหนเดียว หัดท่องครองนาค และฝึกทำนองมคธ ภาษา หัดไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติครูบาอาจารย์ ถวายน้ำใช้น้ำฉัน ตักน้ำใส่โอ่ง ส่วนบริขารเครื่องบวชนั้นบิดามารดาท่านเป็นเจ้าภาพจัดหา ตระเตรียมไว้เสร็จเรียบร้อย ไปหัดนาคอยู่ ๑๕ วัด บิดาท่านก็ได้ไปติดต่อพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเวลานั้นมี พระครูอนุโยคธรรมฌาน เป็นพระอุปัชฌาย์ มี อาจารย์มหาประสงค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้บรรพชาและอุปสมบทที่พัทธสีมา วัดสระจันทร์ เมื่ออายุ ๒๑ ปี วันที่ ๓๑ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๙๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ วัดสระจันทร์ ตำบลเมืองเกา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

เมื่อเสร็จการบรรพชาอุปสมบทแล้ว ก็ได้ลาพระอุปัชฌาย์ ไปจำพรรษาที่วัดป่ามัชฌิมวาส บ้านคึมชาติ มีท่านอาจารย์ทองสุข เป็นอาจารย์ ได้มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ท่าน ท่านก็แนะนำสั่งสอน ให้ท่องทำวัตรเช้าเย็น แนะนำให้ท่องสวดมนต์ แนะนำให้ท่องนวโกวาท แนะนำให้ดูหนังสือนักธรรมตรี ครั้นถึงเวลาเช้า ก็นำทำวัตรเช้า ตอนเย็นก็นำทำวัตรเย็น ตอนเช้า ตื่นระยะเวลา ตี ๓-๔ ก็ลงมาที่ศาลา ปัดกวาดบนศาลา เสร็จก็ปูเสื่อ ปูอาสนะ ที่นั่งของอาจารย์ และพระตามลำดับ ตั้งน้ำฉัน ตั้งกระโถนเตรียมบาตร เมื่อถึงเวลาออกบิณบาตประมาณ ๗ โมง ก็ไปบิณฑบาต บ้านคึมชาติบ้าง บ้านเหล่านาคีบ้าง บิณฑบาตเสร็จก็กลับมาฉันที่ศาลาภายในวัด จัดแจงอาหารแจกจ่ายกันทั่วถึง แล้วก็ลงมือฉันด้วยสำรวม ฉันเฉพาะในบาตร ฉันวันละครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อฉันเสร็จก็นำบาตรไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง เอาผึ่งแดดพอสมควร แล้วก็เอาใส่สลกตั้งไว้ แล้วก็ช่วยกันปัดกวาดศาลา เก็บเสื่อเก็บอาสนะ เก็บกระโถน ที่ล้างแล้วก็เอามาเช็ดให้แห้ง แล้วนำไปเก็บไว้ให้เรียบร้อย ต่อมาก็เก็บบาตร และเครื่องใช้ของตนไปกุฏิ เอาบาตรและบริขารอื่นไปไว้แล้ว ก็เตรียมท่องหนังสือสูตรไหน ที่ยังไม่ได้ก็เตรียมท่องต่อไป

ระหว่างที่เป็นนวกภิกษุผู้บวชใหม่ กิจที่จะต้องศึกษายังมีมาก ต้องอาศัยความเพียร ความอดทน บางทีท่องหนังสือไป มันเหนื่อย ก็หยุดพัก ภาวนา พุทโธ พุทโธ บางทีก็พิจารณากายในอาการสามสิบสอง โดยความเป็นปฏิกูลบ้าง บางครั้ง ก็ กำหนดลมหายใจเข้าออก พร้อมทั้งคำบริกรรม พุทโธ พุทโธ

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มีโยมชาวบ้านเขาตาย เขาก็มานิมนต์พระไปให้บุญคนตาย คือนิมนต์ไปสวดมาติกาและบีงสุกุล ก็มานึกในใจว่า คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย เวลาตายลง เขามีบ้านมีเรือน ก็เอาไปไม่ได้ เขามีวัตถุ ข้าวของ เงินทองก็ เอาไปไม่ได้ บางคนทรัพย์สินเงินทองข้าวของมากมี เวลาตายเป็นผี เอาไปไม่ได้ ความตายนี้ไม่มีอะไรป้องกัน คนเกิดมาแล้ว ต้องแก่ เจ็บ ตาย กันทั้งนั้น อย่าว่าแต่คนอื่นจะตายเลย ตัวเราก็จะต้องตายเหมือนกัน เมื่อความตายมาถึงเรา เราจะเอาอะไรในกายนี้ แม่แต่ผมเส้นเดียวก็เอาไม่ได้

เมื่อพิจารณาไป ก็เกิดสังเวชสลดใจ จึงได้พิจารณากายตัวเอง ถึงมรณานุสติ มากเข้า ต่อนั้นมา การพิจารณากายคสติ กับมรณานุสติ มักจะไปด้วยกัน แต่ในตอนนั้น มันเป็นพรรษาแรก ไหนจะเจริญกรรมฐานบ้าง ไหนจะไปท่องสวดมนต์บ้าง ไหนจะไปดูธรรมะบ้าง ไหนถึงเวลาทำข้อวัตรก็ต้องเบ่งเวลาไปทำ รู้สึกว่าการเจริญกรรมฐานยังได้น้อย

บางครั้งตัณหา กิเลส มันก็แสดงออกไปภายนอก เพราะไปนึกถึงเรื่องอดีต ที่พ่อ แม่แบ่งนาไว้ให้ แบ่งสวนไว้ให้ แบ่งวัวแบ่งควายไว้ให้ และพ่อก็ไปขอสาวไว้ให้ แม่ก็ไปขอสาวไว้ให้ ถ้าสึกมาเมื่อไร ก็จะได้แต่งงานกัน

คิดทางโลก ซึ่งเป็นเรื่องกามวัตถุ เมื่อคิดไปแล้วมันก็คิดทบทวน มาหาคนที่ตาย เห็นไหมผู้หญิงคนนั้นตาย เขาก็เอา เผาไฟ ไฟก้ไหม้หมด ไหม้หัว ไหม้หน้าตา ที่สวยงามๆ ไหม้แขน ไหม้มือ ไหม้ตัว ไหม้ขา ไหม้แข้ง ไหม้ตีน ไหม้หมด ทั้งหนังเนื้อเส้นเอ็นและกระดูก แม้แต่ตัวเขา ก็เอาอะไรไม่ได้ มีวัตถุข้าวของเงินทองมากมายได้อะไร ใจรู้ไหม ใจเห็นไหม ใจนี้มันตายไหม ถ้าใจมันตาย ไปด้วยกัน เอาไปเผาหมดทั้งกาย ทั้งใจเห็นจะดี ไม่มีกาย ไม่มีใจแล้ว เห็นจะไม่มี ทุกข์ยากลำบากอะไร แต่ในหนังสือธรรมะ ท่านว่า ใจไม่ตาย กายตาย ใจไปเกิดอีก เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นเรื่องของกรรม ถ้าทำกรรมดี ใจก็ไปเกิดที่ดี ถ้าทำกรรมชั่ว ใจก็ไปเกิดที่ชั่ว

เมื่อมีความเห็นอย่างนี้ใจก็น้อมไปในการเจริญกรรมฐานมากขึ้น ตายไม่ได้อะไร สึกไปทำไมา ถ้าสึกไปเอาเมีย เมียมัน ก็ตาย ตัวเราก็ตาย คนทั้งโลกตายกันทั้งนั้น ไม่มีใครได้อะไร สมบัติเครื่องใช้ในโลกชั่วคราว ดูซิ เศรษฐีมีเงิน ร้อยล้านพัน ล้านตายลง บาทเดียวก็เอาไม่ได้ ในเวลามีชีวิตอยู่ลุ่มหลงมัวเมาหาแต่วัตถุ ข้าวของเงินทอง เมาเสียจนมืด สิ้นบุญกุศล จะให้ทานก็กลัวแต่มันจะหมด เรื่องหมดไม่ชอบ ชอบแต่เรื่องร่ำรวยมั่งมี ยิ่งมียิ่งตระหนี่ขี้เหนียว เศรษฐีบางคนเอาทรัพย์ไปซ่อนไว้ เอาไปฝังไว้ กลัวลูกหลานเขาจะแย่งเอาไป เวลาตายก็ไปเป็นผี เฝ้าเงินเฝ้าทอง ยิ่งทำโทษหนักให้แก่ตัวเอง เพราะหลงมืดมน ไม่สนใจในธรรมะ จึงไม่รู้จักประโยชน์การใช้เงิน

ในใจมันหลงมัวเมา ในกิเลสกามและวัตถุกาม จนมืดมนอนธการ หลงบ้านเรา หลงผัวเรา หลงเมียเรา หลงลูกเรา หลงหลานเรา หลงญาติมิตรพี่น้องเรา ใจเมาในสังขารจนตาย ก็ไปเกิดกับสังขารอีก เป็นอย่างนี้มาหลายร้อยหลายพันกัปมาแล้ว ยังหลงต่อ ไปในอนาคต

คนคงจะระลึกได้รู้ใจละมั้ง ไม่ว่าแต่วัตถุข้าวของเงินทองภายนอก ตัวของคุณนี้แหละ ตายจริงๆนะ ถือเอาอะไรเลย ก็ไม่ได้ในาร่างกายนี้ ใช้รอเวลาเท่านั้นแหละ ใจอย่าไปลุ่มหลงมัวเมามันนัก ใจที่ไม่ตายนี้ มีทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง

อริยทรัพย์ สัทธาธนัง ใจมีไหม
อริยทรัพย์คือศีลธนัง ใจมีไหม
อริยทรัพย์คือหิริธนัง ในมีไหม
อริยทรัพย์คือ โอตตัปปธนัง ใจมีไหม
อริยทรัพย์คือ สุตธนัง ใจมีไหม
อริยทรัพย์คือ จาคธนัง ใจมีไหม
อริยทรัพย์คือ ปัญญาธนัง ใจมีไหม

ถ้าใจมีอริยทรัพย์ท่านเรียกว่า ใจไม่จน

ถ้ามีโภคทรัพย์ข้าว ของเงินทอง บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา อันเทรัพย์เครื่องใช้ในโลก ใจเอาไม่ได้ ร่างกายตายแล้ว ก็ทิ้งไว้ในโลกทุกคน จะตายกันหมดทุกคน จะไม่ได้อะไร แม้ขันธาธิโลก ก็ทิ้งเอาไว้ในโลก ฉะนั้นท่านผู้รู้จึงเตือนเอาไว้ว่า อย่าประมาทตาย ตายนะ รีบกินรีบใช้ รีบทำบุญ เดี๋ยวตาย อย่าไปมัวอ้างกาล อ้างเวลาอยู่

ในปีแรกนี้ การศึกษาธรรมะ การเล่าเรียนก็ดำเนินต่อไปเพราะได้คติธรรม คือ มรณานุสติ สอนใจ เมื่ออยู่จำพรรษา วัดป่าคึมชาติ จนออกพรรษาแล้ว ก็ได้กราบลาท่านอาจารย์ ์ไปเยี่ยมโยมบิดา มารดาที่บ้านแฮด ก็ได้พักที่วัดป่า มีหลวงพ่อ อิสสโร ท่านอยู่ที่นั้น เมื่อพักอยู่ที่นั้น ก้ได้ฟังธรรมจากท่าน แนะนำสั่งสอนมีหลายอุบาย แต่อารมณ์กรรมฐาน ท่านใช้ กายคตาสติ กับพุทโธ ใจบริกรรมพุทโธ แล้วพิจารณา ในอาการสิมสิบสอง พิจารณาในความเป็นของปฏิกูลบ้าง พิจารณาความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อนัตตาบ้าง

ครั้นอยู่ต่อมา ท่านก็เป็นโรคเท้าบวม หลังเท้าของท่านบวมเป็นหนอง เดินไปมาลำบาก การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะต้องใช้กระโถน ญาติโยมช่วยหายามารักษา ท่านทั้งยาทา ทั้งยากิน ทั้งยาประคบ แต่อาการไม่ทุเลา อาการบวมพองกลัดหนองข้างใน ฉันก็ไม่ค่อยได้ นอนก็ไม่ค่อยหลับ เราก็ได้เฝ้าดูแลการรักษพยาบาลท่าน มาในคืนหนึ่ง ปรากฏอาการเจ็บปวดรุนแรงมาก เราก็เอายาทาให้และช่วยตักเตือนท่าน ให้ระลึกพุทโธ และเตือนท่านให้ละความยึดมั่นถือ มั่น บางครั้งเราก็เป่าให้ท่าน แต่รู้สึกว่า อาการของ โรครุนแรงมาก เท้าที่แตก หนองไหลออกมา แทนที่ว่าอาการจะเบาลง กลับกำเริบแรงกล้า จนถึงเท่านสิ้นลมหายใจตายลงในคืนนั้นเอง

พระเณรที่เฝ้าอยู่และญาติโยมได้เห็นก็เกิดสังเวชสลดใจ จนถึงเวลาเช้า ก็ไปบอกญาติโยม ทางในบ้าน และส่งข่าวไปถึง ท่านอาจารย์สีโห ท่านก็ได้พาพระเณร มาจากวัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ เมื่อท่านมาแล้วก็ได้บอกให้โยมทำหีบ เมื่อทำ เสร็จแล้ว ก็เอาขึ้นมาที่ศาลา เพราะท่านพักอยู่ศาลา ทำพิธีรดน้ำศพแล้วก็เอาศพของท่านบรรจุลงในหีบ ทำพิธีสวดมติกา และชักอนิจจา ต่อมาเมื่อคณะสงฆ์มีท่านอาจารย์สีโห เป็นประธาน พร้อมพระเณร ญาติโยม ก็ได้พากันทำฌาปกิจ ที่วัดนั่นเอง เวลาจูงศพท่านไปขึ้นเชิงตะกอน แล้วทำพิธีชักผ้าบังสุกุลเสร็จ ก็พากันใส่ดอกไม้จันทน์แล้วก็เผาที่นั่นเอง

ขณะที่เผาศพของท่าน ก็ได้ยืนดูพิจารณาไฟที่ไหม้ ไหม้กระดาษ ไหม้โลงพังออก เห็นตัวท่านไฟไหม้ผ้าจีวรที่คลุม ไหม้สบง ไหม้อังสะ ไหม้หัว ไหม้หน้า ไหม้ตา ไหม้หู ไหม้จมูก ไหม้ปากและไหม้ลำคอ ไหม้แขน ไหม้มือ ไฟไหม้อก ไฟ ไหม้ลำตัว ไฟไหม้หลัง ไฟไหม้สีข้างทั้งสอง ไฟไหม้ท้อง ไฟไหม้ขา ไฟไหม้แข้ง ไฟไหม้หนัง แล้วก็ไหม้เนื้อ ไหม้เข้าไปใน เส้น ไหม้ม้าม ไหม้เนื้อหัวใจ ไหม้ตับ ไหม้ไต ไหม้ไส้พุง มีเลือด น้ำเหลืองหลั่งไหลออกมา ไฟก้ไหม้ไปจนหมดเหลือแต่ กระดูกขาว กองอยู่ ปนกับถ่าน

นี้แลหนอจุดจบของร่างกาย ไม่ว่าคน ไม่ว่าสัตว์ ตายแล้วไม่เผากัฝัง มองเห้นเด่นชัดว่า ตายไม่ได้อะไร จบลงแค่ตาย จบลงแค่เผา แค่ฝัง หมดทุกข์ เรื่องบริหารร่างกาย ไม่ต้องกินข้าวกินน้ำ ไม่ต้องทำงานทำการ ข้าวของเงินทอง บางคนหา ไว้เยอะ เมื่อยังไม่ตาย เมื่อตายแล้ว เอาอะไรไม่ได้ ฉะนั้นนักปราชญ์บัณฑิต จึงเตือนให้ระลึกถึงบุญ ตรวจตรองบุญว่า บุญ บารมีเราพอหรือยัง ถ้ายังไม่พอ ให้รีบทำนะ เดี๋ยวตาย จะเสียใจว่า ไม่ได้ทำบุญ ผู้จะรับผลบุญผลบาป ก็คือใจที่ไม่ตาย เมื่อ พิจารณาเขาก็มาพิจาณาเราตายเหมือนกัน ล่วงพ้นความตายไม่ได้ ก่อนความตายมาถึง ต้องรวบรวมบุญ กุศลมรรคผล ให้ถึงพร้อมภายในใจ

เมื่อเสร็จสิ้นการทำฌาปนกิจเศษอัฐิธาตุของท่านแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลอีกครั้งสุดท้าย อุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ ท่านอีก ครั้นต่อมา พระเณรครูบาอาจารย์ที่ท่านมาในงาน ท่านกลับไปวัดท่านยังเหลืออยุ่สามรูป ก็มีแต่พระบวชใหม่ เพิ่ง ได้พรรษาเดียว จิตใจก็หว้าเหว่ นึกหาครูบาอาจารย์อีก เพราะตนยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ทั้งทางปริยัติและทางปฏิบัติ ก็คิดจะลาญาติ โยมไปจังหวัดอุดร จึงได้ไปหาโยมบิดา เล่าความประสงค์ให้ท่านฟัง โยมบิดา บอกว่าจะเอานาไว้ให้ จะเอาสวนให้ จะเอา วัวให้ จะเอาควายให้ ถ้าสึกออกมา ก็จะหาภรรยาให้ จะมอบทรัพย์สมบัติให้ ก็เลยพูกับท่านว่า พ่อ ไม่ต้องห่วงอาตมา ถ้า อาตมาอยู่ในศาสนาไม่ได้ สึกออกมา จะหาเอาเอง ถ้าหาเอาเองไม่ได้ จะพามันกินดิน ได้พูดกับท่านอย่างนี้ และได้บอกท่านว่า เอาขายเสียให้หมด แล้วเอาเงินไปทำบุญ โยมพ่อเองก็ให้ออกบวชเสีย

เมื่ออาตมาพูดท่านก็ฟัง แล้วท่านก็พูดออกมาว่า จะขายให้หมดแล้ว จะออกบวช เมื่อได้พูดปรับเความเข้าใจกันแล้ว อาตมาก็ลาท่าน พ่อไปส่งที่สถานีรถไฟบ้านแฮด อาตมาก็ขึ้นรถไฟไปอุดร ไปขอจำพรรษาที่วัดทิพยรัตน์ มีท่านอาจารย์ฐิน เป็นเจ้าอาวาส เมื่อจำพรรษาที่วัดทิพย์รัตน์ ก็ได้เรียนนักธรรมโท และท่องสวดมนต์แปลด้วย และได้ท่องปฏิโมกข์ด้วย จนออกพรรษาได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่ชอบ จำพรรษาอยู่หนองวัวซอ จึงคิดว่าจะไปกราบนมัสการท่าน เพื่อขอฟังธรรมคำสั่ง สอน จึงได้ไปขออนุญาติท่านอาจารย์ฐิน ก็เลยเตรียมเอาบริขารของตน ลาท่านเดินทางไป

เมื่อถึงวัดบ้านเล่า ท่านอาจารย์แพท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็เลยพูดให้ฟัง ว่าหลวงปู่ชอบ ท่านขึ้นไปเชียงใหม่แล้ว ไม่ทัน ก็เลยลาท่านอาจารย์กลับมาวัดทิพย์อีก จนรับกฐินเสร็จ ก็ได้ลาท่านอาจารย์ฐิน บอกท่านว่า จะไปเชียงใหม่ เพื่อตาม หาหลวงปู่ชอบ ก็ได้ออกเดินทาง ผ่านบ้านตาดไปอำเภอผือ ไปขอพักที่วัดป่าอำเภอผือ มีอาจารย์บุญมา อยู่ที่นั่น เริ่มสวดปาฏิโมกข์ ครั้งแรกที่วัดป่า อำเภอผือนั้น

ครั้นวันหลังต่อมา ก็ได้ลาอาจารย์บุญมา ออกเดินทางไปพักวัดบ้านค้อ มีอาจารย์คำมีอยู่ที่นั่น ได้พักที่วัดป่าบ้านค้อ หลายวัน ต่อมาก็ได้ลาอาจารย์คำมี เดินทางต่อไป พักที่พระบาทบัวบก ต่อมาก็ย้ายไปพักที่ถ้าพระนาผักหอก พักภาวนาอยู่ที่ นั่นหลายวัน ต่อมาก็ได้ไป พักที่บ้านคึมสะโนด มีบ้านสามหลัง ตอนในพรรษา หลวงปู่หล้า ท่านได้จำพรรษาที่นั้น เมื่อ ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ย้ายไปอยู่ถ้ำพระนาหลวง ก็คิดจะไปกราบนมัสการ เพื่อขอฟังธรรม ข้อปฏิบัติจากท่าน ต่อมาก็ได้ลา โยมที่นั่นเดินทางไปพักที่บ้านน้ำซึม ต่อมาก้ได้ไปพักที่บ้านนาเก็น โยมบ้านนาเก็นนี้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น คนหนึ่งชื่อผู้ใหญ่เหี่ยว ไปเห็นที่ไร่ที่นาดี ก็เลยสึกมีครอบครัวอยู่ที่นั่น

ก็ได้พักภาวนาอยู่ใกล้บ้านนาเก็น เขาไปทำที่พักให้ข้างทางช้าง ช้างออกจาดงมาก็มากินน้ำ สมัยนั้นสี่สิบกว่าปีมาแล้ว ช้าง เสือ กวาง ฟาน หมู ไก่ป่า อย่างนี้ชุกชุม โยมเาทำที่พักข้างทางช้าง เขาจะลองดูว่าอาตมาจะกลัวไหม บุญรักษาอาตมา ก็มีคำว่าบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ เท่านี้เป็นอารมณ์อยู่ภายในใจ แต่ปรากฏว่าช้างไม่ลงมากินน้ำ ช่วงที่อาตมาพักภาวนา อยู่ที่นั้น พักภาวนาอยู่หลายวัน ก็เลยลาโยม เดินทางไปบ้านสว่าง ที่วัดป่าบ้านสว่างนั้น มีหลวงปู่จันทร์อยู่ หลวงปู่จันทร์ ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น พักภาวนาอยู่กับท่านหลายวัน เลยขอให้โยมเขาพาไปหาหลวงปู่หล้า ที่ถ้ำพระนาหลวง ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ถ้ำผาตัก ขอให้โยมไปส่ง เขาไม่รู้จักก็เลยไม่ได้พลหลวงปู่หล้า จึงได้กลับมาพักที่วัดป่าบ้านสว่างอีก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมตตาเสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองอุโบสถ วัดถ้ำผาผึ้ง บ้านถ้ำผาผึ้ง ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ โดยมี “พระอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร” (องค์ขวาสุด)
และหลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร ตลอดจนคณะพระภิกษุมาร่วมกันถวายการต้อนรับ

ต่อมาได้ลาหลวงปู่จันทร์ เดินทางผ่านบ้านปากลาง เดินทางผ่านดงปากเจียง ในดงนนี้มีช้างมาก มีช้างสีดอตัวหนึ่ง ไม่กลัวคน เห็นคนมันจะไล่ โยมเขาบอกว่า ครูบาเดินผ่านดงนี้ ให้ระวังช้าง ถ้าเห็นช้างหมู่ให้เป่ามือ มันจะแตกหนีไป ถ้าเห็นช้างสีดอ ให้หลบให้ดีมันจะไล่ เราก็มีของดีคือ พุทโธ ไม่ต้องกลัว พุทโธป้องกันภัยอันตรายทุกอย่าง เดินไปจนเป็นเวลาบ่ายสี่โมงกว่า จึงข้ามพ้นจากดง ไปถึงบ้านหนอง บ้านนี้อยู่ฝั่งโขง ก็เดินผ่านบ้านหนองไปใกล้จะถึงบ้านหาดเบี้ย จึงพักปักกลด นอนจนถึงรุ่งเช้า บิณฑบาตบ้านหาดเบี้ย โยมใส่บาตรดีเหลือเกิน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ เมื่อฉันแล้วล้างบาตร เช็ด บาตรแห้งดีแล้ว ก็เอาผ้าครอง สิ่งของเอาใส่ในบาตร เตรียมเดินทางต่อไป

จำพรรษาที่ลำปาง คือ วัดป่าสำราญนิวาส เกาะคา ลำปาง ขณะที่ท่านนั่งทำสมาธิอยู่นั้น มีคนวิกลจริตเดินเข้ามาในวัด ถือมีดมาไล่ฟันคนในวัด ผู้คนแตกตื่นกันหมด ยิ่งไปกว่านั้น คนวิกลจริตผู้นั้นวิ่งตรงเข้าไปหาโยมแม่ของท่าน ซึ่งปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่น ท่านได้ยินเสียงอึกทึกจึงออกมาดู ไม่นึกว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นในวัด คนวิกลจริตผู้นั้นวิ่งเข้าไปที่กุฏิโยมแม่ของท่าน แล้วเงื้อมีดฟันลงที่คอโยมแม่เกือบขาด โยมแม่สิ้นใจต่อหน้าของท่าน ขณะที่เข้าไปช่วย ปรากฏว่า เมื่อภาพอันเสียดแทงใจทำลายจิตใจของมนุษย์ปุถุชนอย่างรุนแรง เมื่อท่านเห็นแล้วท่านพิจารณาและหันหลังกลับไปที่กุฏิของท่าน ภาวนาเพื่อดับความสลดสังเวชอย่างสงบ

เมื่อเริ่มแรกที่ท่านมาสร้างวัดถ้ำผาผึ้งใหม่ๆ ท่านต้องระเบิดหินเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างวัด และทางเดิน ท่านไม่ได้ใช้ระเบิดลูกเกลี้ยง แต่ท่านใช้ไดนาไมต์มาระเบิดหิน พอวางชนวนเสร็จท่านก็เดินออกไป

น่าแปลกใจ ระเบิดไม่ทำงานสักที ท่านจึงเดินไปดู พระเณรที่อยู่ด้วยก็เฉย ไม่ไปด้วย คิดว่าไม่มีอะไร แต่เมื่อท่านเดินไปถึงจุดฝังไดนาไมต์ ระเบิดก็ทำงานทันที เสียงระเบิดดังบึ้มๆๆ สนั่นหวั่นไหว ฝุ่นฟุ้งตลบเป็นวงกว้าง พระเณรต่างตาลีตาเหลือกมองหน้ากัน ท่านเดินออกมาเอามือปัดอังสะสองสามที ไม่เป็นไรเลยแม้แต่น้อย

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ผู้ที่ได้รับฉายาจากองค์ท่านหลวงปู่ชอบว่า “พระอรหันต์ผู้ประเสริฐดั่งพระจันทร์วันเพ็ญ
หลวงปู่ชอบท่านเล่าเรื่องหลวงปู่บุญจันทร์วัดถ้ำผาผึ้งเชียงใหม่ให้ฟัง ท่านบอก ท่านบุญจันทร์เป็นลูกศิษย์เราอีกองค์หนึ่งที่รู้ธรรมเร็วตั้งแต่พรรษาเจ็ด เราอยู่บ้านหนองอ้อกับท่านอาจารย์ขาว

เรานิมิตเห็นช้างเผือกมาหมอบลงต่อหน้าเอาดอกไม้ธูปเทียนถวายเรา เราพูดเรื่องนี้ให้อาจารย์ขาวฟัง อาจารย์ขาวท่านบอกอาจารย์ชอบจะได้ช้างเผือกมาเลี้ยงอีกเชือกหนึ่ง..

ไม่กี่วันท่านบุญจันทร์ก็มาหาเรา ตอนค่ำวันนั้นเราเดินจงกรมอยู่ข้างที่พักเห็นท่านบุญจันทร์แบกบาตรสะพายกลดเข้ามาหา ท่านถามเราว่าอาจารย์ อาจารย์ชอบท่านพักอยู่นี่บ่ เราก็บอกเรานี่แหละคืออาจารย์ชอบ ท่านบุญจันทร์คุกเข่าลงพนมมือไหว้เรา..

เราถามไปจั่งใด๋มาจั่งใด๋ถึงได้มาหาเราถึงที่นี่ ท่านบุญจันทร์บอกข้าน้อยมาจากเมืองขอนแก่นตั้งใจจะมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านอาจารย์อ่อนบอกว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาพักอยู่ที่นี่ข้าน้อยเลยตามมาหา ตอนท่านจันทร์มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรา ท่านจันทร์พรรษาสี่(หน้าหนาวต้นปี ๒๔๙๔)..

ท่านจันทร์เล่าเรื่องภาวนาให้เราฟัง จิตท่านจันทร์สว่างนิ่งมาสามสี่ปีหาทางออกไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะออกจากอาการที่จิตเป็นแบบนี้ได้..
เราบอกนี่จิตท่านมันเป็นสมถะเต็มภูมินะ จิตเป็นแบบนี้ยังไม่พ้นทุกข์ ภูมิชั้นนี้ยังเป็นภูมิโลกไม่ใช่ภูมิพระ ภูมิแบบนี้ฤษีชีไพรก็เป็นได้เหมือนกัน เราก็บอกท่านจันทร์ให้ถอนจิตออกมาจากชั้นอัปปนาสมาธิ

ให้ทรงจิตอยู่กึ่งกลางระหว่างอัปปนากับอุปจาระ หมุนจิตเข้ามาพิจารณาในกายของตน พิจารณากายส่วนไหนก็ได้ตามที่นิสัยของจิตมันชอบ ให้พิจารณาเข้าออกๆอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจิตมันจะชำนิชำนาญแตกฉานในอสุภกรรมฐาน..

จิตท่านจันทร์จะชำนาญในการพิจารณากระดูก ท่านจันทร์พิจารณากระดูกจนแตกละเอียดอยู่ถ้ำปากเปียงเชียงใหม่ ท่านจันทร์ถามเราว่า

ข้าน้อยพิจารณากระดูกจนแหลกป่นปี้หมดแล้ว

เราก็ถามว่าได้กำหนดตั้งรูปมันขึ้นมาพิจารณาอีกบ่

ท่านจันทร์บอกข้าน้อยกำหนดขึ้นมาเป็นรูปได้ พอจะพิจารณากระดูกทั้งหลายก็แตกสลายป่นปี้ไปหมด มันจะพังพาบๆอยู่อย่างนี้..

เราบอกท่านจันทร์ ท่านพ้นกามในสิ่งที่เป็นของหยาบไปได้แล้ว ถึงท่านจะกำหนดรูปขึ้นมาได้ พอเดินปัญญาเข้าไป สิ่งเหล่านี้ก็จะพังพาบลงทันที เพราะจิตมันขาดกันไปแล้วกับธรรมส่วนที่เป็นของหยาบ จิตท่านพ้นจากรูปธรรมที่เป็นของหยาบไปแล้ว ต่อไปให้พิจารณาในส่วนที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นของละเอียด..

ให้ท่านจับเงื่อนเวทนาเข้าไปให้เห็นสัญญา พิจารณาสัญญาเข้าไปให้เห็นสังขาร พิจารณาสังขารเข้าไปให้เห็นวิญญาณ พิจารณาวิญญาณเข้าไปให้เห็นอวิชชาปัจยการ เมื่อเห็นอวิชชาปัจยการแล้ว ทุกอย่างมันจะถูกมหาสติมหาปัญญาทำลายลงไปทั้งหมด จิตจะเป็นธรรมธาตุยิ่งใหญ่..

ถึงตอนนั้นท่านบ่ต้องไปถามใครอีกแล้วว่าท่านเป็นอะไร..

หลังจากองค์ท่านหลวงปู่ชอบให้อุบายธรรมแก่ หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร ท่านก็มาพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ห้วยน้ำริน หลวงปู่บุญจันทร์ท่านรับเอาอุบายธรรมจากองค์ท่านหลวงปู่ชอบไปปฏิบัติ

หลวงปู่บุญจันทร์ท่านพิจารณาในนามธรรมซึ่งเป็นธรรมอันละเอียดอ่อนอยู่ห้าหกเดือน..

หลวงปู่บุญจันทร์ ท่านก็บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ “ฉฬภิญโญ” เมื่อปีพุทธศักราช พ.ศ.๒๔๙๖ ที่ วัดถ้ำปากเปียง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่..

เรื่องนี้หลวงปู่ชอบท่านย้ำให้บันทึกไว้ ท่านบอกต่อไปถ้าเราตายไปแล้วท่านจะถามใครไม่ได้อีกในเรื่องภาคปฏิบัติ..
๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๖ ที่ห้องพักหลวงปู่ชอบศาลาบำเพ็ญกุศลวัดป่าโคกมน

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร ท่านได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๓ สิริอายุ ๗๔ ปี

หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร ท่านเป็นพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่อัฐิ, เกศา เป็นพระธาตุเฉกเช่นเดียวกับพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านอื่นๆ ปฏิปทาของหลวงพ่อบุญจันทร์ ท่านมุ่งเน้นไปในทางอบรมสั่งสอนธรรมะให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนญาติโยมที่มากราบนมัสการเป็นสำคัญ

พระธาตุหลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร แปรสภาพจากเถ้าอังคาร
อัฐิธาตุหลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร กำลังแปรสภาพเป็นพระธาตุ
เกศาหลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร กำลังแปรสภาพเป็นพระธาตุ