ประวัติ และปฏิปทา
หลวงปู่คําสิงห์ สุภัทโท
วัดสิงหารินทาราม
อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
◎ ชาติภูมิ
หลวงปู่คำสิงห์ สุภัทฺโท นามเดิมชื่อ คําสิงห์ โพธิสาร เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ปีชวด ณ บ้านดอนลบปะดี เมืองมะโนไพร แขวงจําปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บิดาชื่อ นายทองคำ โพธิสาร และมารดาชื่อ นางปทุมมา โพธิสารมี พี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด จํานวน ๖ คน ดังนี้
๑. นางไข โพธิสาร
๒. นางมา โพธิสาร
๓. นางรวง โพธิสาร
๔. พระครูภาวนานุศิษฎ์ (หลวงปู่คําสิงห์ สุภัทโท)
๕. นายเผือก โพธิสาร
๖. นายสุด โพธิสาร
◎ ชีวิตปฐมวัย
สมัยนั้นการศึกษายังไม่เจริญทั่วถึง หลวงปู่คำสิงห์จึงได้ศึกษาเทียบเท่า ป.๔ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากหลวงปู่มีความสนใจทางศาสนา จึงได้เบนเข็มมาศึกษาพุทธศาสนา
◎ ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
อายุ ๑๗ ปี (พ.ศ.๒๔๗๒) บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านลบปะดี
อายุ ๒๑ ปี (พ.ศ.๒๔๗๖) อุปสมบทเป็นพระ ที่วัดโพธิ์ศรี บ้านลบปะดี เมืองมะโนไพร นครจําปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๙.๐๕ น.
อายุ ๔๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๗) ได้มาก่อตั้งวัดสิงหารินทาราม บ้านท่าไร่ ต.ดงบัง อ.เซกา จ.หนองคาย (ปัจจุบันคือ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ) (ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนเป็น บ้านท่าโร่ไทยเจริญ ต.ท่าดอกดํา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ)
อายุ ๔๗ ปี (พ.ศ. ๒๕๐๒) วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้ย้ายไปจําพรรษาที่ วัดศรีโสภณธรรมทาน ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬ)
อายุ ๔๘ ปี (พ.ศ.๒๕๐๓) ถึงอายุ ๕๔ ปี (พ.ศ.๒๕o๙) หลวงปู่คำสิงห์ ได้ย้ายไปปฏิบัติธรรม (วิปัสสนากรรมฐาน) อิริยาบถทั้ง ๔ และอานาปานสติ ที่วัดโชติรสธรรมากร (วัดป่าอําเภอบึงกาฬ) โดย พระอาจารย์บุญมาก ธรรมมฐิโต เป็นพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน
อายุ ๕๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๐) ได้กลับไปวัดสิงหารินทาราม และได้ไปปฏิบัติธรรมหลายที่ ไม่สามารถระบุรายละเอียดได้
อายุ ๖๖ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๑) หลวงปู่คำสิงห์ได้กลับไปจําพรรษาที่วัดสิงหารินทารามอีกครั้ง
อายุ ๗๔ปี (พ.ศ. ๒๕๒๙) ถึงอายุ ๗๗ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๒) ได้ไปปฏิบัติธรรม ที่วัดถ้ำโขง ภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย
อายุ ๗๘ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๓) หลวงปู่ได้กลับมาจําพรรษาที่วัดสิงหารินทาราม และไม่ได้ย้ายไปจําพรรษาที่ไหนอีกเลย
อายุ ๘๙ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๔) หลวงปู่ได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา อาการสงบ เมื่อวันพุธ ที่ ๔ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ขึ้น ๖ ค่ำ เวลา ๐๖.๐๐ น.
◎ สมณศักดิ์
สมณศักดิ์ที่ได้รับแต่ละครั้งหลวงปู่จะไม่ยึดติดจะวางเฉยเสียทุกครั้ง ทําไปตามความเหมาะสมของบ้านเมืองมากกว่า ท่านจะเป็นพระที่ง่ายๆ คือ ไม่ชอบท่าอะไรที่ใหญ่โต หรือเพื่อหน้าตา สงบเสงี่ยมเจียมตน เรียบง่ายเสมอ จึงไม่ใช่ง่ายๆแบบมักง่าย) ดังมีลำดับดังนี้
- อายุ ๕๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๐) เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับตราตั้งให้ดํารงตําแหน่ง “เจ้าอาวาส วัดสิงหารินทาราม
- อายุ ๖๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๘) ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ ในพระราชทินนามที่ “พระครูภาวนานุศิษฐ์” เมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
- อายุ ๘๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๐) ได้รับเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ ตําแหน่ง พระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชันเอก เนื่องในโอกาสพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยพระบรมราชานุญาต
◎ การตั้งสํานักสงฆ์
- ก่อตั้งวัดสิงหารินทาราม (พ.ศ.๒๔๙๗) บ้านท่าไร่ไทยเจริญ ต.ท่าดอกคํา อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย มีพื้นที่ประมาณจํานวน ๕๘ ไร่ เจ้าอาวาสปัจจุบัน : พระยอดชัย ปัญญาวชิโร
- วัดถ้ำโขง ภูวัว (พ.ศ. ๒๕๒๙) ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย มีพื้นที่จํานวน ประมาณ ๕๐๐ ไร่ เจ้าอาวาสปัจจุบัน : พระถนอม เตชธัมโม
- วัดธรรมมงคล (พ.ศ. ๒๕๔๑) บ้านหนองแสงพัฒนา ต.ท่าดอกคํา อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย มีพื้นที่จํานวน ๒๐๖.๓ ไร่ ผู้รักษาการเจ้าอาวาสปัจจุบัน : พระอาจารย์คําพันธ์ กิตติโก
วัตถุมงคล
สำหรับวัตถุมงคลต่างๆของ หลวงปู่คำสิงห์ มีค่อนข้างน้อย เช่น
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่คำสิงห์ สุภัทโท วัดสิงหารินทาราม ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ตรงกลางเป็นรูปหลวงปู่คำสิงห์ นั่งเต็มองค์ มีตัวหนังสือโค้งตามขอบเหรียญด้านล่าง ว่า หลวงปู่คำสิงห์
ด้านข้างซ้าย บอกอายุ ๘๐ ปี ด้านขวา บอกปี พ.ศ.๒๕๓๕ ด้านบนเหนือศรีษะ บอกชื่อรุ่น เจริญดี
ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นตัวอักขระขอม นะ อะ นะ ตัวหนังสือโค้งตามขอบเหรียญด้านบน ระบุชื่อ พระครูภาวนานุศิษฏ์
ตัวหนังสือโค้งตามขอบเหรียญด้านล่าง บอกชื่อวัดสิงหารินทาราม
เหรียญยอดทรัพย์ หลวงปู่คำสิงห์ รุ่นที่ ๒ ลักษณะเป็นเหรียญกลม ด้านหน้า ตรงกลาง เป็นรูปหลวงปู่คำสิงห์ ครึ่งองค์
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูป ถุงเงิน กำกับด้วยยันต์ นะ อะ นะ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ มีตัวเลข ๙ โค้งตามขอบเหรียญ
เหรียญรุ่นที่สาม เป็นแบบยืน
รูปหล่อรุ่นแรก นั่งเต็มองค์
พระผงยอดทรัพย์ และแบบอื่นๆ
พระกริ่งรุ่นแรก (เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยม)
พระกริ่งนาคปรก เหรียญนาคปรก เก้าเศียร พระสมเด็จมหาลาภ รุ่นแรก
พระปิดตา เนื้อโลหะ เนื้อผงว่าน
เครื่องราง เต่าหล่อ เหรียญหล่อปรอทคล้ายเหรียญสตางค์เก่า เป็นต้น
พระหล่อจากตะกั่ว เป็นต้น แต่ที่เป็นที่หมายปองของศิษย์น้อยศิษย์ใหญ่คือ ตะกรุด เพราะถือว่าเป็นสุดยอดวิชาของหลวงปู่ท่านนั่นก็คือ ตะกรุดดำน้ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะกรุดราชา ซึ่งหมายถึงราชาแห่งตะกรุดนั่นเอง นอกเหนือจากนี้ยังมี ตะกรุดฝาหม้อ ตะกรุดต่างๆอีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้แล้ว ยังมีเครื่องรางของขลังอื่นๆของท่านที่คนส่วนมากไม่ค่อยพบเห็น และก็ยังคงเป็นปริศนา โดยรู้กันในหมู่ศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น
หลวงปู่คำสิงห์ ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงปู่คำสิงห์ ในแต่ละรุ่นนั้นล้วนต่างได้รับการเสาะแสวงหา ด้วยประสบการณ์ต่างๆที่ได้พบในกลุ่มศิษย์ลูกหาและผู้ที่ได้รับวัตถุมงคลของท่านไปบูชา