วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2567

สมาธิจิต พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี

สมาธิจิต
พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย

พระวิสุทธิญาณเถร (พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย) วัดเขาสุกิม
พระวิสุทธิญาณเถร (พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย) วัดเขาสุกิม

เนื่องจาก ได้พบพระอาจารย์สมชาย ซึ่งได้บวชเป็นลูกศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้สนทนาธรรมกันในระหว่างมาปฏิบัติอยู่ที่วัด พระอาจารย์ได้ย้ำถึงเรื่องสมาธิจิตร การจดมานี้ อาจผิดพลาดบ้าง ขออภัยให้กับผู้เขียนด้วย และได้เห็นเป็นการ สมควรที่จะช่วยกันเผยแพร่ ข้อธรรมปฏิบัติ เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทาน ขอผู้ที่รับทั้งหลาย จงอ่านและปฏิบัติ จะรู้ผลได้ด้วย ตนเองตามควรแก่กําลัง ความวิริยะ อุตสาหะของผู้ปฏิบัติ และ จะเสคความรู้อันมหัศจรรย์เหลือที่จะพรรณานับ ขอให้รับไปปฏิ

สมาธิจิตร คือความมีจิตรตั้งมั่น เมื่อเราคิดว่าจะทําอะไร ต้องทําให้มันจริงลงไป จึงจะเกิดผล ได้จําแนกออกเป็น ๓ ชั้น

๏ ชั้นต่ำ วิธีทํา ที่จะต้อนจิตรเข้าสู่อารมณ์มัดจิตร ให้อยู่ ในอํานาจสติ ระลึกรู้เมื่อจิตรเข้าสู่อารมณ์ หักห้าม อาศัยสติยับยั้งเอาไว้ เมื่อคลื่นสติถี่ สามารถประคองจิตรได้ทุกเมื่อ จิตรจํานน หาอุบายให้จิตรทํางาน ให้พิจารณาความเป็นอยู่ในโลกให้เห็นจริง ตามความเป็นจริง เร่งให้เห็นจริงแล้ว จะเกิดความเบื่อ จิต จะจำนนกับปัญญา จิตรรวม จะได้ยินทั้งร้าย ทั้งดี บางคนแก่ตัวมักพูดถึงว่า ความจําเสื่อม ตอบว่าไม่เสื่อม จิตรถูกแบ่งมากเกิน สมาธิจิตรจะไม่แบ่งสมอง คิดเสียเรื่องเดียว ไม่ให้สายเส่ เรื่องนั้น จะขาวสะอาด พระอาจารย์มั่นได้สอนถึงเรื่องการสร้างสติ ท่านริเริ่มตั้งแต่ภายนอก จึงเข้าไปภายในเมื่อกราบพระไม่ได้สติ ระลึกทัน กลับมากราบใหม่ ลุกขึ้นเผลอตัว (ตามธรรมชาติ) นั่งลงก่อนฝึกใหม่ การพูด จะต้องหยุดหัดนึกแล้วพูด ต้องพูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ลุกขึ้นให้ได้สติ จะมอง จะหยิบ อย่าอาศัยสัมปชัญญะ พระพุทธองค์ได้มีพระวินัยไว้แก่ พระภิกษุแล้ว ในเรื่องสติกับจิตร มีการต้อนสติให้อยู่กับจิตร ๆ จะถูกบังคับได้ มีพลัง จิตรนั้นสมควร แก่การงาน

ตัวอย่าง วัวควาย ถ้าปล่อยไปอาจจะเข้าสวน เข้าป่า งูกัดตาย คนลักพาไป มีภัยนํามาสู่เจ้าของ เป็นวัวผอม เมื่อต้องการมาทําประโยชน์ ลากเกวียน ไม่มีกําลังจะลากได้ วัวควายเจ้าของรักษา ปล่อยออกไปให้กินหญ้าที่ดี ๆ ให้กินน้ำ มีงูไม่ให้เข้าไป ควายไม่เป็นภัย ทําประโยชน์ได้ดี ไถนา ลากเกวียนได้ดังปรารถนา ฉนั้น ต้องฝึกมัดจิตรให้อยู่ในนอํานาจ สติเช่นกัน

๏ ชั้นกลาง ในเมื่อมีจิตรสูงในปฐมเบื้องต้นแล้ว สร้างสติให้สมบูรณ์ จะไปเพื่อปัญญาญาณ ทั้งรู้เห็นเชื่อเด็ดขาด ไม่กลับ รู้แล้วหายจะเป็นปัญญาไม่ได้ จิตรปิติในกุศล มีปัญญาสูงขึ้นไป ไม่ยอมทําความชั่ว บังคับจิตร ให้อยู่ใต้สติเสมอแล้ว พิจารณา ความเป็นอยู่ของโลก เต็มไปด้วยอิจฉา มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งปรารถนาไม่สมหวัง ย่อมประดังนําความทุกข์มาสู่เรา มีไฟ ๓ กอง ราคะบีฑา โทสะบีฑา โมหะบีฑา (มีไฟใหญ่ลุกอยู่) เราอยู่ด้วยเพื่อนมนุษย์ ไม่อยากร้อนก็ร้อน อาจถูกกดขี่ ความทุกข์เกิด แก่เรา ในโลกนี้ไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยความทุกข์ เมื่อจิตรจํานนปัญญา หาอุบายป้องกันไม่ให้ไป ชอบ รัก โกรธ หลง

ชั้นสูง อุบายเดินแห่งปัญญานั้น เป็นรั้วดีของสติ จิตรจะอยู่ในอํานาจ รู้จริง เห็นจริง รู้ชาติ รู้ภพ ปัญญาสมบูรณ์แล้ว พิจารณา คิด หยุดได้ พิจารณาถึงความปีติ มีอะไรบัญชาขึ้นได้ สามารถตัดสินได้ หาอุบายวิธีจากโลก เข้าพระนิพพาน นิพพาน คือ ดวง วิญญาณที่บริสุทธิ์ พระอริยะเจ้าเมื่อตายแล้ว ดวงวิญญาณจะเข้าอมตะ หาอุบาย กําจัดความสกปรก ความโกรธ ความโลภ ความหลง ให้อยู่ในสติ ปัญญา พิจารณาให้เห็นว่าไม่มีอะไรสงสัย เห็นจริง อยู่กับพระนิพพาน

พระอาจารย์ได้เมตตากรุณา แสดงให้อุบาสก อุบาสิกา และ พระภิกษุ สามเณร เน้นหนัก เรื่องศีลธรรมด้วย ซึ่งผู้ที่จะปฏิบัติ ต้องมีศีลบริสุทธิ์ สีเลน สุคติ ยนฺ ติ ศีลเป็นเหตุให้เกิดสุคติ นี่เป็น ศีลของเทวดา “สีเลน สมฺปทา ศีลเป็นเหตุให้ได้ซึ่งโภคทรัพย์ นี่เป็นศีลของมนุษย์ สเลนนิพพูด ยนฺ ติ “ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน นี่เป็นของอริยชน ผู้เขียนจะไม่อธิบายมาก เพราะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ดีแล้ว

การจดบันทึกนี้ถึงแม้ข้อความสั้นๆ แต่รู้สึกว่าข้อความที่ท่านอาจารย์ได้แสดงให้ฟังนั้น มีคติน่าจับใจมากมายเกินสติปัญญา ที่จะจดได้ อาจจะลืมไปบ้าง ขอได้โปรดให้อภัยด้วย การที่ได้เขียนขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม และเพื่อความเจริญใน พระพุทธศาสนา อันเป็นสิ่งสําคัญอันยิ่งนี้ด้วย
“จงมัดจิตรให้อยู่ในสติ คือการสมาธิจิตร”

๏ ปุไร ณ บางช้าง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๖