วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

ยาคูคำดี วัดธาตุหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

ประวัติ ปฏิปทาและอภินิหาร
ยาคูคำดี หรือ หลวงปู่คำดี ญาท่านคำดี

วัดธาตุหลวงใต้
นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

ยาคูคำดี
ยาคูคำดี วัดทาดหลวงใต้ สปป.ลาว

ญาท่านคําดี เป็นชาว สปป.ลาว ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ บ้านหนองบอน เมืองไชเสตถา แขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ท่านเป็นบุตรของ “พ่อตู้ ทองมี หลวงลาด” แต่เดิมพ่อตู้ทองมีเป็นคนคุ้มวัดกลาง ได้พาครอบครัวย้ายมา พํานักอยู่ที่หนองบอน ด้วยเหตุนี้นายคําดี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุครั้งแรก ณ วัดบ้านหนองบอนแห่งนี้ หลวงพ่อคําดีเป็นพระหนุ่มนักพัฒนา ได้ฝากผลงาน สร้างอุโบสถให้แก่วัดแห่งนี้จนสําเร็จลุล่วง จากนั้นท่านก็ได้ลาสิกขาออกมาใช้ ชีวิตเยี่ยงฆราวาส และได้พบรักและแต่งงานครั้งแรกกับ “แม่ผิว หลวงสุวรรณ ปัตน์” ที่มีเชื้อสายทางพ่อมาจากคุ้มวัดธาตุ จังหวัดหนองคาย แม่ผิวได้ให้กําเนิด บุตรและธิดารวม ๒ คน คือ “นายอาทิตย์ฮุ่ง” หรือ “คุณตาฮุ่ง” (ผู้เล่าเรื่อง) และนางบุ่ง เมื่อคุณตาฮุ่งอายุได้ ๖ ปี แม่ผิวก็ถึงแก่อสัญกรรม นายคําดีได้แต่งงาน เป็นครั้งที่สองกับ “นางเม็ด” ไม่ทราบนามสกุล มีบุตรชายด้วยกันอีก ๒ คน

◎ การอุปสมบท

หลังจากใช้ชีวิตในเพศฆราวาสไม่นาน นายคําดีรู้สึกเบื่อหน่ายต่อชีวิต ฆราวาส กอปรกับมีความตั้งใจปฏิบัติกรรมฐาน จึงได้อุปสมบทใหม่อีกครั้ง (ครั้งที่ ๒) ณ วัดสีสะเกด นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมี “ญาท่านแก้ว” (พระสังฆราช ของประเทศลาวในเวลานั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เถีง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คํา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ไม่ทราบ ยาทางพระ) การอุปสมบทในครั้งนี้ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับ “พ่อแม่อุ่น” หรือ “หลวงปู่อุ่น” ผู้ที่เชี่ยวชาญคัมภีร์มูลกัจจายน์ ตามประวัติกล่าวว่า ท่านเป็นชาวอุบลราชธานี แต่มาอยู่พํานักในประเทศลาว เนื่องจากท่านได้ ลาสิกขาบทเพื่อมาสมรสกับหญิงสาวชาวบ้านสีเมือง และในบั้นปลายชีวิตของ ท่านก็ได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง โดยท่านได้ตั้งใจมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จนวาระสุดท้ายของชีวิต (บางท่านกล่าวว่าท่านเป็นศิษย์ของญาครูสีทัตถ์ วัดพระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม) ซึ่งพ่อแม่อุ่นท่านนี้ เป็นอาจารย์ของพระสุปฏิปันโน ผู้มีชื่อเสียงแห่งยุคหลายรูป ได้แก่ หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร วัดเทพสิงหาร ,หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ (วัดภูพระพาน) ,ญาท่านป้อง วัดนากุง ญาท่านเภา สาวรักษณ์ วัดป่าจอมตาล หนองคาย เป็นต้น

◎ ศึกษาคาถาอาคมและกรรมฐาน

การเรียนมูลกัจจายน์ของหลวงปู่คำดี ถือว่าประสบความสําเร็จสูงมาก เพราะหลวงปู่อุ่นออกปากชมท่านว่าเก่ง อ่านตําราจบครึ่งหนึ่งท่านก็แปลบาลีออกหมดเลย นอกจากหลวงปู่อุ่นจะสอนวิชามูลเดิม (มูลกัจจายน์) ให้แก่ญาท่านคําดีแล้ว ท่านยังพาญาท่านคําดีออกรุกขมูลไปตามป่าเขาลําเนาไพรเป็นเวลา กว่า ๒๕ ปี อีกด้วยโดยท่านเดินธุดงค์ตั้งแต่บริเวณภูเขาควายลงไปยังเมืองท่าแขก แล้วจึง จําพรรษาอยู่ทุ่งไซงันหลายพรรษา

◎ เดินบนแม่น้ําโขง

ขณะที่ท่านธุดงค์ไปที่บ้านปากกระดิ่งกับหลวงปู่อุ่น ท่านต้องธุดงค์ข้าม แม่น้ำโขง แต่ปรากฏว่าไม่มีเรือผ่านมาเลย ท่านจึงอธิษฐานจิตสักครู่แล้วก็บอก กับหลวงปู่อุ่นว่า “พระธรรมส่งแล้ว ข้ามโขงไปกันเถอะ” ท่านกับหลวงปู่อุ่นจึงเดินข้ามแม่น้ําโขงไป โดยเท้าจมน้ำในระดับหัวเข่าไปตลอดการเดินทาง ท่านกล่าวว่า “เหมือนเดินบนสันทราย แต่ก็ต้องรีบเดิน เพราะท่านกลัว พญานาคจะย้ายสันทรายเสียก่อน”

◎ ก่อสร้างวัดวังซาย

จากนั้นจึงธุดงค์มายังบริเวณบ้านวังซาย ซึ่งในอดีตเป็นป่ารกชัฏ มีสัตว์ป่าชุกชุม เนื่องจากท่านเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่สัปปายะ ควรแก่การปฏิบัติธรรมและไม่ห่างจากเวียงจันทน์มากนัก ท่านจึงจําพรรษา ณ บ้านวังซายนี่เอง (กล่าวกันว่าท่านสําเร็จธรรมที่พระบาทนาคาย เมื่อสําเร็จแล้วท่านจึงธุดงค์กลับ เวียงจันทน์) โดยได้สร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆ ท่ามกลางดงไม้ซอด และได้ชักชวนชาว บ้านมาร่วมแรงร่วมใจในการสร้างวัดวังซายและเสนาสนะภายในวัดขึ้น

◎ อุโบสถวัดธาตุใต้ลั่น

ระหว่างการก่อสร้างวัดวังซาย ท่านก็ได้สงเคราะห์ญาติโยมและวัดต่างๆ ด้วย เช่น การรักษาคนเสียจริต คนถูกผีเข้า รักษาโรคต่างๆด้วยยาสมุนไพรและ คาถาอาคม จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว และงานที่ท่านภูมิใจมากที่สุดคือ ท่านได้ลงมือสร้างพระอุโบสถที่วัดธาตุใต้เสด็จ (อันเป็นวัดที่หลวงปู่อุ่นได้สร้างขึ้น) เมื่อท่านสร้างอุโบสถวัดธาตุใต้เสร็จก็ทําพิธีเฉลิมฉลอง โดยลุงอาทิตย์ฮุ่งเล่าให้ ฟังว่า ท่านต้องเข้าไปอธิษฐานจิตปลุกเสกพระอุโบสถ ปรากฏว่าในการอธิษฐานจิตครานั้น “โบสถ์เกิดการลั่น” (แก้วประดับ, ดาวเพดาน ครางลั่นไปทั่วบริเวณนั้น)

◎ สร้างพระปิดตา

ในระหว่างที่ท่านอยู่ในกุฏิกลางดงไม้ซอดนั้น ท่านเริ่มสร้างพระโลหะหล่อ ขึ้นมาจํานวนหนึ่ง โดยพุทธลักษณะรวมๆ เป็นรูปพระปิดตามีสังฆาฏิ เจาะรูและ อุดก้นด้วยโลหะ ผงพุทธคุณ คุณลุงฮุ่งเล่ากรรมวิธีให้ฟังว่า ท่านปั้นหุ่นเทียนแล้วใช้ปีกไก่ทา ดินอ่อนที่เตรียมไว้ โดยสูตรดินอ่อนของหลวงปู่ใช้ ดินขุยไส้เดือนป่นชุบทาที่ละน้อย (สูตรดินอ่อนของไทยใช้ดินจอมปลวก ปนกับขี้ควายที่รุ่นแล้วผสม กับน้ำ) และเข้าดินแข็งที่ประกอบด้วยดินจอมปลวก ผสมแกลบดํา ทําเป็นแบบ หล่อดินไทย เมื่อได้แม่แบบแล้วท่านจะหลอมโลหะโดยใช้หม้อหลอมโลหะขนาด ๕๐ กิโลกรัม มาหลอม โดยก่อเตาสี่เหลี่ยมขึ้นมาหลอม

ในยุคแรกท่านใช้ระบบสูบดึงสูบแบบไทย ต่อมาท่านจึงใช้โบลวเวอร์เป่าไฟจากถ่านไม้ซอด โลหะที่ท่านนํามาหล่อนั้น ท่านมักจะเลือกเอากระบอกปืนใหญ่ที่ด้าน (ไม่ระเบิด) มาทํา ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในยุคสงครามเช่นนั้น เมื่อท่านได้องค์พระมาแล้ว ท่านก็เจาะรูที่ก้นและบรรจุผงดินสอพองและตะกรุดไว้ ข้างในด้วย ซึ่งก้นของพระบางองค์ ท่านจะบรรจุกริ่งเข้าไปแต่พบได้น้อยมาก โดยคุณลุงฮุ่งเล่าให้ฟังว่า “ผงที่ท่านบรรจุอยู่ที่ก้นพระคือ ผงปถมัง ขณะที่ท่านเขียนผงนั้น ท่านจะเอาใบบัวซ้อนกัน ๗ ชั้น และเอาผ้าขาวซ้อนอีก ๗ ชั้น จึงวางกระดานไว้ด้านบน แล้วลงมือเขียนผงตามกรรมวิธี ปรากฏว่าผงทะลุกระดานลงไปสู่ใบบัวที่อยู่ข้างล่างสุด และดินสอที่ใช้สําหรับเขียนผงนั้น ท่านใช้แป้งซองตราสาวน้อย ที่ซองเป็นรูปสาวอินเดีย ผงนี้จึงมีกลิ่นหอม เจืออยู่” ซึ่งผงนี้ชาวบ้านที่ได้ผงไปเล่าว่า “ใช้ดีมากในทางค้าขาย

นอกจากพระปิดตาแล้วท่านยังสร้างพระสังกัจจายน์ไว้อีกจํานวนหนึ่งด้วย พระปิดตาของท่านเป็นที่นิยมมากในวงการทหาร เพราะเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีและมหาอุด ลุงฮุ่งเล่าว่า นายพลกองแล มาเอาพระเครื่องจากหลวงปู่หลายร้อยองค์ เพื่อเอาไปแจกทหารในสังกัด แม้กระทั่ง เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก ก็มาหาหลวงปู่ ท่านเรียกกันว่าเป็น “เสี่ยว” หรือ “เพื่อน” เลยทีเดียว

ในประเทศลาวมีคําร่ำลือว่าญาท่านคําดีสําเร็จ วิชาการเล่นแร่แปรธาตุ มีคนได้นําพระหล่อโลหะของท่านไปขัดด้วยน้ำมะขามเปียก พบว่าเนื้อภายในของพระหล่อบางองค์สุกสกาวดังทองคําเลยก็มี ประชาชน ประเทศลาวจึงนิยมนําพระหล่อโลหะของท่านไปขัดด้วยน้ํามะขามเปียกกันเป็น จํานวนมาก

◎ ปาฏิหาริย์ขณะหล่อเบ้า

ขณะท่านอยู่ที่ป่าไม้ซอด ท่านกําลังหลอมโลหะเดือดๆเบ้าก็แตกออก ท่านกลัวน้ำโลหะหล่นลงมาจึงใช้มือโอบเบ้าไว้ โดยมือของท่านกลับไม่เป็นอะไร เลย ซึ่งตามความเป็นจริงความร้อนกว่าพันองศาเซลเซียส ที่สามารถหลอมโลหะให้ละลายได้นั้น หากถูกมือก็ต้องไม่เหลือสภาพความเป็นมือนั้นอย่างแน่นอน

◎ ญาท่านมีวาจาสิทธิ์

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่บ้านนางมนาตาล แถบภูเขาควาย ท่านกล่าวว่ามะนาว ข้างวัดมันหวาน พอใครไปชิมดูก็ปรากฏว่าหวานจริงๆ นอกจากเรื่องนี้ก็มีคนโจทก์กันว่าท่านมีวาจาสิทธิ์พูดให้คนเป็นคนตายได้ อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นที่วัดธาตุหลวงใต้ ท่านบ่นว่าอยากกินน้ำมะพร้าว ก็ปรากฏว่ามะพร้าวภายในวัดหล่นลงมาเองหลายแซง (ทะลาย)

◎ ย่นระยะทาง

มีวันหนึ่งญาติโยมเห็นญาท่านเดินอยู่ที่น้ำทอน จึงนิมนต์ท่านขึ้นรถ แต่ท่านตอบกลับว่าให้ขับไปก่อน พอรถคันนี้ขับมาถึงที่วัดธาตุหลวงใต้ ก็ปรากฏว่าท่านมาถึงก่อนหน้าแล้ว จึงมีคนถามท่านว่า “ญาท่านใช้วิชาย่นระยะทาง” หรือ “ย่อแผ่นดินหรือไม่?” ท่านตอบว่า “การย่อแผ่นดินมันเป็นบาปไม่สมควรท้า อย่างยิ่ง

◎ ล้างอาถรรพ์ยอดพระธาตุหลวง

ในกาลต่อมารัฐบาลลาวต้องการบูรณะยอดพระธาตุหลวง แทนยอดองค์เดิมที่ถูกทําลายในสงครามฮ่อ แต่ไม่สามารถหล่อโลหะได้ จนถูกร่ำลือไปต่างๆ นานาถึงเรื่องอาถรรพ์ของยอดพระธาตุ จนในที่สุดต่างก็พร้อมใจกันนิมนต์ญาท่านคําดีเป็นประธานในการหล่อยอดพระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ จนสําเร็จลุล่วงได้ด้วยบารมีของท่านยาคูคำดี

เครื่องรางของท่าน

นอกจากท่านจะสร้างพระปิดตายอดนิยมของชาวลาวแล้ว ท่านยังสร้าง เครื่องรางไว้สงเคราะห์ญาติโยมไว้อีกมากมาย ได้แก่

๑. นวด (สีผึ้ง) ท่านจะผสมผงปถมังลงไปในสีผึ้งด้วย ซึ่งจะมีพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านโชคลาภและการค้าขาย ญาท่านกล่าวว่า ใครถือนวดของท่านไป ถ้าเจอต้นว่านโพรง ให้เดินรอบต้นเสียสามรอบ ใบของมันจะเหี่ยวเฉา เราสามารถเข้าไปเก็บกู้ได้โดยไม่ต้องใช้ “ว่านล่าม” ถ้าแม้กระทั่งใครมีว่านกระจาย อยู่ใกล้เรา ก็สามารถทําให้คุณของว่านนั้นเสื่อมถอยลงได้แล

๒. ตะกรุด ท่านได้สร้างตะกรุด ไว้หลายขนาด

๓. ผ้าประเจียด ท่านได้สร้างผ้าประเจียดสําหรับผู้ที่จะไปออกศึกสงคราม

มรณกาล

เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๕ ญาท่านคําดีในขณะนั้นมีอายุได้ ๗๙ ปี ท่านรู้สึกไม่สบายครั่นเนื้อครั่นตัว นั่งคุยกับลูกสาวและหลานชายอยู่ภายในกุฏิ พอทั้งสองเดินออกมานอกชานก็ได้ยินเสียงของญาคำดีท่านบ้วนน้ำลายลงกระโถน และนอนมรณะภาพด้วยอาการอันสงบ ทางศิษย์ยานุศิษย์และบุตรหลานของท่าน ได้เก็บสังขารของท่านไว้บําเพ็ญกุศลเป็นเวลาหนึ่งปี จากนั้นจึงได้จัดงานฌาปนกิจ สังขารของท่านที่วัดวังซาย ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ กล่าวกันว่า ก่อนมรณะภาพ ท่านได้สั่งเสียบุตรหลานว่า ไม่ให้เอาอัฐิของท่านไปไว้ในธาตุ (เจดีย์) แต่ให้เอาอัฐิของท่านไปไว้บนภู (ที่พระบาทนาคาย) แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครทำตามคำสั่งเสียของท่านเลย เพราะอฐิธาตุของท่านยังให้ศิษยานุศิษย์สักการะบูชาอยู่ที่วัดวังซาย นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตราบจนถึงปัจจุบันนี้

ข้อขอบคุณข้อมูลโดย คุณเอก นาครทรรพ