วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

พ่อแม่จับไม้ (พระครูคำดี ธัมมะทินโณ) วัดบ้านจับไม้ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

ประวัติ พ่อแม่จับไม้ (พระครูคำดี ธัมมะทินโณ)
วัดบ้านจับไม้ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

ประวัติ พ่อแม่จับไม้ (พระครูคำดี ธัมมะทินโณ) “อาจารย์จับไม้” วัดบ้านจับไม้ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
พ่อแม่จับไม้ (พระครูคำดี ธัมมะทินโณ) “อาจารย์จับไม้” วัดบ้านจับไม้ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

หลวงปู่คำดี ธัมมทินโณ บ้านจับไม้ ท่านเป็นพระเถระคณาจารย์โบราญที่มีความเชี่ยวชาญในกัมมัฏฐานและพระเวทย์วิทยาคม แห่งบ้านจับไม้ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

อาจารย์ปู่ คำผุก อุณาภาค
อาจารย์ปู่คำผุก อุณาภาค

ผู้เขียนได้พบข้อมูล ในหนังสือตำราของ พระสมาน สุภาจาโร (คุณตาสมาน บุญเคล้า) ซึ่งตำราดังกล่าวจัดทำขึ้นขณะนั้นยังอยู่ในเพศบรรพชิต เป็นตำราที่คุณตาสมานได้คัดลอกออกมาจากตำราใบลาน และจากปากของอาจารย์คำผุก อุณาภาคด้วยตัวท่านเอง
เนื้อความมีอยู่ว่า..

แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๐๔ พร้อมกับมีข้อความตอนหนึ่งได้ระบุเอาไว้ว่า..

“เรียนมาจากอาจารย์จับไม้แล พระสมาน สุภาจาโรเขียน”

ระบุเอาไว้ในต้นเล่ม…

เมื่อมีโอกาสผู้เขียนจึงได้ซักถามคุณตาสมาน ถึงที่มาของอาจารย์จับไม้ ที่บันทึกเอาไว้ในตำรา พอจับใจความสำคัญได้ว่า

อาจารย์จับไม้” หรือ “อาจารย์บ้านจับไม้” หรือ “พ่อแม่จับไม้” เป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งของปู่คำผุก อุณาภาค
อยู่ทางไปเวียง (คำกล่าวของตาสมาน ) ดงสีชมภู ดงหม้อทอง ดงใหญ่ทางอีสานเหนือ สมัยนั้นมีการอพยพย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน ในพื้นที่แถบดงสีชมพูดงหม้อทองก็เช่นกัน มีคนหลายกลุ่มเข้ามาอาศัย เพื่อหาของป่า เป็นนายพรานล่าสัตว์อยู่แถบชานดง ส่วนมากจะไปจากทางเมืองอุบลราชธานี จนเกิดเป็นชุมชนต่างๆ เช่น ศรีวิไล, พรเจริญ โซ่พิสัย, ปากคาด กระจายกันอยู่..

ในบันทึก ได้มีการกล่าวถึง การเดินทางของอาจารย์คำผุก ในช่วงเป็นฆราวาสเอาไว้ว่า..
ท่านมักจะเที่ยวปลีกวิเวก เพื่อกราบครูบาอาจารย์ หรือเยี่ยมสหธรรมมิก และบรรดาลูกศิษย์ต่างบ้านต่างเมืองของท่าน
ซึ่งการเดินทางทุกครั้งจะมีลูกศิษย์ที่เป็นบรรพชิตและฆราวาสร่วมทางไปด้วยอยู่เสมอ บ่อยครั้งที่ขึ้นมาทางดงสีชมพู ท่านจะแวะเยี่ยมเพื่อนสนิท
คือ ปู่จิ๊ โสมอินทร์

จากคำบอกเล่าของลูกสะไภ้ปู่จิ๊ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า..

ปู่จิ๊ โสมอินทร์ พื้นเพเป็นคนบ้านเดียวกันกับอาจารย์คำผุก ได้มาตั้งรกรากเป็นพรานเนื้อล่าเสืออยู่ในดงสีชมพู ที่บ้านดอนหญ้านาง อำเภอพรเจริญ จ.บึงกาฬ ในปัจจุบัน
ในการมาของอาจารย์คำผุก จะสร้างความปิติยินดีแด่ลูกหลานและกับผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นที่เคารพนับถือ คราใดที่บรรดาลูกศิษย์เห็นท่านมา มักจะหาของ จำพวก เครื่องราง พระเครื่อง เข้าของรักษา มีการลงน้ำมันอำนาจเสือโคร่ง กำลังหูระมาน เพื่อป้องกันตัว
ท่านเล่าต่อไปอีกว่า

เคยเจออาจารย์คำผุก สมัยที่ตนยังเป็นสาวขึ้นใหม่ (แรกรุ่น ๑๖-๑๗ ปี)
เคยเห็นปู่คำผุก ลงน้ำมันแล้วให้คนที่ลงยืนกอดเสารั้วบ้าน แล้วให้ลูกชายปู่จิ๊ ซึ่งเป็น อ.ส. ยิง ปรากฏว่ายิ่งเท่าไหร่ก็ไม่แตก(กระสุนด้าน) จนต้องหันปลายกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้าถึงยิงแตก คุณยายแอบมองดูและเห็นกับตาจริงๆ เพราะการทำพิธีจะไม่ให้สตรีเข้าในเขตมนฑลพิธีโดยเด็ดขาด ซึ่งแถบนี้ลูกศิษย์ที่มาขอเรียนวิชามีอยู่มาก แต่ทุกวันนี้ได้ล้มหายตายจากไปหมดแล้ว

การเดินทางของอาจารย์คำผุก จะใช้ม้าสลับกับการเดินด้วยเท้าตามเส้นทาง พรเจริญ โซ่ เฝ้าไร่ โพนพิสัย หนองคาย เวียงจันทร์ ท่านอาจารย์มักจะค้างอยู่เวียงจันทร์ครั้งละหลายๆเดือน (จากตำนานการเสี่ยงทายเจ้าไชยเชษฐาธิราช)

จากข้อมูลดังกล่าว ผู้เขียนได้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับ อาจารย์คำผุก (ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเห็นจากรูปถ่ายอาจารย์คำผุก)
จากผู้รู้ท่านนี้ ได้กล่าวถึงปู่ธรรมเคน ซึ่งมีเชื่อสายมาจากเมืองเชียงขวาง เป็นต้นตระกูลของผู้มีวิชา เคยอาสาออกรบในศึกปราบฮ่อ มีวิชาที่สืบทอดกันต่อๆกันมาเฉพาะในสายวงศ์ตระกูล

คุณพ่อเคน วงศ์ตาแพง ได้เรียนวิชากับพ่อแม่คำดี ธัมมะทินโน ในสมัยนั้นมีข้อแม้ว่า ถ้าจะได้เรียนจะต้องสร้างศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จเสียก่อน
วิชานี้มีชื่อว่า.. “ปัญจพุทธาฟ้าสนั่นกองเวหา”

ในครั้งนั้นจากคำบอกเล่าของลูกชายผู้สืบวิชาจากพ่อธรรมเคน ได้มีคนแก่ตาบอดเดินทางมาจากเมืองอุบลฯ มาหามาพักที่บ้านเป็นเวลาหลายอาทิตย์เพื่อแลกเปลี่ยนวิชากับพ่อธรรมเคน ชายแก่ตาบอดนั้นได้เที่ยวไปมาอยู่หลายครั้งในพื้นที่แถบดงศรีชมภูนี้ …

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สอดคล้องกับบันทึกของ พระสมาน สุภาจาโร (ตาสมาน บุญเคล้า) ที่ได้บันทึกไว้ ถึงอาจารย์จับไม้ หรือ อาจารย์บ้านจับไม้ ซึ่งก็คือหลวงปู่คำดี ธัมมะทินโนนี้เอง