วันศุกร์, 13 ธันวาคม 2567

พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

ประวัติและปฏิปทา
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ

วัดห้วยเงาะ
ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ (พระครูอนุศาสน์กิจจาทร) หรืออีกนามที่ชาวบ้าน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขนานนามว่า “เทพเจ้าฝ่ายบู๊แห่งเมือง ลังกาสุกะ” ในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งในหมู่ทหารตำรวจ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นั้น นามของ พ่อท่านเขียว กิตฺติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ย่อมเป็นหนึ่ง ในเกจิอาจารย์ ที่ผู้คนต่างให้ความเคารพศรัทธาและเชื่อมั่นในพุทธาคมของท่าน

◉ ชาติภูมิ
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา บิดาชื่อนายทอง เพ็ชรภักดี มารดาชื่อ นางกิ๊ม เพ็ชรภักดี ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาใน จ.ยะลา เป็นบุตรคนที่ ๓ จากจำนวนทั้งหมด ๗ คน

◉ อุปสมบท
กระทั่งอายุได้ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทตามประเพณีนิยม ณ วัดนางโอ ปัจจุบัน คือ วัดบุพนิมิตร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๙๒ ณ พัทธสีมา วัดนางโอ โดยมี พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแดง ธมฺมโชโต วัดนาประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทอง จนฺทโชโต วัดภมรคติวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า

เมื่ออุปสมบทครองผ้าเหลือง พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ ได้จำพรรษาอยู่วัดนางโอ โดยท่านได้ใช้เวลาที่ว่างจากกิจของสงฆ์ เล่าเรียนการสวดมนต์ในบทสำคัญต่างๆ รวมถึงการสวดภาณยักษ์ในแบบฉบับของภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก เหมือนก่อนแล้ว กระทั่งพรรษา ๒ ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสุนทรบัญชาราม อ.รามัญ จ.ยะลา พรรษาที่ ๓ พ่อท่านเขียว ได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดนางโออีกครั้ง ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับ “ตาเลี่ยม” ฆราวาสที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนา อีกทั้งสรรพวิชาจากผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคม ในเขตนั้นอีก จำนวนนับไม่ถ้วนซึ่ง

ในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด ศึกษาด้านปริยัติธรรมบาลีไวยากรณ์และนักธรรม รวมถึงการสวดมนต์ สาธยายธรรม ด้วยเหตุนี้เอง พ่อท่านเขียวท่านจึงสามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ในพรรษาที่ ๕ ท่านได้รับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดนางโอ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา

ในช่วงนี้เอง ที่ท่านได้เป็นสหธรรมมิกกับ พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ด้วยความสนิทสนม ชอบพออัธยาศัย ไปมาหาสู่กันเสมอ ระยะทางระหว่างวัดทั้งสองไม่ไกลกันนัก โดยได้ร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรมร่วมพิธีกรรมต่างๆ กันเสมอ

โดยเฉพาะเมื่อคราวที่พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ สร้างพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมสร้างอุโบสถ วัดช้างให้ นั้น พ่อท่านเขียว เป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมงาน โดยคลุกเนื้อผสมว่าน และร่วมอยู่ในพิธีกรรมเจริญพุทธมนต์

ระหว่าง ที่ท่านพระอาจารย์ทิมอัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด เพื่อปลุกเสกพระเครื่องเนื้อว่าน รุ่นแรก ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ และร่วมพิธีกรรมปลุกเสกอีกหลายวาระ

จนเมื่อพระอาจารย์ทิมท่านมรณภาพแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่สำคัญอีก ๑ วาระ คือ พิธีปลุกเสกพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นปี พ.ศ.๒๕๒๔ ปัจจุบันเป็นที่เสาะหากันมาก เพราะมีประสบการณ์คุ้มภยันตรายแคล้วคลาดปลอดภัย แก่ผู้ที่นับถือ

นอกจากนี้ พ่อท่านเขียว ยังได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ในหลายพิธีตลอดมา ทั้งไกลและใกล้ จนถึงปัจจุบัน

ท่านพระอาจารย์ธีร์ เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ ในเวลานั้น จึงได้มานิมนต์พ่อท่านเขียวไปอยู่ด้วยกันที่วัดห้วยเงาะ เนื่องด้วยพรรษาท่านมาก จะได้ดูแล และไม่ต้องพบกับภาระเหนื่อยหนักอีก

พ่อท่านเขียวพ่อท่านเขียว กิตติคุโณสมุนไพรกลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มัธยัสถ์ อดออม และรักสันโดษ ท่านชอบการอ่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายบ้านเมือง การเกษตรกรรม โหราศาสตร์ สมุนไพรกลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้

พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ เป็นพระเถระผู้มีเมตตาสูงกับเหล่าศิษยานุศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหน ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ โดยไม่แบ่งแยก ไม่เคยเรียกร้องสิ่งใด และท่านไม่จับหรือรับเงินที่มาถวายเลย พ่อท่านไม่เคยสนใจลาภสักการะต่างๆ ใครไปให้ท่านช่วย พอจะลากลับ หากถวายเงินท่าน พ่อท่านจะนิ่งเฉย และถามกลับว่า

“เอามาให้เราทำไร เราเป็นพระ ไม่ต้องใช้ หากจะทำบุญ ก็เอาไปใส่ตู้บริจาคภายในวัดตรงไหนก็ได้”

นอกจากนี้แล้ว คำสอนหนึ่งที่ท่านชอบสอนทุกๆ คนที่ไปหาท่าน คือ ให้ทำดี ละเว้นชั่ว ตั้งมั่นในความซื่อสัตย์ กตัญญู อดออมทรัพย์สิน ใช้จ่ายอย่างประหยัด

ที่สำคัญ คือ ท่านสอนให้เลิกใช้คำว่า “ทำมาหากิน” แต่ให้ใช้คำว่า “ทำมาหาไว้” แทน ในทำนองว่า ทำมาหาไว้ อย่ากิน อย่าใช้ จนหมด นั่นเอง

พ่อท่านเขียว ได้ตั้งปฏิปทามั่นในการอยู่ในพื้นที่อันตราย จ.ปัตตานี โดยไม่คิดย้ายที่อยู่ไปแห่งใหม่ที่ปลอดภัยกว่า ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้มีภาระใดๆ (ท่านไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส) ท่านยังคงอยู่เป็นขวัญกำลังใจของทหารหาญ และพลเรือนในพื้นที่นั้นต่อไป สั่งสอนธรรมะของพุทธองค์สืบไป

วัดอรัญวาสิการาม หรือวัดห้วยเงาะตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๓ บ้านห้วยเงาะ ถนนเพชรเกษม หมู่ ๕ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีอาณาบริเวณ ๑๑ไร่ ๑ งาน ๕๓ ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูงมีบ้านเรือนประชาชนโดยรอบ ได้สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๐๐ เดิมชื่อว่า “วัดห้วยเงาะ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดตามนโยบายรัฐบาลเป็น “วัดอรัญวาสิการาม” ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๓๑๙

พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

◉ มรณภาพ
พระครูอนุศาสน์กิจจาทร (พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ) ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ วันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ เมื่อเวลา ๒๑.๒๕ น. สิริอายุรวมได้ ๙๓ ปี