ประวัติ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) วัดธาตุน้อย (วัดจันดี) จ.นครศรีธรรมราช

“พ่อท่าน” เป็นคําเรียกนามของครูบาอาจารย์ที่เคารพ นับถือของชาวภาคใต้
เช่นเดียวกับภาคกลางเรียกว่า “พระอาจารย์” และภาคเหนือ เรียก “ครูบา” ภาคอีสานเรียกว่า “อาญาหรือยาคู” เป็นต้น
ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นสมมติบัญญัติที่ตั้งขึ้นมาพอเป็นเครื่อง หมายเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ความสําคัญนั้นอยู่ที่ตัวบุคคล เช่น พ่อท่านคล้าย แห่งวัดพระธาตุน้อย (วัดจันดี) ท่านเป็นพระปูชนียบุคคลที่สําคัญประจําภาคก็ว่าได้
และความสําคัญ! มิได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสาของพ่อท่านคล้าย แต่อยู่ที่คุณงามความดีของท่าน โดยเฉพาะ
เรียกว่า ดีที่ศีล ดีที่สมาธิ ดีที่ปัญญา อย่างนี้
สามสิ่ง กาย วาจา ใจ ดีสิ้น แล้วอะไรๆ ก็ย่อมดีไปหมดทุกอย่าง จนเราท่านทั้งหลายให้นาม ใหม่ของท่านว่า
พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ในชีวิตของเพศสมณะ พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ท่านมี ความประพฤติที่ดีน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
ท่านมีปฏิปทาที่น่าจะมีผู้เจริญตามข้อวัตรของท่านบ้างในปัจจุบัน
อุปนิสัยใจคอของท่านนั้น นับได้ว่าสุขุมเยือกเย็นมาก มีเมตตาธรรมที่ดีต่อประชาชนทั้งหลาย ๆ
ทั้งยังให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ตกยาก ให้มีความสุขสบาย ได้ด้วยเพียงวาจา อันเป็นพรที่ประเสริฐสุด
นอกจากนี้ ท่านยังมีอุบายธรรมะที่เคยแสดงแก่ผู้หลงผิดแล้วก่อความวุ่นวายกลุ่มหนึ่ง จนสามารถน้อมนําจิตใจให้บุคคลเหล่านั้น รู้ซึ้งถึงความจริงในเหตุผล แล้วได้มอบกายถวายชีวิตแก่พระ พุทธศาสนาจนหมดจิตใจ
ธรรมปฏิบัติที่ท่านได้นํามา แสดงนั้นมีใจความดังนี้
คนเราเกิดมา ย่อมมีดีและมีชั่วอันเป็นของคู่กัน
สิ่งหนึ่งที่จะต้องกระทําให้เกิดขึ้นแก่ตนเองเพื่อประเทศชาติ
ญาติวงศาคณาญาติร่วมโลกจะอยู่ ได้อย่างเป็นปกติสุข ก็ต้องมีการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี ใครมีหน้าที่อะไรก็ของใครของมัน
อีกอย่างหนึ่ง ทุกคนเกิดมาในโลกนี้แล้ว ทุกคนก็มีโอกาสทําชั่วได้ ก็ควรหาโอกาสเสริมสร้างความดีเอาไว้บ้าง
ท่านพระครูกราย อาจารย์ของอาตมา (ฉัน) เคยพูดไว้อีกว่า
พระสงฆ์ทั้งหลายนั้น ท่านบวชเข้ามาก็เพื่อสร้างความดี มีศีล มีภาวนา ทําให้เกิดสติปัญญา
คนทําความชั่วนั้น ก็เพราะไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จึงเป็นเหตุให้ไปก่อทุกข์ภัยมาสู่ตนเอง
พระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานทั้งหลาย และอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ท่านสร้างแต่ความดีทั้งสิ้น ดังนั้นเราทั้งหลายก็ควรทําความดี กันได้แล้ว
หลวงพ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๑๗ ปีจอ
ณ บ้านโคกกะทือ ตําบลหลักช้าง อําเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
บิดาชื่อ นายอินทร์ มารดา ชื่อนางเนี้ยว ฐานะครอบครัวของท่านนับได้ว่าดีมาก มีอาชีพในการ ทํานาทําสวน
อายุ ๑๔ ปี ท่านต้องเสียขา ” เพราะถูกไม้โค่นทับปลายเท้าขึ้นมาถึง ๓ นิ้ว และเจ็บปวดมาก ท่านต้องตัดขาทิ้งเหลือแค่ข้อเท้าเท่านั้น
อายุได้ ๑๖ ปี เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดวังม่วง โดยท่านพระอาจารย์กราย เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบวชเป็นเณรแล้ว ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดพระธาตุน้อย (วัดจันดี)
อายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดวังม่วง โดยจัดเป็นแพน้ํา (อุทกุกเขปสีมา)
โดยท่านพระอาจารย์กราย เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์สังข์ สิริรัตโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ทองปอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายา “จันทสุวัณโณ”
พ่อท่านคล้าย ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุน้อย (วัดจันดี) แล้วท่านได้สงเคราะห์ญาติโยม ทั้งหลายทุกแห่งไม่เห็นแก่เหน็ด เหนื่อย
ท่านสร้างท่านพัฒนาวัดวาอารามต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนเป็นที่รู้จักเลื่อมใส ของประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้ท่านก็ยังได้ไป สร้างถาวรวัตถุในจังหวัดต่างๆ เช่น ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หาด ใหญ่ ยะลา ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ท่านเป็นพระผู้มีจิตเมตตาอารมณ์ แจ่มใส จิตใจเบิกบาน
คุณงามความดีที่ท่านได้ สร้างไว้นั้นยังเป็นที่กล่าวถึงอยู่เสมอ ท่านเป็นดุจโพธิ์ทองของประชาชน
ที่สุดโพธิ์ทองแห่งจิตใจได้โค่นลงสิ้น เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
พ่อท่านคล้ายมรณภาพลง แล้วด้วยอาการที่สงบระงับ รวม สิริอายุได้ ๙๖ ปี พรรษาที่ ๗๕