วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.๖) วัดพระศรีมหาธาตุ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.๖) วัดพระศรีมหาธาตุ

ประวัติ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) องค์นี้ ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็น ศิษย์ในสายกรรมฐาน ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ

แม้ชีวิตในยามชรา ท่านก็สู้มุ่งหวังแห่งทางพ้นทุกข์ คือออกไปอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ อาศัยภูเขา ถ้ําผา เป็นที่บําเพ็ญธรรมภาวนาในบางคราว

จากหนังสือประวัติในงานพระราชทานเพลิงศพของพระเดชพระคุณท่าน ได้เรียบเรียงประวัติโดยย่อ ดังนี้

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข

มีชาติกําเนิดเกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ํา เดือน ๖ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐

ณ บ้านสว่าง ตําบลสว่าง อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี

บิดาชื่อ นายทอง แสนทวีสุข มารดาชื่อ นางนวล แสนทวีสุข

ภายหลังจากศึกษาเล่าเรียนจนอายุได้ ๑๔ ปี ก็ได้ลาออกจากโรงเรียนไปช่วยกิจการงานทางบ้าน

อายุได้ ๑๗ ปี บิดามารดา ได้นําไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระสาสนาดิเลก (เสน ชิตเสโน) เป็นบรรพชาจารย์

อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ ทําการอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ อุทกกเขปสีมา (ในแม่น้ํามูล) จังหวัด อุบลราชธานี

โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระสาสนาดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ได้รับฉายาว่า “ธัมมธโร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยสามารถสอบได้เปรียญ ๖ ประโยค

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และได้เป็นเจ้าอาวาส และได้กระทํากิจอันชอบด้วยธรรมมากมายหลายประการ

ทางด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) ท่านมีความสนใจที่จะประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นพระผู้น้อย และอยู่จํา พรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา

สมัยแรกท่านได้พบเห็นพระธุดงคกรรมฐาน เกิดศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก จึงได้เสาะแสวงหา พระอาจารย์กรรมฐานในยุคนั้น

นับเป็นโชคดีที่ท่านได้รับการบอกเล่าจากพระธุดงค์ที่ได้ ผ่านการปฏิบัติธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงได้สอบถามปฏิปทาของท่าน

เมื่อได้รับแจ้ง ก็บังเกิดความศรัทธาอยากจะเข้าพบและขอปฏิบัติธรรมอยู่ด้วย

จนในที่สุดในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ท่านได้มีโอกาสพบกับ หลวงปู่มัน ภูริทัตโต

ก็เนื่องด้วยในปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)

ท่านได้ไปเป็นผู้จัดการการศึกษา ให้แก่พระภิกษุสามเณร ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และมีพระสมณศักดิ์เป็น “พระญาณดิลก

ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น แล้วได้ขออุบายธรรมะในการปฏิบัติ หลวงปู่มั่น ก็ได้ถวายการแนะนําด้วยดี

อนึ่ง ท่านทั้งสองก็เป็นพระที่ใช้ภาษาภาคพื้นเดียวกันในจังหวัดอุบลราชธานี จึงต้องอัธยาศัยกันมาก คือ

พูดอะไรก็เข้าใจกันง่าย ไม่มีพิธีรีตองอันใดให้เป็นที่ขวางกั้นการประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ หลักปฏิบัติยังประโยชน์ให้พ้นทุกข์

การได้พบกับหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) ท่านก็ได้ถือเอาเป็นข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แม้ภารกิจทางคณะสงฆ์จะมีมาก ชนิดล้นมือ ท่านก็มิได้ละเว้น

ท่านถือว่า “การเจริญภาวนานั้นพระอาจารย์มั่นเคยบอกว่า แม้เราทํางานอยู่ก็ภาวนาได้ ขอให้มีสติ รู้ชัดในกิจการงานนั้น ไม่คลาด เคลื่อน ก็เป็นสมาธิได้”

ครั้นในยามค่ําคืน ท่านจะทําวัตรสวดมนต์ในกุฏิของท่าน หลังจากนั้นก็ได้นั่งสมาธิภาวนา จนดึกแล้วก็เข้าพักผ่อน

อีกประการหนึ่ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) ท่านมีความสนใจในที่อยู่ป่าดงโพรงถ้ํา เป็นอันมาก

ดังนั้นครั้งใดที่ท่านออกตรวจภาค ท่านจะปลีกตัวออกไปบําเพ็ญสมณธรรมทุกครั้ง ท่านเคยปรารภ ว่า

“สถานที่อันสงบวิเวกอย่างนี้ พระอาจารย์มั่นท่านมีปัญญาดี ที่แสวงหาสิ่งที่เป็นมงคลเห็นจะได้แก่ถ้ำขาม เหมาะสมจริงๆ

เมื่อเราตายไป ก็ขอให้นําอัฐิ มาเก็บไว้ที่นี้สักส่วนหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์”

ความเป็นพระผู้มีใจเป็นปกติ ด้วยท่านได้ฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี จึงได้รับความไว้วางใจใน ความสามารถของท่าน กล่าวคือ

“ท่านได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราชถึงสามครั้ง”

ส่วนอุดมคติที่เป็นแบบอย่าง อันดีคือ…ท่านไม่เคยลืมคุณของครูบาอาจารย์แม้เป็นถึง “สมเด็จฯ”

ท่านจะไปกราบหลวงปู่มั่น และเยี่ยมเยือนศิษย์ในสายปฏิบัติเสมอ ๆ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. พ.ศ. ๒๕๑๗ สิริอายุ ๗๗ ปี พรรษา ๕๗