วันศุกร์, 13 ธันวาคม 2567

อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ แห่งเมืองบุรีรัมย์

อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ แห่งเมืองบุรีรัมย์

พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์

ดินแดนแห่งวัฒนธรรมล้ําค่า มากด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณีและศิลปวัตถุโบ ราณ อย่างบุรีรัมย์ ยังเป็นจุดกําเนิด ของความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ อภินิหาร ในความเชื่อขององค์พระพุทธรูปมากมาย จนทําให้เลื่องลือกันไปทั่วในหมู่ ประชาชนทั้งในจังหวัดตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงกับความศักดิ์สิทธิ์ของ “พระเจ้าใหญ่” แห่งวัดหงษ์ ตําบลมะเฟือง อําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ย้อนหลังไปในอดีต สมัยท้าวศรีปาก ท้าวทาทอง และท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา คนไทยเชื้อสายลาว และบริวาร ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามปัจจุบัน เป็นคนชอบเที่ยวป่าล่าสัตว์ในเขตลุ่มน้ําลําพังชู ตลอดไปจดเขตลุ่มน้ําชีจังหวัดชัยภูมิ กล่าวกันว่าการล่าแรดในสมัยนั้น ถ้าพบแรดในเขตพุทไธสงจะล่าได้ในเขตชัยภูมิ และถ้าพบในเขตชัยภูมิก็จะล่าได้เมื่อเข้าเขตพุทไธสง ครั้งหนึ่งพราน ทั้งสามได้ยิงนกขนาดใหญ่และสวยงามมากตัวหนึ่ง ณ บริเวณบึงสระบัว นกตัวนั้นได้บินมาตกบริเวณป่าด้านทิศตะวันออก พรานจึงตามค้นหานกตัวนั้นในป่าใหญ่ เผอิญได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ทั้งสามไม่เคยพบเห็นพระพุทธรูปใหญ่อย่างนี้มาก่อนก็ดีใจ จึงเลิกค้นหานกตัวนั้น แล้วพากันสํารวจบริเวณรอบๆ องค์พระเจ้าใหญ่ ทางด้านหลังพบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกพบหนองน้ําขนาดย่อม มีซากกะโหลกหัวแรดอยู่ในหนองน้ํานั้นด้วย รอบๆ องค์ พระมีต้นตาลอยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ มีเถาวัลย์ปกคลุมรุงรัง ไม่ปรากฏว่ามีคนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จึงกลับไปยังภูมิลําเนาของตน และเชิญชวนญาติพี่น้องมาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้ และตั้งชื่อว่า “บ้านหัวแฮด

พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์

การก่อตั้งบ้านหัวแฮด บางครั้งเรียกว่าหอแฮด ตามหัวแรดที่พบโดยให้ท้าวศรีปากเป็นเจ้าเมืองเรียกว่า อุปฮาดราชวงศ์ ซึ่งคงจะเป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ จากนั้นได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดและตั้งชื่อว่า “วัดหงษ์” ตามชื่อของนกที่ยิงแล้วบินมาตกบริเวณนั้น

สําหรับองค์พระนั้น มีอักษรขอมจารึกบนแผ่นดินเผา ปัจจุบันถูกทําลายแล้ว อ่านได้เฉพาะคําหน้าว่า “พระเจ้าใหญ่” อักษรตัวอื่นไม่มีใครอ่านออก จึงเรียกองค์พระว่าพระเจ้าใหญ่ตั้งแต่นั้นมา ส่วนเจดีย์มีอักษร ขอมจารึกไว้ที่ฐานแต่ไม่มีใครอ่านออก จนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา สําหรับประวัติการสร้างหมู่บ้านและสร้างวัด ได้จารไว้ในใบลานเป็นอักษรขอมลาว ปัจจุบันไม่ทราบว่าไปตกอยู่กับผู้ใด

พระเจ้าใหญ่ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย (บางครั้งเรียกปางสะดุ้งมาร) หน้าตักกว้าง ๑.๓๗ เมตร สูง ๒.๒ เมตร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับเมืองพุทไธสง เมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีเศษมาแล้ว ราว พ.ศ.๒๐๐๐ อาจจะไม่ใช่ขอมสร้าง เพราะในบริเวณใกล้เคียงไม่เคยพบพระพุทธรูปแบบนี้มาก่อน ส่วนมากจะพบพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินทราย ไม่ใช่สัมฤทธิ์แบบพระเจ้าใหญ่

การสร้างพระเจ้าใหญ่นั้น สันนิษฐานว่าคงสร้างหลังจากขอมหมดอํานาจในเขตนี้ คือหลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงขับไล่อิทธิพลขอมออกไปแล้ว จึงมีพระพุทธศาสนา เข้าในช่วงนี้ สําหรับช่างที่ทําการก่อสร้างน่าจะเป็นลาว เพราะพระพุทธรูป ที่รัชกาลที่ ๑ อัญเชิญจากประเทศลาว มาไว้ที่วัดสระปทุม ในกรุงเทพฯ นั้นมีเกศเหมือนพระเจ้าใหญ่ เกศลักษณะนี้มีเฉพาะในภาคอีสานและประเทศลาวเท่านั้น สําหรับอักษรขอมลาว อาจจะเป็นเพราะอิทธิพลความศักดิ์สิทธิ์ของอักษรขอมและความเชื่อด้านศาสตร์ลึกลับยังคงมีอยู่ก็ได้ ขอมคงหมดอํานาจไปเฉพาะด้านการปกครองเท่านั้น

วิธีการสร้างองค์พระเจ้าใหญ่ คงจะเป็นการเทโลหะผสมลงในแม่พิมพ์เหมือนกับในสมัยปัจจุบัน ภายในองค์พระบรรจุดินสีดํา คงจะเป็นดินศักดิ์สิทธิ์ที่รวบรวมมาจากที่ต่างๆ ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ มีรอยผุบริเวณขาขวาขององค์พระ เมื่อเคาะดูพบแร่เหล็กจํานวนมาก และมีดินอยู่ภายในคล้ายดินเหนียวแต่มีสีดํา หลังจากถอดแม่พิมพ์ แล้วคงจะไม่มีการตกแต่งเพราะผิวไม่เรียบเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป องค์ พระค่อนข้างผอม ด้านหน้าตักกับส่วนสูงไม่ได้สัดส่วนกัน ทําให้สันนิษฐานว่า การสร้างเมืองพุทไธสงกับพระเจ้าใหญ่ ได้สร้างพร้อมกัน ประชาชนคงถูกเกณฑ์แรงงานไปสร้างคูเมือง สร้างเจดีย์ และองค์พระ จนไม่มีเวลาทํามาหากินจึงอดอยาก ทําให้สร้างพระพุทธ รูปออกมาค่อนข้างผอม ผิดกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหรือเชียงแสน องค์พระจะอ้วนสมบูรณ์ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ประชาชน มีความอยู่ดีกินดี อย่างไรก็ตาม พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปไม่เสื่อมคลาย ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใดมาบดบังรัศมีของพระเจ้าใหญ่ได้เลย

เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่นั้น ในสมัยก่อน หากมีผู้ใดมาตัดไม้ทําลายป่าในบริเวณใกล้ๆ กับที่ประดิษฐานขององค์พระ ก็จะเกิดการหลงป่าหลงทางกลับบ้านไม่ถูก หรือไม่ก็จะเห็นว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยน้ําต้องว่ายน้ํากลับบ้าน แต่เมื่อมี คนมาพบก็จะเห็นว่าคนนั้นกําลังว่ายอยู่บนบก อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหล่านี้ได้ มีผู้ประสบหลายครั้งหลายคราว จึงมีผู้คิดจัดงานฉลองให้ผู้คนเข้านมัสการ และปิดทองคําเปลวที่องค์พระเจ้าใหญ่ ในช่วงวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีตั้งแต่ โบราณมาจนถึงปัจจุบันนี้

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ มีผู้มาสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่ว่าจะเลิกเสพสิ่งเสพติดจะเลิกดื่มสุราและเครื่องดองของเมาต่างๆ แล้วมีหลายรายที่ไม่ทําตามคําสาบาน ก็ต้องมีอันเป็นไปในลักษณะอาเพศต่างๆ ตามคํามั่นสัญญาที่ตนสาบานไว้ จึงไม่มีผู้ใดกล้ามาสาบานอีก ต่อมาในระยะหลังๆ จึงมีผู้ไปพึ่งบารมีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่ โดยการสาบานเลิกดื่มสุรา และเห็นผลตามคําสาบานทุกประการ

อิทธิฤทธิ์เกี่ยวกับการขอบุตร มีสามีภรรยาหลายคู่ที่แต่งงานกันมา นานนับสิบปี แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน พากันไปนมัสการขอบุตรจากพระเจ้าใหญ่ ปรากฏว่ามีบุตรตามที่ปรารถนา

ในด้านคดีความ เมื่อมีคู่กรณีเกิดการฟ้องร้องกันแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ถ้ามาออมชอมกันต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่ ก็เกิดความเมตตาสงสารกันและตกลงกันได้ด้วยดีไป หลายรายแล้ว

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีโจรมาขโมยพระรูปสาวก พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตรไปทั้ง ๒ องค์ ครั้นออกมานอกวิหารก็มองเห็นบริเวณนั้นเต็มไปด้วยน้ํา จึงต้องอุ้มองค์พระว่ายน้ําเพื่อจะข้ามไปให้ได้ ครั้นรุ่งเช้าพระภิกษุในวัดตื่นขึ้นมา มองเห็นองค์พระอยู่ในอ้อมกอดโจรที่กําลังว่ายมกอยู่ จึงตะโกนบอกโจรให้นําพระมาคืน ครั้งโจรได้ยิน จึงทิ้งองค์พระทั้งสององค์ไว้และวิ่งหนีไป ชาวบ้านก็ไม่ติดใจจะตามจับ เพราะคิดว่าพระเจ้าใหญ่คงจะลงโทษโจรผู้ ร้ายเหล่านั้นเอง

ยังมีความมหัศจรรย์จากอิทธิฤทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่อีกมากมาย ที่ไม่ได้กล่าวถึง จึงทําให้พุทธศาสนิกชนเชื่อถือกันมาก หากใครต้องการพิสูจน์ ก็สามารถมาพิสูจน์ความศักดิ์ สิทธิ์ของพระเจ้าใหญ่ได้ที่วัดหงษ์ บ้านศรีษะแรด ต.มะเฟือง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์

งานนมัสการพระเจ้าใหญ่ที่วัดหงษ์ บ้านศรีษะแรด ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จัดงานในวันเพ็ญเดือน 3 เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะพระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบุรีรัมย์และชาวอีสานทั่วไปเลื่อมใสศรัทธามาก