วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

วัดป่านิโครธาราม
อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

ชาติกําเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ นามเดิมชื่อ อ่อน กาญวิบูลย์ เกิดเมื่อ วันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ํา เดือน ๗ ปีขาล พ.ศ.๒๔๔๕ (ตามพ่อแม่ของท่านบอก) หรือเกิดวันอังคารขึ้น ๕ ค่ําหรือ ๑๒ ค่ํา (ตามปฏิทิน ๑๐๐ ปี) ณ บ้านดอนเงิน ตําบลแซแล อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

เป็นบุตรของ นายภูมีใหญ่ และ นางบุญมา กาญวิบูลย์ ซึ่งมีลูกทั้งหมด ๒๐ คน เลี้ยงจนเจริญเติบโตเพียง ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๘ ของผู้ที่ยังมีชีวิตรอด จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ท่านเกิดในท่ามกลางสภาพของธรรมชาติป่าดงอันอุดมสมบูรณ์มีความอบอุ่น อยู่กับพ่อแม่มีความเป็นอยู่พอมีความสุขตามสมควร จากอาชีพทํานา เลี้ยงโคฝูง ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ค้าขายเบ็ดเตล็ดต่างๆ อาชีพทํานาอาศัยฟ้าฝน ถ้าปีไหนฟ้าฝนดี ถ้าไม่เกิดโรคก็จะได้ผลผลิตเกิน ๑,๐๐๐ ถัง จากที่นา ๘ ทุ่ง (แปลง) เป็นการผลิตเพื่อบริโภคกันทุกครัวเรือน มีวัวฝูงกว่า ๒๐๐ ตัว กลางวันต้อน ออกคอก ปล่อยไปหากินเอง ตอนเย็นกลับเข้าคอกเอง ถ้าวัวไม่เข้าคอกเป็น ๔-๕ วัน จึง ออกตามไล่ต้อนเข้าคอกสักที่หนึ่ง ถ้าวัวหายไปตามหาก็ลําบากป่าดงมันรกเสือและงูร้ายก็ชุกชุม

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าถึงประวัติตนเองเมื่อครั้งช่วยพ่อแม่ทํางานด้วยความทุกข์ใหญ่ว่า ครั้งหนึ่งเดือนเมษายน วัวไม่กลับเข้าคอกจึงออกติดตาม ไม่ได้เตรียมน้ําดื่มไปด้วย กว่า จะเห็นฝูงวัวก็บ่าย ๒ โมงเข้าไปแล้ว เดินเท้าเปล่าไม่มีรองเท้าตอไม้ที่ม หิวน้ําก็หิว ก่อน เข้าหมู่บ้านหัวเข่าอ่อนล้าฮวบลง ลุกขึ้นหาไม้เท้าใช้สองมือยืนไปจนถึงบ้านได้ ครั้นถึงบ้านด้วยความกระหายน้ําอย่างมากจึงรีบดื่มน้ําไป ๑๒ กระบวยใหญ่ จุกน้ําเกือบตาย นี่คือทุกข์ใหญ่

สมัยที่หลวงปู่อ่อนอายุ ๑๑ ปี พ่อแม่ของท่านได้นําไปฝากให้อยูวัดใกล้บ้าน ซึ่งสมภารมีความรู้ทางด้านภาษาลาว ภาษาขอม และภาษาไทยเป็นอย่างดี โดยหวัง ให้ลูกชายได้รับการศึกษามีอนาคตสามารถเลี้ยงพึ่งพาตนเองได้ พออายุได้ ๑๖ ปี พ่อของท่านได้อบรมว่า การบวชนี้เป็นบุญมากในที่สุด ท่านก็ใคร่จะบวชจึงบอกเล่าและลาพ่อแม่ว่าต้องการบวช เมื่อได้บวชแล้วจะไม่สึก

พระครูพิทักษ์คณานุการ (ศรี ธมฺมทินฺโน) ญาพ่อตู้
พระครูพิทักษ์คณานุการ (ศรี ธมฺมทินฺโน) ญาพ่อตู้

พ่อแม่จึงนําท่านไปฝากให้เป็นศิษย์วัดกับ ท่านพระครูพิทักษ์คณานุการ วัดจอมศรี บ้านเมืองเก่า อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ต่อมาท่านก็ได้บรรพชาให้เป็นสามเณรอ่อน ให้ศึกษาเล่าเรียนสวดมนต์ไหว้พระ การบวชเป็นสามเณรนี้ก็เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนให้มีความรู้มากขึ้น สามเณรอ่อน ได้ศึกษาพระธรรมวินัยพอเป็นนิสัย เข้าใจถึงชีวิตสมณเพศเท่านั้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เด็กชายอ่อนได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี (พ.ศ.๒๔๖๒) สามเณรอ่อน ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย เมื่อเลิกจากเวลาเรียนแล้วก็ต้องเข้าไปรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ปัดกวาด ทําความสะอาด ล้างกระโถน รุ่งเช้าก็ออกบิณฑบาต ท่านมีฝีมือด้านการช่าง ได้ร่วมกับพระอาจารย์นําดินมาสร้างพระพุทธรูปแกะสลักไม้ ทําบานประตู หน้าต่างที่สวยงามมาก ท่านมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร ท่านจําพรรษาอยู่ที่วัดจอมศรี กับ ท่านพระครูพิทักษ์คณานุการ ผู้เป็นอุปัชฌาย์ ๓ ปี

ท่านมีอายุ ๑๙ ปี จึงเข้าอําลาอาจารย์ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ท่านอุปัชฌาย์หาว่าอวดดี จึงขับออกจากวัดจอมศรี ไปพักอยู่ที่วัดดอนเงิน ไปลาโยมพ่อโยมแม่ แต่ไม่ได้รับอนุญาตอ้างว่าคิดถึง

พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณโณ
พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณโณ

เมื่อสามเณรอ่อนอายุครบ ๒๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะ มหานิกาย ที่วัดบ้านปะโค ตําบลปะโค อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระครูจันทา (เจ้าอธิการจันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปจําพรรษาอยู่ที่ วัดบ้านดอนเงิน ๑ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้ขอลาโยมพ่อโยมแม่ออกธุดงค์กรรมฐานไปอยู่กับ พระอาจารย์สุวรรณ วัดป่าอรัญญิกาวาส อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตามความตั้งใจของ ท่านมาแต่เดิม คือ

๑. ยึดมั่นต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบริกรรมว่า พุทโธ

๒. ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร

๓. บิณฑบาตเป็นวัตร

๔. ไม่รับอาหารที่ตามมาส่งภายหลัง รับเฉพาะที่ได้มาในบาตร

๕. ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร

๖. ฉันในบาตร คือมีภาชนะใบเดียวเป็นวัตร

๗. อยู่ในป่าเป็นวัตร คือเที่ยวอยู่ตามร่มไม้บ้างในป่าธรรมดาบ้าง บนภูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ําบ้าง ในเงื้อมผาบ้าง

๘. ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าจีวร ผ้าสบง (รวมผ้าอาบน้ําฝนด้วย)

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ออกธุดงค์ แสวงหาความสงบวิเวก ปฏิบัติธรรมได้ไปฝึกหัด เรียนพระกรรมฐานอยู่กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล , พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์อยู่ที่วัดป่าบ้านค้อ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และได้ขอให้สวดญัตติแปรจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุต พระอาจารย์ยังไม่ยินยอม ให้ฝึกภาวนาไปอีก ๑ ปี แล้วได้ขอให้ญัตติเป็นธรรมยุตอีก ท่านยินยอมแต่ต้องให้ท่องหนังสือนวโกวาท และพระปาติโมกข์ให้จบเสียก่อน

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ จึงตั้งใจท่องนวโกวาท ๔ วันจบ ท่องปาติโมกข์ ๗ วันจบจึงได้รับ ทําการญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ขึ้น ๓ ค่ํา เดือน ๓ อายุ ได้ ๒๓ ปี โดยมี พระครูชิโนวาทธํารง (พระมหาจูม พนฺธุโล หรือ พระธรรมเจดีย์) รักษาการตําแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูอดิสัยคุณาธาร (คํา อรโก) เจ้าคณะจังหวัดเลย วัดศรีสะอาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วกลับไป จําพรรษาที่วัดป่าอรัญญิกาวาส อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้ไปจําพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโม ที่วัดป่า อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร ในปีนี้ หลวงพ่อคํามี ผู้เป็นพี่ชายของหลวงปู่อ่อน บวชสังกัดมหานิกาย มาขออยู่ปฏิบัติธรรม ฝึกหัดภาวนากับท่านด้วย แต่ได้เกิดไข้ป่าอย่างแรง มรณภาพเมื่อเดือน ๘ แรม ๘ ค่ํา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ธุดงค์ไปจําพรรษากับ พระอาจาย์สิงห์ ขันตยาคโม และ พระอาจาย์มหาปิ่น ปญญาพโล ที่เสนาสนะป่า ตําบลหัวตะพาน อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จําพรรษาที่ป่าช้า บ้านหัวงัว ตําบลไผ่ช้าง อําเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี

ปีถัดมา พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๗๒ ไปจําพรรษาที่วัดป่าบ้านสาวะถี ตําลบสวะถี อําเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น (สมัยนั้น)

ถัดมาอีกปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ธุดงค์ไปจําพรรษาที่ วัดป่าบ้านพระคือ อําเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงปู่อ่อนได้ไปจําพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรมบ้านเหล่างา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

และในปี พ.ศ.๒๔๗๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ขณะดํารงตําแหน่งพระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา มีบัญชาเมื่อ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ ให้พระกรรมฐานที่มีอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ไปร่วมอบรมประชาชน ร่วมกับทางราชการที่จังหวัดนครราชสีมา มีพระกรรมฐานไปชุมนุมกันจํานวนมาก เช่น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม , พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล , พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ , พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ ปีนี้เอง พ.ต.ต.หลวงชาญนิยมเขต ได้ยกที่ดิน ๘๐ ไร่ถวายพระกรรมฐาน ที่มาชุมนุมเพื่อสร้างสํานักปฏิบัติธรรมอบรมศีลธรรม ตั้งชื่อให้สถานที่แห่งนี้ว่า วัดป่าสาลวัน ในครั้งนี้คณะพระกรรมฐานได้แยกย้ายกันออกอบรมศีลธรรมและสร้างวัดอื่นๆ อีกมากมาย ส่วน พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ , พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร , พระอาจารย์กงมาจิรปุญโญ ได้ไปสร้างวัดป่าบ้านใหม่สําโรง อําเภอสีคิ้ว ชื่อวัดสว่างอารมณ์ พระอาจารย์อ่อน ณาณสิริได้อยู่ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดป่าสาลวัน เป็นเวลา ๑๒ ปีเท่ากับพระอาจาย์ฝั้น อาจาโร

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้ออกจากวัดป่าสาลวัน ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดบ้านหนองผือ ได้สร้างวัดที่บ้านหนองโคก อําเภอพรรณานิคมให้เป็นคู่กับวัดป่าบ้านหนองผือ ทางที่จะไปนมัสการพระอาจารย์มั่น เพื่อให้ถูกกับอัธยาศัยของพระอาจารย์มั่น ด้วยว่าให้พระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระสร้างวัดขึ้น ในรัศมีของวัดป่าบ้านหนองผือ จะได้ฝึกหัดพระที่มาศึกษาภาวนา เป็นการแบ่งเบาภาระของท่าน เมื่อพระอาจารย์อ่อนได้สร้างวัดนี้แล้ว ท่านได้อยู่จําพรรษาหลายปี และได้เดินทางไปนมัสการพระอาจารย์มั่น เป็นประจําเพราะท่านอายุมาก

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อาพาธหนัก ได้รับการนําไปรักษา ที่วัดสุทธาวาส สกลนคร และมรณภาพที่นี่

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อพิธีถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่น ผ่านไปแล้ว พระอาจารย์อ่อน ได้เที่ยวธุดงค์ไปถึงเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี อยู่จําพรรษา ๑ พรรษา แล้วกลับมาช่วย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม สร้างกุฏิและหล่องพระประธานที่ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระญาณวิศิษฎ์วิริยาจารย์ มาอีกหลายปีท่านมาณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ขอแต่งตั้งให้ อาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน แทนท่านเจ้าคุณอยู่ประมาณ ๑ ปีจึงลากออก เพราะเห็นว่าขัดต่อการออกรุกขมูลวิเวก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้มาสร้างวัดป่าบ้าน หนองบัวบาน ตําบลหมากหญ้า อําเภอหนวงวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ตามคําบัญชาของ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ สิ้นเงินหลายล้านบาท

ครั้นปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เริ่มอาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหาร ได้รับการรักษาโดย การผ่าตัดหลายครั้ง อาการพอทรงตัวอยู่ได้ ร่างกายทรุดโทรม แต่ท่านก็ยังปฏิบัติกิจด้วย ความอุตสาหะ สงเคราะห์พุทธบริษัท ปฏิบัติธรรม ตลอดมิได้เว้น

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ อาการอาพาธทรุดหนัก จึงได้นําเข้ารักษาที่โรงพยายบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม อุดรธานี

(๒๔ พ.ค.) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ (๒๕ พ.ค.) โรงพยาบาลรามาธิบดี (๒๖ พ.ค.) อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ คืนวันพุธ เวลา ๐๔.๐๐ น.

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบท่ามกลางนายแพทย์และคณะ ศิษย์ที่ติดตาม สิริรวมอยุได้ ๘๐ ปี เป็นสามเณร ๓ พรรษา เป็นพระ ๕๘ พรรษา

◎ โอวาทธรรม หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

“..ปัจจุบันนี้โลกเราต้องการคนดี โลกต้องการการให้อภัย
เพราะนั่นเป็นทางแห่งความสันติสุข ต้องให้อภัย ทำใจให้กว้างขวาง
จึงจะได้ชื่อว่า เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง..”

“..การทำความเพียร ต้องเป็นผูรักษาสัจจะ คือให้มีสัจจะธรรม ตั้งใจอย่างไรแล้ว อย่าทำลายสัจจะ สัจจะ เมื่อตั้งให้ถูกต้องตามอรรถตามธรรมแล้วจะเกิดเป็นพลังของจิตอย่างดีเยี่ยม..”

“..ธรรมดาใจของเราเป็นผู้คิด คิดเรื่องรัก เรื่องหลง มันเป็นเครื่องเผา เป็นเครื่องผุน
เผามันก็เผาที่หัวใจ ไม่เผาที่อื่น ที่อื่นมันไม่มีความรู้สึก ความรู้สึกมีอยู่ในใจนั่นเอง..”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง