วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2567

ตำนานพระว่านจำปาสัก (ว่านจำปาศักดิ์) สปป.ลาว

ตำนานพระว่านจำปาสัก (ว่านจำปาศักดิ์) ที่สร้างขึ้นโดย ยาคูขี้หอม หรือ พระครูโพนสะเม็ก

พระว่านจำปาสัก
พระว่านจำปาสัก

ตําราพิชัยสงครามระบุว่า “ว่าน คือ สุดยอดของคงกระพัน โดยธรรมชาติ” นักรบสมัยโบราณนิยมการอาบว่าน เดี๋ยวว่าน โบราณาจารย์ในอดีตลัวนปลูกว่าน เลี้ยงว่าน เพื่อนํามาใช้ประโยชน์

สุดยอดของว่านลุ่มแม่น้ําโขง

พระว่านจำปาศักดิ์
พระว่านจำปาศักดิ์

พระเนื้อว่านที่พบมากที่สุดคือ ในองค์พระธาตุพนม จ.นครพนม ครั้งที่องค์พระธาตุพนมล้มเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากข้าวของลําค่าเป็นทองคํา เงิน นาก แล้วยังพบพระพิมพ์ว่านหน้าทอง หน้าเงิน หน้านาก อีกจํานวนหนึ่ง มากที่สุดคือ พระเนื้อว่านล้วน พระว่านที่พบนี้เรียกว่า “พระว่านจําปาศักดิ์

ใครคือผู้สร้างพระว่านจําปาศักดิ์

ผู้สร้าง พระครูโพนสะเม็ก ชาวบ้านถวายนามท่านว่า “พระครูขี้หอม” ความหมาย ทุกอย่างในตัวท่านดี หอม ทั้งสิ้น แม้แต่อุจจาระของท่านก็ยังหอม

รูปของพระครูขี้หอมหล่อด้วยสําริดขนาดเท่าองค์จริงประดิษฐาน อยู่ด้านทิศเหนือของฐานองค์พระธาตุด้านประตูทางเข้า มีธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิ ของพระครูด้านหนึ่งของกําแพงวัด มีบันทึกเรื่องราวของพระครูในหนังสือ วัดพระธาตุพนม

ท่านพระครูทําการบูรณะองค์พระธาตุ เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๖หรือเมื่อ ๓๐๐ ปีที่ผ่านมา (๒๒๓๖-๒๕๓๖) ใช้เวลาบูรณะ ๙ ปี จนถึง พ.ศ.๒๒๔๕

ระหว่างบูรณะ พระครูหล่อพระพุทธรูปทองคํา เงิน นาก และ พระเนื้อว่าน นําบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ

รัชสมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทร

เมื่อท่านพระครูนั่งเมืองตามคําอาราธนาของนางแพงผู้ครองเมือง แล้ว ท่านพระครูขี้หอม ได้ใช้หลักธรรมในการปกครอง แต่ประชาชนชาวเมือง จําบากบุรีศรีไม่อาจจะยอมรับได้ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม ท่านพระครูเป็นพระ ไม่อาจจะลงโทษรุนแรงได้เพราะขัดหลักธรรม ขัดศีล ความเดือดร้อน กระจายไปทั่ว โจรผู้ร้ายสึกเหิม

ท่านพระครูขี้หอม จึงให้เสนาอํามาตย์ไปทูลเชิญ เจ้าหน่อ ราชโอรสรอง ของ พระนางสุมังคละ ที่ท่านพระครูนําไปซ่อนตัวหนีภัยจากกบฏเวียงจันท์ ในครั้งนั้น เจ้าหน่อพร้อมด้วยข้าทาสบริวารจึงเสด็จมาจําบากบุรีศรี และได้เสวยราชย์ครองเมืองต่อมา ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และสถาปนานครจําบากบุรีศรีเป็น “นครจําปาศักดิ์

สมโภช ๑๐ วัน ๑๐ คืน มีการเล่นพื้นเมือง มีการแข่งเรือยาวใน ลําน้ําโขง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการแข่งเรือยาวในแม่น้ําโขง และกลาย เป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงวันนี้

ด้านพระพุทธศาสนา ท่านพระครูในฐานะที่ปรึกษาได้สร้างวัดวา อาราม เจดีย์ พระวิหาร พระพุทธรูป และพระเครื่อง มีด้วยกันหลายแบบ หลายพิมพ์ เช่น

  1. พระหุ้มทอง (บุทอง) ภายในเป็นเนื้อว่านห่อหุ้มองค์ด้วยทองคํา ทริดจนบาง สลักพุทธลักษณะ

2. พระหุ้มเงิน (บุเงิน) เช่นเดียวกับ บุทอง

3. พระหุ้มนาก (บุนาก) เช่นเดียวกัน

4. พระเครื่อง เนื้อว่านผสมด้วยขี้ครั่งเป็นตัวประสานให้เนื้อว่าน เกาะตัวแน่น น้ําหนักเบา บางองค์ลอยน้ําได้เพราะความเบา (ภาคอีสาน เรียกพระว่านนี้ว่า “พระขี้ครั่ง

ยาคูขี้หอม พระครูโพนสะเม็ก
ยาคูขี้หอม ญาคูโพนสะเม็ก

กรรมวิธีการสร้างเช่นเดียวกับที่สร้างและบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนม นครพนม

เหตุที่เรียกว่า พระว่านจําปาศักดิ์ เพราะพบมากในบริเวณนคร จําปาศักดิ์ เรื่อยมาจนถึงพื้นที่เมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน เช่นเขต อ.วาริน ชําราบ และ อ.เมือง อุบลราชธานี

พระว่านจําปาศักดิ์มิได้กําหนดพิมพ์แน่นอน บางองค์ใหญ่ ส่วนสูง ไม่เกิน ๒ นิ้วครึ่ง กว้างประมาณ ๑ นิ้ว พิมพ์เล็กส่วนสูงประมาณ 1 นิ้ว กว้างประมาณครึ่งนิ้ว เนื้อว่านปรากฏชัดเจน (ว่านจําปาศักดิ์กับว่านภาคกลางของไทยผิดกัน จะกล่าวในตอนต่อไป)

ปีการสร้างพระว่านตรงกับปีที่มีการราชาภิเษกเจ้าหน่อเป็น กษัตริย์ครองจําปาศักดิ์ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๕๖ หลังการบูรณะพระ ธาตุพนม ๒๓ ปี (ธาตุพนม พ.ศ. ๒๒๓๓)

อํานาจของพระว่านจําปาศักดิ์

ผลจากการที่นําว่าน ๑๐๘ ชนิดมาสร้างเป็นพระเครื่องทําให้เกิด อํานาจตามธรรมชาติที่ร่ําลือกันมากคือ

๑. คงกระพันเป็นเยี่ยม

๒. กันพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ท่านว่า เมื่อเกิดอาการถูกพิษแมลงสัตว์ กัดต่อยให้นําว่านแช่น้ําแล้ววางแปะบนบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย ฤทธิ์ว่าน จะดูดซึมพิษนั้นออกมาจากร่างกาย (กาลเวลาผ่านมานับร้อยปีไม่ทราบว่า อํานาจธรรมชาติของว่านจะยังคงเหลืออยู่หรือไม่)

ว่านทั้ง ๑๐๘ ชนิด เป็นพระยาว่าน ๒๐๐-๓๐๐ปีที่ผ่านมา สภาพของพื้นที่นครจําปาศักดิ์เป็นป่าดิบดงดํา ว่านมากมายทั่วไปท่านพระครูขี้หอม เป็นเกจิอาจารย์เชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพร ทั้งศิษย์ของท่านหลายคนเป็นพรานป่าเชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพรเช่นกันดังนั้น การแสวงหาว่าน ๑๐๘ ชนิดจึง ไม่ยาก

เมื่อนักรบไทยมาปฏิบัติการครั้งสงครามอินโดจีน ในนครจำปาสัก จึงได้พบกับพระว่านจำปาศักดิ์จำนวนมาก ส่วนหนึ่งนำกลับมายังเมืองไทย นี่จึงเป็นเหตุที่พระว่านจำปาสัก ได้มาปรากฏที่จังหวัดอุบลราชธานี และแผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย

สงครามอินโดจีน ไทยร่วมรบเกณฑ์ผู้คนจากอีสานเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้มีทั้งภาคเหนือ อีสาน เข้าไปอยู่ในจําปาศักดิ์ได้รับประสบการณ์จากพระว่านจําปาศักดิ์ เมื่อสงครามสงบจึงได้นําพระว่านกลับมาบรรจุในเมืองไทยอีกจํานวนมาก

ว่านจําปาศักดิ์ จึงได้ชื่อเพราะนําไปจาก นครจําปาศักดิ์ ประเทศลาวนั่นเอง