วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2567

พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน วัดไซยะพูมมาราม สะหวันนะเขต สปป.ลาว

ประวัติ พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน
วัดไซยะพูมมาราม แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນໂນ) วัดไซยะพูมมาราม สะหวันนะเขต สปป.ลาว
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນໂນ) วัดไซยะพูมมาราม สะหวันนะเขต สปป.ลาว

พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) อดีตเจ้าราชาคณะขวา อดีตสังคมนตรี องค์การปกครองสงฆ์ และอดีตเจ้าอธิการวัดไซยะพูมมาราม แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว

◉ ชาติกำเนิด
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พ.ศ.2440 ตรงกับวันที่ 4 เดือนมีนาคม ค.ส.1897 ณ บ้านแก้งกอก ตาแสงแก้งกอก เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ท่านเป็นบุตรชายคนแรกของท้าวคำ และ นางหลอด ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันคือ
1.ท้าว เหลื่อม (พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน) (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ)
2.ท้าว มาน
3.ท้าว เกิ้น
4.ท้าว ก้าน
5.ท้าว ก่อง
6.นาง ลอง

ท้าวเหลื่อมเมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มน้อยนั้น เป็นคนที่มีความขยันขันแข็งในการทำงาน ช่วยเหลือพ่อแม่ด้วยความขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ ซึ่งเป็นธรรมดาพ่อแม่หวังพึ่งลูกชายคนโต ในการช่วยเหลือการงานภายในครอบครัวเสมอ

◉ การบรรรชาอุปสมบทและการศึกษา
ท้าวเหลื่อมเมื่อมีอายุย่างเข้า 14 ปี ได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ในพระพุทธศาสนา ที่วัดเกตุมะติการาม บ้านแก้งกอก ตาแสงแก้งกอก เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว โดยมี ยาท่านใส เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นก็ได้ตั้งใจศึกษาร่ำเรียน อักษรธรรม และอักษรลาว เรียนพระสูตรต่างๆ อาทิ มนต์น้อย มนต์กลาง และธรรมวินัยพอสมควร ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในพุทธศาสนาเรื่อยมา

ต่อมาในปีมะโรง พ.ศ.2459 ค.ศ.1916 พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเกตุมาติการาม บ้านแก้งกอก เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว โดยมี ยาท่านมน วัดเกตุมาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิม วัดเกตุมาติการาม เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระครูหอม วัดเกตุมาติการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบท พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ท่านได้ศึกษาหาความรู้ในทางพุทธศาสนา เรียน มูลกัจจายน์ มูลลามา ปาฏิโมกข์ หรือ มูลเดิม จากอาจารย์มูนที่สาม บ้านดงมอน

ในปี ค.ส.1918 ได้มาศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น มูลเดิม มูลมาลา และมูลไวยกรณ์ ณ บ้านบ่อหิน ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากได้ศึกษาจบแล้ว จนเป็นที่พอใจท่านก็ได้หวนคืนกลับคืนสู่ภูมิลำเนา

เมื่ออุปสมบทได้ 9 พรรษา ท่านได้รับนิมนต์ จากกองประชุมสงฆ์เขตเมืองจำพอน ซึ่ง พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ได้รับนิมนต์จากทางราชการจาก ยาหลวงตาน เจ้าเมืองคันทะบุรี ซึ่งได้มีหนังสือไปแจ้งต่อ ยาหลวงโพ เจ้าเมืองจำพอน (พระยาโพลิทัด อะมะลาทิทาดา) เพื่อจะได้นิมนต์เอาพระสงฆ์รูปสำคัญ มาประจำอยู่ที่วัดไซยะพูมมาราม แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว

วัดไซยะพูมมาราม (ວັດໄຊຍະພູມມາຣາມ) แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
วัดไซยะพูมมาราม (ວັດໄຊຍະພູມມາຣາມ) แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
วัดไซยะพูมมาราม (ວັດໄຊຍະພູມມາຣາມ) แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
วัดไซยะพูมมาราม (ວັດໄຊຍະພູມມາຣາມ) แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

พระเหลื่อม ปะสันโน จึงได้รับการแต่งตั้งให้มาประจำอยู่ที่วัดไซยะพูมมารามแห่งนี้ และพร้อมด้วยคณะสงฆ์อีก 7 รูป ที่ได้ติดตามมา พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เรื่อยมา

◉ ตำแหน่ง
พระครูเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະຄູເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) เมื่อมีพรรษามากขึ้น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าราชาคณะ แขวงสะหวันนะเขต และเป็นพระเถระรูปแรกที่ได้รับตำแหน่งสูง ในฐานะเป็นเจ้าราชาคณะ แขวงสะหวันนะเขต

ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าราชาคณะแขวงอยู่นั้น ท่านยังได้รับเกียรติอีกตำแหน่งคือ ว่าที่หัวหน้าโรงเรียนปริยัติธรรม ของแขวงสะหวันนะเขตอีกด้วย

ต่อมาในปี ค.ศ.1954 ทางรัฐบาลลาว ได้แต่งตั้ง องค์การปกครองสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วย พระราชาคณะทั้ง 5 (สังคมนตรี) และท่านก็ได้รับหน้าที่องค์การศึกษาพุทธศาสนา

ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ของเจ้าราชาคณะทั้ง 5 ได้ลงมติเห็นชอบให้ท่านรับหน้าที่ องค์การแกครองสงฆ์ทั่วประเทศ หรือ เจ้าราชาคณะ 5

พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນໂນ) วัดไซยะพูมมาราม สะหวันนะเขต สปป.ลาว
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນໂນ) วัดไซยะพูมมาราม สะหวันนะเขต สปป.ลาว

◉ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ได้รับพระราชทานเหรียญอิสริยาภรณ์ ล้านช้างร่มขาว ชั้นชั้นเบญจมาภรณ์ (ປັນຈະມາພອນ) ในวันขึ้น 15 ค่ำปีมะแม จุลศักราช 1305 ตรงกับ ค.ศ.1955
ได้รับพระราชทานเหรียญอิสริยาภรณ์ พระบรมรูป ศรีสว่างวงศ์ เหรียญเงิน ในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 7 ปีขาล จุลศักราช 1312 ตรงกับวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1950

◉ สมณศักดิ์
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันนะมหาเถระ (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งราชาคณะแขวง ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະຄຣູເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) และในเวลาต่อมาท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระหลักคำเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະຫຼັກຄຳເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ)

ต่อมาในปี ค.ศ.1954 เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเป็น พระราชาคณะทั้ง 5 สังคมนตรีแล้ว ท่านได้ถูกเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันนะมหาเถระ (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) ซึ่งเป็นสมณศักดิ์อันสูงสุด ในวงการพุทธศาสนาแห่งพระราชอาณาจักรลาว

◉ ด้านการปกครอง
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันนะมหาเถระ (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ เฉลียวฉลาดทางด้านพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงแล้ว ท่านก็ได้ใช้ความรู้ในพระธรรมวินัย เป็นหลักในการปกครองสงฆ์

ในปี ค.ศ.1940 พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน ท่านได้รับนิมนต์จากฝรั่งและเจ้านายลาว ให้เข้าร่วมกองประชุมสงฆ์ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และศาสนศึกษา ในขณะเดียวกันก็ได้เข้าร่วมประชุม เปิดพิพิธภัณฑ์ที่เมือง สักตรงโกแซงซิน การประชุมครั้งนี้ ท่านได้นำเอาคุณงามความดีหลายอย่างมาสู่ประเทศชาติและศาสนา เป็นต้นว่า ท่านได้เสวนาในการประชุมเกี่ยวกับการปกครองสงฆ์ และการศึกษาสงฆ์ โดยเฉพาะในแขวงที่ปกครองอยู่ ด้วยความอุตสาหพยายามของท่านจนเป็นผลให้ปรากฏว่า วิธีการดำเนินการปกครองสงฆ์ และการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งแต่ก่อนฝรั่งเศสไม่อนุญาตให้ตั้งขึ้น ด้วยความสามารถและความเข้มแข็งของท่าน ในกองประชุมสงฆ์ที่อินโดจีนนั้นเอง พระสงฆ์สามเณรในแขวงของท่าน จึงมีความรู้ในด้านพุทธศาสนาดีขึ้น

ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ซึ่งเป็นสมัยที่ได้รับตำแหน่ง เป็นเจ้าราชาคณะขวา องค์การศึกษากองประชุมสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ และรัฐบาลลาวได้อาราธนานิมนต์ให้ท่าน เข้าร่วมประชุมสังคายนา ที่ประเทศพม่า การประชุมครั้งนี้รัฐบาลพม่า ได้มอบใบประกาศนียบัตร สดุดีบัณฑิต ชั้นอัครมหาบัณฑิต แก่ท่านเพื่อเป็นเกียรติ

ส่วนการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในประเทศนั้น เมื่อครบรอบ วันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี ท่านก็ได้รับนิมนต์ให้ไปประชุมสงฆ์ทุกครั้ง ที่นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในพระพุทธศาสนา

ครั้นต่อมาภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการปกครองสงฆ์ ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบใหม่แล้ว ท่าน พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ท่านก็เพียงดำรงอยู่ในตำแหน่ง เจ้าอธิการวัดไซยะพูมมาราม แขวงสะหวันนะเขตเท่านั้น

◉ การปฏิสังขรณ์
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ท่านเป็นพระเถระที่ขยันขันแข็งในด้านการบูรณะวัดวาอาราม ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้นว่า กุฏิวิหาร และโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานของท่าน เป็นผู้นำพาพระสงฆ์สามเณร ญาติโยม ให้ความร่วมมือในการสร้างสาพัฒนา ดั่งเช่น โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เห็นในปัจจุบันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีไม้ลายมือของท่านเองเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างจนเป็นผลสำเร็จ ถึงแม้จะมีอุปสรรคมาขัดขวางท่านก็ไม่เคยย่อท้อแต่ประการใด และในบั้นปลายท่านก็ได้ก่อสร้างหอแจก (ศาลาการเปรียญ) ซึ่งยังไม่ทันสำเร็จลุล่วง ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพไปก่อน นอกจากการก่อสร้างพัฒนาภายในวัดแล้ว ท่านยังได้ส่งเสริมและให้ความร่วมมือในการก่อสร้างพัฒนาวัดวาอาราม ตามชนบทต่างๆในแขวงสะหวันนะเขตอีกด้วย โดยท่านได้รับนิมนต์ให้เป็นประธานในการสร้าง กุฏิ วิหาร โบสถ์ สิม หลายแห่ง นอกจากนั้นท่านยังได้ช่วยหาทุนสำหรับการก่อสร้างวัดวาอารามอีก

◉ ด้านการเผยแผ่
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ในคราวที่ท่านอยู่ในตำแหน่งราชาคณะแขวง ท่านชอบออกตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านน้อยใหญ่ ท่านได้ไปทั่วถึง เพราะท่านมีพาหะนะส่วนตัวไปมาสะดวกต่อการเดินทาง ออกเผยแผ่ศาสนาไปตามหมู่บ้านต่างๆ จนเกิดผลเป็นที่น่าพอใจญาติโยมตามหมู่บ้านต่างๆ มีความเคารพและเชื่อถือในตัวของท่านดี และแสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกับออกตนญาติโยมเป็นอย่างดี เนื่องจากท่านมีบุคลิกลักษณะเป็นที่ยำเกรงแก่ปวงชนทั้งหลาย เช่นว่า บุคคลใดยังไม่เคยเข้าถึงท่าน บุคคลนั้นก็มีความเกรงกลัวเป็นที่สุด หากว่าได้เข้าถึงตัวท่านจริงๆแล้วคนผู้นั้นจะรับรู้ว่าท่านเป็นพระผู้ใหญ่ ที่ไม่ถือตัว เป็นกันเอง มีความสะดวกสบายแก่ผู้เข้าพบไม่เลือกชั้นวรรณะ

ฉะนั้นการเผยแผ่ศาสนาของท่านไปตามชนบทต่างๆ จึงมีออกตนญาติโยมต้อนรับอย่างหนาแน่น นอกจากการเผยแผ่ศีลธรรมแก่ญาติโยมแล้ว ท่านยังไดส่งเสริมพระสงฆ์สามเณรให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาให้ดีขึ่น เช่น พระสงฆ์สามเณรรูปใดมีความพากเพียรเอาใจใส่ในการศึกษาร่ำเรียนด้วย จึงนับว่าภารกิจทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ทางกำลังกาย กำลังจิตใจ กำลังสติปัญญา และกำลังทรัพย์ ท่านได้ทุ่มเทเผยแผ่ศาสนาและช่วยชาติได้เป็นอย่างดี สมกับหน้าที่ตำแหน่งที่ได้รับตลอดมา

◉ สงเคราะห์ศิษสานุศิษย์ด้วยพุทธาคม
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีบุญญาธิการสูงส่ง แม้ว่าตำแหน่งที่ท่านได้รับนั้นเป็นตำแหน่งที่สูง แต่กับศิษย์ท่านก็มีความเป็นกันเอง บางครั้งในวันศีล เด็กน้อยร้องไห้กระจองอแง พ่อแม่ก็นำมาให้ท่านเป่าหัวให้ ผูกข้อไม้ข้อมือให้ เด็กก็หยุดร้องไห้ ทหารตำรวจเวลาจะออกไปปฏิบัติหน้าที่ ก็มาขอให้ท่านจารอักขระยันต์ใส่แผ่นทองแดงให้ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หากใครได้ของมงคลจากท่าน ถือว่าเป็นสิ่งมงคลสูงสุดในามัยนั้น

ปัจจุบัน เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ຫລຽນພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນໂນ) เป็นที่ต้องการของคนอย่างมาก เพราะมีประสบการณ์ต่างๆ มาแล้วนับไม่ถ้วน ลูกศิษย์ลูกหาของท่านมี ทุกชั้นวรรณะ นับตั้งแต่อาดยาเจ้านาย จนถึงพ่อค้าประชาชน ให้ความเคารพศรัทธาท่านตลอดมา

◉ มรณภาพ
พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) ท่านมักจะเจ็บป่วยมีโรคประจำตัวอยู่เสมอ เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว โรคภัยไข้เจ็บเหล่านั้นก็มักจะกำเริบรุนแรง ทำให้ซูบผอมไม่มีเรียวแรง ครั้นเมื่ออายุของท่านย่างเข้าสู่ 76 ปี ในปี ค.ศ.1973 โรคภัยไข้เจ็บเหล่านั้นก็ไม่ทุเลาเบาบางลง ท่านจึงได้ตัดสินใจไปรักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ อาดยาเจ้านายและออกตนญาติโยมภายในแขวงสะหวันนะเขต ได้ช่วยถวายปัจจัยเพิ่มเติมเพื่อรักษาตัว โดยเฉพาะแล้ว ท่านพะยาบุนทง วอละวงส์ และ ท่านนายพลหนูเพ็ด ดาวเรือง ท่าน พ.อ.บุนลอน ดาวเรือง ท้าวลิ่น พร้อมด้วยภรรยา ผู้เป็นลูกหลานของท่านเองเป็นผู้จัดการ และช่วยสละปัจจัยเป็นส่วนใหญ่ โรคภัยนั้นจึงทุเลาลงเล็กน้อย แต่ในเดือนต่อมา โรคภัยนั้นก็เริ่มกำเริบขึ้นมาอีก จึงได้รักษาตัวอยู่กับที่ เป็นเวลาถึง 2 เดือน แต่ความเจ็บป่วยนั้นก็ไม่ทุเลาเบาบางลง และร่างกายก็ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถรักษาให้หายได้

พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันนะมหาเถระ (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) ท่านได้มรณภาพลงในเดือน 4 แรม 5 ค่ำ ตรงกับ วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2514 เวลา 6 โมงเช้า ท่ามกลางพระสงฆ์สามเณร และออกตนญาตโยม ที่คอยดูแลด้วยความห่วงใย และอาลัยถึงท่านเป็นอย่างยิ่ง

การถวายเพลิงศพของ พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันนะมหาเถระ (ພຣະລູກແກ້ວເຫລື້ອມ ປະສັນນະມະຫາເຖຣະ) ได้จัดพิธีขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 โดยได้นิมนต์พระเถรานุเถระและพระภิกษุสามเณร ในราชอาณาจักรลาวและต่างประเทศ ที่มีความเคารพในตัวท่าน ฝ่ายสงฆ์โดยมี องค์ที่ปรึกษาพุทธศาสนา กระทรวงทัมมะการเป็นประธาน

ฝ่ายบ้านเมืองโดยมี พณฯ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการกีฬาและเยาวชน เป็นประธาน วันถวายเพลิงศพในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 ค.ศ.1975 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล เวลา 24:00 น.ณ เมรุชั่วคราว ลานข้างสนามกีฬาแขวงสะหวันนะเขต (สวนสุขภาพ หนูฮัก พูมสะหวัน ในปัจจุบัน)

ประวัติของท่าน พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) อดีตสังคมนตรี องค์การปกครองสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรลาว และอดีตเจ้าอธิการวัดไซยะพูมมาราม กำแพงเมืองสะหวันนะเขต (ในสมัยนั้น) นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้เรียบเรียงโดยสอบถามผู้อาวุโส คนเฒ่าคนแก่ที่เกิดทันในยุกนั้น

◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลที่ปัจจุบันได้รับความนิยมคือ เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน (ຫລຽນພຣະລູກແກ້ວເຫຼື້ອມ ປະສັນໂນ) สปป.ลาว สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 ลักษณะเป็นเหรียญเสมา เท่าที่พบเจอเนื้อฝาบาตรเพียงเนื้อเดียว ด้านหน้า ตรงกลาง นั่งเต็มองค์ มีตัวหนังสือภาษาลาวโค้งตามขอบเหรียญว่า พระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน อายุ 76 ปี วัดไซยะพูม ด้านหลังจารึกอักขระตัวธรรมลาว ใต้อักขระยันต์ ระวันที่ 25 กุมภา 17 เหรียญนี้คนในพื้นที่ต่างพบประสบการณ์มากมาย

รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968
รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968
รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลี่ยม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968
รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลี่ยม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968
รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968
รับเช่า เหรียญพระลูกแก้วเหลื่อม ปะสันโน สปป.ลาว โทร. 086-7890968

ข้อมูลอ้างอิงจาก : หนังสือ “ปะสันนะ มหาเถรานุสรณ์” และ นิตยสาร พุทธวงศ์” ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ.2503
(ໜັງສື “ປະສັນນະ ມະຫາເຖຣານຸສອນ” ແລະ ນິຕະຍະສານ “ພຸດທະວົງ” ສະບັບທີ 3 ປີ ພ.ສ 2503)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
พระเดชพระคุณ ยาท่านใหญ่ มหางอน ดำรงบุน (ມະຫາງອນ ດຳຣົງບຸນ) วัดไซยะพูมมาราม (ວັດໄຊຍະພູມມາຣາມ) แขวงสะหวันนะเขต
พ่อยา พันทุลาด อะมะระทิทาดาผู้อาวุโสประจำแขวงสะหวันนะเขต
เรียบเรียงและเผยแพร่โดย ท้าว พูสักดา พูมสะหวัน