วันอังคาร, 8 ตุลาคม 2567

พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ตำนาน ประวัติ
พระมงคลมิ่งเมือง

ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่)
อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตรพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้า ไหม ราษฏร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

คําขวัญประจําจังหวัดอํานาจเจริญ จึงบอกถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญๆ ภายในจังหวัดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ แหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญๆ ของจังหวัดอํานาจเจริญ จะผูกพันเกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปวัฒนธรรมทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง

พระมงคลมิ่งเมือง” นอกจากจะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจที่พึ่งทางใจแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในความงามตามธรรมชาติบน เนินเขาเตี้ยๆ มองลงมาเห็นภูมิทัศน์ตึกราม บ้านช่องของจังหวัดอํานาจเจริญอย่างสวยงาม โดยเฉพาะในยามค่ำคืน

สมัยโบราณบริเวณเนินเขาเตี้ยๆ นักเดินทางค้าขายข้ามจังหวัดเรียกว่า “ดงหัวกอง” หากเดินผ่านมาถึงที่นี่จะไม่กล้าพักค้างแรม เพราะในตอนกลางคืนจะพบสิ่งลี้ลับอาถรรพ์เกิดขึ้นมากมาย บางคนก็ต้องเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่ บางคนไม่พบเห็นสิ่งลี้ลับหรืออาถรรพ์ต่างๆ ก็จะไม่พ้น เป็นเหยื่อสัตว์ร้าย กระดูกหรือกะโหลกของคนตายก็จะกองอยู่มากมาย จึงเป็นที่มาของคําว่า “ดงหัวกอง” นักเดินทางค้าขายจึงกลัวนักกลัวหนา ไม่กล้าพักค้างแรมที่นี่

แต่ในปัจจุบัน ดงหัวกองได้เปลี่ยนเป็น “พุทธอุทยาน” ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีวันสําคัญๆ ทางศาสนาของจังหวัดเสมอมา นอกจากนี้ ผู้ คนที่สัญจรผ่านไปมาหรือย้ายมาอยู่ที่นี่ จะต้องแวะกราบนมัสการ เพื่อเป็นสิริมงคลอยู่รอดปลอดภัยทุกราย

พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

พระมงคลมิ่งเมือง เดิมคณะสงฆ์และประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันสร้างด้วยอิฐก่อเป็นรูปโกน ยังไม่มีพระเศียรและพระกร ประ ดิษฐานภายในพุทธอุทยานบนแท่นหินสูง ๔.๘๕ เมตร ยาว ๐.๑๐ เมตร ตั้งอยู่บนดานหินธรรมชาติ มีความต้องการให้เป็นแบบพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก แต่สร้างยังไม่เสร็จ เนื่องจากขาดหลักวิชาและปัจจัย

ต่อมา พลเอกประพาส จารุเสถียร ใต้อุปการะการก่อสร้างที่เขาพระบาท (พุทธอุทยาน) เลือกเป็นสถานที่ก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมือง เนื่องจาก เหมาะสมด้านสถานที่ และยังมีเป้าหมาย ๒ ประการ คือ

๑. ให้การก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแกร่ง สวยงามตามหลักวิชา ตามศิลปะประจําภาค และ ตามสายวัฒนธรรมท้องถิ่น

๒. ปรับปรุงบริเวณให้เป็นพุทธอุทยาน สําหรับเป็นที่บําเพ็ญธรรมของฝ่ายวิปัสสนาธุระ และให้เป็นแหล่งทัศนาจรที่สําคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดังนั้น งานก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมือง จึงเริ่มทําการก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยเปลี่ยนแบบ ให้มีพุทธลักษณะตามอิทธิพลของสกุล ศิลปะอินเดีย เหนือแคว้นปาละ ซึ่งได้แผ่อิทธิพลมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ คือ เป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ทั้งนี้ พระมงคลมิ่งเมือง พระพักตร์มีขนาดกว้าง ๒ เมตร วัดจากพระหนุถึงยอดเปลวพระรัศมีสูง ๖ เมตร ส่วนสูงจากพื้นที่ดินถึงยอดเปลวพระรัศมีสูง ๒๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร ฐานกว้าง ๘.๔ เมตร ยาว ๑๒.๖ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด ผิวนอกฉาบปูน บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง

องค์พระละอาย ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
องค์พระละอาย ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

นอกจากนี้ บริเวณด้านหลังองค์พระมงคลมิ่งเมือง ยังเป็นที่ประดิษฐาน “องค์พระละอาย ๒ องค์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายสีแดงทั้ง ๒ องค์ ยังสลักไม่แล้วเสร็จ พุทธลักษณะแสดงชัดว่าเป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐ์ ขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง มีอายุระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๒ โดยขุดได้จากอ่างเก็บน้ำ “ห้วยปลาแดก” (อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน) ในขณะที่ทําการสร้างอ่างเก็บน้ำ ว่ากันว่ากว่าจะอัญเชิญขึ้นมาได้ต้องทําพิธีกรรมทางศาสนาอยู่หลายวัน ซึ่งอยู่ห่างจากพระมงคลมิ่งเมือง ๘๐๐ เมตร ทางทิศตะวันออก (ฝั่งตรงข้าม)

พระมงคลมิ่งเมือง ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ พร้อมกับต่อเติมเพื่อความสวยงาม แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ และทําพิธีพุทธาภิเษกใน วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พลเอก ประพาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ตําแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี สมเด็จพระมหาวีระวงค์ (จวน อุฐฎายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อให้องค์พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีสรรพอาถรรพ์เป็นมิ่งมงคลควรแก่การเคารพบูชา สําหรับประชาชนทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประชาชนทั่วไป จึงนับว่าความสําเร็จของการสร้างพระมงคลมิ่งเมืองได้สมบูรณ์ที่สุด

พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน (วัดพระใหญ่) อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ปัจจุบัน พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวอํานาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียงให้ความ เคารพและกราบไหว้บูชาไม่ได้ขาด อีกทั้งทุกๆ ปี ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๓ (วัน มาฆบูชา) และถือได้ว่าเป็นงานประจําปีที่ยิ่ง ใหญ่ของชาวอํานาจเจริญ ยึดถือปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมาช้านาน

คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง
คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง