วันศุกร์, 13 ธันวาคม 2567

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว

ตำนานประวัติ
พระธาตุหลวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่และสวยงามที่สุด ในพระราชอาณาจักร ลาว สถาปัตยกรรมแบบธาตุหลวงนี้ เป็นศิลปกรรมลาวโบราณโดยแท้ เพราะได้ บรรจุศิลปกรรมลาวโบราณไว้อย่างครบถ้วน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกระจกเงาที่สองให้ เห็นแบบแปลนการก่อสร้างในสมัยเมื่อ 400 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังทําให้เราเข้าใจ ระบบการอยู่อาศัย โดยเฉพาะลักษณะเมืองของลาวสมัยล้านช้าง และระบบอักขรวิธี ในสมัย 400 ปีมาแล้วนั้นด้วย

พระธาตุหลวง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนลาวทั้งประเทศ ทุกปีประชาชนลาว จากทั่วทุกสารทิศจะมารวมกัน เพื่อแสวงบุญและความสนุกสนาน จากงานฉลอง พระธาตุหลวงประจําปี ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เพราะประเพณีทําบุญไหว้พระธาตุ หลวงถือว่า เป็นโอกาสทําบุญของทางราชการ หรือของชาติ

พระธาตุองค์นี้ ตั้งอยู่ชานนครเวียงจันทน์ด้านตะวันออก ซึ่งห่างจากจุดศูนย์ กลางธุรกิจการค้าของนครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเนินใหญ่ ใกล้หมู่บ้านอันมีชื่อว่า บ้านธาตุหลวงเดี๋ยวนี้

ประวัติทางโบราณคดี (ราวศตวรรษที่ 6-13)

เรื่องราวความเป็นมาของพระธาตุหลวงองค์นี้ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ พระธาตุพนมและพระธาตุอื่นๆ ที่สร้างขึ้นโดยช่างลาวโบราณ มีหลักฐานมาจากแหล่งเดียวกันนี้ คือ หนังสืออุรังคธาตุ หรือ อุรังคนิทาน ซึ่งเป็นนิทานโบราณคดีของ ลาวเรื่องหนึ่ง

ตามหนังสืออุรังคธาตุกล่าวว่า ที่ตั้งพระธาตุหลวงนี้ เป็นที่ประดิษฐานเสาหิน ของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งประเทศอินเดีย เสาหินนี้ได้บรรจุไว้ซึ่งพระบรมสารีริก ธาตุของพระพุทธเจ้า สถานที่นี้ในหนังสืออุรังคธาตุเรียกว่า “หนองคันแทเสือน้ํา” นอกจากนี้ยังได้พรรณนาเรื่องราวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนสถานที่ สําคัญ ๆ หลายแห่ง และได้ทรงพยากรณ์ไว้ ซึ่งคงจะเป็นอุบายอย่างหนึ่ง ของนักปราชญ์ลาวโบราณ เพื่อชักจูงประชาชนให้มองเห็นความสําคัญ ของปูชนียสถาน เหล่านี้

ถึงอย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดี เช่นลักษณะพระพุทธรูปหินจากท่า ลาด พร้อมด้วยศิลาจารึกลาวโบราณแผ่นหนึ่ง และศิลปกรรมอื่น ๆ พอสันนิษฐาน ได้ว่า อย่างน้อยพระธาตุหลวง ซึ่งยังเป็นเสาหินอยู่นั้น คงสร้างขึ้นประมาณคริสต์ ศตวรรษที่ 6 คือสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีโคตบอง หรือ สมัยก่อนเขมรโบราณ จะ มีอํานาจแผ่เข้ามาครอบครองแผ่นดินราชอาณาจักรลาว และดินแดนลาวส่วนอื่น ๆ ดังนั้นในหนังสืออุรังคธาตุจึงได้กล่าวว่า พระยาบุรีจันท์ผู้สร้างนครเวียงจันทน์ ได้รับ คําบอกเล่าจากพระเถระชาวอินเดียว่า ที่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สมัยนั้นนครเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของเมือง ศรีโคตบอง หรือ มรุกขนคร (ท่าแขกเก่า) เมื่อคราวสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชที่ 1 ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองทอง (หลวงพระบาง) มาตั้งที่เวียงจันทน์ ก็ได้สร้างเจดีย์ ใหญ่คร่อมเสาหินนี้ เสาหินที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงก่อคร่อมนี้ คงจะเป็น พระยาบุรีจันท์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ตามแบบอย่างพระ เจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย เราจะดึงอายุของพระธาตุหลวงขึ้นไปถึง 250 ปี ก่อนคริสต์ศักราชนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะตอนนั้นพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมอินเดีย อื่น ๆ ยังมิได้ตั้งมั่นในดินแดนแถบนี้

ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 อํานาจเขมรโบราณ ได้แผ่เข้ามาครอบครองดิน แดนแถบนี้ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองชายฟอง หรือ ไชยวรมันปุระ, ที่เมืองร้างนี้ได้ค้นพบประติมากรรมรูปเคารพจํานวนมาก เช่น อนุสาวรีย์ของพระเจ้า ไชยวรมันที่ 7 (ค.ศ. 1181-1219) ปัจจุบันนี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วิหารเล็ก ข้าง พระธาตุหลวงด้านเหนือ

นอกจากนี้ ก็คือพระพุทธรูปหิน ถ้ําวังช้าง เมืองโพนโฮง ตามศักราชบอกว่า สร้างขึ้นประมาณ ค.ศ. 1002 ในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ที่หน้าสนใจที่สุดก็ คือศิลาจารึกเรื่องการสร้างโรงพยาบาลที่ชายฟอง ในรัชกาลของพระเจ้าไชยวรมันที่ 7. หลักฐานนี้แสดงว่า เวียงจันทน์ได้มอบความเป็นใหญ่ให้แก่ชายฟอง เริ่มแต่ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ว่าเรื่องราวพระธาตุหลวงไม่มีหลักฐานใดกล่าวไว้แจ่มชัด ใน สมัยเขมรโบราณมีอํานาจ, มีแต่บอกเล่าสืบๆ กันมา จนถึงศตวรรษที่ 14 สมัยที่ลาว อาณาจักรล้านช้างมีอํานาจขึ้นแทนเขมรโบราณ, พระมหาปาสมันตเถระ หัวหน้า คณะธรรมทูตเขมร ได้เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลังกา เมื่อ ค.ศ. 1359 (พ.ศ. 1902) ในรัชกาลพระยาฟ้างุ่ม ในระหว่างที่พักอยู่เวียงจัทนท์ ท่านกล่าวไว้ว่า

อันที่ปากป่าสักนั้น เจ้าฤาษีทั้งหลาย ได้หมายหลักไม้จันทน์ไว้ที่นี้แล อันที่สะโพนสูง เบื้องตะวันออกข้างหนองกระแดนา ด้านตะวันออก เจ้าฤาษีเอาหลักหิน อันหนึ่งเป็นสี่เหลี่ยมหมายไว้ ตั้งแต่ธาตุพระเจ้าทั้งสี่โพ้นมา

เนื้อความที่กล่าวมานี้ มีปรากฏในนิทานขุนบรม ฉบับพระมหาเทพหลวง องค์ธรรมเสนา ในรัชกาลพระยาวิชุล (ค.ศ. 1500-1520)

ในหนังสืออุรังคธาตุ ก็มีเนื้อความทํานองเดียวกันว่าเป็นเสาหิน หมายเอา แต่พระธาตุหลวงของพระเจ้าทั้ง 4 นั้น เป็นต้นว่า พระกุกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป มาใส่สิงห์คําตัวหนึ่ง อธิษฐานธาตุ จึงเอาหลักหินหมายไว้ อันนี้หากเป็น พระพุทธเจ้าทั้ง 4 องค์ดีหลีแล” คําว่าเสาหินหมายไว้นั้น คงเป็นเสาหินที่สมเด็จพระ ไชยเชษฐาธิราช ได้สร้างพระธาตุใหญ่คร่อมไว้ เป็นพระธาตุหลวงปัจจุบัน

เชิงประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1566-1873)

พระธาตุหลวงปรากฏหลักฐานแจ่มชัด เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 กล่าวคือ ใน รัชกาลของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชนี้เอง เนื้อความศิลาจารึกบอกไว้ว่า สมเด็จ พระไชยเชษฐาธิราชได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อจุลศักราช 928 (ค.ศ. 1566) หลังจาก สถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นเมืองหลวงได้ 6 ปี

เหตุที่ทรงสร้างพระธาตุหลวง

สาเหตุที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้า ทรงสร้างพระธาตุหลวงนี้ขึ้น มีข้อที่ น่าสันนิษฐานได้ดังนี้

1. ทรงปรารถนาอยากให้นครหลวงของพระองค์ มีปูชนียสถานอันยิ่งใหญ่ และเป็นมิ่งขวัญของนครหลวง เหมือนพระเจดีย์หลวงแห่งนครเชียงใหม่

2. ทรงปรารถนาจะอุปถัมภ์บํารุงพระพุทธศาสนา ตามอย่างพระเจ้าติโลก ราชแห่งนครเชียงใหม่ หรือเหมือนพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย

3. ทรงปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

4. ทรงปรารถนาอยากจะให้มีงานบุญประจําปี เพื่อเป็นนโยบายดูน้ําใจของ เจ้าผู้ครองนครต่างๆ ว่าผู้ใดคดและซื่อสัตย์ต่อพระองค์ แทนพิธีเลี้ยงผีฟ้าพญาแถนแบบเก่า ซึ่งพระยาฟ้าจุ่มและกษัตริย์องค์อื่น ๆ เคยทํามาเป็นประจํา

5. ทรงปรารถนาอยากให้ประชาชน จากทุกส่วนในอาณาจักรของพระองค์ มาร่วมแสวงบุญและสนุกสนานร่วมกัน จะได้รักและเข้าใจกันดีขึ้น เพื่ออาณาจักร ของพระองค์จะได้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา

ดังนั้น จึงได้ทรงพิจารณาเห็นว่า หลักหินด้านทิศตะวันออกของพระนคร คือ พระธาตุหลวงปัจจุบัน เป็นสถานที่สําคัญทางพระพุทธศาสนามาแต่สมัยโบราณกาล และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้พาไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินสร้างเจดีย์ใหญ่ครอบหลักหินนั้นเสีย โดยให้เจดีย์มีรูปร่างเหมือนสถูปสาม แฉกแห่งเมืองเวทิสะ ประเทศอินเดีย แต่ประดับตกแต่งด้วยศิลปกรรมลาวล้วน เนื่อง เพราะพระองค์ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ จึงได้มีแนวคิดสร้างเจดีย์เล็กรอบอีก 30 องค์เป็นบริวาร ซึ่งหมายถึงพระบารมี 30 ทัศ ภายในพระเจดีย์รายเหล่านี้ ได้เอา ทองคําหล่อเป็นธาตุเล็ก ๆ อีก มีจํานวนเท่ากัน มีน้ําหนักองค์ละ 4 บาท บรรจุภาย ในพระธาตุบริวารเหล่านั้น และมีลานทองคํารองรับพระธาตุเล็ก ๆ นั้นอีกต่อหนึ่ง แผ่นทองคํานี้จากรึกหัวใจพระธรรมและหัวใจอริยสัจ 4 คือ “เย ธมฺมา เหตุปฺภวา เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ.” และได้จารึกชื่อพร้อม ทั้ง วัน เดือน ปี ที่สร้างไว้ที่แผ่นหินนั้นด้วย

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ถวายพระนามว่า “เจดีย์โลกจุลามณี” หมายความว่า เจดีย์เกษแก้วในโลกมนุษย์ หรือหมายความว่า เจดีย์แก้วยอดโลก ดังปรากฏในศิลา จารึกนั้น เนื่องจากพระธาตุองค์นี้ เป็นของแผ่นดินหรือของหลวงและก็เป็นพระธาตุที่ ใหญ่อีกด้วย ประชาชนจึงเรียกว่า “พระธาตุหลวง” แต่ว่าพระธาตุหลวงที่หลวงพระบางก็มี จึงได้นามว่าธาตุหลวงเวียงจันทน์ พระองค์ได้จัดงานเฉลิมฉลองทุก ๆ ปี เลยกลายเป็นประเพณีที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อ ๆ มาก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยปัจจุบัน

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ปรากฏไปถึงนานาประเทศที่อยู่ห่างไกล ใน รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย แห่งอาณาจักรล้านช้าง ดังปรากฏในบันทึกของท่าน วัน วุสต๊อฟ [Van Wusthoff ราชทูตของข้าหลวงใหญ่ประเทศฮอลันดา ประจําเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ท่าน ผู้นี้ได้มายังราชสํานักของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช และได้บันทึกไว้เมื่อวัน ที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1641 มีใจความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงพระธาตุหลวงว่า

“พวกเราถูกนําไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อถวายสาส์นในสถานที่แห่งหนึ่ง ห่าง จากเมืองประมาณหนึ่งส่วนสไมล์ ฯลฯ พวกเราได้เฝ้าพระองค์ที่ลานกว้างใหญ่ ซึ่ง ภายในลานนี้ มีอนุสาวรีย์ใหญ่สูงองค์หนึ่ง มีกําแพงหินอันประดับด้วยใบเสมา ล้อมรอบ อนุสาวรีย์แห่งนี้ หุ้มด้วยแผ่นทองคํามีสีเหลืองอร่ามงามตา แผ่นทองคํานี้ จะต้องมีค่าถึง 1000 เหรียญทองคํา (ปอนด์) ประชาชนต่างก็ถือดอกไม้ธูปเทียน เข้า ไปบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ไม่มีผู้ใดเข้าไปโดยมือเปล่าเลย ฯลฯ

หลังสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ก็เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ผู้ ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาประชาราษฎรยังเอาใจใส่บูรณะรักษา พร้อมทั้งจัดงานบุญใหญ่เฉลิมฉลองประจําปี โดยเฉพาะในรัชกาลของสมเด็จพระ ไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (พระเจ้าอนุ) คงจะมีงานบุญเฉลิมฉลองเป็นพิเศษ เพื่อปลุกใจ ประชาราษฎรให้เป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันในการกู้เอกราช จากความเป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรสยาม (ค.ศ. 1804-1829) พอพ้นรัชกาลนี้ไปแล้ว เวียงจันทน์ก็แตกสลาย บ้านเมืองถูกทําลายโดยการจุดไฟเผาจากข้าศึก พระธาตุหลวงก็ถูกปล่อยปละละเลย ให้เป็นไปตามยถากรรม ไม่มีผู้ใดเอาใจใส่ปฏิบัติรักษา พระธาตุองค์นี้ก็ผุพังไปเอง เป็นไปตามยถากรรม ไม่มีผู้ใดเอาใจใส่ปฏิบัติรักษา พระธาตุองค์นี้ก็ผุพังไปเอง โดยธรรมชาติ มีต้นไม้และเถาวัลย์เกิดปกคลุม ลานรอบพระธาตุก็รกร้างกลายเป็น ป่าช้างดงเสือ ดังจะเห็นได้จากบันทึกของดูดาท์ เดอ ลาเกร [Doudart de Lagree) หัว หน้าคณะสํารวจชาวฝรั่งเศษ ซึ่งได้มาเยี่ยมชมซากเมืองร้างเมื่อปี ค.ศ. 1867 หลัง จากเวียงจันทน์ถูกเผาราบพนาสูญเพียง 35 ปีเท่านั้น เกี่ยวกับสภาพของพระธาตุ หลวง ท่านลาเกร กล่าวไว้ว่า

“มีแนวถนนกว้างและตรงเส้นหนึ่ง ซึ่งปกคลุมไปด้วยต้นไม้ ตัดผ่านทุ่งที่เต็ม ไปด้วยหนองบึงไปหาประตูใหญ่ เข้าใจว่าคงจะเป็นคูเมืองมาแต่ก่อน ยังมีถนนอีก สายหนึ่งปูด้วยหินและทราย มีแต่กอไผ่เกิดเต็ม ทุก ๆ ย่างก้าวที่เดินเลาะเลียบไป ตามคูนั้นพวกเราได้พบร่องรอย (ซาก) ของกําแพงหลายแห่ง เข้าใจว่าเป็นวัดร้าง ใน ขณะที่ผ่านไปได้พบเจดีย์เล็ก ๆ หลายองค์ พวกเราเดินไปเรื่อย ๆ จนถึงอนุสาวรีย์ ใหญ่ปานกลางซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมชั้นยอดของลาว ถึงแม้จะไม่มั่นคงหรือสง่างาม แต่ก็ไม่มีใครกล้าปฏิเสธความงามอันอ่อนช้อยขององค์เจดีย์ได้ อนุสาวรีย์นี้มีเพียง แห่งเดียว ได้ถูกจุดไฟเผาโดยกองทัพสยาม กําแพงสองชั้นด้านล่าง ปรากฏว่าไม่เป็น ที่น่าสนใจ แต่ว่ากําแพงชั้นที่สามนั้นประดับตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้กําลังบาน ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปากม้า ลวดลายดอกไม้นี้ได้โอบล้อมอนุสาวรีย์ไว้ ลายดอกไม้ เหล่านี้มีลักษณะเหมือนภาพดอกบัวหลวง ดูแล้วคล้ายกับดอกบัวหลวงแท้ มีป้อม เล็ก ๆ หลายแห่งตั้งอยู่บนแท่นอันแน่นหนา ซึ่งเต็มไปด้วยรอยจารึก

“ป้อมเล็ก ๆ (ธาตุเล็ก) มีถึง 32 [30] องค์ ที่ตั้งอยู่ติดกับแท่นอันแน่นหนานั้น เหมือนกับว่ากําลังผุดเป็นช่อฟ้าขึ้นมา พวกเราไม่สามารถจะชมให้ตลอดได้ ยอด ของอนุสาวรีย์นั้นชูพุ่งขึ้นสูงเทียมฟ้า เหมือนกับช่อดอกไม้ที่ชออกจากก้านใบไม้ใหญ่ ยอดอนุสาวรีย์นี้เรียวและแหลมขึ้นไปข้างบน มีความงดงามเป็นพิเศษ หรือถ้าจะพรรณนาไปก็ยึดยาว ถึงอย่างไรก็ตาม ยอดอนุสาวรีย์และป้อมน้อยๆ นั้น (ยอดพระ ธาตุใหญ่และธาตุเล็ก) ได้พุ่งขึ้นสูงพ้นต้นหมากต้นพร้าว และมีกุฏิสงฆ์อยู่ภายใต้ร่ม ไม้ทั้งหลาย

ท่านฟรังซิส กากนิเย (Francis Garnier) สมาชิกคณะสํารวจเดียวกัน ได้ บันทึกเกี่ยวกับพระธาตุหลวงไว้ ดังนี้

“พวกเราใช้เวลาประมาณ 45 นาที ก็มาถึงอนุสาวรีย์ ซึ่งเป็นวิหารที่มีชื่อเสียง ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองลาว แท่นที่ตั้งอนุสาวรีย์อันกลาง (ธาตุใหญ่) เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดอนุสาวรีย์นั้น กลมเหมือนกับอนุสาวรีย์อื่น ๆ ที่ได้เห็นในประเทศเขมร ฐาน อนสาวรีย์สองชั้นตั้งซ้อนกัน ที่ด้านบนมีหอเล็ก ๆ (ธาตเล็ก) ล้อมรอบอนุสาวรีย์ 28 องค์ ที่ฐานนี้มีบันไดขึ้นสองข้าง คือด้านเหนือและด้านใต้ ที่ด้านล่างทางตะวันออก มีหอสง่างามหลังหนึ่ง สร้างคร่อมอนุสาวรีย์เล็กองค์หนึ่ง สูง 3 หรือ 4 เมตร. ชาว บ้านบอกว่า อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นปูชนียสถานองค์จริง ลงรักปิดทอง ผู้ว่าราชการเมือง หนองคายคนปัจจุบัน ได้มีส่วนรับผิดชอบในการซ่อมแซมอนุสาวรีย์องค์ใหญ่ขึ้นใหม่ โดยใช้จ่ายเงินมากกว่า 1,000 แหงั้น (70-80 พัน ฟรังฝรั่งเศส)

“มีลานกว้างล้อมรอบฐานอนุสาวรีย์ และมีบันไดออกทั้ง 4 ด้าน มีกุฏิสงฆ์ หลายหลัง ล้อมลานพระธาตุนอกอนุสาวรีย์ พระสงฆ์ผู้จําพรรษาอยู่ที่นี้เอง เป็นผู้ทํา หน้าที่ดูแลรักษาอนุสาวรีย์แห่งนี้ และวัดอื่น ๆ ด้วย

เบื้องขวาประตูออกด้านทิศตะวันออก ก็มีศิลาจารึกหลักหนึ่ง บอกถึงเรื่อง ราวของการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16

“ในปี ค.ศ. 1873 (2416) พวกโจรฮ่อจากยูนาน ได้เข้ามาทําลายพระธาตุหลวง อีก พวกเขาได้ค้นเอาของมีค่าไปหมด พระธาตุก็ได้รับความเสียหายอีกมาก”

ในสมัยฝรั่งเศส (ค.ศ. 1893-1949)

พระราชอาณาจักรลาว ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1893 เมื่อคนฝรั่งเศสได้ปกครองเมืองลาวแล้ว ทางราชการฝรั่งเศสได้ทําการสํารวจค้นคว้า โบราณวัตถุและโบราณสถาน ทั่วอินโดจีนของฝรั่งเศส

สําหรับเมืองลาว ในปี ค.ศ. 1900 ท่านโนฮัง ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจํา เวียงจันทน์ ได้สร้างยอดพระธาตุแบบหอคอยนอแมน ขึ้นแทนยอดเก่าซึ่งเป็นยอด แหลม คล้ายกับลูกน้ําเต้าหันหัวลง

ตามรายงานของท่านเฮนรี่ ปากมังเจ ลงวันที่ 23 เมษายน 1912 กล่าวว่า ในจํานวนธาตุเล็ก 30 องค์นั้น ขาดหายไป 8 องค์ ได้สังเกตเห็นว่าศาลาบาตร หรือ วิหารคดล้อมพระธาตุ พังทลายลงเกือบหมด องค์พระธาตุเองได้ถูกพายุใหญ่พัดพัง ลงเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1920 ท่านจุเลดบอด ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจําประเทศลาว ได้เสนอให้ทําการซ่อมแซมพระธาตุหลวงขึ้น ท่านได้ให้คําแนะนําว่า ถ้าไม่รีบลงมือ ซ่อมแซมโดยเร็ว พระธาตุองค์นี้จะต้องพังทลายลงหมด จนไม่มีส่วนใดเหลือเลย

ในปี ค.ศ. 1930 ท่านฟมแบกโต เจ้าหน้าที่รักษาอนุสาวรีย์ทางประวัติ ศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ทําการซ่อมแซมพระธาตุหลวง ท่านได้ลงมือซ่อม แซมทันที และแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1995 สิ่งสําคัญที่ได้รับการซ่อมแซมใหม่นี้ ได้แก่

1. วิหารคด พร้อมทั้งกําแพงและประตูทั้ง 4 ด้าน 2. ซุ้มพระทุก ๆ ด้าน 3. องค์พระธาตุได้คงไว้เหมือนเดิม แต่ทําให้มั่นคงขึ้นกว่าเก่า 4. ยอดพระธาตุใหญ่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ แต่รักษารูปทรงเดิมไว้

สมัยเอกราช (ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน)

เมื่อลาวได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์แล้ว ได้พากันหันมาเอาใจใส่ทํานุบํารุงพระ พุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจําชาติ ได้มีโครงการซ่อมแซมปูชนียสถานทั่วประเทศ โดยเฉพาะเพื่อต้อนรับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (ค.ศ. 1957) งานเฉลิมฉลองเป็น ทางการได้ถือเอาพระธาตุหลวงเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อจะให้สมเกียรติแก่ประเทศชาติ ทางรัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณของชาติส่วนหนึ่ง ออกใช้จ่ายในการก่อสร้าง ถาวรวัตถุขึ้นในบริเวณพระธาตุหลวง และดัดแปลงต่อเติมพระธาตุให้กว้างใหญ่ออก ไปอีก เพราะในตอนนั้นเต็มไปด้วยป่ารุกพงหนา

สิ่งก่อสร้างต้อนรับ พ.ศ. 2500

1. กฏิใหญ่ 1 หลัง

2. โรงธรรมสภาใหญ่ 1 หลัง

3. ปิดทองยอดพระธาตุใหญ่

ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2500 ทางรัฐบาลก็ได้จัดงานเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่ ดังที่ปรากฏมาแล้ว

ลักษณะประธาตุหลวงปัจจุบัน

Vientiane Laos : Pha That Luang Temple

1. ลักษณะโดยทั่วไป

– มีรูปร่างเหมือนโอคว่ํา หรือแตงโมผ่าครึ่งคว่ําไว้บนแท่นรูปสี่เหลี่ยม ตาม แบบสถูปสามแฉก แห่งประเทศอินเดีย

– ยอดพระธาตุเป็นศิลปะลาวแท้ มีลักษณะเป็นดอกบัวตูม – มีพระธาตุเล็ก ๆ ยอดแหลมแวดล้อมเป็นบริวาร – ถัดลงมา คือกําแพงสองชั้นซึ่งประดับด้วยใบเสมา ด้านนอกที่มองเห็น คือ กําแพงพระราชวังแวดล้อมปราสาท และพระตําหนักของพระเจ้าแผ่นดิน เข้าใจว่า สร้างขึ้นตามอุดมคติพระราชวังลาวโบราณ

– วัสดุก่อสร้าง ใช้อิฐถือปูน บางส่วนใช้ศิลาแลง โดยเฉพาะเต้าพระธาตุ ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลงล้วน

2. ถ้าจะแบ่งส่วนประกอบของพระธาตุออกโดยละเอียด อาจแบ่งได้ดังนี้ (นับแต่ฐานล่างถึงส่วนบน)

ก. ระเบียงล้อมรอบองค์พระธาตุ เปรียบเสมือนกําแพงเมืองชั้นนอก ยาว 91 เมตร กว้าง 75 เมตร มีประตูโขงหลังคาเรือนยอดทั้ง 4 ด้าน กําแพงระเบียงมีช่อง ระบายลมภายในระเบียงคือ ลานพระธาตุ หรือ สนามพระธาตุ

ข. ชั้นล่างสุดของพระธาตุ เปรียบเสมือนกําแพงเมืองชั้นกลาง ด้านนี้เป็น แท่นของพระธาตุซึ่งกว้างจากเหนือไปใต้ 68 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก 49 เมตร แท่นพระธาตุนี้เป็นที่ตั้งของกําแพงชั้นนอกของพระธาตุเอง กําแพงชั้นนี้ ตกแต่งด้วยใบเสมา 323 ใบ จะเห็นซุ้มพระหลังคาเรือนยอดทั้ง 4 ด้านของแท่นพระ ธาตุ โดยเฉพาะด้านตะวันออกซุ้มพระได้ครอบพระธาตุเล็กไว้ พระธาตุเล็กองค์นี้ ประดับตกแต่งด้วยลวดลาย และลงรักปิดทองงดงามมาก สันนิษฐานกันว่าจะเป็น พระธาตุจําลอง หรือ พระธาตุองค์เดิม

ค. ชั้นที่สองของพระธาตุ เปรียบเสมือนกําแพงเมืองชั้นใน ด้านนี้เป็นกําแพง แก้วชั้นใน อยู่ถัดซุ้มพระขึ้นไป กําแพงแก้วนี้มีประตูโขงเรือนยอดตั้งอยู่ตรงซุ้มพระทั้ง 4 ด้าน และมีบันไดลง กําแพงนี้ประดับตกแต่งด้วยใบเสมา 223 ใบ โอบล้อมด้วย กลีบดอกบัวใหญ่ชูขึ้นในลักษณะกําลังเบ่งบาน มีจํานวน 120 กลีบ กําแพงชั้นนี้ล้อม องค์พระธาตุเล็ก 30 องค์ไว้ เรียกว่า “สมติงสปารมี” ลักษณะของพระธาตุเล็กงด งามมาก มองดูเหมือนกับป้อมปราการ หรือหอรบล้อมองค์มหาปราสาท คือ พระธาตุองค์ใหญ่ไว้ กล่าวกันว่าแต่เดิมพระธาตุเล็กนี้ มียอดหุ้มด้วยแผ่นทองคํา

ง. ชั้นที่ 3 เปรียบเสมือนหอปราสาท และโรงหลวง ชั้นนี้คือองค์พระธาตุใหญ่ นั้นเอง ตั้งอยู่ภายในวงล้อมของพระธาตุเล็กดังกล่าวแล้ว องค์พระธาตุใหญ่นี้มีความ กว้าง ด้านละ 30 เมตร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. เต้าพระธาตุ มีลักษณะเหมือนโอคว่ําดังกล่าวแล้ว

2. ตัวยอดพระธาตุ ตั้งอยู่บนหลังเต้าพระธาตุ มีรูปสี่เหลี่ยม โอบล้อมด้วย กลีบดอกบัวหงายกําลังบาน ที่บนดอกบัวนี้คือบัวคว่ําบัวหงาย ซึ่งประกอบกันเป็นคอ คอด ของยอดพระธาตุ

3. เต้ายอดพระธาตุ คือเต้าบนบัวหงายขึ้นไป มีลักษณะสี่เหลี่ยม สอบขึ้นไป ข้างบนเล็กน้อย

4. ยอดพระธาตุ เป็นส่วนบนสุดของพระธาตุ ตั้งอยู่บนเต้ายอดพระธาตุนั้น เอง มีรูป 4 เหลี่ยม เพื่อให้กลมกลืนกับเต้ายอดพระธาตุ แต่เรียวแหลมขึ้นไปข้างบน เหมือนดอกบัวตูมหรือปลีกล้วย เรียกว่า “”ดวงปลี” ที่ตรงนี้มีร่ม หรือเสวตฉัตรกัน ยอดพระธาตุไว้

ความสูงของพระธาตุ นับจากฐานถึงยอดได้ 45 เมตร ซึ่งนัว่าเป็นพระธาตุที่มี ความสูงมากที่สุดในประเทศลาว

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพระธาตุหลวงนี้ ได้สร้างขึ้นตามอุดมคติที่ปรากฏในวรรณ คดีลาว ที่กล่าวถึงลักษณะของเมืองโบราณไว้อย่างวิจิตรพิสดาร

ข้อสังเกต

ฐานพระธาตุทั้งสามชั้น นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายในเชิง เปรียบเทียบ เป็นสัญลักษณ์ไว้ดังนี้

(1) ชั้นที่ 1 เปรียบเสมือนโลกธาตุ ชั้นกามาวจรภูมิ

(2) ชั้นที่ 2 เปรียบเสมือนโลกธาตุ ชั้นรูปาวจรภูมิ

(3) ชั้นที่ 3 เปรียบเสมือนโลกธาตุ ชั้นอรูปาวจรภูมิ