ตำนานประวัติ
พระธาตุศรีโคตบอง
เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว
พระธาตุศรีโคดตะบอง ตั้งอยู่เมืองเก่าท่าแขก แขวงคําม่วน เป็นปูชนียสถานที่มีความสําคัญยิ่งแห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักรลาว ห่างจากสํานักงานแขวงลงไป ตามลําแม่น้ําโขง ประมาณ 6 กิโลเมตร
ประวัติทางโบราณคดี (ราวศตวรรษที่ 1-13)
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ปูชนียสถานที่สําคัญทั้งหลายในราชอาณาจักรลาวนั้น มีเรื่องราวเล่าไว้ในนิทานอุรังคธาตุทั้งนั้น พระธาตุนี้เริ่มสร้างขึ้นในสมัยที่อาณาจักรศรีโคตบองกําลังเรื่องอํานาจ ตามหนังสืออุรังคธาตุบอกว่า สร้างเป็นอนุสาวรีย์พระยาศรีโคตบองกษัตริย์นครศรีโคตปุระ (เมืองเก่าเซบั้งไฟ ห่างจากน้ําโขงประมาณ 15 กิโลเมตร) เพราะที่นี่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ทั้ง 4 พระองค์ คือพระกุกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป และพระโคตโม
พระธาตุองค์นี้เริ่มสร้างขึ้น ในรัชสมัยของพระเจ้าสุมินทราช หรือสุมิตธรรมวง ศาธิราช แห่งอาณาจักรศรีโคตบอง (ประมาณศตวรรษที่ 6) มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาสิทธิเดชราชาธิราช แห่งอาณาจักรศรีโคตบองสวรรคตแล้ว ทางเมืองสาเกษ (ร้อยเอ็ด) ถูกกองทัพอาณาจักรทวารวดีรุกราน ผู้คนต่างก็อพยพเข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภารของพระเจ้าสุมินทราชแห่งมรุกขนคร (ท่าแขกเก่า) พระเจ้าสุมินทราชมี อํานาจมาก ได้ยกกองทัพไปขับไล่พวกทวารวดีออกไป และยกกองทัพติดตามไปที่
ได้ไชยาภิเษกเป็นราชาธิราชแห่งอาณาจักรศรีโคตบอง (ประมาณศตวรรษที่ 6) ในสมัยนี้ได้มีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรศรีโคตบอง โดยคําแนะนําของพระเถระทั้งหลาย พระเจ้าสุมินทราชจึงได้ลงมือก่อสร้างพระธาตุศรีโคตบองขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระยาศรีโคตบอง และได้เอาพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้
อาณาจักรศรีโคตบอง คงจะถูกสร้างขึ้นโดยชนชาติลาวโบราณ ซึ่งอพยพลงมาจากภาคใต้ของจีน เรื่องราวการอพยพลงมาของชนชาติลาวโบราณ และสร้าง อาณาจักรศรีโคตบองขึ้นนั้น มีแจ้งอยู่ในหนังสืออุรังคธาตุ และนิทานโยนกนาคพันธุ์แล้ว อาณาจักรศรีโคตบอง อาจจะอยู่ในยุคเดียวกันกับอาณาจักรฟูนันและยุคเจลละ ของประเทศเขมร อาณาจักรศรีโคตบอง มีส่วนสัมพันธ์กับอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เช่น เดียวกับอาณาจักรอื่นๆ ในแหลมอินโดจีน
เมื่ออาณาจักรศรีโคตบอง เสื่อมอํานาจลงในปลายศตวรรษที่ 7 เขมรโบราณ ก็เริ่มมีอํานาจขึ้นที่ประเทศเขมรปัจจุบัน ได้แผ่อํานาจขึ้นมาปกครองดินแดนแถบนี้ ศูนย์กลางอํานาจการปกครองของขอมที่ภาคกลางของลาว อยู่ที่นครจําปาศรีและ ร้อยเอ็ด ในดินแดนที่เรียกว่าภาคอีสานของประเทศไทยปัจจุบัน ในระหว่างที่ตนมี อํานาจ เขมรได้ดัดแปลงปูชนียสถานต่างๆ ให้เป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู เรื่อง ราวของพระธาตุศรีโคตบองในสมัยนี้ ไม่ค่อยปรากฏแจ้งชัด จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 15 คือใน ค.ศ. 1433 เจ้าเมืองกะบอง (ท่าแขกเก่า) ได้เริ่มถากถางบริเวณพระธาตุนี้ ขึ้น เพื่อให้เป็นศรีแก่เมืองของตนและปฏิบัติรักษา เจ้าเมืองผู้นี้มิได้สร้างเสริมเติม แต่งพระธาตุองค์นี้ขึ้นอีกแต่ประการใด คงเพียงรักษารูปทรงเดิมไว้เท่านั้น พระเจ้า แผ่นดินล้านช้างในสมัยนี้ ไม่ค่อยสนพระทัยในปูชนียสถานที่อื่นเลย เพราะว่าก่อน สมัยสมเด็จพระโพธิสารราชขึ้นไป ถึงพระยาฟ้าจุ่ม นโยบายผูกจิตใจหัวเมืองต่าง ๆ
ให้จงรักภักดีนั้น ได้ใช้ลัทธิบูชาแถนฟ้าเป็นสื่อกลาง ไม่ได้ใช้นโยบายทางพระพุทธ ศาสนา ดังมีปรากฏในนิทานขุนบรม ฉบับพระมหาเทพหลวง ในรัชกาลของพระยาวิชุล (ค.ศ. 1500-1520) ว่า “ทุกสองเดือนให้ใช้คนไปไหว้เราทุกบ้านทุกเมือง ให้เรารู้ สิ่งดีสิ่งร้าย ทุกสามปีให้ตัวเจ้าทั้งหลายขึ้นไปไหว้เรา ไปถึงเชียงดง เชียงทองโพ้นแล้ว เราจักได้บูชาแถนฟ้าคืน แถนแต่ง แถนช่าง แถนเดือก ฯลฯ
“ให้ไปถึงทุกเมือง เดือนสามให้ถึงเมืองชวา ถ้าใครไม่ขึ้นไปเราไม่ถือว่าชื่อ ตรงต่อเราแล อันว่าให้เลี้ยงฟ้าเลี้ยงแถนนี้ ปู่เจ้าฟ้าหลวงโง่ม หากได้สั่งเราไว้ให้เรา รู้จักหัวใจเจ้าขุนทั้งมวลอันอยู่ในเมืองล้านช้าง ผู้ชื่อสัตย์และผู้คดโกงจากเจ้าแผ่นดิน นั้นแล ปู่เจ้าหลวงโง่มได้สั่งไว้สืบ ๆ มา ดังนี้แล
สมัยประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1530-1929)
พระธาตุศรีโคตบอง ปรากฏเรื่องราวแจ้งชัดขึ้นในศตวรรษที่ 16 อันเป็นสมัย กลางของอาณาจักรล้านช้าง ในปี ค.ศ. 1539 สมเด็จพระโพธิสารราช ได้เสด็จลง มาซ่อมแซมพระธาตุองค์นี้ แต่ไม่ได้สร้างต่อเติม ยังคงรูปทรงเดิมเอาไว้
พระธาตุศรีโคตบอง ได้รับการสร้างต่อเติม ให้เป็นศิลปะลาวสมัยล้านช้าง โดยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชที่ 1 หลังจากที่สร้างพระนครเวียงจันทน์ และวัดวา อารามต่าง ๆ ที่นครหลวงเสร็จแล้ว อาจจะอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1568 และทําบุญ เฉลิมฉลองเป็นการใหญ่ ได้ทรงมอบข้าทาสถวายไว้เพื่อปฏิบัติรักษาพระธาตุด้วย
ในสมัยอาณาล้านช้าง นับแต่สมเด็จพระโพธิสารราชลงมา พระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ ก็ได้เอาพระทัยใส่ทํานุบํารุงพระธาตุองค์นี้มิได้ขาด
ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เจ้านครกะบอง หรือเมือง ศรีโคตบอง ได้แก่เจ้าหน่อเมือง (ค.ศ. 1519 -1622) ทรงดํารงพระยศเป็นเจ้านครว่า
“พระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูรหลวง” ได้พาไพร่พลดูแลรักษาพระธาตุมิได้ขาด
ในปี ค.ศ. 1806 สมเด็จพระเจ้าอนุไชยเชษฐาธิราช (ที่ 3) ก็ได้เสด็จลงไปซ่อมแซมพระธาตุองค์นี้ ร่วมกับเจ้าขัตติยราช เจ้ามรุกขนคร (ท่าแขกเก่า)
สมัยฝรั่งเศส (ค.ศ. 1893-1949)
หลังจากสมัยพระเจ้าอนุแล้ว พระธาตุก็ทรุดโทรม ปราศจากผู้ดูแลรักษา เพราะลาวได้สูญเสียเอกราชทางการเมือง เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเมืองลาว เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาว โดยเฉพาะเจ้านายพร้อมด้วยประชาชนแขวงคําม่วน ก็ได้พากัน พยายามเอาใจใส่ดูแลรักษาอยู่เสมอ
ในปี ค.ศ. 1912 ทางราชการพร้อมด้วยราษฎรได้พากันถากถางป่าไม้และ เถาวัลย์ในบริเวณพระธาตุให้โล่งเตียนและสะอาด แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาจําพรรษา อยู่ที่วัดนี้ พระสงฆ์ก็ได้พาญาติโยมสร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่ง ทางด้านเหนือองค์ พระธาตุ
สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน)
เมื่อลาวได้เอกราชแล้ว ทางรัฐบาลและประชาชนก็ได้เอาใจใส่ฟื้นฟูประเพณี ประจําแขวงคําม่วนขึ้น และได้ถือเอางานบุญพระธาตุศรีโคตบองนี้ เป็นงานเฉลิม ฉลองทางราชการมิได้ขาด เริ่มแต่ปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) เป็นต้นมา โดยกําหนด เอาเดือนเพ็ญเป็นวันเฉลิมฉลอง และได้สร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นอีก 1 หลัง
แต่งานบูรณะปฏิสังขรณ์ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948-49 ท่านเจ้าแขวงคํา ม่วน (ท่านบุญทัน ทรงวิไล) พร้อมด้วยบรรดาข้าราชการทุกแผนก ได้ตัดถนนจาก เมืองท่าแขกไปยังพระธาตุเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร และได้ปรับพื้นที่บริเวณพระธาตุ ให้ราบเรียบงดงามขึ้นกว่าเดิม
ลักษณะพระธาตุศรีโคตบอง
– ฐานพระธาตุกว้างด้านละ 25-30 เมตร ฐานพระธาตุนี้ตั้งอยู่บนเนินสูง ซึ่งมีความสูงประมาณ 100-150 เมตร
– องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีความกว้างด้านละ 14-33 เมตร
– ยอดพระธาตุมีลักษณะเป็นรูปดอกบัวตูม หรือดวงปลี ซึ่งเป็นศิลปะแบบ ลาวแท้ – ความสูงจากพื้นฐานถึงยอด (ไม่รวมฉัตรกัน) 28-29 เมตร
สิ่งก่อสร้างในบริเวณพระธาตุ (ของใหม่)
1. พระพุทธรูปซีเมนต์ 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ข้างพระธาตุด้านละองค์
2. กําแพงพระธาตุ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ด้านเหนือยาว 42 เมตร ด้านใต้ยาว 47 เมตร ด้านตะวันออกและตะวันตกยาว 45 เมตร แต่เดิมภายในกําแพงนี้ ด้านเหนือ กว้าง 40 เมตร ด้านใต้กว้าง 87 เมตร ด้านตะวันออกกว้าง 40 เมตร ตะวันตกกว้าง 36 เมตร กําแพงสูง 20-30 เมตร
กําแพงนี้เป็นกําแพงเก่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1956 รัฐบาลได้ทําการซ่อมแซม และเสริมใบเสมาขึ้นอีก
3. ระเบียงล้อมพระธาตุมีเพียง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือและด้านใต้ ด้านละ 4 หลัง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1961 ส่วนด้านตะวันออกมีกําแพงกัน สร้างในปีเดียวกัน กํา แพงนี้ประกอบด้วยประตูเหล็กดัด รูปเทพพนม และมีซุ้มประตู หรือที่เรียกทั่วไปว่าประตูโขง
4. ปราสาทจตุรมุข ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตรงกับองค์พระธาตุ สร้างในปี เดียวกันกับยอดปราสาทเป็นรูปยอดพระธาตุ ปราสาทมีอยู่กลางสระน้ํา มีสะพาน ข้ามไปหาปราสาท สะพานและปราสาทสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
5. ศาลาตั้งอยู่ด้านใต้ขององค์พระธาตุ 1 หลัง
6. วิหารใหญ่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระธาตุ ด้านเหนือวิหารมีต้น โพธิ์พุทธคยาแห่งอินเดีย ซึ่งปลูกเมื่อ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)
โบราณสถานอื่น ๆ
1. พระธาตุใหญ่ 1 องค์ ตั้งอยู่ข้างห้วยสีมังทางทิศตะวันออก ตรงที่สะพานข้าม แต่พังทลายลงหมดแล้ว
2. หอพระกัจจายน์ 1 หลัง อยู่ในบริเวณเดียวกับพระธาตุที่พังไปแล้ว
3. ซากวิหาร 1 หลัง เหลือแต่แท่นพระพุทธรูป ติดกับแท่นวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกําแพงพระธาตุไปทางใต้ประมาณ 30 เมตร
4. โบสถ์ร้างตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารร้าง ถัดไปประมาณ 15 เมตร ยังเหลือแต่ในสมาและเนินโบสถ์ เวลาบวชก็ได้อาศัยโบสถ์นี้บวชนาค
5. ห้วยประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของบริเวณพระธาตุ มีสะพานข้าม ห้วยนี้ชาว บ้านเรียกว่า ห้วยสีมัง หรือ ห้วยข้าวหม่า ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวพันกับพระยาศรีโคตบอง