วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด)

วัดทุ่งศรีเมือง
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี

พระครูดีโลด หรือ หลวงปู่ดีโลด พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งแม้นแต่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ยังเคารพ

ท่านเจ้าประคุณพระครูวิโรจน์ฯ นามเดิมท่านชื่อ บุญรอด นามสกุล “สมจิตต์” เกิดที่จังหวัด อุบลราชธานี ก่อนที่จะอุปสมบท ได้เรียนสําเร็จในด้านวิชาช่างจากสํานักราชบันเทา เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดมณีวัน และต่อมาก็ ได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดทุ่งศรีเมือง จ. อุบลราชธานี และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัยจากสํานักวัดมณีวันมาก่อน เมื่อท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง จึงได้รับสมณศักดิ์ว่าที่ พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เจ้าคณะอําเภอม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี

พระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม มีเมตตาธรรมอยู่หลายประการ คือ ท่านมีขันติวิริยะ อย่างกล้าแข็ง มีใจสุขุมเยือกเย็นโอบอ้อมอารี เมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นไม่ว่ายากดีมีจน ท่านได้ให้ความเมตตาเหมือนกันหมด ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ทั้งผู้ใกล้และผู้อยู่ไกลอย่างเสมอเหมือน มิมีจิตใจลําเอียง ท่านมักโอภาปราศรัยด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เมื่อผู้ใดได้มีโอกาสได้พบและรู้จักตัวท่าน ก็จะเกิดความรู้สึกเคารพรักและศรัทธาเลื่อมใสใน ตัวท่านไม่มีวันจืดจางเลย จนประชาชนทั้งหลาย

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี

ได้ให้ฉายานามท่านใหม่ว่า “ท่านพระครูดีโลด” ทั้งนี้ก็เพราะไม่ว่าใครจะทําอย่างใด พูดอย่างใดกับท่าน ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ไม่เคยขัดใจใครเลย และตัวหลวงปู่รอดนี้ ท่านมีคุณพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านเป็นช่างเขียนภาพและลวดลายตลอดจนความรู้ เกี่ยวกับช่างอิฐ ช่างปูนและชํานาญในด้านก่อสร้าง เป็นอย่างดียิ่ง

จากประวัติความเป็นมาของ หลวงปู่รอด หรือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล อันเกี่ยวเนื่องจากการที่ท่าน ได้เป็นผู้ทําการบูรณะองค์พระธาตุพนมเมื่ออดีตกาลที่ผ่านมา ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไปนั้น จากตํานานพระธาตุพนม ซึ่งพระคุณเจ้าพระเทพรัตนโมลี (วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม) เป็นผู้เรียบเรียง ทำให้ทราบถึงคุณธรรมอันเป็นประโยชน์ มหาศาลตลอดจนบุญบารมีของหลวงปู่รอด ผู้ซึ่งเป็นประธานในการบูรณะองค์พระธาตุพนมให้มี ความสวยสดงดงามเป็นสง่าราศีและเป็นปูชนียสถานที่สําคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตราบถึงทุกวันนี้ ก็ด้วยความ วิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าของหลวงปู่รอดนั่นเอง

ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุพนม

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๔ ปีฉลู ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ) แห่งจักรีวงศ์ ครองกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวองค์พระธาตุพนมที่เห็นปัจจุบันนี้เก่าคร่ําคร่าดูเศร้าหมองมากปรากฏตามองค์พระธาตุมีต้นโพธิ์ ต้นไทร ขนาดเท่าแขนเสื้อยลงมาจับเกาะอยู่ตามซอกอิฐปูนทั่วไป ไม่มีผู้ใดที่จะมีบุญญาภินิหารสามารถซ่อมแซมได้ เพราะเมื่อมีผู้ใดคิดริเริ่มจะทําการซ่อมแซม เวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยก็โทษเทวาอารักษ์ที่พิทักษ์รักษา องค์พระธาตุว่าท่านมิให้ทําแม้กระทั่งอิฐและแผ่นศิลาที่ตั้งอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามบริเวณองค์พระธาตุ ประชาชนหรือชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นก็พากัน หวาดระแวงไปหมด ไม่มีใครกล้าที่จะปีนป่ายหรือเหยียบเลย เพราะปรากฏว่าผู้ที่กระทําการเหยียบย่ําโดย ไม่แสดงอาการเคารพ จะได้รับโทษทันตาเห็น จะแก้ได้ก็ต้องมีการขมาเสียเครื่องเซ่นคาวหวานเป็นพลีกรรม จนชาวบ้านและชาววัดต่างก็ถือกันเช่นนี้ หมด นอกจากนั้น ยังต้องบูชากันด้วยดอกไม้ ธูปเทียนอีกด้วย จึงไม่มีใครที่จะกล้าเข้าไปแตะต้อง แม้แต่พระวิหารใหญ่ ซึ่งเล่ากันสืบมาว่า เจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ไว้อย่างสวยงาม และเล่ากันว่าผู้ใดเข้าไปในวิหารนั้น ตัวจะเหลืองเป็น ทองทั้งตัว ซึ่งเรียกกันว่าหอพระแก้ว บัดนี้ได้ปรักพังทลายลงเป็นกองอิฐปูนไปหมดแล้ว ลานพระธาตุก็มีหญ้าคาเกิดขึ้นตามซอกอิฐปูนรกชัฏไปหมด จะหาที่กราบไหว้บูชามิได้เลย องค์พระธาตุพนมในยุคนั้นเป็นยุคที่เสื่อมโทรมมาก เพราะครั้ง เจ้าราชครูโพนสะเม็ก ได้ทําการบูรณะนั้นห่าง กันถึง ๒๐๙ ปี และในตอนหลังบูรณะต่อมาก็มัก เกิดศึกสงครามอยู่เนืองๆ ชาวบ้านก็แตกตื่นอพยพหลบหนี พวกเจ้านายก็ได้ประสบภัยเช่นเดียวกัน จึงไม่มีผู้ใดที่จะมีจิตใจทะนุบํารุงพระศาสนาและ ซ่อมแซมองค์พระธาตุพนมให้รุ่งเรืองได้ส่วนความเกรงกลัวในความศักดิ์สิทธิ์ของ องค์พระธาตุพนมนั้น ถ้าสมจริงตามคําเล่าลือก็มี ทางสันนิษฐานได้ว่า ปูชนียสถานที่สําคัญในทาง พระพุทธศาสนานั้น เมื่อมนุษย์ขาดสมรรถภาพใน การบํารุงรักษาแล้ว ชะรอยเทพยดาผู้มีความห่วงใยในพระศาสนาทั้งหลายก็จะพากันเข้าพิทักษ์รักษาเสียเอง เมื่อผู้ใดไม่มีบุญวาสนาสมควรจะทําการบูรณะก็หวงแหนไว้ (จะเป็นอย่างนี้ก็ได้) ฉะนั้น จึงปรากฏว่ามักมีอันตรายแก่ผู้ขาดความคารวะเสมอ ดังนั้น จึงเป็นธรรมเนียมประจําของชาวพระธาตุพนมสืบมาแต่บรรพบุรุษมา จนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการเคารพสักการะองค์พระธาตุและถือเป็นสรณะประจําครอบครัว เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็มักบนบาน ด้วยปราสาทผึ้งผ้าไตร จะไปไหนมาไหนก็ต้อง ขอเอาขี้ผึ้งและไคลองค์พระธาตุติดตัวไปเป็นเครื่องรางของขลังคุ้มตัวและขอบารมีให้เกิดความสุขสวัสดี และวิธีนี้ก็เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้องค์พระธาตุเป็นอันมากเมื่อมีผู้มากราบไหว้ขอบารมีคุ้มครอง ป้องกันตัว

ครั้นถึงพุทธศักราช ๒๔๕๔ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ มีพระเถระเมืองอุบลได้เดินธุดงค์มาจําพรรษา อยู่ที่บ้ารอบสะพรังโบราณ ในบริเวณวัดพระธาตุพนม คือ ท่านพระครูสีทา แห่งวัดบูรพา ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ขณะนั้นท่านมีอายุ ๓๑ ปี เท่านั้น ) และพระอาจารย์หนู (พระอาจารย์หนู รูปหลังนี้ต่อมาได้เป็น พระปัญญาพิศาลเถระ เจ้าอาวาสวัดสระปทุม กรุงเทพฯ) ท่านและคณะได้มาเห็นความเสื่อมโทรมในองค์พระธาตุ ก็เกิดความสลดใจ ใครที่จะซ่อมแซม แต่มาคิดว่าอํานาจวาสนาของตนไม่เพียงพอ จึงแนะนําให้ทายกชาวพระธาตุพนม ลงไปอาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จ. อุบลฯ (เมื่อครั้งท่านยังดํารง สมณศักดิ์ที่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช) ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าดําเนินการซ่อมองค์พระธาตุ ซึ่ง ท่านเจ้าประคุณพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ หลวงปู่รอด ก็ยินดีรับและมาตามความประสงค์

ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ขึ้นมาถึงวัดพระธาตุพนม ณ เดือนอ้ายข้างขึ้น ขณะแรก ท่านได้ประชุมหัวหน้าชาวบ้านและชาววัดว่าจะให้ ท่านพาทําอย่างใด ชาวบ้านทั้งหลายบอกว่าให้ท่าน พาปูลานพระธาตุ พอให้มีที่กราบไหว้บูชาก็พอแล้ว ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ได้บอกชาวบ้านเหล่านั้นว่า ถ้าเราไม่ได้ทําการซ่อมตั้งแต่พื้นดินถึงยอด และแต่ยอดถึงพื้นดินแล้วท่านจะไม่ทํา ชาวบ้านทั้งหลายไม่ยอมและพูดคัดค้านด้วยประการต่างๆ เขาหาว่าพระครูไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย เพราะจะรื้อพระเจดีย์ตัดโพธิ์ศรีลอกหนัง พระเจ้าเป็นบาปหนัก และถ้าปล่อยให้ทําดัง ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ต้องการนั้นเทพารักษ์ที่พิทักษ์ พระบรมธาตุก็จะรบกวนเบียดเบียนชาวบ้านให้ได้รับความเดือดร้อน ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) และคณะของท่านได้พากันชี้แจงเหตุผลด้วยประการต่างๆ ก็ไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ท่านจึงแจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า ถ้าญาติโยมไม่ยอมให้ทําการซ่อมแซมดังกล่าวแล้วก็จะกลับ จังหวัดอุบลฯ ชาวบ้านทั้งหลายก็เรียนท่านว่าจะกลับก็ตามใจ แล้วก็พากันเลิกประชุมกลับบ้านของตน

ต่อไปนี้จะขอเล่าถึงประเพณีบางอย่างของ ชาวนครพนมในสมัยก่อน เพื่อเป็นเครื่องประกอบ ความรู้ในการศึกษาตํานานพระธาตุพนม ท่านกล่าวไว้ว่า พอสร้างพระธาตุเสร็จ พระยาอินทร์พาเทพเจ้าทั้งหลายลงมาทํามหกรรมเอิกเกริกมโหฬาร เป็นการใหญ่ยิ่ง ก่อนจะเลิกได้อาณตให้เทวดามี ๖ องค์อยู่รักษาพระบรมธาตุ พร้อมทั้งบริวารทั้ง ๔ ด้าน และข้างบนข้างล่างอีก ๒ องค์ กับอาณัติให้เทวดาอีก ๓ องค์คอยพิทักษ์รักษาพระบรมธาตุศาสนาเป็นหูบ้านตาเมือง เทวดา ๓ องค์นี้แล ชาวบ้านเรียกมเหศักดิ์หลักเมือง ๓ พระองค์บ้าง เรียกว่าเจ้าเฮือน ๓ พระองค์บ้าง ถือกันว่าเป็นเทพารักษ์หลักเมืองใหญ่ยิ่งกว่าเทพารักษ์ทั้งหลาย มีผู้คนนับถือมาก มีนางเทียมหรือคนทรงเป็นผู้หญิง ประจําสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

ย้อนกล่าวถึงชาวบ้านที่กลับจากการประชุมกับท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ที่ วัดวันนั้น บางคนก็ยังกลับไม่ถึงบ้านตน ฝ่ายนางเทียมหรือคนทรง ถูกเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ เข้าสิงให้บ่นว่าดุด่าอาฆาตมาดโทษหัวหน้าชาวบ้าน ผู้ขัดขวางคัดค้านไม่ให้ท่านพระครูวิโรจน์ ฯ (หลวงปู่รอด) ซ่อมพระธาตุเป็นต้นว่า อ้ายคนใด บังอาจขัดขวางเจ้ากู ( หมายถึงหลวงปู่รอด) มิให้ซ่อมแซมพระธาตุกูจะหักคอมัน ท่านจะทําก็ปล่อยให้ทําเป็นไร สูจะไปขัดขืนทําไม แต่กูเองก็ยังกลัวท่าน (ดังที่กล่าวมานี้ เล่าตามท่านพระครูวิโรจน์ฯ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่เห็นเหตุการณ์เล่าให้ฟัง ) จึงนํามา กล่าวเพื่อประกอบความรู้ของกุลบุตรทั้งหลาย

ฝ่ายชาวบ้านมีเฒ่ามหาเสนาเป็นต้น เมื่อเห็นเหตุการณ์วิปริตเช่นนั้น ก็เกิดความสะดุ้งตกใจกลัวจะมีมรณภัย จึงพากันรีบกลับวัดกราบไหว้วิงวอนขอขมาลาโทษต่อ ท่านพระครูวิโรจน์ฯ และกราบนิมนต์ท่านไว้มิให้กลับเมืองอุบลฯ และเมื่อท่าน พระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ประสงค์จะทําสิ่งใดก็สุดแต่ท่านจะเห็นควร และพวกตนก็จะปฏิบัติตามทุกสิ่ง ท่านพระครูวิโรจน์ฯ เมื่อทราบเรื่องและเห็นอาการเช่นนั้น จึงคิดว่าความมุ่งหวังของเราจะสําเร็จเป็นมั่นคงคราวนี้แล้ว เพราะแม้แต่ผีสางเทวดาก็ช่วยเรา จึงทําเป็นที่แสร้งว่าจะกลับอุบลฯ ให้ได้ในวันรุ่งขึ้น พวกชาวบ้านทั้งหลาย จึงกราบไหว้วอนมอบธุระให้ทุกสิ่งทุกอย่างจนเป็นที่พอใจของท่าน เมื่อหลวงปู่พระครูวิโรจน์ฯ เห็นว่าหมดอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในเบื้องหน้าจากประชาชน แล้ว ท่านก็รับนิมนต์อยู่ปฏิบัติงานต่อไป

เริ่มพิธีบูรณะพระธาตุพนม

ครั้น ณ วันเดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ํา ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้นแล ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) พร้อมด้วยศิษย์ที่ติดตามมาก็ได้เริ่มทําความสะอาดพระธาตุ และให้ตั้งเครื่องสักการบูชาขอขมาคารวะองค์พระธาตุ ประกาศต่อเทพาอารักษ์แล้ว ให้คาดนั่งร้านรื้อถอนต้นไม้ ต้นหญ้า และกะเทาะส่วนที่หักพังคร่ําคร่าออก ชาวบ้านทั้งหลายไม่มี ใครกล้าเข้ามาช่วย เพราะกลัวเทพาอารักษ์ที่รักษาพระบรมธาตุพนมจะทําอันตราย แม้แต่พระเณรในวัดก็พากันปิดประตูกุฏิหลบล็ไม่กล้ามองดู เพราะ ต่างก็หวาดเกรงอันตรายเช่นกัน ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เล่าว่าจะหาคนช่วยเหลือยากมาก มีแต่ไชยวงศาผู้ใหญ่บ้านดอนกลาง คนเดียวที่เข้ามารับใช้ ครั้นล่วงมาได้ ๗ วัน จึงมีชาวบ้านมายืนดูอยู่ห่างๆ ประมาณสัก ๙-๑๐ คน และหลังจากนั้นก็มีมาหนาแน่นขึ้นโดยลําดับ ต่อมาพอถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ประชาชนพากันหลั่งไหลมาจากจตุรทิศเหมือนหมู่มดปลวก จนไม่มีที่พักเพียงพอ เกณฑ์กันตัดหญ้าและปลูกปะรําทั่วไป จนถึงริมบึงหน้าวัด เงินทองก็หลั่งไหลมาจนผิดความคาดหมาย เจ้าเมืองสกลนคร – หนองคาย ก็ปวารณาตัวให้ช้างม้าใช้ในงานจนสําเร็จบริบูรณ์ กากอิฐปูนเศษที่เหลือกะเทาะลงมาจากองค์พระธาตุเจดีย์ ท่านหลวงปู่รอดมิให้ทิ้งเรี่ยราด ท่านให้ก่อเจดีย์เล็กบรรจุไว้ต่างหาก (แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่รอดเป็นผู้ละเอียดลออน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง) เพราะชาวบ้านถือเป็นสิ่งสําคัญมาก แม้แต่เศษอิฐปูนเขาก็นําไปสักการะอยู่แล้ว และตามหัวเมืองจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานวัดใดจะสร้างเจดีย์ ก็จะพากันนําขันธูปเทียนเครื่องสักการะมาไหว้วอน ขอเอาเศษอิฐปูนไปบรรจุเพื่อเป็นสิริมงคลอยู่เสมอจน กระทั่งทุกวันนี้

งานที่พระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ได้ทําครั้งนี้ คือ เซาะชทายพระธาตุ กําจัดต้นไม้ ต้นหญ้าออกไปจนหมดสิ้น แล้วโบกปูนใหม่ตั้งแต่ยอดพระธาตุลงมาจนถึงพื้นดิน ท่านประดับกระจก ปิดทองประดับดอกไม้ที่ทําด้วยดินเผาติดแผ่นจังโก ทองคําที่ยอดพระธาตุ ซ่อมกําแพงชั้นกลางให้สูงขึ้น ๑ แขนและโบกปูนใหม่

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจัดให้มีงานฉลองสมโภช ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาพอดี ในครั้งนั้น เล่าว่ามีประชาชนและภิกษุสามเณรจากหัวเมืองต่าง ๆ มาร่วมประชุมหลายหมื่นคน จนที่พักอาศัยแออัดยัดเยียด นับเป็นงานมโหฬารใหญ่ยิ่งงานหนึ่ง

อุบัติเหตุเกี่ยวกับผีบ้าผีบุญ

ในขณะที่พระครูวิโรจน์ ฯ (หลวงปู่รอด) กําลังซ่อมพระธาตุอยู่นั้น เกิดอุบาทว์ขึ้นโดยมีผู้ประกาศตนว่าเป็นเจ้าผู้มีบุญ คุมสมัครพรรคพวก ที่ตั้งมั่นอยู่ที่อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลฯ ประกาศว่าควายและหมูจะเกิดเป็นยักษ์ เงินทอง จะกลายเป็นกรวด หินกรวดจะกลายเป็นทอง ประชาชนผู้อ่อนการศึกษาขาดเหตุผลพากันเชื่อถือเป็นอันมาก ถึงกับอุตส่าห์หอบกรวดไปให้เจ้าเสก เป่า แล้วหาบคืนกลับมาสักการบูชา เพื่อให้เกิด เป็นเงินทอง พวกนี้ทางการเรียกว่า ผีบุญ ก็พากัน กําเริบขึ้นจะยกเข้ายึดเมืองอุบลฯ จนทางราชการ ต้องปราบปรามด้วยกองทหารจึงสงบเรียบร้อย

เมื่อท่านพระครูวิโรจน์ (หลวงปู่รอด) มาซ่อมพระธาตุประสบเหตุการณ์เช่นนี้ ก็ได้รับผล คือประชาชนทั้งหลายไม่มั่นใจในค่าน้ําเงินของตน ต่างก็ได้นําเงินมาบริจาคเป็นอันมาก ทําให้การซ่อม องค์พระธาตุสะดวกขึ้น

ในด้านการปรับความเข้าใจกับประชาชนให้ หันมาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกนั้น ท่านพระครู วิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ได้มอบให้ตาผ้าขาวหนู ทํารูปช้างม้าขึ้นแล้วเอาเครื่องไทยธรรมแขวนเป็น ต้นเงิน แห่บูชาพระธาตุเป็นการเรี่ยไรไปในตัว เมื่อรวมขบวนแห่นํามาวางไว้ที่ลานพระธาตุแล้ว ตั้งปัญหาถามให้ประชาชนตอบ

เช่น ชี้ไปที่ตาม้า ซึ่งทําด้วยกระจก แล้วถามว่านี่อะไร?

ประชาชนตอบ ว่าตาของมัน ผู้ถามก็ถามต่อไปว่า ทําด้วยอะไร ?

ประชาชนก็ตอบว่าทําด้วยกระจก ผู้ถามก็ถามต่อไป อีกว่ากระจกนี้จะเป็นตาช้างตาม้าจริง ๆ ได้ไหม ?

เมื่อประชาชนตอบว่าไม่ได้ แล้วก็ถามส่วนอื่น ๆ ของรูปนั้นต่อไปจนหมด ประชาชนที่มาชุมนุมใน ที่นั้นก็ตอบปฏิเสธไปตามนัยเดิม ผู้ถามจึงอธิบายว่า นี่แหละท่านทั้งหลาย เขาลือกันว่าหินกรวดจะเป็นเงินก็ดี ควายและหมูจะเกิดเป็นยักษ์ก็ดี ก็เป็นไป ไม่ได้ทั้งนั้น เหมือนรูปนี้ก็ไม่กลายเป็นช้างเป็นบ้าจริงๆ การอธิบายสั่งสอนและการทําอุบายเช่นนี้ทุกวัน วันละหลายๆเที่ยวทําให้ประชาชนหายงมงายไปเป็นอันมาก นับว่าท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เป็นประโยชน์แก่สังคมและพระศาสนา น่าสรรเสริญที่คิดหาอุบายสอนธรรมแก่ประชาชนโดยอาศัยความรื่นเริงในบุญกุศล ผู้ฟังก็ ไม่เบื่อ ผู้สอนก็ได้ประโยชน์จากการเรี่ยไร นําเงิน มาสมทบทุนซ่อมแซมพระบรมธาตุ

เรื่องอุปสรรคนั้นย่อมมีแทรกอยู่เป็นธรรมดา คือ ฝ่ายนักปราชญ์อาจารย์ที่ถือว่า ตนมีความรู้จาก หัวเมืองต่าง ๆ ก็มาคัดค้านการซ่อมแซม และตั้งปัญหาถามยกคัมภีร์และบาลีฎีกาขึ้นมาโจทก์ท้วงว่า การซ่อมพระบรมธาตุนั้นไม่ชอบไม่ควรด้วยประการต่างๆ ข้างพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ไม่ค่อยสนใจ ปล่อยให้ท่านพระครูสีทาบ้าง พระอาจารย์หนูบ้าง คอยชี้แจงแก้ปัญหาข้อข้องใจแก่ประชาชนนั้น ๆ ผลสุดท้ายก็พากันสงบไปเอง ด้วยบารมีคุณธรรมและขันติของหลวงปู่รอด

ส่วนคฤหัสถ์ที่เป็นเจ้าบ้านสมภารเมืองนั้น ก็มีอยู่บ้าง ถึงกับมีบางหัวเมืองมิให้ประชาชนมาร่วมทําบุญในการซ่อมพระธาตุ โดยรังเกียจว่าทําลายวัตถุโบราณบ้าง เป็นเครื่องมือพ่อค้าพาณิช ต้องการขายแก้วขายทองบ้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ยังมี เจ้าเมืองสมัยนั้นพูดติว่า พระบรมธาตุเดี๋ยวนี้ไม่สวยเหมือนแต่ก่อน เพราะประดับแก้วและทองคํา ทําให้เสียโฉมไป ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ท่านตอบด้วยปฏิภาณอันคมคายว่า “สิ่งที่ทําสําเร็จด้วยแก้ว แล้วด้วยคําว่าไม่สวยงาม จะมีอะไรอีกเล่าที่จะสวยงามเกินกว่านั้นไป” เรื่องก็เลย สงบแค่นั้น

อุปสรรคและเรื่องราวต่าง ๆ ยังมีอีกมากเกินไปที่จะนํามากล่าวไว้ให้หมดในที่นี้ เรื่องราวเหล่านี้ เป็นเครื่องเตือนใจของนักการงานทั้งหลาย ให้ทราบว่าการทํางานใหญ่ เช่น การสร้างบุญสร้างกุศล ตลอดจนถาวรวัตถุแก่บวรพุทธศาสนานั้น (อาจ จะมีพวกมารและพวกใจบาปหยาบช้าคอยริษยา ใส่ร้ายป้ายสี ) ฉะนั้นท่านผู้มีจิตกุศลบริสุทธิ์ใจทั้งหลาย จะต้องมีกําลังใจสูงหนักแน่น และ เยียกเย็นกล้าต่อสู้กับอุปสรรคจากเสียงนกเสียงกา (คือมนุษย์ที่มีใจริษยาเหล่านั้น) การงานการกุศลที่

คิดจะสร้างจึงจะสําเร็จผลด้วยดี ถ้าหากคอยแต่หวาด หวั่นต่ออุปสรรค ซึ่งมาในรูปลักษณะต่าง ๆ แล้ว จะคิดทําสิ่งใดก็ไม่อาจจะก้าวหน้าได้เลย (เพราะบุคคลใดมีเหตุมีผลเป็นอรรถเป็นธรรมมีใจบริสุทธิ์ แล้วย่อมเป็นฝ่ายชนะเสมอ

อภินิหารพระบรมธาตุ

เมื่อท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) ซ่อมพระธาตุเสร็จแล้ว ยังมีเงินเหลืออีก ๑๐๐ ชั่งเศษ (๑ แสนในสมัยโบราณ) เมื่อเทียบเป็นเงินสมัยนี้ก็นับเป็นเงินหลายสิบล้านบาท เงินที่เหลือเหล่านี้ หลวงปู่รอดได้มอบให้เจ้าเมืองนครพนมเก็บรักษาไว้ ส่วนท่านและคณะก็พากันกลับเมืองอุบลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงมา เจ้าเมืองนครพนมประมาท ได้ปล่อยให้มีการกู้ยืมเงินที่เหลือไปทําทุนหมุนเอากําไร แล้วเรียกคืนได้ไม่ครบ พอทางวัดต้องการเงินจึงเก็บเงินไม่ครบตามจํานวน

ครั้นต่อมาไม่นาน ณ กาลวันหนึ่งเป็นฤดูฝน ฟ้าได้ผ่าลงมาไหม้บ้านเรือนเจ้าเมืองนครพนมและ อาคารสิ่งก่อสร้างอื่นๆ แม้กระทั่งโรงช้างม้าก็ถูกไฟ ทําให้เสียหาย สิ่งของต่างๆ ที่ช่วยกันขนเก็บออก มาจากบ้านเรือนไปไว้กลางทุ่ง ไฟก็ยังตามไปไหม จนหมดสิ้น และในวันเดียวกันนั้น เรือสินค้า ๒ ลํา ของพ่อค้าที่ยืมเงินจากเจ้าเมืองไปทําทุน ซึ่งจอดอยู่ ในลําน้ําโขงก็ถูกลมพายุพัดถล่มเสียหายทั้ง ๒ ลํา ส่วนบ้านเรือนของชาวบ้านคนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับ เรือนของเจ้าเมืองกลับไม่ถูกไฟไหม้ในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งนัก และชาวบ้านก็เล่าลือกัน สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบ้านเจ้าเมืองนครพนมครั้งนั้น เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ แก่พระธาตุพนมเป็นอันมาก ประชาชนเพิ่มความเคารพยําเกรงยิ่งขึ้น ทุกวันนี้คนเฒ่าคนแก่ยังพร่ําสั่งสอนบุตรหลานของตนมิให้ประมาทในสิ่งอันเกี่ยวกับองค์พระธาตุ และให้ความเคารพในสมบัติของพระบรมธาตุ เพราะถือกันว่าหากผู้ใดนําของ และผลประโยชน์ของพระบรมธาตุไปโดยไม่ชอ ธรรม บุคคลนั้นจะถึงซึ่งความวิบัติในวันข้างหน้า

เรื่องนี้เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๔๕๐

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ท่านพระครูวิโรจน์ (หลวงปู่รอด) ได้ขึ้นมาก่อสร้างซุ้มประตูใหญ่หน้า วัดพระธาตุพนม และได้ต้อนรับเสด็จเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย คือ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพด้วย สมเด็จกรมพระยาดํารงฯ ได้ถวาย ระฆังไว้ ตีเป็นพุทธบูชาแก่องค์พระธาตุ ๒ ใบ

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี

ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เดิมทีท่านจะขึ้นมาซ่อมพระธาตุพนม ท่านมีสมณศักดิ์ ว่าที่ พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช (เจ้าคณะอําเภอม่วงสามสิบ ) ครั้นเมื่อซ่อมองค์พระธาตุพนมสําเร็จเรียบร้อยแล้ว กลับลงไปจังหวัดอุบลฯ ท่านจึงได้ เลื่อนสมณศักดิ์ใหม่เป็น พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกท่านให้เป็นกิตติมศักดิ์

จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านจึงได้มรณภาพ ที่วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รวมสิริอายุ ได้ ๘๔ ปี พรรษา ๖๗ ศิษยานุศิษย์และญาติโยม ทั้งหลายได้จัดพิธีฌาปนกิจถวายหลวงปู่รอดเป็นการมโหฬารยิ่ง เมื่อเดือนเมษายน ๒๔๘๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์นําศพท่านบรรจุไว้ ในหีบไม้ลงรักปิดทองแบบโบราณ ตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ภายใต้เมรุอันวิจิตรตระการตา สมเกียรติคุณงามความดีของ ท่านพระครูดีโลด ทุกประการ

อัฐิธาตุของท่านได้บรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งคณะศิษย์และญาติโยมได้พร้อมใจกันสร้างขึ้น และส่วนหนึ่งนําบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่รอด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) เป็นพระอริยสงฆ์เจ้าที่เหมาะสมกับคําสรรเสริญองค์ท่านที่ได้จารึกไว้ในตํานานพระธาตุพนมว่า เป็นพระเถระที่อบรมบ่มพรหมวิหารธรรม จนเป็นพื้น อัธยาศัย มีจิตใจเยือกเย็น มีมารยาทอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ รู้จักผูกใจพุทธบริษัทบริวารให้ เกิดความเคารพรัก รู้จักสมาคมต่อชนทุกชั้น แม้แต่ยาจกเข็ญใจท่านก็พูดคุยกับเขาได้โดยปกติ รู้จักประมาณกาลและบริษัทบุคคล มีขันติโสรัจจะบริบูรณ์ มีความพากเพียรและเมตตากรุณาต่อชนทุกจําพวก เป็นที่เคารพรักของบุคคลที่ได้พบเห็น และใกล้ชิดทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เอาธุระผู้อื่นเป็นสําคัญเท่ากับของตัว นับว่าเป็นศรีแก้วดวงหนึ่ง ของพระศาสนาประดับวงศ์คณะสงฆ์อย่างดียิ่งสุดพรรณนาได้องค์หนึ่ง

ประวัติความศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับไสยเวทอาคม ขลัง และประวัติการสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่รอด เกี่ยวกับ พุทธาคม-เวทมนตร์ของท่านหลวงปู่รอด หลวงปู่ พระครูวิโรจน์ฯ ท่านให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้ที่ได้มากราบขอให้ท่านปัดเป่าเกี่ยวกับพวกที่ถูกคุณไสย ถูกกระทําผีเข้าเจ้าสิ่งต่าง ๆ ท่านสามารถไล่ปัดรังควานและรักษาแก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยทุกราย แม้กระทั่งผู้ที่แขนขาหัก กระดูกแตก ท่านก็สามารถทําน้ําพุทธมนต์ทาที่เจ็บที่หัก ให้ติดกันหายสนิทได้ด้วยอํานาจบุญบารมีของหลวงปู่เอง

เหรียญรุ่นแรก พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง พิมพ์นิยม
เหรียญรุ่นแรก พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง พิมพ์นิยม

และเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เกิดกรณีพิพาท ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน ชายแดนทั่วไป ตึงเครียดด้วยภัยสงคราม หลวงวิจิตรวาทการได้ มาตรวจนมัสการพระบรมธาตุ และได้กราบนมัสการขออนุญาตหลวงปู่รอด (พระครูวิโรจน์ฯ) สร้างเหรียญรูปเหมือนไว้แจกแก่ข้าราชการ ทหาร ประชาชน ศิษยานุศิษย์ เพื่อคุ้มครองป้องกัน ภัยพิบัติในสงครามครั้งนั้น และได้มอบให้ พ.อ. พระกล้ากลางสมรเป็นผู้ดําเนินการจัดสร้างถวาย ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญรูปไข่ มีรูปเหมือนท่าน เจ้าประคุณหลวงปู่รอดนั่งเต็มองค์ มีอักขระสองแถว ว่า อะเมอุ และ นะมะพะทะ ด้านหลังมีอักขระ ๔ แถว อ่านจากบนลงล่างได้ความว่า “อะระหัง” “อะระหัง” “หังระอะ” ยะระหา เหรียญนี้เนื้อ สัมฤทธิ์มีทั้งกะไหล่เงินและกะไหล่ทอง ส่วนจํานวน คงจะมีไม่มากนัก ผู้ที่มีต่างหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับบารมีความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงปู่ และเหรียญรูปเหมือนของท่านนั้น มีผู้ประสบและได้ผลหลายประการ