ประวัติและปฏิปทา
ญาท่านแสง อานันโท
วัดสระบัว บ้านหนองผือ
อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
ญาท่านแสง อานันโท พระอรหันต์แห่งบ้านหนองผือผู้ย่อแผ่นดินได้
ญาท่านแสง อานันโท ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ณ บ้านหนองไหล ต.หนองบอน อ.เมือง จ.บลราชธานี
ญาท่านแสง เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร ได้เรียนหนังสือมูลเดิม คัมภีร์มูลกัจจายน์ ในสำนักบ้านหนองไหล จนครบอายุอุปสมบท และได้อุปสมบท ณ พัธสีมา วัดบ้านหนองไหลใน ในปี พ.ศ ๒๔๕๐ เมื่อเรียนมูลเดิม มูลกระจายย์สูตรจบ แล้วท่านได้ออกธุดงค์ ขณะนั้นชื่อเสียงของ หลวงปู่สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ว่าท่านเป็นพระอิญญา มีอภินิหารมากมาย
ญาท่านแสง ท่านจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) ที่ภูเขาควาย ซึ่งขณะนั้น มีพระที่เข้าไปร่ำเรียนวิชาจากท่านสำเร็จลุน อยู่หลายรูป อาทิเช่น สำเร็จตัน , ญาท่านตู๋ , ญาท่านกรรมฐานแพง , ญาท่านโทน , ญาท่านฤทธิ์ , ญาท่านพันธ์ , ญาท่านผุย เป็นต้น วิชาที่ท่านได้ศึกษาจากสำเร็จลุน คือ วิชาย่อแผ่นดิน เข้าคำ เข้าเหล็กไหล วิชาทำตะกรุดต่าง ๆ วิชาจอดดูก รักษาคนเป็นบ้า และอีกหลายวิชารวมทั้งด้านวิชาการช่าง การก่อสร้าง ฯลฯ
เมื่อได้ศึกษาวิชาความรู้จนเป็นที่พอใจแล้ว จากนั้นท่านได้กลับมาวัดบ้านเกิด คือ วัดบ้านหนองไหล และได้เป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านหนองไหล พาชาวบ้านสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น กุฏิ ๓ ชั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สิ้นเงิน ๘๖๔ บาท แล้วเสร็จภายในปีเดียวกันนั้น ชาวบ้านหนองไหล ยังยกยองท่านเป็นพระช่าง พระหมอมนต์ ในโขงเขตนั้นล้วนเข้ามาหาท่าน ให้ท่านเมตตา
หลวงปู่ญาท่านแสง เมื่อว่างเว้นจากภารกิจต่างๆ ท่านยังได้ออกธุดงค์เป็นวัตร ระหว่างไทย ลาว ไปมาหาสู่ หลวงปู่สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) ผู้เป็นอาจารย์ จนกระทั่ง หลวงปู่สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) ท่านได้มรณะภาพลง ท่านได้ร่วมออกธุดงค์ต่อกับคณะคือ ญาท่านตู๋ , ญาท่านแพง , ญาท่านตัน , ญาท่านพัน ไปในสถานที่ต่าง เช่น พม่า ลาว ญาน เป็นต้น
ต่อมาในราว พ.ศ.๒๔๘๖ ท่านได้พาพี่น้อง และพาคณะศรัทธา ย้ายบ้านใหม่ไปอยู่บ้านหนองผือ และสร้างวัดขึ้นที่นั้นอีกชื่อว่า วัดสระบัว โดยได้รับบริจาคจากคนในอำเภอเขมราฐ ด้วยศรัทธาในจริยวัตร ในตัวท่านเพื่อให้ท่าน โดยได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๒๐ ไร่ แต่ตัวท่านขอรับไว้เพียง ๖ ไร่ โดยท่านอ้างว่า (บ่อทนปัดทนกวาดดอกที่มันหลายเกินไป เอาเพื่อปฏิบัติบ่เอาหลายดอก)
ท่านได้สร้างกุฏิ ศาลาใหญ่ขึ้นหลังใหญ่ ๒ ชั้น ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน มีเรื่องเล่าจากปากคนเฒ่าคนแก่ชาวบ้านในพื้นที่ว่า ตอนสร้างศาลาใหญ่นั้น เกิดมีช่างคนหนึ่งขึ้นตีอกไก่ศาลา ไม่ทันระวังตกจากศาลาลงมา ถึงกับขาหัก ๒ ท่อน ด้วยความเมตตาญาท่านแสง ท่านได้ใช้วิชาจอดดูก ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ใช้เวลาในการรักษาอยู่ ประมาณ ๗ วัน ช่างคนนั้นก็สามารถกลับมาทำงานได้ต่อ ซึ่งเป็นประจักษ์แก่สายตาชาวบ้านหนองผือนณะนั้น
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ญาท่านแสง ท่านได้พาชาวบ้านหนองผือไ ปทำบุญสังฆทาน ที่บ้านเกิด คือ บ้านหนองไหล เมื่อถึงตอนกลับท่านได้ให้คนกลับก่อน ญาท่านแสง ท่านมีธุระที่จะทำต่อก็เป็นเวลาบ่ายแก่แล้ว เดี๋ยวท่านจะนำกลับเอง ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าท่านจะกับแบบไหน ทั้งรถราในขณะนั้นก็หายาก แต่ชาวบ้านที่ร่วมขบวนก็ไม่ได้เอะใจ เมื่อชาวบ้านกลับมาถึงบ้านหนองผือ จะเอาของไปเก็บที่วัด ก็พบญาท่านแสงใส่อังสะนั่งอยู่ในกุฏิ ยังความประหลาดใจแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก จึงได้เข้าไปเรียนถามหลวงปู่ญาท่านแสง ว่าท่านมาได้อย่างไร ญาท่านแสง ไม่ตอบได้แต่เพียงยิ้ม ๆ แล้วเดินเข้ากุฏิไป
นอกจากนี้ยังมีเรืองร่ำลืออีกว่า ญาท่านแสง ท่านสามารถย่อแผ่นดินได้ตามใจนึก กระทั่งยังเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาให้ลูกให้หลานฟังจนทุกวันนี้
ในเรื่องเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของญาท่านแสง ยังมีอีกมากบางครั้งเมื่อถึงวันดี คืนดีท่านก็จะทำพิธีเข้าคำ (ฝังตะกรุดทองคำ) จากทำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในบ้านหนองผือ ท่านจะทำการเป่าทองคำเข้าตัว โดยไม่ได้ตอก หรือเจาะเข้าไปในร่างกายแต่อย่างใด ท่านจะมีแค่ทองคำเป็นเม็ดในมือ เมื่อเป่าเล้วท่านก็จะลูบไปที่ท้องแขน ท่องนั้นทองคำก็จะหายเข้าในตัวได้เอง เมื่อจับดูจึงเห็นอยู่ในเนื้อใต้ท้องแขนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก แตกต่างกลับการฝังโดยตอกเข้าไปในผิวหนังเช่นในปัจจุบัน
ซึ่งคนที่ได้รับการเข้าคำคนสุดท้ายของบ้านหนองผือ ได้ตายไปแล้ว ซึ่งท่านอายุถึง ๘๖ ปี สำหรับข้อห้ามของท่านในการเข้าคำ คือผู้ใดไปกับน้ำ ข้ามน้ำ ข้ามทะเล อันตราย เพราะว่าคนที่ได้รับการเข้าคำ ตัวจะหนักลอยน้ำยาก ปาฏิหาริย์ อภินิหาร ของญาท่านแสง มีอีกมากมาย เกินที่จะนำมาบอกกล่าวได้
นอกจากนี้ยังมี ตะกรุดเปลือกตา ตามตำราของญาท่านแสง อานันโท แห่งวัดสระบัว เมืองอุบลนั้นท่านให้หาตะกั่วหรือแผ่นเงินแผ่นทองมาตีแผ่ออกเป็นแผ่นเล็กๆแล้วลงคาถาม้วนแล้วเสกจนกว่าจะใช้ได้แล้วค่อยเอาเข้าให้คน
วิธีการเข้าของท่านนั้นจะเข้าตะกรุดทั้งสองข้าง โดยการให้ศิษย์นั่งสมาธิแล้วเอาเข่าทั้งสองข้างของผู้เป็นอาจารย์ ทับอยู่บนขาทั้งสองด้านของศิษย์แล้วให้อยู่สูงกว่าค่อยว่าคาถาเอาตะกรุดเข้าทีละข้าง เมื่อเสร็จแล้วกะทำการพร่ำบ่นคาถาเป่าประสิทธิ์ให้เป็นการเสร็จ ถ้าจะเอาออกนั้นคนไปเข้าต้องท่องคาถาเอาเข้าเอาออกได้จึงจะขลังมาแล ถ้าใส่สลับข้างถึงตาบอดได้เลยที่เดียว
สมัยก่อนญาท่านแสง มีสหมิกธรรมที่สนิท คือ ญาถ่านเคนเดิน วัดบ้านปลาค้าวดอนชี ญาถ่านเกตุ วัดบ้านคำโพน ทั้งสามจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอมิได้ขาด ซึ้งล้วนแต่เป็นผู้เอกอุทางวิปัสนา และเอกอุทางพระเวทอาคมวิทยา (ตามคำบอกเล่าของพ่อตู้เฒ่าคำ บ้านกองโพน ซึ่งขณะนั้นผู้เล่ายังเป็นสามเณรยุกับญาถ่านเกตุ) ในสมัยก่อนในการมาเยี่ยมเยือนกันมักจะมีการลองวิชากันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งรู้ในภูมิซึ่งกันและกัน จริตที่แตกต่างคือญาถ่านเคน ท่านจะมีวัตรที่แปลกมีร่างกายสูงใหญ่ดำ สะพายย่ามใหญ่พูดจาเสียงดัง ไปไหนมาไหนไม่ยอมขึ้นรถ จะเดินเท่านั้นและธุดงค์ภาวนาไปในที่ต่าง ๆ คนเดียว ส่วนญาท่านเกตุ จะมีปฏิปทาที่เรียบ สุขุม เยือกเย็น และ ญาท่านแสง อานันโท ปฏิปทาทานจะเคร่งในวัตรปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างมาก พูดน้อย น่าเกรงขาม พูดจริงทำจริง และชอบลองวิชา
มีครั้งหนึ่ง ผู้เล่าว่า.. วันหนึ่งญาท่านเกตุ พร้อมด้วยสาเณรคำไปเยี่ยมญาท่านแสงที่วัดสระบัว ซึ่งเป็นธรรมดาที่เทศกาลบุญจะต้องไปมาหาสู่กัน ซึ่งทั้งสองท่านหลังจากฉันข้าวเสร็จ ท่านนั่งสนทนากันบนชานกุฏิ ซึ่งสามเณรคำก็นั่งอยู่ด้วยว่า เกิดเหตุการอัศจรรย์เกิดขึ้น กล่าวคือ มีลมพายุขนาดใหญ่เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส หมุนตั้งแต่หน้าวัดเข้าลานวัด และพัดมาทางด้านญาท่านทั้งสอง ญาท่านแสงยิ้มแล้วหันมามองญาท่านเกตุ พลันจับแส้ไล่แมลงวันที่อยู่ข้างๆ ขึ้นมาฟาดไปในอากาศ ๑ ครั้ง พายุลมแรงดังกล่าวพลันสลายไปโดยฉับพลัน จากนั้นญาท่านเกตุก็พูดว่า มาแล้ว มาแล้ว และญาท่านแสงก็พูดขึ้นอีกว่า บักเคนเดินมาแล้ว บะบักอันนี้หาแต่แนวมาเล่นกับกู..(ซึ่งผู้เล่าก็งงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) แล้วทั้งสองญาท่านก็หัวเราะขึ้น ไม่กี่อึดใจเท่านั้น ก็มองเห็นญาถ่านเคนเดินเอะอะเสียงดังสะพายย่ามใบใหญ่พะรุงพะรัง ตรงมายังญาถ่านทั้งสอง เสียงญาถ่านแสงดังขึ้น มนๆเสี่ยว (นิมนต์) ทั้งสามสนทนาหัวเราะตามประสาเพื่อนสนิทอยู่พักใหญ่ ญาถ่านเคนเหลือบมองเห็นเณรคำที่นั่งยุข้างญาถ่านเกตุ แล้วพูดขึ้นเสียงดังว่า ลูกเจ้าบ่เกตุ พลันพูดกับเณรคำว่า..น้อยๆ เจ้าอยากเก่งคือข่อยบ่แล้วหัวเราะ ญาถ่านเกตุยิ้ม ญาถ่านเคนพูดขึ้นต่อว่า เจ้าเคยเห็นบ่…เคนเดินผุนี้สิเฮ็ดให้เบิ่ง..จากนั้นก็คว้ามือหยิบเอาเหล็กหมุดตอกไม้ที่ว่างอยู่ด้านข้างเสา ที่ญาท่านแสงตีเพื่อตอกเสาหอระฆังและหลักลานขึ้นมา โยนมาทางเณรคำแล้วพูดว่า เจ้าเอาค้อนตีหมายหัวหละจำไว้ดิดีเด้อ…เสร็จแล้วก็ยื่นส่งคืนให้ญาถ่านเคนเดิน เมื่อรับแล้วญาถ่านเคนก็กำไว้ในมือ แล้วว่าคาถาพลางพูดกับญาท่านแสงไปด้วยแล้วจากนั้นก็ใช้มือที่กำหมุดนั้นตบลงพื้นไม้กระดานแล้วก็สนทนาหัวเราะกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เช้าวันต่อมาหลังฉันข้าวเสร็จญาท่านทั้งสาม นั่งสนทนาใต้ต้นมะม่วงลานวัดพลางเตรียมตัวจะกลับวัด ญาท่านเคนจึงขอลากลับก่อนเนื่องด้วยจะต้องธุดงค์ไปนมัสการพระธาตุพนม และไปลาว ก่อนที่จะไปญาถ่านเคนเดินพูดกับเณรคำว่า เจ้าจำหมุดตอกไม้ได้บ่ เจ้ากลับวัดไปให้เจ้าไปเบิ่งยุเสาหัวนอนเจ้าเด้อน้อย แล้วเดินออกจากวัดสระบัวไป ซึ่งยังคงเหลือแต่ญาท่านเกตุ เณรคำ และ ญาถ่านแสง พอญาท่านเคนเดินสะพายย่ามใหญ่ออกพ้นเขตวัดเท่านั้นแหละ ญาท่านแสง ก็พูดขึ้นว่า หยอกบักเคนก่อนหน่า..มันสิกลับ พลางหยิบเอาเศษกิ่งมะม่วงที่ตกอยู่พื้นดินขึ้นมา แล้วหลับตานิ่ง แล้วหักปลายทิ้งลงดิน แล้วก็คุยกันต่อพลางรอญาติโยมที่ร่วมร่วมบุญ ที่จะออกมาจากหมู่บ้านเพื่อกลับบ้านกองโพน (ตาคำเล่าต่อไปว่า) สักพักใหญ่ ๆ ในระหว่างรอ เห็นญาท่านเคนเดิน เดินหน้าตาขึงขังโมโหเสียงดังมาทางด้านหน้าวัด ญาติโยมต่างมองดู พอมาถึง ก็พูดกับญาท่านแสงว่า บักห่านิ มึงเอากูคืนติ กูสิไปกะไปบ่ได้ เซาๆ เซาเล่น กูยอมมึงหละๆ ญาถ่านแสงหัวเราะเสียงดัง พรางหยิบเศษไม้ขึ้นมายืนให้ญาท่านเคนเดิน แล้วญาท่านเคนเดินก็ขว้างทิ้ง แล้วหันหลังบนพึมพำจากไป ได้เวลาเกือบเที่ยงเมื่อญาติโยมมาพร้อมกันญาท่านเกตุก็ลากลับวัดบ้านกองโพน ซึ่งต้องเดินลัดเลียบภูพนมดีด่านเกียณลั่น (ดงจั่นลั่น เพราะสมัยก่อนพรานล่าจะไปดักจั่นใหญ่ ในตอนกลางคืนเวลาสัตว์ป่าถูกจั่นจะได้ยินเสียงดังของจั่นขนาดใหญ่ลั่นหรือดังมาถึงหมู่บ้านจึงเป็นที่มาของดงจั่นลั่น)
ซึ่งในขณะนั้นเป็นดงใหญ่ยังมีเสือและงูใหญ่อยู่มากมาย พอมาถึงด้ายความเหนื่อยจากระยะทางการเดินทาง และสะพายย่ามบาตรให้กับญาถ่านเกตุผู้เป็นอาจารย์ ก็นอนหลับพอถึงรุ่งเช้า นึกถึงคำพูดญาถ่านเคนเดินจึงเงยหน้าขึ้นไปมองเสาด้านบนหัวนอน สามเณรคำ (ตาคำถึงกลับตะลึงพรางลุกขึ้นไปดูเหล็กหมุดตอกเสา ที่ไม่เคยมี ว่าจริงดังคำของญาท่านเคนเดินไหม และต้องแปลกใจกับสิ่งที่เห็น คือ เหล็กชิ้นเดียวกันที่เณรคำเป็นคนทำเครื่องหมายไว้จริงๆ ภายหลังเณรคำได้ถอนหมุดตอกไม้นั้น..ให้ญาถ่านเคนเดินพร้อมกับขอเรียนด้วยในครั้งที่ยาถ่านเคนเดินมาเยี่ยมญาถ่านเกตุในช่วงหลัง ….แปลกที่ทุกครั้งที่เดินทางมาเยี่ยมกันญาท่านเคนมักจะใช้ให้เณรคำไปเด็ดก้านมะละกอมาให้…พร้อมกับพูดว่าเคนเดินคนใหญ่ โตใหญ่ ใจใหญ่ สูบกะตี้งสูบบังใหญ่ๆ น้อยๆ อย่าเอามาใกล้แล้วหัวเราะ ..(จากคำบอกเล่าของพ่อตู้คำ บ้านกองโพน)
ในด้านวัตถุมงคลนั้น ท่านได้สร้างเหรียญไว้เพียงรุ่นเดียวคือ เหรียญ รุ่นแรก สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งเป็นเหรียญที่ลูกศิษย์จากจังหวัดนครสวรรค์ สร้างถวายท่าน ว่ากันว่า มีจำนวนเพียง ๑๒๐ เหรียญ เท่านั้น ซึ่งเป็นเหรียญรูปญาท่านแสง ห่มดอง (การห่มผ้าของพระสงฆ์ โดยห่มเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มของพระธรรมยุตินิกาย) นั่งสมาธิเต็มองค์ คล้ายเหรียญหลวงพ่อเดิม ด้านบนเป็นอักขระตัวขอม หัวใจธาตุ ด้านล่างองค์ท่านเป็นอักขระขอม อ่านว่า พระแสง อานันโท ด้านหลังเหรียญเรียบ ส่วนมากที่พบเจอดันหลังเหรียญ จะมีรอยจารอักขระ ซึ่งเป็นเหรียญที่หายากมาก
หลวงปู่ญาท่านแสง อานันโท ท่านได้ถึงแก่มรณะภาพอย่างสงบ ด้วยโรคชรา ด้วยท่านั่งสมาธิในกุฏิ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สิริอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๖๖ ยังความโศกเศร้าแก่ลูกศิษย์ทั้งหลายที่เคารพในตัวท่าน
ที่มา :ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ ubonpra.com