ประวัติและปฏิปทา
ครูบาพรหมา พรหมจักโก
วัดพระพุทธบาทตากผ้า
อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ปฏิปทาอันละมุนละไมของท่าน ทําให้บรรดาสาธุชนทั้งปวงเลื่อมใสยิ่งนัก กาย วาจา ใจ ของหลวงพ่อที่ได้แสดงออกมานั้น เป็นที่ยอมรับว่านุ่มนวล สุภาพ อ่อนโยน
แต่หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า มีจิตตานุภาพกล้าแข็ง ทรงอัจฉริยภาพอยู่ในตัวอย่างน่า อัศจรรย์ !…
ปกติท่านมีใจดีเมตตากรุณาเสมอ ใคร ๆ ก็ตามเมื่อเข้าใกล้ท่านแล้ว จะมีความรู้สึกว่า สบายกายสบายใจเป็นอันมาก
หลวงพ่อท่านเป็นที่เคารพของบรรดาพระสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์อีกหลายๆ องค์ เพราะท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระแท้องค์หนึ่งที่น่ากราบไหว้ สักการะบูชายิ่ง
หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๑ (ขึ้น ๑๔ ค่ํา เดือน๑๐ ปีจอ) ณ บ้านป่าแพง ต.แม่แรง อ.ปากบ่อง (ปัจจุบันเป็นอําเภอป่าซาง) จ.ลําพูน
บิดาท่านชื่อ เป็ง พิมสาร มารดาชื่อ บัวถา พิมสาร ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด ท่านเป็นคนที่ ๗ ครอบครัวมีอาชีพทํานา-ทําสวน เป็นตระกูลที่มีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลมาโดยตลอด ซึ่งต่อมาบิดาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ส่วนมารดารักษาศีลอุโบสถ และได้ถึงแก่กรรมในเพศศีลอันบริสุทธิ์ทั้ง
หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า สมัยเป็นฆราวาสได้เจริญเติบโตมาท่ามกลางความ อบอุ่นภายในครอบครัว พอเจริญวัยท่านก็ได้ช่วยเหลือบิดามารดา ทํากิจการงานทั้งหลายภายในบ้านเป็นวิสัยของบุตรที่ดี
พออายุได้บรรพชาเป็นสามเณร (ขณะนั้นอายุได้ ๑๕ ปี) ท่านได้กราบลาบิดามารดา ขออโหสิกรรมต่อบิดามารดาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พระพี่ชาย…คือ…ครูบาอินทจักรรักษา แห่งวัดน้ําบ่อหลวง จ.เชียงใหม่ ได้นําน้องชายคือ หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า มาโกนผมให้ แล้วนําไปมอบให้พระอุปัชฌาย์จารย์ คือ พระอธิการแก้ว ขันติโย เป็นผู้บรรพชาให้ในครั้งนั้น
เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การศึกษาพระธรรมวินัย และวิชาสามัญจนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ แม้จะอยู่ในยุคที่หาอุปกรณ์การศึกษายาก ก็สามารถสอบนักธรรมได้ด้วยสติปัญญาจนเป็นที่ภูมิใจแก่บรรดาครูบาอาจารย์ที่เฝ้าอบรมสั่งสอน
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๑
โดยมี เจ้าอธิการแก้ว ขันติโย เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระอาจารย์ฮอม โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุรินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ภายหลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า ก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง แต่ท่านได้รับคําสั่งสอนจากพระอุปัชฌาย์ว่า
“ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม”
ประโยคอันเป็นมงคลนี้เอง หลวงพ่อได้น้อมจิตใจไปในทางปฏิบัติธรรม และได้ตัดสินใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งโยมบิดามารดา ตลอดจนพระภิกษุ สามเณรทั้งวัด ออกเดินธุดงค์มุ่งสู่ดอยน้อย เขตอําเภอจอมทอง จ.เชียงใหม่
ในการออกเดินธุดงค์นี้ ได้มีสามเณรอุ่นเรือน สนใจในการปฏิบัติภาวนาเช่นเดียวกันออกติดตามไปด้วย ท่านไปปักกลดเจริญสมณธรรมที่นั่น
วันรุ่งขึ้น ท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ซึ่งท่านเป็นผู้แนะกรรมฐานให้หลวงพ่อ ได้ติดตามไปด้วยองค์หนึ่ง
การเดินธุดงค์เพื่อมุ่งหวังในพระโมกขธรรมความเป็นจริงของ พระพุทธบิดรนั้น หลวงพ่อได้แลกชีวิตจิตใจท่ามกลางความทุกข์ยาก ลําบากอย่างเหลือที่จะทน
ความทุกข์ยากในครั้งนั้น บรรดาญาติโยมที่ผ่านไปพบเข้าถึงกับร้องไห้ด้วยความสงสารในสภาพจีวรสบงขาดรุ่งริ่ง เนื้อตัวของท่านก็พุพองเป็นแผลไปทั่ว
แต่เลือดของชาติอาชาไนย เยี่ยงท่านขอยอมตายถวายชีวิตแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนหมดสิ้นแล้ว จึงไม่มีความอาลัยอีกต่อไป ท่านอดทนเพื่อธรรมะ และความ รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมเท่านั้น
หลวงปู่สุพรหมยานเถระ ท่านเป็นพระภิกษุผู้มีความเมตตา คุณอันสูงส่ง จิตใจของหลวงปู่ท่านบริสุทธิ์เยือกเย็นดังกับน้ํา
ปฏิปทาข้อวัตรของท่านแสน จะงดงามยิ่งนักท่านจะปฏิบัติธรรมทุกๆ วัน ไม่เว้นแม้จะเกิดเจ็บป่วย
ผู้เขียนเคยไปสังเกตดูการปฏิบัติของท่าน แม้ว่าเจ็บป่วยขนาดหนัก ถ้านายแพทย์ไม่ได้ปักเข็ม น้ําเกลือแล้วละก็ ท่านจะไม่ยอมละโอกาสแห่งการปฏิบัติธรรมเลย
ปกติของจิตนั้น หลวงปู่สุพรหมยานเถระ ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสันโดษ มักน้อย อยู่ง่าย ฉันง่าย
ท่านปรับปรุงจิตใจของท่านให้อยู่กับธรรมชาติสิ่งที่รู้เข้ามาสัมผัสรอบ ๆ ตัว มีความเมตตาปรานีอยู่เป็นนิสัย
ท่านมีวาจาที่นุ่มนวล สุภาพอ่อนโยน รักความสะอาดอย่างสมณเพศวิสัย สติสัมปชัญญะมั่นคง เป็นที่ยิ่ง
ท่านเคยกล่าวอบรมพระภิกษุสงฆ์ทุกๆ องค์ที่ได้เข้าไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ พระพุทธเจ้าของเราทรงสอนให้ประพฤติ มิใช่อยู่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เรียกร้องให้คนมาสนใจนับถือ
มิใช่ปฏิบัติไปเพื่อลาภสักการะและความสรรเสริญเยินยอ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร คือ…ความสํารวม เพื่อปหานะ ความละเว้นเพื่อ นิโรธะ คือ ความดับทุกข์”
รูป-นามเป็นสภาวะ จิต-สติ พึงกําหนดรู้ตามให้ได้เห็นเป็นไปตามความจริงว่า อนิจจัง ทุกจัง และอนัตตา พิจารณาให้เกิดแจ้ง เบื่อหน่ายคลายความกําหนัดความ ขัดเคือง และให้ติดความลุ่มหลงไปในที่สุด นี้คือ จุดมุ่งหมายของนักเจริญภาวนาวิปัสสนา
หลวงปู่ยังได้สอนไว้อีกแล้ว
“การปฏิบัติธรรม ต้องอาศัยปัญญาภายใน เป็นดวงธรรมอันสว่างไสวน จึงจะรู้แจ้งในธรรมนั้น ๆ จงรีบขวนขวายพยายาม อย่าประมาททอดทิ้งเป็นอันขาด”
การประพฤติปฏิบัติธรรม อันยาวนานของ หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า นั้น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น เมื่อท่านได้รับธรรมะอันละเอียดอ่อน ในครั้งนั้นมา ท่านก็ได้เมตตาอบรมสั่งสอนบรรดาท่านพุทธบริษัทให้ ดําเนินตาม เราเชื่อคุณธรรมความดี เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ องค์หนึ่งแห่ง จ.ลําพูน
หลวงปู่ครูบาพรหมจักร ได้ป่วยเป็นไข้หวัด คณะศิษย์จึงได้พร้อมใจกันนำท่านครูบามาพักรักษาที่ตึกสงฆ์ ห้องหมายเลข ๒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๗ อาการโดยทั่วไปมีไข้หวัดและหายใจไม่สะดวกภูมิต้านทานต่ำ นายแพทย์ได้ตรวจแล้วปรากฎว่ามีโรคหัวใจแทรกด้วย ท่านครูบาได้พักรักษาอยู่ทีโรงพยาบาลจนถึงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๕.๐๐ น.
ท่านได้บอกให้พระนวกะที่อยู่อุปัฏฐากทั้ง ๕ รูปว่า นำท่านลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิบนเตียงนอน หลังจากนั้นท่านครูบาก็ได้ไหว้ทิศทั้งสี่แล้วก็ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนาด้วยอาการอันสงบเป็นเวลานาน จากนั่นท่านจึงขอให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นนอนบนเตียง เวลาผ่านไปไม่นานเครื่องวัดชีพจรและเครื่องวัดคลื่นหัวใจ ก็แสดงผลการเต้นของหัวใจอ่อนลงไปทุกทีๆ จนถึงเวลา ๐๙.๒๗ น. ท่านครูบาก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยอาการอันสงบ รวมอายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗